Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Oskar Vogt

ออสการ์ ว็อกต์ (Oskar Vogt)

แพทย์ผู้นำการชันสูตรสมองของเลนิน (Vladimir Lenin)

ว็อกต์ เกิดวันที่ 6 เมษายน  1870 ในฮูซัม, เชลวิก-โอลสไตน์, เยอรมัน (Husum, Schelswig-Holstein) พ่อของเขาเป็นปาสเตอร์อยู่ในโบสถ์เซนต์แมรี่ (St.Mary’s Church) 

1888 จบมัธยมจากเฮอร์แมนน์จิมเนเซียม (Hermann-Tast-Schule gymnasum) จากนั้นได้เข้าเรียนทางด้านจิตวิทยาและสัตววิทยา ที่มหาวิทยาลัยเคียล (University of Kiel) 

1890 ย้ายมาเรียนทางด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเจน่า (University of Jena) ระหว่างอยู่ที่เจน่า เขาได้เป็นสมาชิกของกลุ่ม Burschenschaft Teutonia Jena

ว๊อกต์ ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการเรียนกับเอิร์น แฮ็คเกิ้ล (Ernst Haeckel) 

1893 สำเร็จการศึกษา

1894 จบปริญญาเอก และได้เข้าทำงานที่คลีนิคสรีระศาสตร์ของอ๊อตโต้ บินสแว็กเกอร์ (Otto Binswager) ในซูริค

ต่อมาไม่นานก็ย้ายมาทำงานที่โรงพยาบาลจิตเวชเบอร์ก๊อซลิ (Burghölzli  psychiatric hospital) ใกล้กับเมืองซูริค โดยอยู่ภายใต้การดูแลของออกัสเต้ โฟเรล (Auguste Henri Forel, 1848-1931) ซึ่งโฟเรล ยังได้แนะนำให้ว็อกต์เข้าเป็นทำงานในกองบรรณาธิการของวารสารเกี่ยวกับการสะกดจิต Zeitschritf für Hypnotismus (Journal of Hypnotism) ด้วย ซึ่งโฟเรลเป็นผู้ก่อตั้งวารสารนี้ขึ้นมา ภายหลังในปี 1902 ว๊อกต์ ได้เปลี่ยนชื่อวารสารไปเป็น  Journal für Psychologie und Neurologie (Journal of Psychology and Neurology)

ต่อมาว๊อกต์ได้มาทำงานที่คลีนิคระบบประสาทและสรีระศาสตร์ของมหาวิทยาลัยลิปซิก (universtiy of Leipzig) โดยอยู่ใต้การดูแลของพอล เฟลชซิก (Paul Flechsig) แพทย์ผู้บุกเบิกเกี่ยวกับ myelonogenesis (การศึกษาเมอิลินในเซลล์ประสาท)

1895 ออกจาก ม.ลิปซิก  และได้เดินทางไปทำงานเป็นหมออยู่ในเมืองอเล็กซานเดอร์บัด (Alexandersbad) ซึ่งเป็นเมืองรีสอร์ทในเทือกเขาสปรูซ (Spruce Mountains) ซึ่งที่นี่ทำให้เขาได้พบกับไฟร์ดริช ครัปป์ (Friedrich Alfred Krupp) และมากาเร็ต (Margarethe) ภรรยา ทั้งคู่เป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของเยอรมันจากธุรกิจเหล็ก ซึ่งครัปป์กลายเป็นผู้สนับสนุนหลักของว๊อกต์ในการทำวิจัยด้านสมอง 

1897 ออกจากอเล็กซานเดอร์บัด และเดินทางไปยังปารีสเพื่อศึกษาในห้องวิจัยของจูล เดเจรีน (Jules Dejerine)  ซึ่งทำให้เขาได้รู้จักกับเซซิล (Cecile Mugnier, 1875-1962) ซึ่งเป็นนักเรียนแพทย์ระบบประสาทที่ทำวิจัยอยู่ในห้องวิจัยใกล้ๆ กับห้องวิจัยที่ว๊อกต์ทำงานอยุ่ 

