Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Tag: Armenia

  • Armin T. Wegner

    อาร์มิน ที. เว็กเนอร์ (Armin Theophil Wegner) ผู้บันทึกภาพการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวอาร์เมเนีย  (Armenian Genocide) เว็กเนอร์ เกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม  1886 ในเมืองเอลเบอร์เฟล์ด (Elberfeld, Rhineland, Germany) ประเทศเยอรมัน เขาจบปริญญาเอกทางด้านกฏหมาย หลังเรียนหนังสือจบเขาเริ่มออกเดินทางพจญภัยไปยังประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป, อัฟริกาและเอเชียตะวันตก 1914 เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 เว็กเนอร์ได้สมัครเข้าเป็นอาสาสมัครพยาบาลที่ส่งไปอยู่ในโปแลนด์  1915 เขาเดินทางไปพร้อมกับกองทัพพันธมิตรของเยอรมันไปยังอ๊อตโตมัน  และเขาก็ถูกส่งไปตะวันออกกลางในฐานะของสมาชิกของทหารสาธารณสุขเยอรมัน (German Sanitary Corps) ภายใต้บังคับบัญชาของจอมพลโคลมาร์ (Field Marshal Colmar Freiherr von der Goltz) ซึ่งเดินทางไปกับกองพลที่ 6  (Ottoman Sixth Army) ของอ๊อตโตมัน  ช่วงกลางปีเขาได้ข่าวเกี่ยวกับการสังหารโหดชาวอาร์เมเนียอย่างหนาหู  เขาจึงเริ่มรวมรวมเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ และพอถึงปลายปีเขาจึงออกเดินทางไปยังเอเชียไมเนอร์ (ตะวันออกของตุรกี) และซีเรีย เพื่อพยายามจะหาข้อมูล …

  • Ivan Bagramyan

    อิวาน เบแกรมยัน (Иван Баграмяна) เบแกรมยันเป็นจอมพลคนหนึ่งของสหภาพโซเวียต มีชื่อเสียงในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 เบแกรมยัน เกิดเมื่อนที่ 2 ธันวาคม  1897 ในหมู่บ้านชาร์ดัคลู (Chardakhlu village) ใกล้กับเมืองเยลิซาเวตโพล (Yelizavetpol) บริเวณเทือกเขาคอเคซัส ปัจจุบันหมู่บ้านที่เขาเกิดอยู่ในประเทศอาร์เซอร์ไบจัน พ่อของเขาชื่อคาชาเตอร์ (Khachatur) และแม่ชื่อมาเรียม (Mariam) พ่อทำงานเป็นแรงงานก่อสร้างรางรถไฟ ครอบครัวมีฐานะยากจน เบแกรมยันมีพี่น้องรวมตัวเขาด้วย 7 คน เมื่อยังเล็กเขาเรียนหนังสือที่โรงเรียนโบสถ์คริสต์แห่งหนึ่งในเมืองเยลิซาเวตโพล1907 เข้าเรียนที่วิทยาลัยการรถไฟ (Railway College) ในกรุงทิฟลิส (Tiflis, Georgia) จอร์เจีย1912 หลังจบจากวิทยาลัยได้เข้าเรียนที่สถาบันเทคนิค 1915 จบการศึกษาโดยได้รับวุฒิด้านวิศวกรรม และในปีเดียวกันเขาได้อาสาสมัคเข้าเป็นทหาร ในหน่วยทหารคอเคซัสแนวหน้า ที่ 2 (2nd Caucasus Frontier Regiment) ซึ่งขณะนั้นกำลับรบกับทหารของอ๊อตโตมัน (Ottoman Empire) ที่ยังเหลืออยู่ในบริเวณดังกล่าว 1917 เขาเรียนจบจากสถาบันทหารทิฟลิส (Tiflis…

