Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Harold Urey

ฮาโรล์ด อูเรย์ (Harold Clayton Urey) 

โนเบลเคมี 1934 จากการค้นพบ deuterium , การทดลอง Miller-Urey experiment

อูเรย์ เกิดวันที่ 29 เมษายน 1893 ในเมืองวอลเกอร์ตัน, อินเดียน่า (Walkerton, Indiana) พ่อของเขาชื่อซามูเอล (Samuel Clayton Urey) เป็นครูและเป็นเกษตรกร ส่วนแม่ชื่อคอร่า (Cora Rebecca Reinoehl) เธอเคยเป็นครูในโรงเรียนก่อนที่จะแต่งงาน แต่ว่าหลังจากมีลูกแล้วก็ลาออกมาเป็นแม่บ้าน

1899 เมื่ออูเรย์อายุได้ 6 ชวบ พ่อของเขาก็เสียชีวิต ทำให้ฐานะทางบ้านยากลำบาก แม่ต้องพาลูกๆ ทั้งสามคนไปอาศัยอยู่กับย่า (แม่ของซามูเอล) ในฟาร์มที่เมืองโครันน่า (Corunna, Indiana))

1904 ย่าเสียชีวิต หลังจากนั้นแม่ของเขาก็เลี้ยงดูลูกๆ ขึ้นมาโดยการทำอาชีพปลูกหัวหอม 

อูเรย์เรียนมัธยมที่โรงเรียนมัธยมในเคนดาลวิลล์ (Kendallville, Indiana) โดยที่เขาได้เงินในการไปเรียนหนังสือมาจากเงินประกันชีวิตของพ่อซึ่งทำไว้เพื่อการศึกษาของบุตรโดยเฉพาะ

ระหว่างเรียนหนังสืออูเรย์เป็นเรียนเก่งในวิชาชีววิทยาและฟิสิกส์ และชอบกิจกรรมการโต้วาที

1911 จบมัธยมตอนอายุ 18 และได้เข้าเรียนต่อที่เอิร์ลแฮม คอลเลจ (Earlham College) จนกระทั้งได้รับใบอนุญาตในการเป็นครู  ซึ่งหลังจากได้รับใบอนุญาตสอนหนังสือแล้ว เขาก็ทำงานเป็นครูสอนหนังสืออยู่ในโรงเรียนเล็กๆ ในอินเดียน่าก่อนที่จะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย 

1914 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมอนทาน่า (University of Montana) ทางด้านสัตววิทยา

1917 จบปริญญาตรี ันี

โดยเอกสัตววิทยาและวิชาโททางด้านเคมี  หลังจากนั้นได้เข้าทำงานที่บริษัทบาร์เร็ตต์เคมีคอล (Barrett Chemical Company) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตระเบิด ตั้งอยู่ในเพนซิลวาเนีย

1919 มาทำงานเป็นอาจารย์สอนวิชาเคมี ที่ ม.มอนทาน่า

1921 เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California, Berkeley) ซึ่งที่นี่เขาได้มีโอกาสทำงานในห้องทดลองเคมีของกิลเบิร์ก เลวิส (Gilbert N. Lewis) ด้วย

1923 จบปริญญาเอก หลังจากนั้นได้รับทุนเพื่อไปศึกษาวิจัยที่สถาบันฟิสิกส์นีล บอห์ร (Niels Bohr’s Institute for Theoretical Physics)  ในเดนมาร์ก

1925 หลังจากเดินทางกลับมาสหรัฐฯ อูเรย์ได้เข้าทำงานที่ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยจอห์น ฮ๊อปกิ้นส์ (Johns Hopkins University) ในบัลติมอร์, แมรี่แลนด์ (Baltimore, Maryland) 

1926 แต่งงานกับฟรีด้า ดัม (Frieda Daum) ซึ่งพวกเขามีลูกสาวด้วยกันสามคน และลูกชายหนึ่งคน 

1929 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารย์ด้านเคมีที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University)  ในนิวยอร์ค ซิตี้ (New York City) 

1931 อูเรย์พัฒนาวิธีในการสกัดไฮโดรเจนหนัก (heavy hydrogen) ให้มีความเข้มข้นสูงขึ้น โดยการแยกออกมาจากไฮโดรเจนเหลว ซึ่งนี้ทำให้เขาค้นพบไฮโดรเจนโมลิกุลหนัก ซึ่งเขาตั้งชื่อว่า ดิวเทเรียม (deuterium)

