Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Marie Antoinette

มาเรีย แอนทัวเน็ตต์ (Marie Antoinette Josèphe Jeanne de Habsbourg-Lorraine)

มาเรีย แอนทัวเน็ตต์ ประสูติวันที่ 2 พฤศจิกายน 1755 ภายในพระราชวังฮอฟเบิร์ก (Hofburg Palace) ในเวียนนา, ออสเตรีย  โดยเป็นพระราชธิดาพระองค์หนึ่งของจักรพรรดิฟรานซิส ที่ 1 แห่งโฮรี่โรมัน (Francis I, Holy Roman) กับจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซ่า แห่งออสเตรีย (Maria Theresa of Austria) เมื่อแรกประสูติ มาเรีย อนทัวเน็ตต์ จึงได้รับยศเป็นอาร์ดดัตเชสแห่งออสเตรีย (Archduchess of Austria) 

หลังจากประสูติพระองค์ถูกประทานให้ไปอยู่ในการดูแลของเคาน์เตสส์แห่งแบนไดส์ (Countess von Brandeiss) โดยพระองค์ได้รับการเลี้ยงดูมาพร้อมกับพระภคินีมาเรีย แคโรไลน่า (Maria Carolina) ที่มีอายุมากกว่า 3 ปี 

1756 เกิดสงคราม 7 ปี (Seven Years’ War) ระหว่งฝ่ายของฝรั่งเศส, ออสเตรีย, รัสเซีย, สวีเดน และพันธมิตร กับฝ่ายอังกฤษ, ปรัสเซีย, โปตุเกส และพันธมิตร

1757 ตอนพระชนษ์ได้ 2 พรรษา ได้ประชวรด้วยโรคฝีดาษ (smallpox) แต่มีอาการไม่รุนแรง

มาเรีย แอนทัวเน็ตต์ถูกตามใจมาตั้งแต่ยังเยาว์โดยเคาร์เตสส์แห่งแบนไดส์ ทำให้พระองค์ไม่สนใจการเรียนหนังสือ ขณะที่อายุ 12 ปี พระองค์ยังไม่สามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสและเยอรมันได้อย่างถูกต้อง แต่ว่าพระองค์ถนัดในการใช้ภาษาอิตาลี  เพราะมีพระอาจารย์ภาษาอิตาลีที่ดี ชื่อเปียโตร เมตัสตาซิโอ (Pietro Metastasio) นอกจากนั้นยังมีพระปรีชาในการเล่นเครื่องดนตรีฮาร์ฟ และการเต้นรำ โดยได้รับการสอนจากคริสตอฟ กลัคก์ (Christoph Willibald Gluck)  

1765 18 สิงหาคม, จักรพรรดิฟรานซิส ที่ 1 สวรรคตอย่างกระทันหันด้วยอาการเส้นพระโลหิตในสมองแตก จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซ่า จึงได้ทรงแต่งตั้งเจ้าชายโจเซฟ พระโอรสและเป็นพระเชษฐาของมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ ขึ้นเป็นจักรพรรดิ โจเซฟ ที่ 2 (Joseph II) โดยที่จักรพรรดินีเมเรีย เทเรซ่า ทรงบริหารราชการแผ่นดินร่วมกับจักรพรรดิ โจเซฟ ที่ 2

1767 โรคฝีดาษระบาดอย่างหนักในออสเตรียและได้ลุกลามเข้ามาถึงสมาชิกในราชวงศ์

1769 13 มิถุนายน, การหมั่นหมายระหว่างหลุยส์ ออกัสเต้ (Louse-Auguste) ซึ่งขณะนั้นเป็นมงกุฏราชกุมาร (Dauphin) แห่งฝรั่งเศส กับมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ถูกประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ

1770 21 เมษายน, มาเรีย แอนทัวเน็ตต์ เสด็จออกจากกรุงเวียนามุ่งหน้าสู่ฝรั่งเศส และเมื่อเดินทางมาถึงเกาะแห่งหนึ่งในแม่น้ำไรน์ (Rhine) ตรงข้ามกับสตราสบูรส์ (Strasbourg) ซึ่งได้มีการสร้างที่ประทับที่ทำด้วยไม้เตรียมไว้ให้ล่วงหน้าแล้ว มาเรีย แอนทัวเน็ตต์ก็ได้เปลี่ยนชุดทรงจากออสเตรียมาเป็นแบบฝรั่งเศส

16 พฤษภาคม, พิธีเษกสมรสระหว่างหลุยส์ ออกัสเต้ และมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ จัดขึ้นภายในพระราชวังแวร์ซายส์ (Versailles) หลังการเษกสมรสทำให้มาเรีย แอนทัวเน็ตต์ดำรงอิสริยศเป็นดอฟินแห่งฝรั่งเศส (Dauphin of France)