  • Hayk

    เฮก (Հայկ, Hayk, Haik) เมื่อเทพเจ้าซึ่งสร้างโลกและสรรพชีวิตขึ้นมา พระองค์ได้ทรงสร้างสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่เรียกว่ายักษ์ขึ้นมาด้วย ซึ่งต่อมายักษ์เหล่านี้ได้ทำการลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจของเทพเจ้า และได้สร้างหอคอยบาบิโลน (Babylonian tower) ขึ้นมา  พระเจ้าได้บรรดาลให้เกิดพายุและสายฟ้าขึ้นเมื่อให้ทำลายหอคอยบาบิโลน เมื่อเกิดสงครามระหว่างยักษ์และเทพเจ้า ยักษ์ซึ่งเป็นผู้นำมีชื่อว่า  เบล (Bel) ได้สถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์ ซึ่งอ้างอำนาจเหนือสิ่งมีชีวิตทั้งมวล แต่ว่ายักษ์ตนหนึ่งที่มีชื่อว่า เฮก  (Hayk) ตัดสินใจเดินทางออกจากบาบิโลน พร้อมกับครอบครัวและยักษ์ตนอื่นๆ รวม 300 ตน และได้ไปตั้งบ้านเมืองใหม่แถบเทือกเขาอรารัต (Ararat mountains) โดยหมู่บ้านแห่งแรกใช้ชื่อตามชื่อของเขาว่า เฮก หรือ เฮกาเซน (Haykashen)  เบลได้ส่งลูกชายคนหนึ่งของเขา ไปพบกับเฮก เพื่อเจรจาให้เฮกยอมอยู่ใต้อำนาจของตน แต่ว่าเฮกปฏิเสธ เบลจึงได้นำกองทัพบุกไปยังอรารัต 11 สิงหาคม 2492 BC,  สมรภูมิรบเกิดขึ้นบนเนินเขาห่างจากทะเลสาบแวน (Lake Van) มาทางใต้ไม่มากนัก เฮกได้สังหารเบลลงด้วยลูกธนูของเขา เนินซึ่งเบลถูกสังหารจึงได้ชื่อว่า Gerezmank หมายถึงสุสาน  เฮกได้สั่งให้นำร่างของเบลกลับไปที่เมืองเฮกาเซน และนำไปประกอบพิธีอย่างสมเกียรติบนจุดที่สูงที่สุดของเมือง ในปฏิทินโบราณของอาร์เมเนีย วันที่…

  • Avetik Isahakyan

    อเวติก อิสาฮะเคียน(Ավետիք Իսահակյան) กวีชาวอาร์เมเนีย เกิดเมื่อ 30 ตุลาคม 1875 (19 ตุลาคม O.S.) ที่อเล็กซานโดรโพล, จักรวรรดิรัสเซีย (Alexandropol, Russian Empire) ปัจจุบันบ้านเกิดของเขาอยู่ในอาร์เมเนีย  1889 เข้าเรียนหนังสือที่เซนต์.เยตช์เมียดซิน ( St.Echmiadzin Govergyan seminary) 1893 เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยลิปซิก (University of Leipzig) ในเยอรมัน โดยเรียนทางด้านปรัชญา 1895 เมื่อกลับจากเยอรมัน เขาเข้าเป็นคณะกรรมการเพื่อการประปฏิวัติ (Committee of Armenian Revolutionary Federation) ซึ่งเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์ชาตินิยมอาร์เมเนีย ซึ่งร่วมต่อต้านอ๊อตโตมาน 1896 ถูกจับและถูกขังในเรือนจำที่เมืองเยเรวาน  1897 หลังได้รับการปล่อยตัว มีผลงานรวมเล่มบทกวีชิ้นแรกชื่อ Songs and Wounds แต่ไม่นานเขาก็ถูกจับในข้อหาต่อต้านพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย จนกระทั้งเมื่อได้รับการปล่อยตัวเขาเดินทางกลับไปสวิสฯ และเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยซูริค (University of Zurich) ทางด้านวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ปรัชญา…

