Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Jennifer Doudna

เจนนิเฟอร์ เดาน่า (Jennifer Anne Doudna)

โนเบลเคมี 2020 ร่วมกับ เอ็มมานูเอล คาร์เพนเทียร์ (Emmanuelle Charpentier) จากการค้นพบและร่วมพัฒนา CRISPR-Cas9 

เจนนิเฟอร์ เกิดวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1964 ในวอชิงตัน ดี. ซี.  จนอายุได้ 6 ปี ครอบครัวก็ย้ายมาอยู่ที่ฮาวาย เพราะพ่อของเธอเป็นอาจารย์สอนวิชาวรรณกรรมอเมริกาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย ส่วนแม่ก็เป็นอาจารย์วิชาประวัติศาสตร์ในวิทยาลัยชุมชน

เจนนิเฟอร์สนใจวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เล็กเพราะว่าชอบที่จะเข้าไปสำรวจพื้นที่ป่าฝนโดยรอบชุมชนที่เธออาศัย และตอนเรียนประถม พ่อของเธอก็ได้ให้หนังสือ The Double Helix โดยเจมส์ วัตสัน (James Watson) ผู้ค้นพบ DNA ซึ่งหนังสือนี้เป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เธออยากเรียนชีวเคมี

1985 จบปริญญาตรีจากโปโมน่าคอลเลจ (Pomona College) ในแคลิฟอร์เนีย สามาชีวะเคมี  หลังจากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School)

1989 จบปริญญาเอกจากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด สาขา ชีวะเคมีและเภสัชศาสตร์โมลิกุล (Biological Chemistry and Molecoular Pharmacology)  โดยที่มี ศจ. แจ็ค สซอสแต๊ก (Prof. Jack W. Szostak) เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

หลังจากเรียนจบได้รับทุนวิจัยทางด้านชีวะโมลิกุล มาทำงานที่โรงพยาบาลแมสซาซูเซตต์ เจเนรัล (Massachusetts General Hospital)

ต่อมาได้รับทุนวิจัยด้านพันธุศาสตร์ และมาทำงานที่โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) 

1991 ย้ายมาทำวิจัยที่คณะเคมีและชีวะเคมี มหาวิทยาลัยโคโลราโด่ (University of Colorado)

1994 ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเยล (Yale University)

แต่งงานกับเจมี่ (Jamie Cate) ซึ่งเจมี่ภายหลังได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ ม.เบิร์กเลย์

1997-ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษาให้กับสถาบันโฮเวิร์ด ฮิวส์ (Howard Hughes Medical Institute)

1999 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่คณะชีวะฟิสิกส์โมลิกุลและชีวะเคมี ของ ม.เยล

2002 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์เฮนรี่ ฟอร์ด ที่ 2 (Henry Ford II Professor) ที่ ม.เยล

2002-ปัจจุบัน ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่คณะโมลิกุลและชีวะเซลล์ และคณะเคมี ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ (University of California,Berkeley)

2012 ร่วมกับเอ็มมานูเอล คาร์เพนเทียร์ (Emmanuelle Charpentier) นักวิจัยชาวฝรั่งเศส ค้นพบ Cas9 ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในระบบภูมิคุ้นกันของแบคทีเรีย สเต็ปโตรค๊อกคัส (Stroptococus bacteria) ซึ่งระบบภูมิคุ้นมกันของสเต็ปโตรค๊อกคัสนี้ ทำงานโดยอาศัยกลไก CRISPR (clustered regularly interspaced short palindromic repeats) ในการเข้าไปตัดดีเอ็นเอ (DNA) ของระบบป้องกันตัวของศัตรูในธรรมชาติ  เจนนิเฟอร์และคาร์เพนเทียร์จีงมีสมมติฐานว่าจะอาศัยกลไกของ CRISPR-Cas9 นี้ในการตัดต่อพันธุกรรมได้ ซึ่งสมมุติฐานของพวกเขาเป็นจริง และเป็นการบุกเบิกเทคโนโลยีให้ให้กับวิชาพันธุวิศวกรรม 

2013-ปัจจุบัน ได้รับตำแหน่งนายกลี กา ชิง (Li Ka Sing Chancellor) สาขาวิทยาศาสตร์ชีวะการแพทย์ ม.แคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ 

2015-ปัจจุบัน ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการด้านชีวะวิทยา ของ ม.แคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์

2017 เขียน A Crack in Creation 

2020 ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ร่วมกับเอ็มมานูเอล คาร์เพนเทียร์

Don`t copy text!