แต่ว่าหลังการเษกสมรสกันแล้วทั้งสองพระองค์ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์กันสมรสทั่วไปได้ โดยเชื่อว่าหลุยส์ ออกัสเต้ นั้นป่วยเป็นโรคฟิโมซิส (Phimosis) ที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศนั้นไม่สามารถพับกลับมาได้ และจะมีอาการเจ็บปวดเมื่ออวัยวะเพศแข็งตัว ซึ่งต่อมาหลุยส์ ออกัสเต้ต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาความผิดปกติ

ชีวิตในราชสำนักฝรั่งเศสของมาเรีย แอนตัวเน็ตต์นั้นไม่ราบรื่น เพราะสมาชิกในราชสำนักฝรั่งเศสนั้นถูกปลูกฝังให้เกลียดชังออสเตรีย  โดยเฉพาะป้าๆ ของหลุยส์ ออกัสเต้ (หลุยส์ ออกัสเต้มีป้า 3 คน)  เรียกมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ลับหลังว่า “The Austrian”

1774 10 พฤษภาคม, หลุยส์ ที่ 15 สวรรคต หลังจากล้มป่วยวด้วยโรคฝีดาษ , หลุยส์ ออกัสเต้ ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าหลุยส์ ที่  16 (Louse XVI) ขณะที่มีพระชนษ์เพียง 18 ชันษา  มาเรียจึงได้สถาปนาเป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสและนาแวร์ (Queen consort of France and Navarre)

24  พฤษภาคม, หลุยส์ ที่ 16 ประทานตำหนักเปติต เทรียนอน (Petit Trianon) ภายในพระราชวังแวร์ซายส์ให้กับมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ และพระราชทานอนุญาตให้ทรงตกแต่งตำแหนักได้ตามพระอัธยาศัย ซึ่งทำให้เกิดข่าวลือตามมาว่ามาเรีย แอนทัวเน็ตต์ ตกแต่งตำหนักด้วยทองคำและเพชรพลอย

11 มิถุนายน, มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของหลุยส​์ ที่ 16 

ภายในราชสำนักมาเรียถูกต่อต้านจากขุนนางและรัฐมนตรี ด้วยความที่พระองค์เป็นออสเตรีย จึงถูกกีดกันไม่ให้เข้ามาอิทธิพลต่อนโยบายของประเทศผ่านทางพระสวามี  เชื่อว่าทำให้มาเรียมีอาการซึมเศร้าและหันมาหลงไหลในแฟชั่น โดยเฉพาะได้ดีไซเนอร์อย่างโรส เบอร์ติน (Rose Bertin) 

1775 สงครามแป้ง (Flour War), เกิดการจราจลหลายครั้งระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ในดินแดนทางเหนือและอีสานของฝรั่งเศส จากปัญญาการขาดแคลนเม็ดข้าวสาลีที่จะนำไปผลิตขนมปัง ทำให้ข้าวสาลีมีราคาสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นปัญหามาจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย  ซึ่งณ๊าค เทอร์ก๊อต (Jacques Turgot) รัฐมนตรีคลังในขณะนั้นต้องใช้นโยบายควบคุมราคาในการแก้ปัญหาการประท้วง ซึ่งเหตุการณ์นี้เหมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution)

ส่วนมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ ซึ่งไม่เป็นที่ชื่นชอบของชาวฝรั่งเศสก็ตกเป็นแพะรับบาปว่าเป็นต้นเหตุของภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ของฝรั่งเศส ประชาชนต่างลือกล่าวโทษพระนางว่าใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยจนก่อให้เกิดวิกฤต ทั้งที่วิกฤตทางการคลังของฝรั่งเศสนั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกษัตริย์ก่อนหน้านี้แล้วในการทำสงครามที่ต่อเนื่อง และการที่ฝรั่งเศสเข้าไปสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกา (American Revolution, 1765) 

ซึ่งช่วงเวลานี้เอง ที่ภายหลังมีการอ้างกันว่า มาเรีย ได้พูดว่า “S’ils n’ont plus de pain, qu’ils mangent de la brioche / ถ้าพวกเขาไม่มีขนมปัง, ก็ให้กินบริยอชสิ” ซึ่งได้มีการพิสูจน์กันภายหลังว่าพระองค์ไม่เคยพูดประโยคนี้ นอกจากนั้นในภาษาอังกฤษ มีการแปลงประโยคไปเป็น “Let them eat cake” ซึ่งอันที่จริง บริยอช (Brioche) เป็นขนมปังผสมเนยและไข่ แต่ไม่ใช่เค้ก

1776 หลุยส์ ทรีวิลล์ (Louis-René Levassor de Latouche Tréville) เริ่มลำเลียงอาวุธให้กับฝ่ายปฏิวัติในอเมริกา

