Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Bertrand Russell

เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ (Bertrand Arthur William Russell)

ผู้เขียน Principle of Mathematic และหนึ่งในผู้บุกเบิกปรัชญาสาขา Analytic philosophy

รัสเซลล์ เกิดวันที่ 18 พฤษภาคม 1872 ในราเวนสครอฟต์, อังกฤษ (Ravenscroft, Monmouthshire, UK) พ่อของเขาชื่อจอห์น (John Russell, Viscount Amberley) มีบรรดาศักดิ์เป็นวิสเคานต์แห่งแอมเบอร์เลย์  ส่วนแม่ชื่อแคทเธอรีน (Katharine Stanley, Viscountess Amberley)

ปู่ของรัสเซลล์ ชื่อจอห์น รัสเซลล์ (Lord John Russell, 1st Earl Russell) เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษสองสมัย

พ่อของรัสเซลล์เป็นผู้ที่ไม่นับถือพระเจ้า เขาได้ขอให้จอห์น สเตราต์ มิลล์ (John Stuart Mill) มาเป็นพ่อทูนหัวให้กับรัสเซลล์ 

รัสเซียมีพี่คนหนึ่งชื่อแฟรงค์ (Frank) และพี่สาวชื่อราเชล (Rachel) วัยเด็กของเขาเรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน โดยรัสเซลล์มีความสามารถเข้าใจภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันเป็นอย่างดี 

1874 แม่ของเขาเสียชีวิต จากโรคคอตีบ (diphtheria) และหลังจากนั้นพี่สาวของรัสเซลล์ก็เสียชีวิตลงด้วย

1876 พ่อของเขาเสียชีวิต จากอาการหลอดลมอักเสบ (bronchitis) 

หลังจากพ่อเสียชีวิตลง รัสเซลล์และพี่ชายก็ย้ายไปอยู่ในความดูแลของปู่และย่า ฟรานเซส (Frances Elliot, Countess Russell) 

1878 ปู่ของเขาเสียชีวิต 

ทำให้เด็กๆ รัสเซลล์และพี่ชายอยู่ในความดูแลของย่า ซึ่งเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น รัสเซลล์พยายามฆ่าตัวตายหลายหนเพราะความรู้สึกโดดเดี่ยว  จนกระทั้งเขาเกิดความสนใจต่อวิชาคณิตศาสตร์ เมื่อพี่ชายของเขาได้แนะนำให้เขาอ่านผลงานของยูคลิด (Euclid) ซึ่งเขาอธิบายไว้ว่าความรู้สึกเหมือนกับได้เจอกับรักแรก 

1890 เข้าเรียนที่ไตรนิตี้ คอลเลจ (Trinity College, Cambridge) 

1893 จบปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์ โดยได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เป็นแวรงเกอร์ (Wrangler) อันดับเจ็ดในรุ่น

1894 เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในสถานทูตอังกฤษในปารีส อยู่หลายเดือน 

13 ธันวาคม, แต่งงานกับอลิส (Alys Pearsall Smith) ชาวอเมริกัน ที่อายุมากกว่ารัสเซลล์ 5 ปี และเธอยังเป็นเคเกอร์ (Quakers) กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางศาสนาคริสต์โปรเตสแตนต์ 

1895 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (University of Berlin)

1896 ได้งานเป็นอาจารย์เลคเชอร์ที่โรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน (London School of Economics) 

มีผลงานเขียน  German Social Democracy

1899 ย้ายมาสอนที่ไตรนิตี้ คอลเลจ

1900 เข้าร่วมการประชุมสภาปรัชญานานาชาติ (First International Congress of Philosophy) ที่จัดขึ้นในปารีส ซึ่งที่นี่เขาได้พบกับเพียโน่ (Giuseppe Peano) และพาเดา (Alessandro Padoa)  และยังได้พบกับแคนเตอร์ (Georg Cantor) นักคณิตศาสตร์ ซึ่งคิดค้นทฤษฏีเซ็ต (Set theory) 