  • George Goudjieff

    จอร์จ กรูจีฟ (Георгий Иванович Гурджиев) นักปรัญชา Fourth Way, Ray of Creation กรูจีฟ เกิดเมื่อวันที่   13 มกราคม 1866 (วันเกิดที่แน่ชัดไม่ทราบ ต่างกันตามแหล่งอ้างอิง) ในอเล็กซานโดรโพล, จักรวรรดิรัสเซีย (Alexandropol, Russian Empire) ปัจจุบันอยู่ในพรหมแดนประเทศอาร์เมเนีย  พ่อของเขาเป็นชาวกรีก ชื่ออิวาน จอร์เจียเดส (Ivan Georgiades) ส่วนแม่เป็นชาวอาร์เมเนียชื่อทาฟริโซวิช (Tavirzovyh Bagratouni) เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่กรูจีฟ ออกเดินทางไปหลายประเทศในเอเชียและแอฟริกา อย่างอียิปต์ อัฟกานิสถาน ตะวันออกกลาง เพื่อศึกษาเกี่ยวกับศาสนาและปรัญชาของแต่ละประเทศ  1912 มาอยู่ในมอสโคว์และเร่ิมสอนปรัญชาของเขาเอง โดยมีลูกศิษย์กลุ่มเล็กๆ จำนวนหนึ่ง โดยวิชาของกรูจีฟ ถูกเรียกภายหลังว่า Fourth Way ว่าด้วยหนทางของการตื่นรู้ 1913 แต่งงานกับจูเรีย (Julia Ostrowska) ซึ่งเป็นชาวโปแลนด์ 1915 ได้พบกับ อูสเพนสกี…

  • Semyon Kirlian

     ซีโมน คีร์เลี่ยน (Семён Давидович Кирлиан) Kirlian photography คีร์เลี่ยน เกิดที่คราสโนดาร์ (Krasnodar, Russia) ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1898 เป็นครอบครัวขนาดใหญ่ชาวอาร์เมเนีย พ่อของเขาชื่อเดวิด (David Kirlian) และแม่ชื่ออีฟ (Eve Nazarov)  โดยเขามีพี่น้องรวม 9 คน คีร์เลี่ยนไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ แต่ประกอบอาชีพเป็นเซล์สแมน และช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า   คีร์เลี่ยนเคยมีโอกาสได้พบกับเทสล่า (Nikola Tesla) ในช่วงก่อนการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917  1930 แต่งงานกับวาเลนติน่า คริสซานอฟน่า (Valentina Khrisanovna)  ซึ่งเป็นนักเขียน 1939 ระหว่างที่เขาไปซ่อมเครื่องกายภาพบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้า (d’Arsonval electrotherapy device)ในโรงพยาบาลคราสโนดาร์ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวใช้อิเล็กโตรด( eletrode) สองตัวเพื่อสร้างความต่างศักย์ที่สูง คีร์เลี่ยนสังเกตุเห็นว่ามีแสงสีชมพูประหลาดระหว่างอิเล็ดโตรดและผิวหนังของผู้ป่วยที่รับการรักษา เขาจึงพยายามที่จะถ่ายภาพแสงที่เห็น โดยสอดวัตถุต่างๆ เข้าไปแทนระหว่างอิเล็กโตรดทั้งคู่ โดยภาพแรกที่เขาสามารถถ่ายได้เป็นเหรียญ หลังจากนั้นเขาและภรรยาใช้เวลาหลายสิบปีในการพัฒนาอุปกรณ์ถ่ายภาพดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งภาพที่ถ่ายด้วยวิธีดังกล่าวเรียกว่า การถ่ายภาพแบบคีร์เลี่ยน (Kirlian photography) ทางการโซเวียตมอบสิทธิบัตรให้กับพวกเขาในปี 1949  ช่วงปี…

