Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Zhou Enlai

โจว เอินไหล (周恩来, Zhou Enlai)

โจวเอินไหล เกิดวันที่ 5 มีนาคม 1898 ในฮุยอัน, เจียงสู (Huai’an, Jiangsu) พ่อของเขาชื่อโจว ยีเหน่ง (Zhou Yineng) ส่วนแม่นั้นแช่ว่าน (Wan) 

สมาชิกของครอบครัวหลายรุ่นล้วนประกอบอาชีพเป็นข้าราชการ บรรพบุรุษเดิมอยู่ในเมืองเชาซิง, มณฑลเจ๋อเจียง (Shaoxing, Zhejiang) ก่อนที่ในรุ่นของปู่ ที่ชื่อโจว พานหลง (Zhou Panlong) และพี่ชายของปู้ชื่อ โจว จันอาง (Zhou Jun’ang) จะพาย้ายมาอยู่ในฮุยอัน 

โจวยีเหน่ง นั้นเป็นลูกคนที่สองของโจวพานหลง

ตอนโจวเอินไหล เกิดในครอบครัวมีฐานะที่ยากจน เพราะปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำภายในประเทศจีนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 พ่อของเขาต้องออกไปหางานทำในต่างจังหวัด และยังไม่ค่อยจะมีเงินส่งกลับมาให้ที่บ้าน

ไม่นานหลังจากเกิดโจวเอินไหล ได้ถูกนำไปเลี้ยงโดยอาของเขา ที่ชื่อโจว ยี่แกน (Zhou Yigan) ซึ่งโจวยี่แกนนั้นสุขภาพไม่แข็งแรงและป่วยด้วยวัณโรคอยู่ก่อนแล้ว ไม่นานหลังจากรับโจวเอินไหลไปดูแล เขาก็เสียชีวิต ซึ่งหลังอาโจวยี่แกน เสียชีวิตไปแล้ว ภรรยาม่ายของโจวยี่แกน ที่แช่เชน (Chen) ก็เป็นคนที่เลี้ยงโจวเอินไหลต่อมา โดยที่มาดามเชน นั้นเป็นสตรีที่มีความรู้ และเป็นผู้ที่สอนหนังสือ การอ่าน การเขียนและแนะนำวรรณกรรมต่างๆ ให้กับโจวเอินไหล  ซึ่งโจวเอินไหลอ้างว่าเขาชอบอ่าน Journey To The West ของ อู๋ เชิงเอิน (吳承恩, Wu Cheng’en) กวีในสมัยราชวงศ์หมิง มาตั้งแต่ตอนอายุ 6 ปี 

1907 แม่แท้ๆ ของโจวเอินไหลเสียชีวิต

1908 มาดามเชน แม่บุญธรรมของเขาเสียชีวิต  หลังจากแม่บุญธรรมเสียชีวิตโจวเอินไหล กับน้องชายสองคนของเขาจึงเดินทางไปฮุยอัน และไปอาศัยอยู่กับอา (Yikui)  ในขณะที่ช่วงเวลานี้พ่อของเขายังทำงานอยู่ในฮูเป่ย 

1910 ลุงของโจวเอินไหล ที่ชื่อว่า ยี่เกง (Yigeng) ได้รับอุปการะโจวเอินไหล ดังนั้นโจวเอินไหลจึงได้ออกเดินทางไปอยู่ในเชนหยาง, แมนจูเลีย (Shenyang, Manchuria) ซึ่งเป็นบ้านของลุง , ลุงยี่เกง นั้นทำงานเป็นข้าราชการ

เมื่ออยู่ที่เชนหยาง โจวเอินไหลได้เข้าเรียนที่โรงเรียนตงกวน (Dongguan Model Academy) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรสมัยใหม่มีการสอนทั้งวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ 

