Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Hugo Münsterberg

ฮูโก้ มันสเตอร์เบิร์ก (Hugo Münsterberg)

ผู้บุกเบิกสาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ (applied psychology) ซึ่งเขาเรียกว่า ไซโค (psycho)

ฮูโก้ เกิดวันที่ 1 มิถุนายน 1863 ในดานซิก, ปรัสเซีย (Danzig, Prussia) ปัจจุบันอยู่ในประเทศโปแลนด์ พ่อของเขาชื่อโมริตซ์ (Moritz, 1825-1880) ทำธุรกิจค้าไม้  ส่วนแม่ชื่อมินน่า (Minna Anna Bernhardi, 1838-1875) เป็นนักดนตรี ซึ่งเธอเป็นภรรยาคนที่สองของโมริตซ์ เธอมีลูกทั้งหมดสี่คน ซึ่งทุกคนในบ้านล้วนชอบดนตรีและศิลปะเหมือนกัน ตอนเด็กๆ นั้นฮูโก้ชอบเล่นเซลโล่และการเขียนบทกลอน 

เมื่ออายุ 9 ขวบได้เข้าเรียนที่จิมเนเซียมดานซิก (Gymnasium of Danzig)

1875 แม่ของเขาเสียชีวิตตอนที่เขาอายุ 12 ปี ซึ่งทำให้ฮูโก้เปลี่ยนเป็นคนที่ซีเรียสจริงจังมากขึ้น เขาชอบกิจกรรมที่มีการใช้ความรู้ และมีส่วนรวมในการทำดิกชันนารีภาษาต่างประเทศสำหรับชาวเยอรมัน โดยเขาได้ศึกษาทั้งภาษาสันสฤตและภาษาอารบิค และวิชาโบราณคดี

1882 จบมัธยม และสอบเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเจนีวา (University of Geneva) ได้ โดยได้ลงเรียนทางด้านภาษาฝรั่งเศสและวรรณกรรม แต่ว่าเรียนได้เพียงแค่เทอมเดียว

1883 ย้ายมาสมัครเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยลิปซิก (University of Leipzig) โดยที่ในตอนแรกมีความตั้งใจที่จะเป็นแพทย์ แต่ที่นี่เขาได้ฟังการเลคเชอร์จากวิลเฮล์ม วุนต์ (Wilhelm Wundt) ทำให้เขาเกิดความสนใจในวิชาจิตวิทยาด้วย

1885 จบปริญญาตรีทางด้านสรีรจิตวิทยา โดยมีวุนต์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อทางแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก (University of Heidelberg)

1887 จบปริญญาแพทย์ศาสตร์ และหลังจากเรียนจบเขาได้สอบได้สอบเป็นอาจารย์เลคเชอร์ที่มหาวิทยาลัยไฟรบูกร์ (University of Freiburg) ซึ่งได้รับตำแหน่งเป็น Privatdozent ซึ่งนอกจากสอนแล้วยังทำงานวิจัยไปด้วย ซึ่งเขาได้สร้างห้องทดลองทางจิตวิทยาขึ้นภายในมหาวิทยาลัย 

7 สิงหาคม, แต่งงานกับเซลม่า (Selma Oppler) ซึ่งเป็นญาติห่างๆ ของเขา

1889 ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์  

1891 ในปีนี้ได้มีโอกาสพบกับวิลเลี่ยม เจมส์ (William James) ระหว่างที่เดินทางไปประชุมสภาจิตวิทยานานาชาติ (First International Congress of psychology) ที่จัดประชุมขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเจมส์ได้ชวนให้เขาไปทำงานในสหรัฐฯ 

1892 เดินทางมาสอนที่ฮาร์วาร์ด (Harvard) ตามคำเชิญของเจมส์ ที่เสนอให้เขามาทำงานที่นี่เป็นระยะเวลาสามปี แม้ว่าขนณะนั้นฮูโก้จะไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้  ในฮาร์วาร์ดนั้นฮูโก้ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ในคณะจิตวิทยา และเขาได้ก่อตั้งห้องทดลองทางจิตวิทยาาขึ้นที่มหาวิทยาลัยนี้เช่นกัน 

1895 เดินทางกลับมาอยู่ที่ ม.ไฟรบูร์ก 

1898 ได้รับเลือกเป็นประธานของสมาคมนักจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association)

1897 กลับมาสอนที่ฮาร์วาร์ดอีกครั้งหนึ่ง 

1908 ได้ตำแหน่งประธานสมาคมปรัชญาอเมริกัน (American Psychological Association)

1916 16  ธันวาคม, เสียชีวิตในเมืองแคมบริดจ์ ระหว่างที่กำลังสอนหนังสืออยู่ 

ฮูโก้ นั้นมีความเชื่อในเรื่องการแยกออกจากกันไม่ได้ของร่างกายและจิต (psychological parallelism) เขาเชื่อว่าทุกอย่างเกิดขึ้นจากสมอง การทดลองวิจัยในระยะแรกของเขาจึงมุ่งเน้นที่การทดลองเกี่ยวกับประสาทสัมผัสและการรับรู้  แต่ว่าต่อมาในช่วงปี 90s เขาเริ่มเปลี่ยนไปโฟกัสเรื่องการใช้เทคนิคทางจิตวิทยาเพื่อประยุกต์ใช้กับสาขาวิชาอื่น อย่าง การศึกษา, อุตสาหกรรม, นิติศาสตร์ 

ผลงานเขียน

  • The Americans, 1904
  • On the Witness Stand, 1908
  • Psychotherapy, 1909
  • In American Problems, 1910 
  • Psychotherapy, 1912
  • Psychology and Industrial Efficiency,1913
  • Psychology and the Teacher
  • Psychology and crime
  • Psychology and Social Sanity
  • Business Psychology
  • The Film : A Psychological Study
  • Fundamentals of psycho, 1914
Don`t copy text!