เทอร์ก๊อต ถูกปลดออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง แทนทีด้วยฌาค เนคเกอร์ (Jacques Necker)

18 เมษายน, จักรพรรดิ โจเซฟ ที่ 2 แห่งโฮลี่โรมัน พระเชษฐาของมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ ซึ่งเดินทางมาปารีส ได้พบกับมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ และหลุยส์ ที่ 16 ภายในพระตำหนักมูเอ็ตเต้ (chateau de la Muette) พระองค์ได้ตรัสถามอย่างตรงไปตรงมาว่าทำไมทั้งสองพระองค์ยังไม่มีความเพศสัมพันธ์กัน ซึ่งพระองค์ได้ข้อสรุปว่า ทั้งสองขาดความรู้ในการเรื่องนี้ทำให้ไม่มีความต้องการ  ทรงบันทึกไว้ว่า “a couple of complete blunderers”  ซึ่งบันทึกของโจเซฟ ที่ 2  นี้ทำให้สมมุติฐานที่ว่าหลุยส์ ที่ 16 มีอาการฟิโมซิสและต้องเข้ารับการฝ่าตัดก่อนนั้นน่าจะไม่จริง

18 สิงหาคม, หลุยส์ ที่ 16 และมาเรีย มีความสัมพันธ์กันทางกายครั้งแรก 

1778 6  กุมภาพันธ์, (Treaty of Alliance) ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรอย่างเป็นทางการ โดยที่ก่อนหน้านี้เบนจามิน แฟรงคลิ้น (Benjamin Franklin) ถูกส่งมาเป็นทูตประจำปารีส เพื่อทำหน้าที่ในการขอความสนับสนุนจากฝรั่งเศส ในสนธิสัญญานี้ฝรั่งเศสรับรองให้สหรัฐฯ เป็นประเทศเอกราช และให้ความช่วยเหลือในการสู้กับอังกฤษ

19 ธันวาคม, มีพระประสูติกา มาเรีย-เทเรเซ่ ชาร์ล๊อตต์ (Marie-Thérèse Charlotte of France

1781 22 ตุลาคม, มีพระโอรสพระองค์แรก คือ หลุยส์-โจเซฟ (Louis-Joseph-Xavier-François)

1783 เริ่มก่อสร้างโครงการ Hameau de la Reine ซึ่งเป็นที่พักตากอากาศสไตล์ธรรมชาติ ออกแบบตามภาพวาดของ Hubert Robert และริชาร์ด มิกู (Richard Mique) เป็นสถาปนิก

1784 คดีสร้อยเพชร (Affair of the Diamond Necklace, 1784-1784) สร้อยพระศอเพชร นี้ถูกสั่งทำขึ้นตั้งแต่ปี 1772 โดยหลุยส์ ที่ 15 (Louis XV of France) เพื่อมอบให้กับมาดาม ดู บาร์รี่ (Madame du Barry) ชึ่งเป็นชู้รัก  สร้อยมีมูลค่ากว่า 2 ล้านลีฟร์ (ประมาณ 14 ล้านเหรียญ) โดยช่างทำสร้อยชื่อชาร์ล โบห์เมอร์ (Charles Auguste Boehmer) แต่ว่าหลุยส์ ที่ 15 สวรรคตก่อนที่สร้อยจะถูกส่งมอบ   โบห์เมอร์จึงพยายามเสนอขายสร้อยนี้ให้กับหลุยส์ ที่ 16  ในปี 1778 เพื่อให้เป็นของขวัญกับมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ แต่ว่ามาเรีย แอนทัวเน็ตต์ปฏิเสธและไม่อยากได้สร้อยเส้นดังกล่าว 

1785 2 มีนาคม, มีพระประสูติกาเจ้าชายหลุยส์-ชาร์ล (Louis-Charles)

ปีนี้มาเรีย ได้ฝึกฝนที่จะเป็นนักแสดงเพื่อแสดงในโรงละครภายในตำหนักเปติต เทรียนอนในบทละครตลกเรื่อง The Barber of Seville 

12 กรกฏาคม, ระหว่างที่มาเรีย กำลังฝึกซ้อมการแสดงอยู่ พระองค์ได้รับจดหมายจาก ชาร์ล โบห์เมอร์ ซึ่งเป็นช่างทำสร้อยเพชร โดยเนื้อความในจดหมายแสดงความขอบคุณที่พระองค์ได้สั่งซื้อสร้อยเพชร และเตือนว่าถึงกำหนดที่จะชำระเงินงวดแรก แต่ว่ามาเรียซึ่งไม่เข้าใจสิ่งที่โบห์เมอร์เขียนมาเรื่องการซื้อสร้อยเพชร ก็ได้เผาจดหมายทิ้งไป