1913 ลุงยี่เกงถูกย้ายมาอยู่ที่เทียนจิน (Tianjin) ซึ่งโจวเอินไหลก็ต้องย้ายตามลุงมาพร้อมกัน ซึ่งที่นี่เขาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมนานไก (Nankai Middle School) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ที่ก่อตั้งโดยหยานซิว (嚴修, Yan Xiu) และมีจาง โปหลิง (張伯苓, Chang Po-ling) เป็นอธิการบดี เขาเป็นนักการศึกษาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของจีน และช่วงเวลานั้นระบบการศึกษาของที่นี้เลียนแบบมาจากสถาบันฟิลิปส์ (Philips Academy) ในสหรัฐฯ อเมริกา ซึ่งความฉลาดของโจวเอินไหลถูกใจหยานซิวมาก จนกระทั้งเขาเสนอให้โจวเอินไหลแต่งงานกับลูกสาวของเขา แต่ว่าโจวเอินไหลปฏิเสธข้อเสนอ

1917 มิถุนายน, โจวเอินไหลสำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยม 

หลังจากนั้นเขาเดินทางไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ตามเพื่อนๆ หลายคนในรุ่น โดยได้เข้าเรียนที่โรงเรียน East Asian Higher Preparatiory School ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนภาษาสำหรับนักเรียนจากจีน แต่ว่าเขาพยายามจะสอบเอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นอยู่สองครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ

1919 เดินทางกลับจีน หลังจากนั้นเขาก็สนใจแนวคิดของคอมมิวนิสต์มากขึ้น จากการได้อ่านแม็กกาซีน New Youth ของเฉิน ตู่ซิ่ว (陳獨秀, Chen Duxiu) 

พฤษภาคม, (May Fourth Movement) เกิดการประท้วงใหญ่ของนักศึกษาในกรุงปักกิ่ง ซึ่งประท้วงต่อต้านราชวงศ์ชิง ซึ่งประวัติของโจวเอินไหลของทางการบอกว่าโจวเอินไหลเป็นผู้นำนักศึกษาที่ประท้วงอยู่ในเทียนจิน แต่ว่านักประวัติศาสตร์รุ่นหลังมองว่าขาดหลักฐานว่าโจวเอินไหลร่วมในเหตุการณ์ดังกล่าว 

กรกฏกาคม, โจวเอินไหลเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ Tianjin Student Union Bulletin

สิงหาคม, โรงเรียนมัธยมนานไก ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัย และโจวเอินไหลก็ได้เข้าเรียนที่นี่ และระหว่างเรียนก็ได้ร่วมก่อตั้งสมาคม Awakening Society ขึ้นมา ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาเพียงกลุ่มเล็กๆ ที่มีสมาชิกไม่กี่สิบคน ที่นิยมแนวคิดแบบซ้าย ซึ่งสมาชิกคนหนึ่งของสมาคมคือ เติ้ง หยิงเชา (邓颖超, Deng Yingchao) ที่กลายมาเป็นภรรยาในอนาคตของโจวเอินไหล

1920 มกราคม,  กลุ่มของโจวเอินไหลร่วมในกิจกรรมเดินประท้วงต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นในเมืองเทียนจิน ซึ่งการประท้วงต่อต้านญี่ปุ่นนี้เกิดขึ้นในหลายเมืองทั่วประเทศจีน แต่ว่าด้วยแรงกฏดันของญี่ปุ่นต่อรัฐบาลจีนทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้าปราบปราบการประท้วง  และทำให้นักศึกษาหลายคนในเทียนจินถูกจับ รวมทั้งโจวเอินไหลด้วย  ซึ่งเขาตัดสินว่ามีความผิดและถูกจำคุกเป็นเวลาสองเดือน 

หลังจากได้รับการปล่อยตัวออกมา กลุ่ม Awakeing Society ก็ได้มีการประชุมร่วมกับกลุ่มเคลื่อนไหวอื่นๆ ในกรุงปักกิ่ง และมีการก่อตั้ง สมาพันธ์ปฏิรูป (Reform Federation) ขึ้นมา และซึ่งกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต ผ่านกริโกรี วอยตินสกี้ (Grigori Voitinsky) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในโคมินเทิร์น (Comintern)

พฤศจิกายน, โจวเอินไหลตัดสินใจเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อศึกษาต่อ เพราะระหว่างที่เขาถูกจำคุกนั้นเขาก็ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย แต่ว่าเขายังคงได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากหยานซิว และยังได้เงินจากการเป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศพิเศษ ให้กับหนังสือพิมพ์ Yishi bao ด้วย