  • Mesrop Mashtots

    เมสรอฟ มัชตอซ (Մեսրոպ Մաշտոց) ผู้ประดิษฐ์อักษรอาร์เมเนีย มัชตอซ เกิดที่หมู่บ้านฮัตซิก ในจังหวัดตารอน (Hatsik village, Taron province/ ปัจจุบันอยู่ที่ Mus ในตุรกี ) ประมาณปี 361(362) บ้านของเขาอยู่ใกล้กับทะเลสาบแวน (Van lake)  ครอบครัวเป็นเกษตรกร ที่มีฐานะดี  มัชตอซเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนที่ใช้ภาษากรีก ซึ่งในอาร์เมเนียเวลานั้นใช้ทั้งภาษากรีก ซีเรีย และเปอร์เซียในการสื่อสาร แต่มัชตอซนั้นไม่ได้แตกฉานในภาษากรีกนัก เขาพูดเปอร์เซียและซีเรียได้ดีกว่า  ต่อมาได้ย้ายจากตารอนไปยังเมืองหลวงเวกฮาชาพัด (Vaghashapat) 385 ทำงานให้กับราชสำนักของกษัตริย์คอสโรว ที่ 4 (King Khosrow IV) และต่อมาได้เข้าไปทำงานด้านการทหาร มีหน้าที่เป็นเสมียร 387 อาร์เมเนียส่วนใหญ่ตกเป็นเมืองขึ้นของเปอร์เซีย ในขณะที่ทางตะวันตกถูกอาณาจักรไบเซนไทน์เข้ามายึดครอง บ้านเมืองเข้าสู่ความวุ่นวาย โรงเรียนที่สอนด้วยภาษากรีกถูกสั่งปิด  อาร์เมเนียขณะนั้นแม้จะมีภาษาพูดแต่ว่าภาษาเขียนมักจะยืมอักขระของกรีก ซึเรียและเปอร์เซียมาใช้ ซึ่งมีอุปสรรคในการเทียบเสียง ภาษากรีกและซีเรียนั้นใช้กันในหมู่ของนักบวช เพราะถือเป็นภาษาจากตะวันตกที่เป็นตัวแทนของศาสนาคริสต์ แต่ว่าราชสำนักของอาร์เมเนียใช้ภาษากรีกและเปอร์เซีย ซึ่งประชาชนทั่วไปใช้กัน  392 เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์  เมสตอฟเห็นว่าการไม่มีภาษาเขียนของตัวเองที่สุดแล้วจะทำให้ความเป็นชาติหายไป นอกจากนั้นการยืมตัวอักษรของต่างชาติทำให้ยากในการแปลคัมภีร์ไบเบิ้ลและนำไปเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าใจได้ยาก…

  • Mesrop Mashtots

    เมสรอฟ มัชตอซ (Մեսրոպ Մաշտոց) ผู้ประดิษฐ์อักษรอาร์เมเนีย มัชตอซ เกิดที่หมู่บ้านฮัตซิก ในจังหวัดตารอน (Hatsik village, Taron province/ ปัจจุบันอยู่ที่ Mus ในตุรกี ) ประมาณปี 361(362) บ้านของเขาอยู่ใกล้กับทะเลสาบแวน (Van lake)  ครอบครัวเป็นเกษตรกร ที่มีฐานะดี  มัชตอซเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนที่ใช้ภาษากรีก ซึ่งในอาร์เมเนียเวลานั้นใช้ทั้งภาษากรีก ซีเรีย และเปอร์เซียในการสื่อสาร แต่มัชตอซนั้นไม่ได้แตกฉานในภาษากรีกนัก เขาพูดเปอร์เซียและซีเรียได้ดีกว่า  ต่อมาได้ย้ายจากตารอนไปยังเมืองหลวงเวกฮาชาพัด (Vaghashapat) 385 ทำงานให้กับราชสำนักของกษัตริย์คอสโรว ที่ 4 (King Khosrow IV) และต่อมาได้เข้าไปทำงานด้านการทหาร มีหน้าที่เป็นเสมียร 387 อาร์เมเนียส่วนใหญ่ตกเป็นเมืองขึ้นของเปอร์เซีย ในขณะที่ทางตะวันตกถูกอาณาจักรไบเซนไทน์เข้ามายึดครอง บ้านเมืองเข้าสู่ความวุ่นวาย โรงเรียนที่สอนด้วยภาษากรีกถูกสั่งปิด  อาร์เมเนียขณะนั้นแม้จะมีภาษาพูดแต่ว่าภาษาเขียนมักจะยืมอักขระของกรีก ซึเรียและเปอร์เซียมาใช้ ซึ่งมีอุปสรรคในการเทียบเสียง ภาษากรีกและซีเรียนั้นใช้กันในหมู่ของนักบวช เพราะถือเป็นภาษาจากตะวันตกที่เป็นตัวแทนของศาสนาคริสต์ แต่ว่าราชสำนักของอาร์เมเนียใช้ภาษากรีกและเปอร์เซีย ซึ่งประชาชนทั่วไปใช้กัน  392 เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์  เมสตอฟเห็นว่าการไม่มีภาษาเขียนของตัวเองที่สุดแล้วจะทำให้ความเป็นชาติหายไป นอกจากนั้นการยืมตัวอักษรของต่างชาติทำให้ยากในการแปลคัมภีร์ไบเบิ้ลและนำไปเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าใจได้ยาก…