15 สิงหาคม, ชาร์ล โบห์เมอร์ ซึ่งเข้าใจว่าตัวเองได้ขายสร้อยให้กับมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ ได้ตัดสินใจที่จะทวงถามเกี่ยวกับเงินค่าสร้อยเพชรต่อหน้าพระพักตร์ของหลุยว์ ที่ 16 และมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ ทำให้เขาถูกจับกุมตัวไปขังในคุกบาสติลล์ (Bastille) เพื่อสอบสวน จึงได้รู้ว่าเจน เด วาลอส-เซง-เรมี่ (Jeanne de Valois-Saint-Rémy)  หรือรู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า เจนเน่ เดอ ลา มองต์เต้ (Jeanne de la Montte) เป็นผู้วางแผนที่จะหลอกเอาสร้อยเพชรนี้มาเพื่อนำไปขาย โดยได้ไปหลอก คาร์ดินาลปริ้นส์ หลุยส์ เด โรฮัน (Cardinal Price Louise de Rohan) อดีตทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเวียนนา ซึ่งคาร์ดินาลโรฮัน นั้นไม่เป็นที่โปรดของมาเรีย แอนทัวเน็ตต์เพราะเคยปล่อยข่าวลือเสียหายเกี่ยวกับพระองค์ให้กับจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซ่า ฟัง

คาร์ดินาลโรฮัน ซึ่งต้องการที่จะกลับมาเป็นที่ไว้วางพระทัยของมาเรีย แอนทัวเน็ตต์อีกครั้งหนึ่ง  จึงถูก เจนเน่ เดอ ลา มองต์เต้ ซึ่งเป็นชู้รักของเขา หลอกว่ามาเรีย แอนทัวเน็ตต์มีพระประสงค์จะซื้อสร้อยเพชรแต่ไม่ต้องการที่จะใช้เงินจากพระคลังเพราะว่าสถานะการคลังของประเทศที่ไม่ดี  จึงหลอกว่าคาร์ดินาลปริ้นส์ ว่ามาเรีย แอนทัวเน็ตต์ต้องการให้คาร์ดินัลปริ้น หลุยส์ ไปคำประกันในการซื้อสร้อยเพชรนี้ในนามของพระองค์ โดยที่คาร์ดินัลปริ้น นั้นได้รับจดหมายปลอมที่เขาเข้าใจว่ามาเรีย แอนทัวเน็ตต์เป็นผู้เขียนขึ้นและสั่งให้เขาไปเอาสร้อยเพชร จดหมายปลอมนี้เขียนขึ้นโดยรีทอกซ์ เด วิลเล็ตต์ (Rétaux de Villette)

ในคืนหนึ่งกลางเดือนสิงหาคม คาร์ดินัลปริ้น หลุยส์ ได้ออกไปพบกับมาเรีย แอนตัวเน็ตต์ตัวปลอม ภายในสวนของพระราชวังแวร์ซายส์ ซึ่ง เจนเน่ เดอ ลา มองต์เต้  ได้จ้างโสเภณีชื่อนิโคล (Nicole Le Guay d’Oliva) ให้ปลอมตัวมาเป็นมาเรีย แอนตัวเน็ตต์เพราะมีใบหน้าที่ละม้ายกัน เพื่อทำให้คาร์ดินัลปริ้น หลุยส์ หลงเชื่ออย่างสนิทใจ และยอมออกหน้าเป็นตัวแทนและผู้คำ้ประกันการซื้อสร้อยเพชรในนามของมาเรีย แอนทัวเน็ตต์

ต่อมาสร้อยเพชรจึงถูกส่งมาให้กับ เจนเน่ เดอ ลา มองต์เต้ เพื่อนำไปส่งให้กับมาเรีย แต่อันที่จริงแล้วสร้อยเพชรถูกสามีของ เจนเน่ เดอ ลา มองต์เต้ ชื่อนิโคลัส (Nicholas de la Motte) นำไปแยกชิ้นส่วนแล้วนำอออกไปขายในอังกฤษ

ความจริงในเรื่องนี้ปรากฏเมื่อคาร์ดินัล ปริ้นส์ หลุยส์ถูกจับและนำตัวไปสอบสวน  และไม่นาน ผู้สมรู้ร่วมคิดทั้งหมดก็ถูกจับกุมตัว 

อย่างไรก็ตามแม้คดีนี้มาเรีย แอนทัวเน็ตต์จะเป็นผู้บริสุทธิและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการซื้อสร้อยเพชร แต่ข่าวลือต่างๆ ที่กระจายออกไปสุ่สาธารณชนก่อนหน้าที่ความจริงจะกระจ่าง ทำให้ชื่อเสียงของมาเรียหม่นหมองในหมู่ประชาชน 