1901 ค้นพบ Russell’s Paradox, กลับมาสอนหนังสือที่แคมบริดจ์

1903 เขียน The Principles of Mathematics เป็นผลงานสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาในฐานะนักคณิตศาสตร์ ซึ่งต่อมารัสเซลล์ได้ร่วมกับไวต์เฮด (Alfred Whitehead) เพื่อนของเขาเขียนเนื้อหาเพื่อเข้าไปใน The Princicples of Mathematics อีกจนแบ่งออกเป็น 3 เล่ม

1905 พัฒนา theory of descriptions

1907 ลงสมัครชิงเป็น ส.ส. แต่ว่าไม่ได้รับการเลือกตั้ง

1908 ได้รับทุนจาก Royal Society 

1910 ได้กลับมาสอนหนังสือที่ไตรนิตี้ คอลเลจ , 

พรรค Liberal Party ปฏิเสธไม่ส่งเขาเป็นตัวแทนพรรคในการลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะว่ารัสเซลล์ไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้า

1911 ได้รับเลือกให้เป็นประธานของสมาคมอลิสโตเติ้ล (Aristotelian Society) 

ปีนี้รัสเซลล์เริ่มมีความสัมพันธ์แบบชู้สาวกั้บเลดีออตโตลีน (Lady Ottoline Morrell)

1913 มาสอนที่ Ecole des Hautes Sociales ในปารีส 

1914 มาสอนที่ฮาร์วาร์ด (Harvard) ระหว่างนี้ก็ได้มีโอกาสพบกับอีเลียต (T.S. Eliot)

ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 รัสเซลล์เป็นคนหนึ่งในจำนวนน้อยที่รณรงค์ต่อต้านสงคราม 

1915 กลับมาสอนที่ไตรนิตี้ คอลเลจ

1916 ถูกปรับเป็นเงิน 100 ปอนด์ และปลดจากการสอนที่ไตรนิตี้ คอลเลจ จากการที่เขาเขียนบทความต่อต้านสงคราม

1917 มีบทบาทสำคัญในการจัดการประชุม Leeds Convention ซึ่งเหล่าสมาชิกพรรคแรงงานและพรรคสังคมนิยมที่ต่อต้านสงครามมาร่วมประชุมกัน 

1918 ถูกจำคุกเป็นเวลา 5 เดือนจากการต่อต้านสงคราม เขาถูกขังไว้ที่เรือนจำบริกซ์ตัน (Brixton prison) โดยระหว่งที่ถูกขัง เขาได้ใช้เวลาเขียน Mathematical Philosophy (1919) 

1920 เดินทางเยือนรัสเซีย ในฐานะตัวแทนของรัฐบาลอังกฤษเพื่อสังเกตุการณ์การปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution)  ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้พบกับเลนิน (Vladimir Lenin) และพูดคุยกันนับชั่วโมง ซึ่งรัสเซลล์ภายหลังได้แสคงความผิดหวังในตัวของเลนิน ทำให้เขาเปลี่ยนใจ จากที่เคยสนับสนุนการปฏิวัติในรัสเซีย 

หลังจากกลับจากรัสเซีย รัสเซลล์ได้ตีพิมพ์ The Practice and Theory of Bolshevism

1921 ในปีนี้เขาได้เดินทางเยือนจีนและญี่ปุ่น  เพื่อบรรยายเลคเชอร์ด้านปรัชญาในมหาวิทยาลัย ซึ่งระหว่าที่ไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (University of Peking)  เขามีโอกาสพบกับฐากูร์ (Rabindranath Tagore) และเดเวย์ (John Dewey) 

21 กันยายน, หย่ากับอลิส

27 กันยายน, ได้แต่งงานใหม่กับโดร่า แบล็ก (Dora Black) นักเขียน นักสิทธิสตรีและนักสังคมนิยม แต่เธอมีความแตกกต่างจากรัสเซลล์ ตรงที่เธอสนับสนุนการปฏิวัติของบอลเชวิค โดร่าตั้งท้องได้หกเดือนแล้วก่อนที่พวกเขาจะแต่งงานกัน ต่อมาพวกเขามีลูกด้วยกันสามคน คือ จอห์น (John conrad Russell , 4th Earl Russell) และแคทเธอรีน (Katharine Jane Russell) และแฮร์เรียต (Harriet Ruth)   