ในยุโรป โจวเอินไหล เลือกใช้ชื่อฝรั่งว่า “John Knight” 

1921 มกราคม, โจวเอินไหลมาอยู่ในลอนดอน เพื่อสังเกตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในอังกฤษ ซึ่งเกิดการประท้วงมากมายหลายครั้งของคนงานเหมือง ระหว่างนี้โจวเอินไหลก็เขียนบทความส่งกลับมาตีพิมพ์ลงใน Yishi bao ด้วย 

หลังกากอยู่ในอังกฤษได้เดือนเศษ เขาก็เดินทางกลับมาปารีส โจวเอินไหลได้เข้าร่วมกลุ่มปารีสคอมมิวนิสต์ของชาวจีน ซึ่งกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยสมาชิกที่มีบทบาทสำคัญหลายคนอย่าง เติ้ง เสี่ยวผิง (Deng Xiaoping) ไค เฮเซน (Cai Hesen) หลี ลี่ซษน (Li Lisan) เชน หยี่ (Chen Yi)

1922 มีนาคม, เดินทางมาเบอร์ลิน (Berlin) เยอรมัน

มิถุนายน, เดินทากลับปารีส  และไม่นานก็ได้มีการก่อตั้งพรรคยุวชนคอมมิวนิสต์ (Chinese Youth Communist Party) ขึ้นมา โดยถือเป็นสาขาของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในยุโรป และโจวเอินไหลได้รับตำแห่งเป็นหนึ่งในสามคณะกรรมการบริหารของพรรคฯ

ต่อมาพรรคฯ ได้ทำแม็กกาซีน Shaonian (Youth) ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น Chiguang (Red Light) โดยที่โจวเอินไหลเป็นบรรณาธิการ และเขาได้จ้างเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 17 ปีให้เข้ามาช่วยในขึ้นตอนการพิมพ์

1923 มิถุนายน, ในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 3 ที่ประชุมมีมติตามข้อเสนอขององค์การโคมินเทิร์น ให้พรรคคอมมิวนิสต์ร่วมมือกับพรรคโก๊ะมินตั๋ง (Kuomintang) ที่นำโดย ดร.ชุน ยัด เซน (Sun Yat-Sen) ซึ่งการร่วมมือในครั้งนี้คือให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ไปสมัครเป็นสมาชิกของพรรคโก๊ะมินตั้ง แต่ว่ายังคงพรรคคอมมิวนิสต์เอาไว้ด้วย ด้วยเหตุนี้โจวเอินไหลจึงได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคโก๊ะมินตั๋ง

โจวเอินไหลมีบทบาทสำคัญในการตั้งสาขาของพรรคโก๊ะมินตั่งขึ้นมาในยุโรป 

1924 กรกฏาคม, เดินทางกลับจีน 

กันยายน, หลังจากกลับมาถึงจีน เขาได้เข้าทำงานที่แผนกรัฐศาสตร์ของสถาบันทหารแวมเปา (Whampoa Military Academy) ซึ่งเข้าทำงานได้ไม่กี่เดือนเขาก็ได้รับการเลื่อนขึ้นไปเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการของแผนกรัฐศาสตร์

ในช่วงเวลาเดียวกันโจวเอินไหลก็ได้รับแต่งต้งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สาขากวนตง (CPC’ Guandong Provincial Committee) ด้วย ซึ่งด้วยตำแหน่งของโจวเอินไหลในสถาบันแวมเปา ทำให้เขาสามารถดึงสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์หลายคนเข้ามาอยู่ภายในสถาบันได้

1925 มกราคม, ฝ่ายชาตินิยมที่นำโดยโก๊ะมินตั๋ง และ ดร.ซุน ยัด เซน ได้ออกปฏิบัติการทางทหารในการขับไล่ฝ่ายของ เฉิน เจียงหมิง (Chen Jiongming)  ออกจากกวางโจว (Guangzhou) ซึ่งโจวเอินไหลก็ได้ร่วมในปฏิบัติการนี้ด้วย 