เจนเน่ เดอ ลา มองต์เต้ ถูกลงโทษด้วยการจำคุกตลอดชีวิต แต่ว่าต่อมาได้ปลอมตัวเป็นชายและหนึออกมาได้ ได้หนีไปยังอังกฤษ และได้เขียนหนังสือ Memoires Justificatifs de La Comtesse de Valois de La Motte ซึ่งแก้ตัวว่าเธอเป็นผู้บริสุทธิ และยังคงกล่าวหามาเรีย แอนทัวเน็ตต์ในเรื่องนี้

คดีสร้อยเพชรนี้ถูกไต่สวนแบบเปิดเผยต่อสาธารณะ ตั้งแต่ 25 สิงหาคม ตามความประสงค์ของมาเรีย แอนทัวเน็ตต์เพราะพระองค์ต้องการให้เห็นว่าพระองค์บริสุทธิ์ แต่กระบวนการต่างๆ ทอดนานไปจนสิ้นสุดในวันที่  31 พฤษภาคม 1786

1786 9 กรกฏาคม, พระประสูติกาเจ้าหญิงโซเฟีย (Sophie-Hélène-Béatrix)

1787 ชาร์ล โคลอนเน่ (Charles Alexandre de Calonne) รัฐมนตรีคลัง ได้จัดให้มีการประชุมสภาขุนนาง (Assenbly of Notables) ซึ่งไม่เคยมีการเรียกประชุมสภานี้มากว่า 160 ปีแล้ว เพื่อให้ผ่านกฏหมายปฏิรูปด้านการคลัง แต่ที่ประชุมสภาล้มเหลว และมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ซึ่งมีพวกที่บอกว่าเธอไม่ควรจะเข้ามายุ่งกับกิจการภายใน และพวกที่กล่าวหาว่าเธอไม่ให้เกียรติมาร่วมประชุมสภา สุดท้ายเมื่อที่ประชุมไม่สามารถตกลงผ่านกฏหมายปฏิรูปใดๆ ออกมาได้ หลุยส์ ที่ 16 ก็ถูกกดดันให้ต้องปลดโคลอนเน่ ออกจากตำแหน่ง

1 พฤษภาคม,  โรเมนี่ บริเอนนี่ (Étienne Charles de Loménie de Brienne) ซึ่งใกล้ชิดกับมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ ได้รับการแต่งตั้งมาทำหน้าที่แทนโคลอนเน่ 

25 พฤษภาคม, สภาขุนนางถูกยุบไป

1789 24 มกราคม, มีการประชุมสภาฐานันดร (Estates-General) เป็นครั้งแรกในรอบ 175 ปี  นับตั้งแต่ 1614

4 มิถุนายน, กลุ่มฐานันดรที่ 3 (Third Estate) ซึ่งประกอบไปด้วยพวกนายทุนและฝ่ายขุนนางหัวรุนแรงได้ประกาศตัวเองเป็นสภาแห่งชาติ (National Assembly) 

14 กรกฏาคม, กลุ่มผู้ประท้วงบุกปล้นอาวุธในคุกบาสติลล์ (Bastile) หลังมีกระแสข่าวว่ามาเรีย แอนทัวเน็ตต์จะใช้กำลังทหารรับจ้างจากสวิสฯ มาปราบปรามการประท้วง

5 ตุลาคม, (Marched to Versailles) กลุ่มผู้ประท้วงได้บุกพระราชวังแวร์ซาย มาเรียและราชวงศ์จับเอาไว้และนำตัวไปกักขังไว้ภายในพระราชวังตูล์เร่ส์ (Tuileries Palace)

1791 20 มิถุนายน, หลุยส์ ที่ 14 และมาเรีย พยายามหลบหนีไปยังออสเตรีย แต่ว่าถูกจับตัวได้ที่เมืองวาเรนเนส (Varennes-en-Argonne) ไม่กี่กิโลเมตรก่อนที่จะออกจากพรหมแดน  พวกเขาถูกนำตัวกลับมายังปารีส ซึ่งการหลบหนึยิ่งทำให้สถานะของพระองค์ตกต่ำลงไปอีกโดยถูกมองว่าเป็นการกระทำที่ทรยศต่อชาติ

14 กันยายน, หลุยส์ ที่ 16 ลงพระปรมาภิทัยในรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของฝรั่งเศส

1792 มิถุนายน, หลุยส์ ที่ 16 ถูกบังคับให้ต้องประกาศสงครามกับออสเตรีย หลังจากจักรพรรดิแห่งออสเตรียมีท่าทีจะเข้ามาช่วยเหลือมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ 

20 มิถุนายน, มีคนกลุ่มหนึ่งบุกเข้ามาในพระราชวังตูล์เร่ส์เพื่อทำร้ายสมาชิกราชวงศ์อีก  และอีกสามวันต่อมาเหล่าสมาชิกราชวงศ์ก็ถูกย้ายไปขังยังวิหารหอคอย (Tower of the Temple) 