นอกจากนั้นยังร่วมกับ ดร.แวชเบิร์น (E.W. Washburn) พัฒนาการอิเล็กโตรไรต์ (electrolytis)  เพื่อแยกไอโซโทปของไฮโดรเจน (hydrogen isotopes) 

1933 ก่อตั้งและเป็นบรรณาธิการให้กับวารสาร Journal of Chemical Physics

1934 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ 

ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี จากการค้นพบดิวทีเรียม

1940 ผู้อำนวยการของโครงการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ (Atomic Bomb Project) ใน ม.โคลัมเบีย

1941 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการ S-1 Executive Committee ซึ่งเป็นคณะกรรมธิการที่วางรากฐานให้กับโครงการแมนฮัตตัน (Manhatton Project)

1943 งานหลักของอูเรย์ในโครงการแมนฮัตตันคือการแยกไฮโซโทปของยูเรเนียม ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์กว่า 700 คนเป็นทึมงานของเขา

1945 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีที่สถาบันนิวเคลียร์, มหาวิทยาลัยชิคาโก้ (Institute for Nuclear Studies, University of Chicago) 

1946 เขาค้นพบว่ากระบวนการในธรรมชาติก็สามารถสร้างสะสารที่มีไฮโซโทปความเข้มข้นสูงขึ้นมาได้เอง อย่างเช่น เปลือกหอยซึ่งเกิดจากคาร์บอเนต มักจะมี Oxygen-18 ปนอยู่กับ Oxygen-16 ซึ่งมีอยู่ทั่วไป ขึ้นอยู่กับว่าอุณภูมิของสภาวะแวดล้อมเป็นเท่าไหร่ในขณะที่เปลือกหอยถูกสร้างขึ้น ซึ่งทำให้อูเรย์ค้นพบวิธีพาลีโอเธอร์โมมิเตอร์ (Paleothermometer) ซึ่งอัตราส่วนระหว่าง 18O ต่อ 16O สามารถบอกถึงอุณภูมิในอดีตหลายล้านปีก่อนได้ด้วย 

1952 รับตำแหน่งศาสตราจารย์มาร์ติน ไรเออร์สัน (Martin A. Ryerson Professor)

เขียน The Planets ซึ่งอูเรย์ตั้งข้อสมมุติฐานเกี่ยวกับเคมีและองค์ประกอบของดวงดาวในจักรวาล เขาเป็นคนบัญญัติศัพท์ cosmochemistry เพื่อนิยามเกี่ยวกับศาสตร์ดังกล่าว ซึ่ง The Planets ได้รับการยกย่องว่าเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ดวงดาวสมัยใหม่

Miller-Urey experiment , อูเรย์ทำการทดลองร่วมกับลูกศิษย์ของเขา สแตนลีย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller) ในการทดสอบสมมุติฐานการกำเนิดของสรรพชีวิต ว่าเกิดจากกลไกทางเคมีภายใต้สภาวะแวดล้อมของโลกในช่วงแรกเริ่มที่โลกถือกำเนิดขึ้นมาที่มีรังสีพลังงานสูงจำนวนมาก ซึ่งเป็นแนวคิดของ อเล็กซานเดอร์ โอปาริน (Alexander Oparin) และ ฮาลเดน (J. B. S. Haldane) ที่เรียกว่า ซุปต้นกำเนิด (Primodial soup) การทดลองของมิลเลอร์-อูเรย์ นี้มีการใช้ส่วนผสมของน้ำ, มีเธอ, แอมโมเนีย และไฮโดรเจน  และให้กระแสไฟฟ้าจำลองเข้าไปเหมือนกับว่าเป็นฟ้าฝ่าในธรรมชาติ ซึ่งการทดลองนี้ อูเรย์ค้นพบว่ามีกรดอะมิโน (Amico acids) เกิดขึ้นถึง 5 ชนิดด้วยกัน 

1956 รับตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษจอร์จ อีสต์แมน (George Eastman Visiting Professor) ที่อ๊อกฟอร์ด (University of Oxford)

1958 กลับมาทำงานที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

1969 อูเรย์ได้รับรางวัล Arthur L. Day Medal จากสมาคมธรณีวิทยาสหรัฐฯ (Geolgoical Society of America) จากผลงานการคิดค้นพาลีโอเธอร์โมมิเตอร์

1970 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ

1981 5 มกราคม, เสียชีวิตในแคลิฟอร์เนีย ในวัย 87 ปี

ผลงานเขียน 

  1. Atoms, Molecules and Quanta, 1930
  2. The Planets :Their Origin and Development, 1952
Don`t copy text!