12 มีนาคม, ดร.ซุน ยัดเซน เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งทำให้เจียงไคเช็คขึ้นมาเป็นผู้นำของฝ่ายชาตินิยมและผู้บังคับบัญชาของสถาบันแวมเปา

8 สิงหาคม, โจวเอินไหล แต่งงานกับ เติ้ง หยิงเชา

1926 20 มีนาคม, (Zhongshan incident) ฝ่ายคอมมิวนิสต์มีการเคลื่อนเรือรบ จงชาน (Zhongshan) ซึ่งเป็นเรือที่ดีที่สุดของสถาบันทหารแวมเปา โดยที่ไม่ได้แจ้งให้เจียงไคเช็ครับทราบ ทำให้เจียงไคเช็คสงสัยว่าฝ่ายคอมมิวนิสต์จะทำการโค่นล้มเขา จึงได้สั่งให้มีการขับไล่สมาชิกฝ่ายสนับสนุนคอมมิวนิสต์ออกจากสถาบันแวมเปา ร่วมถึงโจวเอินไหลด้วย  

กรกฏาคม, (Northern Expedition) ฝ่ายโก๊ะมินตั๋งเริ่มปฏิบัติการณ์ทหารครั้งใหญ่ เพื่อรวบรวมแผ่นดินจีนที่แตกแยก โดยยกกำลังทหารขึ้นไปพิชิตดินแดนทางเหนือ หนึ่งในเป้าหมายหลักของปฏิบัติการณ์ทางทหารขึ้นไปตอนเหนือครั้งนี้ ก็คือเมืองนานกิง (Nanking) ซึ่งตอนนั้นอยู่ใต้การควบคุมของ ซุน ฉวนฟัง (孙传芳, Sun Chuanfang) ปฏิบัติการของฝ่ายโก๊ะมินตั่งและกลุ่มชาตินิยมในช่วงแรกยังได้รับความรวมมือจากฝ่ายคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้คำแนะนำของโซเวียต แต่ว่าก็มีการแข่งขันกันเองภายระหว่างสองฝ่าย

1927 21 มีนาคม, ฝ่ายคอมมิวนิสต์สามารถยึดเมืองชางไห่ (shanghai) เอาไว้ได้ โดยโจวเอินไหลได้ร่วมในการปลุกระดมให้แรงงานกว่าหกแสนคนลุกขึ้นมาก่อจราจลและยึดสถานที่ราชการต่างๆ เอาไว้ ทำให้ซุจ ฉวนฟัง ต้องยอมทิ้งเมืองออกไป ซึ่งหลังจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดเมืองเอาไว้ได้แล้ว ในวันต่อมาฝ่ายโกีะมินตั๋งก็ตามเข้ามาสมทบในเมือง

12 เมษายน, (Shanghai massacre) เจียงไคเช็ค และโก๊ะมินตั๋ง แตกหักกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยเริ่มการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ออกจากชางไห่ ซึ่งทำให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์เสียชีวิตไปเกือบหมื่นคน โจวเอินไหลเองก็เกือบจะถูกสังหารในเหตุการณ์นี้ โดยเขาถูกหลอกให้ไปงานเลี้ยงอาหารค่ำที่จัดโดย ซี ไล (Si Lie) ผู้นำกองกำลังที่หกของโก๊ะมินตั่ง โจวเอินไหลนั้นถูกจับเอาไว้ แต่ว่าเขาไม่นานเขาได้รับการปล่อยตัวออกมาโดยกำลังของไบ ชงสี (Bai Chongxi) 

หลังจากได้รับการปล่อยตัว โจวเอินไหลก็รีบหนีออกจากช่างไห่ และมุ่งหน้าไปยังอู่ฮั่น (wuhan) เพื่อเข้าร่วมการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง 27 เมษายน – 9 พฤษภาคม, ซึ่งในการประชุมนี้ โจวเอินไหล ได้รับเลือกตั้งให้เป็นคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์

1 สิงหาคม, (Nanchang uprising) โจวเอินไหล และฮี หลง (He Long) นำฝ่ายคอมมิวนิสต์ลุกขึ้นต่อต้านโก๊ะมินตั้งในหนานชาง เพื่อพยายามจะยึดเมืองเอาไว้ ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนและโก๊ะมินตั๋งจับอาวุธเผชิญหน้ากัน หลังเหตุการณ์ที่นานกิง 