2-4 กันยายน, September Massacres

21 กันยายน, สถาบันกษัตริย์ของฝรั่งเศสถูกยกเลิก และสภาแห่งชาติ (National Assembly) ได้ประกาศตั้งฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ (French Republic)  

1793 21 มกราคม, หลุยส์ ที่ 16 ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน บริเวณจตุรัสแห่งการปฏิวัติ (Place de la Revolution)

2 สิงหาคม, มาเรียถูกย้ายมาขังที่เรือนจำในตึกคอนเซียร์เจรีย์ (Conciergerie)

14 ตุลาคม, ถูกนำตัวมาฟังคำพิพากษาภายในศาลการปฏิวัติ (revolutionary court) ซึ่ง แอนตวน ตินวิล์ (Antoine Fouquier-Tinville) ทำหน้าที่ผู้พิพากษา โดยที่มาเรีย ถูกกล่าวหาว่ามีความผิด ทั้งล่วงละเมิดต่อหลุยส์ ที่ 17 โอรสของพระองค์เอง , การเป็นกบฏและทรยศต่อชาติบ้านเมือง, และทรงเป็นศัตรูของฝรั่งเศส

16 ตุลาคม, มาเรีย แอนทัวเน็ตต์ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน บริเวณจตุรัสแห่งการปฏิวัติ และถูกประหารเวลา 12.15 น. โดย ชาร์ล-อองรี่ แซนสัน (Charles-Henri Sanson) ผู้ทำหน้าที่ประหารมาเรีย ได้ชูพระเศียรขึ้นแก่สาธารณชน และพูดว่า “Long live the Republic”   โดยไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะถูกประหารชีวิต พระองค์ได้เขียนจดหมายฉบับสุดท้ายถึงมาดามอลิซาเบธ (Madame Elizabeth)  น้องสาวของหลุยส์ ที่ 16

….. จดหมายฉบับสุดท้ายของมาเรีย แอนทัวเน็ตต์ ถึงมาดามอลิซาเบธ

16  ตุลาคม, 4.30 A.M. (วันถูกประหาร, ตีสี่ครึ่ง )

เขียนถึงเจ้า, น้องสาวของข้า, นี่เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว เพราะเข้าถูกกล่าวหา, มันไม่ใช่การตายอย่างไร้ศักดิ์ศรี แต่ทุกอย่างล้วนเกิดจากการอาชญกรรม  แต่ก็เป็นโอกาสที่ข้าจะได้ไปอยู่กับพี่ของเจ้า ซึ่งเขาก็เป็นผู้บริสุทธิ์ ข้าหวังว่าจะสามารถแสดงความกล้าหาญเฉกเช่นเดียวกับพระองค์ในวาระสุดท้าย  ตอนนี้ข้ารู้สึกสงบและไม่ได้กังวลถึงสิ่งใดอีกต่อไป นอกเสียจากมีความเสียใจที่ต้องจากลูกๆ ที่โชคร้ายของข้าไป ซึ่งเจ้าคงรู้ว่าข้ามีชีวิตอยู่เพียงเพื่อพวกเขา, และเจ้า, น้องสาวผู้อ่อนโยนของข้า , เจ้า ผู้ซึ่งมอบมิตรภาพ และอุทิศทุกสิ่งอย่างเพื่ออยู่เคียงข้างพวกเรา , ซึ่งที่ขณะที่ข้าต้องแยกจากเจ้า ข้าได้รู้ว่าลูกสาวของข้าถูกแยกออกจากเจ้า โอ้! นางผู้โชคร้าย , แต่ฉันก็ไม่กล้าที่จะเขียนจดหมายไปหาเธอ, ด้วยเกรงว่าจดหมายของฉันคงไม่ได้ส่งไปถึงนาง เช่นเดียวกับที่ไม่รู้ว่าจดหมายนี้จะส่งถึงเจ้า, แต่ได้โปรดรับสาสน์นี้จากข้าเพื่อไปถึงพวกเขาทั้งคู่, ข้าหวังว่าวันหนึ่ง, เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นมา, พวกเขาจะได้กลับมาอยู่ร่วมกับเจ้า และได้มีความสุขกับความรักที่เจ้ามอบให้  โปรดทำให้พวกเขารับรู้ว่าข้าไม่ได้หายไปไหนแต่ยังคงจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับพวกเขา, และโปรดบอกให้พวกเขารับรู้ถึงหน้าที่, สิ่งพื้นฐานของการมีชีวิต นั้นคือความมิตรภาพและความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างพวกเขาเองคือสิ่งที่จะทำให้พวกเขามีความสุข เมื่อลูกสาวของข้าเติบโตจนถึงวัย, นางจะได้คอยช่วยเหลือน้องชาย คอยให้คำแนะนำน้องชาย เพราะประสบการณ์ที่นางมีมากกว่า  และมิตรภาพที่นางมอบให้จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับเขา และในทางกลับกัน ช่วยบอกให้ลูกชายของข้า, ได้คอยดูแลพี่สาว คอยเอาใจใส่กันและกัน ต่อให้ไม่ว่าพวกเขาจะไปอยู่ในสถานะใด, พวกเขาจะได้มีความสุขอย่างแท้จริงที่ได้อยู่ร่วมกัน  พวกเขาจะได้เหมือนกับคู่ของข้า, ซึ่งไม่ว่าพวกเราจะผ่านเคราะห์กรรมแค่ไหน แต่มิตรภาพระหว่างเราสองคนช่วยทำให้พวกเราเป็นสุข และความสุขของพวกเรานั้นยิ่งทวีขึ้นเมื่อเราสามารถแบ่งปันมันร่วมกับเพื่อน แล้วเราจะไปหาความอ่อนโยนที่ไหนได้อีกที่มากไปกว่าคนในครอบครัวเราเอง ? หวังว่าลูกชายของข้าจะไม่ลืมคำของพระบิดา, ซึ่งฝากข้ามาบอกว่า  เขาไม่จำเป็นต้องแก้แค้นให้กับการตายของพวกเรา ข้าอยากจะบอกความเจ็บปวดในใจของข้าอย่างหนึ่งแก่เจ้าว่า ข้ารู้ดีกว่าภายภาคหน้าลูกๆ ของข้าคงจะต้องทำให้เจ้าเจ็บปวดแน่ แต่ได้โปรดให้อภัยแต่เขา, น้องรักของข้า โปรดรู้ว่าเขายังเยาว์, และตระหนักว่าเด็กๆ มันจะพูดเอาแต่ใจ แม้ว่าขณะนั้นพวกเขาจะไม่ได้เข้าใจในอะไรเลยก็ตาม แต่ก็จะมีวันหนึ่ง, ข้าหวังว่า, ที่พวกเขาจะรับรู้ถึงคุณค่าของความห่วงหาเมตตาและอาทรณ์ของเจ้าเฉกเช่นเดียวกับที่ข้ารับรู้แม้กระทั้งในความคำนึกสุดท้าย อันที่จริงข้าควรจะเขียนถึงพวกเขาตั้งแต่เมื่อเริ่มการพิพากษา แต่ว่ามีข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถลงมือเขียนได้, และการเดินทางก็รวดเร็วจนข้าไม่มีเวลา

