Life is filled with unanswered questions, but it is the courage to seek those answers that continues to give meaning to life. You can spend your life wallowing in despair, wondering why you were the one who was led towards the road strewn with pain, or you can be grateful that you are strong enough to survive it.

ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยคำถามมากมายที่ไร้คำตอบ, มันต้องใช้ความกล้าในการค้นหาคำตอบที่ให้ความหมายของการมีชีวิต คุณอาจจะใช้ชีวิตติดกับความผิดหวัง และสงสัยว่าทำไมมีเพียงแต่คุณที่ต้องเดินไปบนถนนที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดเพียงลำพัง หรือคุณอาจจะรู้สึกขอบคุณตัวเองที่เข้มแขึงและยืนหยัดอยู่ได้

J.D. Stroube, Caged by Damnation

Lazar of Serbia

เจ้าชายลาซาร์ แห่งเซอร์เบีย (Лазар Хребељановић, Lazar Hrebeljanovic)

ผู้นำของดินแดน Moravian Serbia

ลาซาร์ เกิดประมาณปี 1329 ในค่ายทหารพรีเลแพ็ค (Prilepac fortress)ใกล้กับเมืองโนโว เบอร์โด (Novo Brdo) ราชอาณาจักรเซอร์เบีย (Kingdom of Serbia) ซึ่งในเวลานั้นพรีเลแพ็คเป็นแหล่งผลิตแร่ที่สำคัญของประเทศ

พริแบ๊ค (Pribac) พ่อของลาซาร์นั้นเป็นข้าหลวงอยู่ในราชสำนักของกษัตริย์สเตฟาน ดูซาน (Stefan Dusan) กษัตริย์เซอร์เบีย แห่งราชวงศ์เนแมนจิค (Nemanjic dynasty) ซึ่งกษัตริย์สเตฟาน ดูซาน ดำรงค์ตำแหน่งกษัตริย์ระหว่างปี 1331-1346 และดำรงค์ตำแหน่งจักรพรรดิในปี 1346-1355 กษัตริย์ดูซาน นั้นขึ้นครองราชย์มาด้วยการรัฐประหารโค่นล้มกษัตริย์สเตฟาน อูรอส ที่ 3 (King Stefan Uros III) พระบิดาของพระองค์เอง ด้วยการสนับสนุนจากชนชั้นสูงบางกลุ่ม ซึ่งหลังจากขึ้นครองราชย์ กษัตริย์ดูซานจึงได้ตอบแทนคนเหล่านี้ที่ภักดีต่อเขาอย่างงาม โดยที่พ่อของลาซาร์ก็เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนกษัตริย์ดูซาน

หลังกษัตริย์ดูซาน ครองราชย์ พระองค์ก็ทรงมอบตำแหน่ง สตาวิแล็ค (stavilac) ให้กับลาซาร์ โดย สตาวิแล็ค คือผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดพระกระยาหารในช่วงงานพระราชพิธี

ลาซาร์แต่งงานกับมิไลค่า (Milica) ธิดาของเจ้าชายวีแร็ตโก้ (Prince Vratko)

1346 กษัตริย์สเตฟาน ดูซาน สถาปนาตำแหน่งเป็นพระจักรพรรดิ (Emperor) โดยพระองค์ตั้งพระโอรส สเตฟาน อูรอส ที่ 5 (Stepan Uros V) เป็นพระจักรพรรดิปกครองประเทศร่วมกับพระองค์

1355 จักรพรรดิสเตฟาน ดูซาน สวรรคตอย่างกระทันหัน ขณะมีพระชนษ์เพียง 47 ชันษา และพระโอรส สเตฟาน อูรอส ที่ 5 ซึ่งมีพระชนษ์ 20 ชันษา ได้ครองราชเพียงพระองค์เดียว

1359 ดินแดนอีพิรัส (Epirus) ,เธสซาลี (Thessaly), บรานิเซโว่ (Branicevo) และ คุเซโว่ (Kucevo) ประกาศแยกดินแดนออกจากจักรวรรดิเซอร์เบีย 

อำนาจของจักรพรรดิสเตฟาน อูรอส ที่ 5 ก็อ่อนแอลง ทำให้พระองค์เองตกอยู่ใต้การครอบงำของเจ้าชายโวจิสลาฟ (Prince Vojislav Vojinovic of Zahumlje)

1361 เจ้าชายโวจิสลาฟ ก่อสงครามกับสาธารณรัฐรากุซ่า (Republic of Ragusa)  เพื่อแย่งชิงดินแดนพิพาท แต่ว่าสาธารณรัฐรากุซ่า ได้หาทางยุติสงคราม โดยส่งของบรรณาการมาให้กับลาซาร์ เหตุการณ์นี้ทำให้คาดคะเนได้ว่าลาซาร์เริ่มมีอำนาจในราชสำนักเซิร์บมากพอสมควรแล้วในเวลานี้