การลุกขึ้นต่อสู้กับโก๊ะมินตั้งและฝ่ายชาตินิยม ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่หนานชางในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ ถือว่าเป็นวันที่ก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชน (People’s Liberation Army) 

ระหว่างการรบที่หนานชางนี้ โจวเอินไหลเกิดล้มป่วยด้วยไข้มาลาเรีย และเขาถูกส่งตัวไปอย่างฮ่องกงอย่างลับๆ เพื่อรักษาอาการป่วย 

เหตุการณ์ท่หนางชางนี้จบลงด้วยการที่ฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์จีนถอยไปตั้งหลักที่กวางตุ้ง (Guangdong) และใช้กวางโจว เมืองหลวงของกวางตุ้งในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ในหมู่เกษตรกรและแรงงาน 

ช่วงปลายปี พรรคคอมมิวนิสต์ได้ตั้งหน่วยข่าวกรองและปฏิบัติการณ์พิเศษขึ้นมาชื่อว่า Zhongyang Teke (中央特科) ซึ่งโจวเอินไหลเป็นผู้บังคับบัญชา

1928 มิถุนายน, (6th CCP’s National Party Congress) โจวเอินไหลเดินทางมาประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งจัดขึ้นในมอสโคว์ ซึ่งในการประชุมนี้เซียง ซงฟา (Xiang Zhongfa) ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรค แต่ว่าไม่นานเขาก็แสดงให้เห็นว่าไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง โจวเอินไหลจึงกลายเป็นผู้นำพรรคอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งในที่ประชุมโจวเอินไหลได้แสดงทรรศนะเอาไว้ว่าจีนยังไม่พร้อมกับการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในขณะนี้ และพรรคจำเป็นต้องออกไปรณรงค์หาเสียงสนับสนุนจากชนบทให้สนับสนุนเสียก่อน 

1929 โจวเอินไหลกลับเข้าไปเคลื่อนไหวลับๆ ในชางไห่ 

1931 โจวเอินไหลและภรรยาย้ายมาอยู่ในเจียงซี (Jiangxi) ในช่วงปลายปี ซึ่งที่เจียงซี นี่ถูกเรียกว่า เจียงซี-ฟูเจียน โซเวียต (Jianxi-Fujian Soviet) ซึ่งเป็นฐานของพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ตั้งขึ้นโดยเหมา เจ๋อตุง (Mao Zedong) และ ชู เต (Zhu De)  ซึ่งนี่เป็นการพบกันครั้งแรกของเหมาเจ๋อตุง กับโจวเอินไหล 

1933 โซเวียตส่งอ๊อตโต บรอน (Otto Braun) มาเป็นที่ปรึกษาคนใหม่ให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งจังหวะนี้โจวเอินไหลก็ทำการปฏิรูปกองทัพปลดปล่อยประชาชนให้มีมาตรฐานสูงขึ้น และสามารถต่อต้านการโจมตีจากฝ่ายโก๊ะมินตั๋งได้

1934 16 ตุลาคม, (Long March) พรรคคอมมิวนิสต์ตัดสินใจทิ้งเจียงซี เพราะถูกปิดล้อมจากโก๊ะมินตั๋ง 

1935 ตุลาคม, หลังจากเดินทางกว่า 9000 กิโลเมตร พรรคคอมมิวนิสต์จีนมาตั้งฐานใหม่อยู่ที่หยานอัน (Yan’an) ในมณฑลชานซี (Shaanxi) โดยที่พวกเขาต้องเสียกำลังคนไปกว่าครึ่งแสนจากการรบระหว่างทางและอุปสรรคตามธรรมชาติต่างๆ  ซึ่งเหตุการณ์ระหว่างทางใน Long March ทำให้เมื่อมาถึงชานซีแล้ว เหมาเจ๋อตุงได้รับการสนับสนุนให้กลายเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แทนโจวเอินไหล 