  • Gregory , The Illuminator

    นักบุญกรีกอรี (St. Gregory , The Illuminator) กรีกอรี่ เป็นลูกชายของเจ้าชายเอแน็ก (Anak) เป็นพระญาติกับกษัตริย์ของอาร์เมเนีย กับแม่ชื่อโอโคเฮ (Okohe)  เขาเกิดในปี 257 (252) เอแน็ก พ่อของเขา สังหารกษัตริย์ คอสรอฟ ที่ 2 แห่งอาร์เมเนีย (Khosrov II , Armenia) โดยที่เขาได้รับการสนับสุนจากอาร์ดาไชร์ ที่ 1 แห่งปาร์เธีย (Ardashir I, Pathia) ซึ่งต้องการขยายอาณาจักรซัสซานิด (Sasanid Empire) มาครอบครองอาร์เมเนีย    เอแน็ก ถูกจับได้หลังจากคอสรอฟ สวรรคต เขาและครอบครัวถูกประหารชีวิต แต่ว่ากริกอรี่เป็นคนเดียวในครอบครัวที่สามารถหลบหนีมาได้โดยความช่วยเหลือของโซเฟีย(Sopia) และเยฟแตกห์ (Yevtagh) พี่เลี้ยงของเขา  ซึ่งกริกอรี่ถูกพาไปยังเมืองซีซาเรีย (Caesarea ในตุรกีปัจจุบัน) ในจังหวัดแค๊ปปาโดเคีย (Cappadocia) ของจักรวรรดิโรมัน  เขาถูกมอบให้กับบาทหลวงยูเธเลียส (Euthalius ~ Christian…

  • Trdat III of Armenia

    ไทริเดต ที่ 3 แห่งอาร์เมเนีย (Trdat III , The Great) ประกาศให้อาร์เมเนียเป็นดินแดนที่นับถือคริสต์ศาสนา ถือเป็นชาติแรกของโลกที่ใช้คริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ ในปี 301 ไทริเดต ที่ 3 เกิดประมาณปี 250  ในราชวงศ์อาร์ซาคิด (Arsacid dynasty)  เป็นโอรสของกษัตริย์ คอสรอฟ ที่ 2 แห่งอาร์เมเนีย (Khosrov II of Armenia)  ส่วนมารดาของพระองค์นั้นไม่ทราบพระนาม , ไทริเดต มีน้องสาวคนหนึ่งชื่อ คอสโรวิดุคต์ (Khosrovidukht)  อาร์เมเนียในเวลานี้เป็นจักรวรรดิที่มีอธิปไตย แต่ว่ากษัตริย์แห่งปาร์เธีย ในราชวงศ์ซัสซานิด(Parthian, Sassanid dynasty) มองว่าอาร์เมเนียนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิต้นเอง และพยายามโค่นราชวงศ์อาร์ซาคิด  252 กษัตริย์ คอสรอฟ ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนโดยเจ้าชายอาแน็ก (Anak) ที่มีเชื้อสายอาร์เมเนียและ ปาร์เธียน (Parthian)   ซึ่งหลังจากปลงพระชนแล้ว อาแนก ถูกจับได้และถูกประหารชีวิตพร้อมกับคนในครอบครัว…