1363 เจ้าชายโวจิสลาฟ และสาธารณรัฐรากุซ่า บรรลุข้อตกลงยุติสงครามระหว่างกัน

กันยายน, เจ้าชายโวจิสลาฟสิ้นพระชนษ์อย่างกระทันหัน ซึ่งหลังการสิ้นพระชนษ์ของเจ้าชายโวจิสลาฟทำให้ลอร์ดวุกาซิน มิร์นยาฟเจวิชี  (Vukasin Mrnjavčevićs) และลอร์ดโจวาน (Jovan Ugljesa) กลายเป็นลอร์ดที่มีอำนาจมากที่สุดในเซอร์เบีย

1365 ซาร์อูรอส ได้ทรงแต่งตั้งลอร์ดวุกาซิน (Vukasin Mrnjavčevićs) ขึ้นเป็นกษัตริย์ร่วมกับพระองค์ ในช่วงเวลานี้ลาซาร์ออกจากราชสำนัก และข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมในช่วงนี้ของเขาขาดหายไป นอกจากทราบว่าเขาไปเป็นลอร์ดอยู่ในต่างจังหวัดและถือครองเขตแดนจำนวนมาก ซึ่งเขตแดนของเขาอยู่ใกล้กับเขตแดนของลอร์ดตระกูลมิร์นยาฟเจวิชี (Mrnjavčevićs) ที่อยู่ทางใต้

1369 ลาซาร์สามารถโน้มน้าวให้ซาร์อูรอส ร่วมเปิดสงครามกับตระกูลมิร์นยาฟเจวิชี ทำให้เกิดสงครามระหว่างชาวเซิร์บด้วยกัน  ซึ่งสงครามรบกับบริเวณทุ่งหญ้าในโคโซโว่ (Kosovo field) แต่ว่าลาซาร์นั้นหลบหนีจากการรบตั้งแต่เกิดการปะทะ ปล่อยให้พันธมิตรของเขาและซาร์อูรอสเป็นฝ่ายออกรบ ซึ่งฝ่ายของซาร์อูรอสนั้นแพ้ให้กับตระกูลมิร์นยาฟเจวิชี และซาร์อูรอสก็ถูกจับ

1370 ลาซาร์ยึดเมืองรุดนิค (Rudnik) มาจากอัลโตมาโนวิช (Altomanovic)

ในช่วงเวลานี้อาณาจักรอ๊อตโตมัน (Ottomans) ได้ขยายดินแดนเข้ามาประชิดกับดินแดนเซอร์เบียของตระกูลมิร์นยาฟเจวิชี ทางตะวันออก

1371 ราชวงศ์เนแมนจิค ถึงคราวสิ้นสุดลง เมื่อจักรพรรดิสเตฟาน อูรอส ที่ 5 สวรรคต โดยที่พระองค์ไร้รัชทายาท

26 กันยายน, (Battle of Marica) กองทัพของตระกูลมิร์นยาฟเจวิชี ปะทะกับกองทัพของอ๊อตโตมัน กษัตริย์วุกาซิน ถูกสังหารในสมรภูมิ

หลังการสวรรคตของกษัตริยวุซากิ้น เจ้าชายมาร์โก้ (Marko Mrnjavčević) รัชทายาทของพระองค์ จึงได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เซอร์เบียพระองค์ใหม่ ร่วมกับซาร์อูรอส

ธันวาคม, ซาร์อูรอส สวรรคตโดยที่พระองค์ไม่มีรัชทายาท ทำให้ราชวงศ์เนแมนจิคสิ้นสุดลง

ในขณะที่เจ้าชายมาร์โก้นั้น พระองค์ไม่ได้รัรบการยอมรับว่าเป็นผู้ปกครองเซอร์เบีย ทำให้ขุนนางตามหัวเมืองหลายแห่งพากันโจมตีเขตแดนอิทธิพลของตระกูลมิร์นยาฟเจวิชี   ลาซาร์เองก็ได้ทำสงครามแย่งชิงเมือง พริสติน่า (Pristina), โนโว่ เบอร์โด (Novo Brdo) ซึ่งเคยเป็นของบรรพบุรุษของเขาคืนมา รวมถึงได้ค่ายทหารพรีเลแพ็ค กลับคืนมาด้วย  ในขณะที่ลอร์ดนิโคล่า (Nokola Altomanovic) กลายเป็นผู้มีอำนาจที่สุดในเซอร์เบีย

ลาซาร์ กับลอร์ดทรูตโก้ (Stephen Tvrtko) ซึ่งเป็นผู้ปกครองบอสเนีย (Bosnia) ในเวลานั้น ได้จับมือกันเป็นพันธมิตรในการต่อต้านลอร์ดนิโคล่า 

1373 ลาซาร์ ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์หลุยส์ ที่ 1 (King Louis I, of Hungary) แห่งฮังการี ในการรบกับลอร์ดนิโคล่า โดยที่ลาซาร์ให้คำมั่นที่จะภักดีต่อกษัตริย์หลุยส์ ที่ 1 จนกระทั้งเขาสามารถเอาชนะนิโคล่าได้ในที่สุด 