ข้าตายอย่างแคโธริก, ศาสนาแห่งโรมันและองค์สันตะปาปา ซึ่งบรรพชนของข้าในดินแดนที่ข้าเติบโตขึ้นมา, และข้ายึดถือไว้เสมอ แต่มันไม่รู้จะมีที่ปลอบประโลมจิตวิญญาณรอคอยอยู่ภายหน้าหรือไม่, ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันได้มีอยู่ในเหล่านักบวชของศาสนาหรือไม่ และไม่รู้ว่าอยู่ในดินแดนซึ่งข้าจะได้ไปเปิดโปงพวกเขาหรือไม่, ถ้าวันหนึ่งพวกเขาได้ไปอยู่ที่นั้นเช่นกัน ข้าอยากจะทูลขอต่อพระองค์พระผู้เจ้าโปรดประทานอภัยต่อความผิดทั้งหลายที่ข้าได้เคยกระทำมา ข้าหวังว่าพระองค์จะทรงตอบรับคำอธิษฐานสุดท้ายของข้า, และคำอธิษฐานต่างๆ ที่ข้าเคยได้ขอเอาไว้เมื่อนานมาแล้ว ขอให้พระองค์โปรดรับเอาดวงวิญญาณของข้าไว้ในพระเมตตาและพระกรุณาของพระองค์ ข้าของอโหสิกรรมจากพวกเขาทั้งหลาย, และจากเจ้า, น้องสาวของข้า สำหรับความเจ็บปวดใดๆ ซึ่งข้าเป็นต้นเหตุแม้นว่าจะกระทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ข้าอโหสิกรรมให้กับศัตรูของข้าทั้งหลายต่อความพยาบาทที่พวกเขาได้มีต่อข้า ข้าอยากจะกล่าวอำลากับป้าๆ พี่ชายและน้องสาวของข้าทุกๆ คน  ข้ามีเพื่อน และความรู้สึกที่ว่าจะต้องแยกจากพวกเขาไปโดยที่รับรู้ว่าพวกเขาจะต้องโศกเศร้าเช่นกันนั้นเป็นความเสียใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ข้าจะต้องนำติดตัวไปพร้อมกับความตาย, แต่อย่างน้อยขอให้พวกเขารับรู้ว่า, แม้กระทั้งในวาระสุดท้าย, ข้าก็ยังคิดถึงพวกเขา … ลาก่อน, น้องสาวผู้แสนดีและอ่อนโยนของข้า หวังว่าจดหมายฉบับนี้จะส่งถึงเจ้า ! โปรดรำลึกถึงข้าบ้าง; ข้านึกถึงเจ้าหมดหัวใจ, เช่นเดียวกับที่นึกถึงลูกๆ ที่เคราะห์ร้ายของข้า; พระเจ้า ! มันปวดร้าวยิ่งนักที่ต้องจากพวกเขาไปตลอดกาล ลาก่อน, ลาก่อน ข้าจะไม่กังวลถึงสิ่งใดอีกแล้วนอกเสียจากคิดถึงหน้าที่ของข้าในฐานะดวงจิต  ข้าคงจะไม่สามารถมีอิสระท่จะทำอะไรได้อีก, นอกจากสิ่งที่นักบวชจะสั่งให้ข้าทำ, แต่ข้าก็จะขอประท้วงโดยที่จะไม่พูดกับพวกเขาสักหนึ่งคำ, และจะทำราวกลับว่าเขาเป็นดังคนแปลกหน้าคนอย่างสิ้นเชิง