1936 สิงหาคม, การประชุมขององค์การโคมินเทิร์น ครั้งที่ 7 ได้มีการเรียกร้องให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนกลับไปร่วมมือกับโก๊ะมินตั๋ง เพื่อที่จะต่อต้านญี่ปุ่น ซึ่งโจวเอินไหลได้ทำตามนโยบาย โดยเขาได้ติดต่อเจรจากับจาง ซูเหลียง (Zhang Xueliang) ผู้บัญชาการทหารคนหนึ่งของกองทัพโก๊ะมินตั๋งทางตอนเหนือ ซึ่งจางซูเหลียงนั้นต่อต้านญี่ปุ่นมาก เขาจึงถูกโจวเอินไหลโน้มน้าวให้กลายเป็นฝ่ายเดียวกันได้ง่าย เพื่อที่ร่วมมือกันโจมตีญี่ปุ่นและยึดแมนจูเรียกลับคืนมา และพวกเขายังหวังที่จะยุติสงครามประชาชนระหว่างชาวจีนด้วยกัน และโปรโมทสโลแกน “Chinese must not flight Chinese” ขึ้นมา

12-26 ธันวาคม, (Xi’an incident) ในเดือนธันวาคม เจียงไคเซ็ค เดินทางมายังซีอาน เพราะเขาเริ่มสงสัยในท่าท่าของจางซูเหลียง และเพื่อที่จะเตรียมกองทัพโก๊ะมินตั๋งที่จะโจมตีญี่ปุ่นในแมนจูเรีย แต่ต่อมาทหารของจางซูเหลียงได้บุกเข้ามาในที่พักของเจียงไคเช็ค  และจับเขาเอาไว้

24 ธันวาคม, โจวเอินไหลจึงได้เป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการเข้ามาเจรจากับเจียงไคเช็ค ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะยุติสงครามระหว่างกันและร่วมมือกันต่อต้านญี่ปุ่น 

25 ธันวาคม, เจียงไคเช็คได้รับการปล่อยตัวและเดินทางกลับนานกิง โดยที่จางซูเหลียงเดินทางไปนานกิงพร้อมกับเขาด้วย แต่ว่าเมื่อไปถึงนานกิง จางซูเหลียงถูกเจียงไคเช็คหักหลังและจับตัวเอาไว้

ในขณะที่โจวเอินไหลซึ่งอยู่ในซ๊อาน ก็ถูกทหารของจางซูเหลียงมองว่าเขาหักหลังและหลอกให้จางซูเหลียงไปนานกิงเช่นกัน แต่ว่าโจวเอินไหลใช้ความอดทนพูดคุยจนทหารของจางซูเหลียงอยู่ในความสงบได้

1937 ช่วงต้นปีโจวเอินไหลพยายามเจรจาให้โก๊ะหมินตั๋งปล่อยตัวจางซูเหลียง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ 

7 กรกฏาคม, (Marco Polo Bridge Incident) ฝ่ายชาตินิยมปะทะกับญี่ปุ่น จนเป็นเหตุให้เกิดสงครามราะหว่างจีนกับญี่ปุ่นครึ้งที่ 2 (2nd Sino-Japanese War)

13 ธันวาคม, นานกิง เมืองหลวงของโก๊ะมินตั๋งถูกญี่ปุ่นตีแตก

ในปีนี้โจวเอินไหล รับซุน เหวยชือ (孙维世,Sun Weishi) เด็กสาววัย 16 ปี และซุน หยาง (Sun Yang) พี่ชายมาเป็นบุตรบุญธรรม พ่อของพวกเขานั้นถูกทหารโก๊ะมินตั๋งสังหาร

1938 24 มีนาคม-7เมษายน, (Battle of Taierzhuang)

1 พฤศจิกาย, โจวเอินไหล ก่อตั้งสำนักข่าวซินหัว (新华日报,Xinhua Daily) ขึ้นมาในอู่ฮั่น

13 พฤศจิกายน, (Fire fo Changsha) โจวเอินไหลเกือบเสียชีวิตในเหตุการณ์ไฟไหม้เมืองฉางชา หลังจากเมืองนี้ถูกญี่ปุ่นปิดล้อมเอาไว้ และเจียงไคเช็คเกรงว่าจะไม่สามารถรักษาเมืองเอาไว้ได้ จึงได้สั่งให้ฝ่ายโก๊ะมินตั๋งเผาเมืองทิ้ง ซึ่งไฟเผาเมืองอยู่สามวัน และผู้คนหลายหมื่นต้องเสียชีวิต 