  • Trdat III of Armenia

    ไทริเดต ที่ 3 แห่งอาร์เมเนีย (Trdat III , The Great) ประกาศให้อาร์เมเนียเป็นดินแดนที่นับถือคริสต์ศาสนา ถือเป็นชาติแรกของโลกที่ใช้คริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ ในปี 301 ไทริเดต ที่ 3 เกิดประมาณปี 250  ในราชวงศ์อาร์ซาคิด (Arsacid dynasty)  เป็นโอรสของกษัตริย์ คอสรอฟ ที่ 2 แห่งอาร์เมเนีย (Khosrov II of Armenia)  ส่วนมารดาของพระองค์นั้นไม่ทราบพระนาม , ไทริเดต มีน้องสาวคนหนึ่งชื่อ คอสโรวิดุคต์ (Khosrovidukht)  อาร์เมเนียในเวลานี้เป็นจักรวรรดิที่มีอธิปไตย แต่ว่ากษัตริย์แห่งปาร์เธีย ในราชวงศ์ซัสซานิด(Parthian, Sassanid dynasty) มองว่าอาร์เมเนียนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิต้นเอง และพยายามโค่นราชวงศ์อาร์ซาคิด  252 กษัตริย์ คอสรอฟ ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนโดยเจ้าชายอาแน็ก (Anak) ที่มีเชื้อสายอาร์เมเนียและ ปาร์เธียน (Parthian)   ซึ่งหลังจากปลงพระชนแล้ว อาแนก ถูกจับได้และถูกประหารชีวิตพร้อมกับคนในครอบครัว…

  • Moses Khorenatsi

    โมเสส โคเรเนตซี (Մովսես Խորենացի)  ผู้เขียน History of Armenia เชื่อกันว่าโมเสส เกิดในหมู่บ้านโครีน (Khorni, Khoren)  ทำให้เขาถูกเรียนว่าโมเสส แห่งโครีน (โครีเนตซี)  เขตตูรูเบรัน อาร์เมเนีย (Turuberan, Armenia)  ประมาณปี ค.ศ. 410  เขาเริ่มเรียนหนังสือในเมืองฮาบันด์ (Haband~Syunik)  ประมาณปี 427 ต่อมาถูกส่งไปยังเมืองวากาชาแพต (Vagharshapat) เพื่อเรียนกับเมสโรป (Mesrop Mashtots) ซึ่งเป็นผู้ที่ประดิษฐ์ตัวอักษรอาร์เมเนีย (Armenian alphabet)  และยังได้เรียนกับ/คาโธลิคอส/ ซาฮัค ปาร์เตฟ (Catholicos, Sahak Partev)  ซึ่งระหว่างนั้นบาทหลวงซาฮัคและเมสโรป กำลังพยายามแปลไบเบิ้ลจากภาษากรีกไปเป็นภาษาอาร์เมเนีย แต่่ว่าประสบปัญหาเรื่องภาษา ทำให้พวกเขาคิดจะส่งลูกศิษย์เดินทางไปเรียนต่อที่อเล็กซานเดรีย ในอียิปต์ เพื่อเรียนภาษากรีกและซีเรีย  ประมาณปี 432~435 โมเสสและเพื่อนออกเดินทาง พวกเขาแวะที่เมืองอีเดสสา เมโสโปเตเมีย (Edessa, Mesopotamia) เพื่อทำการค้นคว้าในห้องสมุดของเมืองนี้  ก่อนที่จะเดินทางต่อไปเยรูซาเล็ม และมายังอเล็กซานเดรีย พวกเขาใช้เวลาอยู่ในอเล็กวานเดรียราว 6 ปี ก่อนจะเดินทางกลับอาร์เมเนีย ซึ่งขณะเดินทางกลับเรือที่พวกเขาโดยสารมาเจอสภาพอากาศเลวร้าย ทำให้เรือไปจอดพักหลบที่โรม พวกเขาจึงได้มีโอกาสเยือนโบาณสถานในโรมด้วย…

Don`t copy text!