1922 เขียน Free Thought and Official Propaganda 

ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งแต่พ่ายแพ้

1923 ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่ไม่ได้รับการเลือก

1924 มาสอนหนังสือในสหรัฐฯ​

1927 เปิดโรงเรียนทดลองขึ้นในอังกฤษ ชื่อ Beacon Hill School ซึ่งกิจการโรงเรียนดำเนินไปจนกระทั้งปี 1932

เขียน The Analysis of Matter

1929 กลับมาสอนหนังสือในสหรัฐฯ

1931 ได้รับตำแหน่ง 3rd Earl Russell หลังจากการเสียชีวิตของพี่ชายของเขา

1932 แยกกันอยู่กับโดร่า เพราะว่าโดร่าไปมีความสัมพันธ์กับนักข่าวอเมริกันชื่อบาร์รี่ (Griffin Barry)  และมีลูกกับเขาสองคน

1935 หย่ากับโดร่า

1936 18 มกราคม, แต่งงานกับแพทริเซีย (Patricia Helen Spence) ซึ่งต่อมาพวกเขามีลูกด้วยกันคนหนึ่ง ชื่อคอนราด (Conrad Sebastian Rober Russell) 

1938 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษด้านปรัชญาที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก้ (University of Chicago) 

1939 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านปรัชญา ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California)

1940 ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ซิตี้คอลเลจนิวยอร์ก (City College of New York) 

1941 ได้เป็นอาจารย์เลคเซอร์ที่มูลนิธิบาร์เนส (Barnes Foundation) ในเพนซิลวาเนีย

1942 ถูกปลดจากตำแหน่งที่มุลนิธิบาร์เนส ทำให้รัสเซลล์ยืนฟ้องมูลนิธว่าปลดเขาออกอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งรัสเซลล์เป็นฝ่ายที่ชนะคดี

1944 ได้ทุนจากไตรนิตี้คอลเลจอีกครั้ง 

1945 เขียน A History of Western Philosophy ซึ่งเป็นผลงานขายดีอีกเล่มหนึ่งของเขา

ช่วงเวลานี้ รัสเซลล์แสดงความสนับสนุนกาารตั้งรัฐยิว ของอิสราเอล ทั้งยังสนับสนุนสหรัฐฯ ให้ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์โจมตีสหภาพโซเวียตก่อนที่สหภาพโซเวียตจะสามารถพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาได้เอง แต่ว่าหลังจากสหภาพโซเวียตประสบความสำเร็จในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในปี 1948 รัสเซลล์เปลี่ยนท่าทีมารณรงค์ในการปลดอาวุธนิวเคลียร์

1948 2 ตุลาคม, ประสบอุบัติเหตุ เครื่องบินที่เขาโดยสารมาเกิดอุบัติเหตุตกลงในทะเลใกล้กับโฮมเมลวิก (Hommelvik) นอร์เวย์ ซึ่อุบัตติเหตุนี้มีผู้เสียชีวิต 19คน แต่ว่ารัสเซลล์และผู้โดยสารอีก 26 คน สามารถลอยคออยู่ในมหาสมุทรจนกระทั้งมีหน่วยกู้ภัยเข้ามาให้ความช่วยเหลือเอาไว้ได้ 

เป็นผู้บรรยายในรายการวิทยุ Reith Lectures ให้กับสถานีวิทยุ BBC 

1949 ได้เป็นสมาชิกถาวรของไตรนิตี้ คอลเลจ 

1950 ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม

เข้าร่วมการประชุม Congress for Cultural Freedom การประชุมเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งงานี้ได้รับการสนับสนุนจาก CIA 