ปีนี้โจวเอินไหล ยังรับหลี่ เพิง (李鹏,Li Peng) ในวัย 3 ขวบมาดูแล หลังจากพ่อของเขาถูกฆ่าโดยโก๊ะมินตั๋ง  ซึ่งภายหลังหลี่เพิง ได้เป็นถึงนายกรัฐมนตรีของจีน

1939 โจวเอินไหลประสบอุบัติเหตุตกจากหลังม้า ทำให้แขนด้านขวาของเขาหัก ดังนั้นเขาจึงถูกส่งตัวไปยังมอสโคว์เพื่อรักษาพยาบาล โดยทีซุน เหวยชื่อ ลูกสาวของเขาเดินทางไปด้วย และหลังจากโจงเอินไหลกลับจีน ชุนเหวยซื่อยังคงอยู๋ในมอสโคว์เพื่อเรียนหนังสือด้านการแสดง

1941 7 มกราคม, (Anhui Incident) เหตุการณ์ที่อันฮุย ทำให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์และโก๊ะมินตั๋งที่ไม่ค่อยจะลงรอยกัน แตกหักกันอีกครั้งหนึ่ง 

1942 เขามาอยู่ในฉงชิ่ง (Chongqing) เพื่อเจรจาให้โก๊ะมินตั๋งปล่อยสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ถูกจับตัวเอาไว้ 

พ่อของโจวเอินไหลเสียชีวิต

1943 กลับมายังหยานอัน   ช่วงเวลานี้เขามีความขัดแย้งกับเหมาเจ๋อตุง เพราะเหมาเจ๋อตุงพยายามสร้างลัทธิบุชาตัวของเขา ผ่านแนวคิด “Moaism” ในหมู่สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ แต่โจวเอิ๋นไหลไม่เห็นด้วยในตอนแรก แต่ด้วยเสียงสนับสนุนเหมาเจ๋อตุงที่เข้มแข็งกว่า ทำให้สุดท้ายโจวเอินไหลต้องยอมรับว่าตัวเองผิดผลาด และกลับมาอยู่ฝ่ายเดียวกับเหมาเจ๋อตุง

1944 มิถุนาย, (The Dixie mission) สหรัฐฯ ส่งทหารจำนวนหนึ่งเข้ามาสังเกตุการณ์ในกองทัพโก๊ะมินตั๋ง เพืรอเตรียมตัวก่อนที่จะบุกญี่ปุ่น

1945 2 กันยายน, ญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลก ครั้งที่ 2  

ตุลาคม, เจียงไคเช็ค ได้เชิญเหมาเจ๋อตุง และโจวเอินไหลมาประชุมที่ฉงชิ่ง เพื่อเจรจาสันติภาพโดยมีอเมริการ่วมด้วย แต่ว่าการเจรจาล้มเหลว 

ธันวาคม, มีการจัดประชุมสามฝ่ายอีกครั้ง โดยที่ครั้งที่ ปธน.ทรูแมน (Henry S. Truman) แห่งสหรัฐฯ ส่งนายพลจอร์จ มาร์แชลล์ (Gen. George C. Marshall) มาเป็นตัวกลาง ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคโก๊ะมินตั๋งตกลงที่จะหยุดยิงระหว่างกัน

1946 การหยุดยิงระหว่างคอมมิวนิสต์และโกะมินตั้งไม่มีผล เพราะเกิดการปะทะกันรุนแรงในแมนจูเรีย 

พฤษภาคม, โจวเอินไหลออกจากฉงชิ่งมายังนานกิง ซึ่งกลับมาเป็นเมืองหลวงของโก๊ะมินตั๋ง 

พฤศจิกายน, แกนนำพรรคคอมมิวนิสต์พากันกลับไปยังหยานอัน 

1947 มีนาคม, กองกำลังของโกะมินตั๋งบุกหยานอัน ในขณะที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ใช้สงครามแบบกองโจรในการตั้งรับ 

