Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Allan Wilson

อัลเลน วิลสัน (Allan Charles Wilson)

Mitochondrial Eve, Molecular clock

อัลเลน เกิดวันที่ 18 ตุลาคม 1934 ในการัววาเฮีย, นิวซีแลนด์ (Ngāruawāhia, New Zealand) แต่ว่าเขาเติบโตขึ้นมาในฟาร์มของครอบครัวซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเฮลตเวเตีย (Helvetia, Pukekohe) ทางตอนใต้ของโอ๊คแลนด์ พ่อของเขาชื่อชาร์ล (Charles, 1893-1960) เป็นลูกของผู้อพยพจากไอร์แลนด์ตอนเหนือมายังนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปี 1879 โดยได้โดยสารมากับเรืออดามันต์ (Adamant) ส่วนแม่ของวิลสันชื่อว่ายูไนซ์ (Eunice Boyce Wood, 1908-2002) ชาร์ลกับยูไนซ์แต่งงานกันในปี 1928  ทั้งสองคนไม่มีใครเรียนจบ ม.ปลาย แต่ว่าได้ทำฟาร์มเลี้ยงวัวนม อัลเลนเป็นลูกคนโตในพี่น้องทั้งหมดสามคน 

1940s ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทหารของรัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ตั้งแคมป์อยู่ใกล้ๆ กับฟาร์มของเขา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกองทัพอเมริกันในการเดินทางผ่าน เพื่อไปยังสมรภูมิรบใกล้เคียง ทำให้ครอบครัวของอัลเลนได้ซุงซิงกับทหารอเมริกัน 

เข้าเรียนที่โรงเรียนประถม Pukekohe Primary School ซึ่งอัลเลนเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนดีมาก และยังเป็นนักกีฬารักบี้

1947 หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เขาเข้าเรียนที่ คิงคอลเลจ (King’s College) ในโอตาฮุฮุ (Otahuhu) ทางใต้ของโอ๊คแลนด์ 

1952 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโอตาโก้ (University of Otago) 

1955 จบปริญญาตรีโดยได้รับปริญญาสองใบ ทางด้านเคมีและสัตวศาสตร์ หลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (Washington State University) ตามคำแนะนำของ ดร.ฟาร์เนอร์ (Donald S. Farner) ซึ่งระหว่างที่เรียนอยู่ที่ ม.วอชิงตัน อัลเลนยังได้ช่วยงานวิจัยของ ดร.ฟาร์เนอร์ โดยพวกเขาร่วมกันศึกษานกกระจกมงกุฏขาว (white-crowned sparrows) บริเวณแม่น้ำสเนก (Snake River)

1957 จบปริญญาโทจาก ม.วอชิงตัน  ทางด้านสัตวศาสตร์ โดยที่เขาทำโครงงานจบศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของฮอร์โมนกับวพฤติกรรมและวงจรชีวิตของนก 

หลังจากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California, Berkeley) 1958 แต่งงานกับ ลีโอน่า กรีนบวม (Leona Greenbaum) ซึ่งพวกเขามีลูกด้วยกันสองคน ชื่อ รูธ (Ruth) และเดวิด (David) 

1961 จบปริญญาเอก สาขาชีวเคมี โดยมี ดร.อาร์เธอร์ ปาร์ดี (Dr. Arthur Pardee) เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 

หลังจากเรียนจบอัลเลนได้เข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยแบรนไดส์ (Brandeis University) ในแมสซานซูเซตต์ โดยได้ทำงานกับ นาธาน คาแพลน (Nathan Kaplan) 

1964 กลับมาทำงานที่เบิร์กเลย์ ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งที่นี่เขาได้ตั้งห้องทดลองขึ้นมาในคณะเคมีชีวะภาพ ช่วงปี 60s-70s นี้มีการถกเถึยงในวงการวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ว่ามนุษย์พัฒนาขึ้นมาจากลิงในแอฟริการ แต่ว่าในเวลานั้นยังไม่มีการค้นพบ DNA อัลเลนจึงได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับลิงโดยอาศัยโปรตีน มีการแยกโปรตีนจากลิงชนิดหนึ่งและฉีดให้กับลิงอีกชนิดหนึ่งที่คิดว่ามีสายพันธ์ใกล้เคียงกัน เพื่อกระตู้นให้เกิดแอนตี้บอดี้ (antibody) เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน

1967 อัลเลนกับนักศึกษาปริญญาเอกของเขา วินเซนต์ ซาริช (Vincent Sarich) ร่วมกันศึกษาเชิงเปรียบเทียบระบบภูมิคุ้มกันในโปรตีนเม็ดเลือด (immunological comparisons of blood proteins) และได้เกิดแนวคิดของนาฬิกาโมลิกุล (molecular clock) ขึ้นมา  ซึ่งเกิดจากสมมุติฐานที่ว่ายีน (gene) ของสิ่งมีชีวิตหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบผ่าเหล่าในช่วงระยะเวลาที่สม่ำเสมอ ซึ่งหากเป็นอย่างนั้นก็สามารถใช้นาฬิกาโมลิกุลนี้สืบย้อนกลับไปหาช่วงเวลาการเกิดของมนุษย์ได้

อัลเลน กับ ซาริช ร่วมกันเขียน Immunological Time Scale for Hominid Evolution ออกมา หนังสือเล่มนี้เสนอสมมุติฐาน molecular clock

1968 ได้ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 

1972 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์

1975 ร่วมกับ แมรี่-แคร์ (Mary-Claire King) ลูกศิษย์ของเขาเขียน Evolution at Two Levels in Humans and Chimpanzees

1989 ได้รับปริญญาดุษฏีกิตติมาศักดิ์จาก ม.โอตาโก้

1987 Mitochondrial Eve  อัลเลน, รีเบคคา แคนน์ (Rebecca L. Cann) และ มาร์ค สโตเนคิง (Mark Stoneking) ใช้เทคนิค DNA Restriction mapping ในการศึกษา mitochondrial DNA (mtDNA) ของมนุษย์เชื้อชาติต่างๆ กัน และได้พิมพ์รายงานการศึกษาออกมาในชื่อ Mitochondrial DNA and Human Evolution ซึ่งพวกเขาอธิบายได้ว่ามนุษย์ยุคปัจจุบันเกิดขึ้นในแอฟริกาเมื่อราว 200,000 ปีก่อน

1991 21 กรกฏาคม, เสียชีวิต ในซีแอตเติ้ล สหรัฐฯ จากโรคลูคีเมีย

Don`t copy text!