1951 มาสอนหนังสือในสหรัฐฯ

1952 หย่ากับแพทริเซีย  และแต่งงานใหม่กับอีดิธ (Edith Finch) โดยเธอเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษอยู่ที่บริน มาวร์ คอลเลจ (Bryn Mawr College) ในฟิลิเดนเฟีย

1955 ร่วมแถลงการณ์ Russell-Einstein Manifesto ซึ่งเรียกร้องให้มีการปลดอาวุธนิวเคลียร์ทั่วโลก

1957 ได้รับเลือกให้เป็นประธานของการประชุมผักวาซ (Pugwash Conference) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก

1961 ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์จากการเคลื่อนไหวต่อต้านนิวเคลียร์ 

1962 ช่วงวิกฤตมิสไซด์คิวบา (Cuban Missile Crisis) รัสเซลล์มีบทบาทสำคัญที่สาธารณชนรับรู้คือเขาส่งโทรเลขติดต่อกับครุชเชฟ (Nikita Khrushchev) ผู้นำโซเวียต และเขาส่งข้อความที่ครุชเชฟตอบกลับให้กับเคนเนดี้ (Joseph F. Kennedy) ซึ่งผู้นำโซเวียตตำหนิการกระทำของสหรัฐฯ ที่ยืนคำขาดว่าจะนำมาซึ่งส่งความและเป็นความบ้าคลั่งของสหรัฐฯ ซึ่งโซเวียตจะไม่กระทำการที่จะเป็นการสังหารหมู่ประชาชน

1963 ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อสันติภาพ (Bertrand Russell Peace Foundation)

1967 ทำนิตยสาร International War Crimes Tribunal

เร่ิมเขียนอัตชีวประวัติของตัวเอง Autobiography ซึ่งแบบเป็น 3 เล่ม พิมพ์ในปี 1967, 1968,1969

1970 2 กุมภาพันธ์, เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ ภายในบ้ายของเขาในเวลช์ (Penrhyndeudraeth, Welsh) โดยที่หลังจากเสียชีวิต ร่างของเขาถูกเผาในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ โดยไม่มีการประกอบพิธีใดๆ เพราะเขาเป็นผู้ไม่นับถือศาสนา โดยมีเพียงการยืนสงบนิ่งเพียงแค่หนึ่งนาที และมีผู้ร่วมงาน 5 คน ก่อนที่เถ้าอัษฐิจะถูกโปรยไว้ตามภูเขาในเวลซ์

ผลงานเขียน

  • German Social Democracy , 1896
  • Foundations of Geometry, 1897
  • A Critical exposition of the philosophy of Leibniz, 1900
  • The Principle of Mathematic, 1903
  • Philosophical Essays, 1910
  • The Problems of Philosophy, 1912
  • Principles of Social Reconstruction, 1916
  • Mysticism and Logic and Other Essays, 1918
  • Roads to Freedom: Socialism, Anarchism and Syndicalism, 1918
  • Introduction to Mathematical Philosophy, 1919
  • The Practice and Theory of Bolshevism, 1920
  • Analysis of Mind, 1921
  • The Problem of China, 1922
  • The ABC of Atoms, 1923
  • The Prospects of Industrial Civilization, 1923
  • Logical Atomism, , 1924
  • The ABC of Relativity, 1925
  • On Education, 1926
  • Analysis of Matter, 1927
  • An Outline of Philosophy, 1927
  • Sceptical Essays, 1928
  • Marriage and Morals, 1929
  • The Conquest of Happiness, 1930
  • The Freedom and Organization 1814-1914, 1934
  • In Praise of Idleness, 1935
  • Which Way to Peace?, 1936
  • The Amberley Paper, 1937
  • Power: a new Social Introduction to its Study, 1938
  • An Inquiry into Meaning and Truth, 1941
  • History of Western Philosophy, 1946
  • Human Knowledge, its Scope and Limits, 1948
  • Authority and the Individual, 1949
  • Unpopular Essays, 1950
Don`t copy text!