หลังจากนิโคล่าแพ้สงครามแล้วในขณะที่ลอร์ดทรูตโก้ ได้สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเซิร์บและบอสเนียในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนี้ แต่เพราะว่าพระองค์เป็นแคโธลิคจึงไม่ได้รับการสนับสนุนเหล่านักบวชในเซอร์เบีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นออโธด๊อก ส่วนลาซาร์นั้นกลายเป็นลอร์ดผู้ที่มีอำนาจที่สุดในเซอร์เบีย นักบวชออโธดอกซ์หลายคนที่หนีภัยสงครามมาจากเขตที่อ๊อตโตมันรุกราน ก็ได้ลี้ภัยเข้ามาอยู่บริเวณเขาเอธอส (Mount Athos) ภายใต้การดูแลของลาซาร์ ทำให้นักบวชอ๊อกโธด๊อกซ์ส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนลาซาร์

1379 ลาซาร์ขยายดินแดนในปกครองของตนเองไปจนถึงริมฝั่งแม่น้ำดานูบ (Danube) เมื่อสามารถตีดินแดน Kucevo, Branicevo มาจาก Radic Brankovic ที่สวามิภักดิ์ให้กับฮังการี 

ดินแดนที่ลาซาร์ปกครองนั้นถูกเรียกว่า Moravian Serbia เป็นดินแดนที่ใหญ่ที่สุดของบรรดาลอร์ดเซอร์เบียด้วยกัน 

ช่วงเวลานี้ ลาซาร์ เริ่มใช้คำว่า “Stefan” เป็นชื่อของเขา ตามค่านิยมของกษัตริย์ในราชวงศ์เนแมนจิค ที่ทุกพระองค์ใช้ชื่อสเตฟานหน้า คล้ายกับว่าเขาได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเซอร์เบีย  โดยอ้างว่าตนเองนั้นสืบเชื้อสายมาจากราชวงค์เนแมนจิค ซึ่งปกครองเซอร์เบียมานานกว่าสองร้อยปี  แต่ว่าบรรดาชนชั้นสูงของเซอร์เบียในเวลานั้นกลับไม่ยอมรับลาซาร์ว่าเป็นกษัตริย์ของเซอร์เบีย และตำแหน่งอย่างเป็นทางการของลาซาร์นั้นเป็นเพียง “เจ้าชาย”

1382 กษัตริย์หลุยส์ ที่ 1.แห่งฮังการีสวรรคต ทำให้เกิดสงครามภายในฮังการีเอง ลาซาร์เองก็ได้ร่วมในสงครามภายในของฮังการีด้วย โดยเขานั้นเป็นฝ่ายต่อต้านเจ้าชายซิกิสมันด์แห่งลักเซมเบิร์ก (Prince Sigismund of Luxemburg) แต่เมื่อภัยคุกคามจากอ๊อตโตมันมีมากขึ้น ลาซาร์จึงได้สงบศึกกับเจ้าชายซิกิสมันด์

1387 เจ้าชายซิกิสมันด์ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของฮังการี 

1389 15 มิถุนายน, สมรภูมิโคโซโว่า (Battle of Kosovo) ใกล้กับเมื่องพริสติน่า (Pristina)  เป็นการปะทะกันระหว่างกองทัพของสุลต่านมูรัด ที่ 1 (Sultan Murad I, Ottoman Empire) แห่งจักรวรรดิอ๊อตโตมัน กับกองทัพของเซิร์บที่นำโดยลาซาร์ ซึ่งในการรบกันครั้งนี้ทั้งลาซาร์และสุลต่านมูรัด ก็สวรรคตในสมรภูมิด้วยกันทั้งสองพระองค์

หลังลาซาร์สวรรคต เจ้าชายลาซาเรวิช (Stefan Lazarevic) พระโอรสองค์โตของลาซาร์ที่ยังทรงพระเยาว์ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เซิร์บต่อจากพระบิดา โดยพระมารดามิไลคา ดำรงค์ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทน

1390 พระราชินีมิไลค่า ได้ตกลงยอมแพ้ให้กับอ๊อตโตมัน โดยพระองค์ได้ส่งพระธิดาองค์เล็ก เจ้าหญิงโอลิเวร่า (Olivera) ให้ไปเป็นนางสนมในฮาเล็มของสุลต่านบาเยซิด (Sultan Bayezid I)

ส่วนกษัตริย์ลาซาเรวิช นั้นได้รับตำแหน่ง เดสพ๊อต (despot) ที่พระราชทานมาจากสุลต่านบาเยซิด 

เซอร์เบียภายใต้การปกครองของอ๊อตโตมัน เรียกว่า The Serbian Despotate ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 60 ปี ที่ยังคงมีเดสพ๊อตเป็นชาวเซิร์บ จนถึงปี 1459 … หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้การปกครองของอ๊อตโตมันนานกว่าห้าร้อยปี 

Don`t copy text!