1899 มีนาคม, แต่งงานกับเซซิล ซึ่งหลังจากแต่งงานทั้งคู่ได้ย้ายไปอาศัยอยู๋ในเบอร์ลิน 

1898 ได้ก่อตั้งห้องวิจัยด้านสมองของตัวเองขึ้นมา โดยใช้ชื่อ Neurologische Zentralstation (Neurological Center) ซึ่งต่อมาได้คอร์ปาเนียน บร๊อกแมนน์ (Korbinian Brodmann) มาร่วมงานในปี 1901 และได้แม็กซ์ เบลสโชวสกี้ (Max Bielschowsky) มาร่วมในปี 1904

1902 ห้องวิจัยของว๊อกต์เปลี่ยนชื่อเป็น Neurobiological Laboratory  (Neurobiologisches  Laboratorium) ซึ่งสังกัดกับสถาบันการแพทย์ มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (University of Berlin) แต่ว่ายังบริหารงานอิสระ โดยยังใช้อพาร์ตเม้นท์ของว็อกต์เป็นห้องวิจัย

1911 ในเยอรมันมีการก่อตั้งสมาคม Kaiser Wilhelm Society ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้มีการตั้งสถาบันวิจัยสมองขึ้นมาด้วย ชื่อ Kaiser Wilhelm Brain Research Institute

1913 ว๊อกต์ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่สถาบันวิจัยสมอง K-W 

1914 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของสถาบันวิจัยสมอง K-W แต่ว่าไม่นานก็เกิดสงครามโลก และการก่อสร้างสถาบันวิจัยก็เกิดความล่าช้าขึ้น

1925 ว๊อคส์เดินทางไปสหภาพโซเวียต และช่วยในการก่อตั้งสถาบันวิจัยสมองมอสโคว์ (Brain Research Insitute of the Russian Academy of Medical Sciences)  ซึ่งทำให้เขาได้เข้าร่วมในการผ่าสมองของเลนิน (Vladimir Lenin) ซึ่งใช้สถาบันสมองนี้ในการทำการผ่าตัด ซึ่งมีแพทย์ 11 คนที่ร่วมในการผ่าดังกล่าว  

เลนินเสียชีวิตลงในปี 1924 และร่างของเขาถูกแช่เอาไว้ในฟอร์มารีน การผ่าสมองของเลนินใช้เทคนิคที่เรียกว่า cytoarchitectonics ซึ่งจากรายงานได้บอกว่า สมองของเลนินถูกสไลด์ออกมาเป็นแผ่นบางๆ ความหนา 20 ม.ม. รวมทั้งหมด 30,953 แผ่น ปัจจุบันสมองของเลนินยังถูกเก็บรักษาไว้ที่สถาบันสมองแห่งนี้

1928 ว๊อคส์เดินทางออกจากสหภาพโซเวียต พร้อมกับสมองของเลนินแผ่นหนึ่ง และไม่ได้เดินทางกลับมาสหภาพโซเวียตอีกเลย เขานำเอาสมองของเลนินไปใช้ในการสอนของเขาในที่ต่างๆ 

1931 สถาบันวิจัยสมอง K-W ก่อสร้างเสร็จ ซึ่งในช่วงเวลานี้ได้รับเงินสนับสนุนหลักมาจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (the Rockefeller Foundation)

1937 1 เมษายน, ว็อกต์ลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันวิจัยสมอง K-W เพราะแรงกดดันของนาซี 

แต่ว่าว๊อกต์ได้รับการปกป้องจากนาซีโดยครัปป์ และครัปป์ยังสนับสนุนเงินในการก่อตั้งสถาบันวิจัยแห่งใหม่แม้จะมีขนาดเล็กกว่า ชื่อ Neustadt Institute  (Institut für  Hirnforschung  und  allgemeine  Biologie Neustadt/Schwarzwald).

1959 30 กรกฏาคม, เสียชีวิต

1965 Neustadt Institute เปลี่ยนชื่อเป็น Ceciel and Oskar Vogt Brain Research Institute, Dusseldorf University 

Don`t copy text!