Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Blue Peacock

บลูพีค๊อค (Blue Peacock) เป็นกับระเบิด (land mind) ชนิดระเบิดนิวเคลียร์​ ที่อังกฤษพัฒนาขึ้นมาในช่วงปี 1950s ในช่วงของสงครามเย็น โดยนำไปวางเอาไว้บริเวณทุ่งราบทางตอนเหนือของเยอรมัน โดยที่กับระเบิดนี้ถูกควบคุมการระเบิด ได้ด้วยการตั้งเวลาล่วงหน้า 8 วัน ,การสั่งผ่านทางสายไฟฟ้าที่ยาว 4.8 กิโลเมตร , และหากมีการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน

บลูพีค๊อค มีน้ำหนัก 7.2 ตัน โดยดัดแปลงมาจากระเบิดนิวเคลียร์ บลู ดานูบ (Blue Danube) ซึ่งเป็นระเบิดนิวเคลียร์แบบทิ้งลงมาทางอากาศ ประโยชน์ของระเบิดนิวเคลียร์แบบกับระเบิดบลูพีค๊อค คือ นอกจากจะทำลายศัตรูที่รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ได้แล้ว ยังป้องกันไม่ให้พื้นที่ตรงนั้นถูกนำไปใช้งานได้อีกด้วย เครื่องจากกัมตรังสีที่ตกค้างหลังการระเบิด 

สถาบันพัฒนาและวิจัยอาวุธแห่งอังกฤษ (Royal Armament Research and Development Establishment, RARDE) ที่อยู่ในเมืองเคนต์ (Kent) เป็นผู้พัฒนาบลูพีค๊อคขึ้นมาในปี 1954 

ต่อมาในปี 1957 อังกฤษนำบลูพีค๊อคไปติดตั้งในเยอรมัน โดยอ้างว่าเป็นอุปกรณ์ในการกำเนิดพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับกองทัพเพื่อใช้งานภาคสนาม 

1958 กุมภาพันธ์, อังกฤษยุติการพัฒนาบลูพีค๊อค เนื่อจากเห็นว่ามีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเนื่องจากไม่สามารถควบคุมกัมมันตรังสีที่ถูกปล่อยออกมาได้ ซึ่งอาจจะทำให้เป็นผลเสียกับตนเองและชาติพันธมิตรด้วย

2004 1 เมษายน, เอกสารเกี่ยวกับโครงการพัฒนาบลูพีค๊อคถูกลดชั้นความลับ และได้เผยแพร่ออกมา ทำให้เห็นว่าเหตุผลหนึ่งที่โครงการถูกยกเลิกไปน่าจะเป็นเหตุผลทางเทคนิค เพราะว่าอากาศที่หนาวเย็นขณะนำบลูพีค๊อคไปฝังใต้ดินในเยอรมัน อาจจะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ขัดข้องจนระเบิดไม่ทำงาน แต่ว่าได้มีการเสนอให้เอาไก่เป็นๆ ใส่เอาไว้ในระเบิดด้วย ซึ่งไก่จะได้รับอาหารเพียงพอเป็นอาทิตย์ และอุณหภูมิของตัวไก่จะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เย็นเกินไป

แต่เพราะว่าเอกสารถูกเปิดเผยตรงกับวันที่ 1 เมษายน หลายคนจึงคิดว่ามันเป็นเรื่องโกหก 

Don`t copy text!