1949 มกราคม, ฝ่ายคอมมิวนิสต์สามารถยึดปักกิ่งและเทียนจินเอาไว้ได้ ทำให้ดินแดนทางเหนือของจีนส่วนใหญ่อยู่ในการควบคุมของคอมมิวนิสต์ 

21 มกราคม, เจียงไคเช็ค ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีของฝ่ายชาตินิยม และนายพล หลี ซงเรน (Gen.Li Zongren) รับตำแหน่งแทน ซึ่งเขาเปิดการเจรจากับฝ่ายคอมมิวนิสต์หลายครั้ง แต่การเจรจาไม่ยุติ เพราะเจียงไคเช็คซึ่งยังคงมีอำนาจอยู่เบื้องหลังไม่ยอมรับข้อตกลง

21 เมษายน, เหมาเจ๋อตุงประกาศให้กองทัพปลดปล่อยประชาชนทำสงครามทั่วประเทศ

23 เมษายน, ฝ่ายคอมมิวนิสยึดนานจิงได้สำเร็จ  และหลี ซงเรน ได้ลี้ภัยไปยังสหรัฐฯ 

1 ตุลาคม, เหมาเจ๋อตุง ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่โจวเอินไหลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของจีน และเขายังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศควบด้วย โจวเอินไหลอยู่ในตำแหน่ง รมต.ต่างประเทศจนกระทั้ง 1958 และอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนเขาเสียชีวิต ในปี 1976

ธันวาคม, เฉิงตู (Chengdu) ซึ่งเป็นเมืองสุดท้ายที่เป็นฐานที่มั่นของโก๊ะมินตั๋งถูกพรรคคอมมิวนิสต์ยึดมาได้ และเจียงไคเช็คต้องหนีไปยังไต้หวัน 

1950 จีนผนวกทิเบต (Tibet) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ในขณะที่โจวเอินไหลก็ประสบความสำเร็จทางการทูตโดยการเดินทางไปเยือนอินเดีย และเจรจากับประธานาธิบดีเนรู (Jawaharlal Nehru) ประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียหลังได้รับอิสระภาพ ให้ยอมรับว่าทิเบตเป็นของจีนได้สำเร็จ

มิถุนายน, (Korean war) เกิดสงครามเกาหลี ซึ่งโจวเอินไหลมีบทบาทในการเจรจาให้สองฝ่ายหยุถดยิงกันได้ในปีต่อมา

1953 5 มีนาคม, สตาลินเสียชีวิต และโจวเอินไหลเป็นตัวแทนของจีนไปร่วมในรัฐพิธี

1954 เข้าร่วมการประชุมเจนีวา (Geneva Conference 1954) ซึ่งเป็นการเจรจาเพื่อหาทางยุติสงครามเวียดนาม ซึ่งต่อสู้เพื่อเอกราชจากฝรั่งเศส การประชุมครั้งนี้ทำให้มีการแบ่งเวียดนามออกเป็นเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้

1955 เข้าร่วมการประชุมบันดัง (Bandung Conference 1955)

1966 ประธานเหมาเริ่มนโยบายปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution, 1966-1976) เพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ของตัวเองและกระชับอำนาจอีกครึ้ง ซึ่งประธานเหมาอาศัยกาโฆษณาชวนเชื่อให้เยาวชนในนามของเรด การ์ด (Red Guards) ออกมาทำลายวัฒนธรรมที่มองว่าล้าสมัย  ในช่วงนี้โจวเอินไหลก็เหมือนผู้นำระดับสูงคนอื่นๆ ของจีนที่ต้องอยู่เงียบๆ เพื่อความปลอดภัย 

1972 21-28 กุมภาพันธ์, ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) เดินทางเยือนจีน

1973 ได้รับเลือกให้เป็นรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์  อันดับที่หนึ่ง ซึ่งเป็นการวางตัวโจวเอินไหล ให้เป็นผู้สืบทอดจากประธานเหมา

1976 8 มกราคม, เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในขณะที่มีอายุ 77 ปี

เมษายน, (Tiananmen Incident) การเสียชีวิตของโจวเอินไหล มีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ประท้วงที่จตุรัสเทีนอันเหมิน 

Don`t copy text!