ce 16 8bre à 4 h ½ du matin

C’est à vous, ma Sœur, que j’écris pour la dernière fois. Je viens d’être condamnée non pas à une mort honteuse, elle ne l’est que pour les criminels, mais à aller rejoindre votre frère ; comme lui innocente, j’espère montrer la même fermeté que lui dans ces derniers moments. Je suis calme comme on l’est quand la consience[sic] ne reproche rien, j’ai un profond regret d’abandonner mes pauvres enfants ; vous savez que je n’existois que pour eux, et vous, ma bonne et tendre Sœur : vous qui avez par votre amitié tout sacrifié pour être avec nous ; dans quelle position je vous laisse ! J’ai appris par le plaidoyer même du procès que ma fille étoit séparée de vous. Hélas ! la pauvre enfant, je n’ose pas lui écrire, elle ne recevroit pas ma lettre je ne sais même pas si celle-ci vous parviendra, recevez pour eux deux ici, ma bénédiction. J’espère qu’un jour, lorsqu’ils seront plus grands, ils pourront se réunir avec vous, et jouir en entier de vos tendres soins. Qu’ils pensent tous deux à ce que je n’ai cessé de leur inspirer, que les principes, et l’exécution exacte de ses devoirs sont la première base de la vie ; que leur amitié et leur confiance mutuelle, en feront le bonheur ; que ma fille sente qu’à l’âge qu’elle a, elle doit toujours aider son frère pour les conseils que [rature] l’expérience qu’elle aura de plus que lui et son amitié pourront lui inspirer ; que mon fils à son tour, rende à sa sœur, tous les soins, les services que l’amitié peut inspirer ; qu’ils sentent enfin tous deux que, dans quelque position où ils pourront se trouver, ils ne seront vraiment heureux que par leur union. Qu’ils prennent exemple de nous, combien dans nos malheurs, notre amitié nous a donné de consolations, et dans le bonheur on jouit doublement quand on peut le partager avec un ami ; et où en trouver de plus tendre, de plus cher que dans sa propre famille ? Que mon fils n’oublie jamais les derniers mots de son père, que je lui répète expressément : qu’il ne cherche jamais à venger notre mort. J’ai à vous parler d’une chose bien pénible à mon cœur. Je sais combien cet enfant, doit vous avoir fait de la peine ; pardonnez-lui, ma chère Sœur ; pensez à l’âge qu’il a, et combien il est facile de faire dire a[sic] un enfant ce qu’on veut, et même ce qu’il ne comprend pas, un jour viendra, j’espère, où il ne sentira que mieux tout le prix de vos bontés et de votre tendresse pour tous deux il me reste à vous confier encore mes dernières pensées. J’aurois voulu les écrire dès le commencement du procès ; mais, outre qu’on ne me laissoit pas écrire, la marche en a été si rapide, que je n’en aurois réellement pas eu le tem.

Je meurs dans la religion catholique, apostolique et romaine, dans celle de mes pères, dans celle où j’ai été élevée, et que j’ai toujours professée, n’ayant aucune consolation spirituelle à attendre, ne sachant pas s’il existe encore ici des prêtres de cette religion, et même le lieu où je suis les exposeroit trop, si ils[sic] y entroient une fois. Je demande sincèrement pardon à Dieu de toutes les fautes que j’ai pu commettre depuis que j’existe. J’espère que dans sa bonté il voudra bien recevoir mes derniers vœux, ainsi que ceux que je fais depuis longtems pour qu’il veuille bien recevoir mon âme dans sa miséricorde et sa bonté. Je demande pardon à tout ceux que je connois, et à vous, ma Sœur, en particulier, de toutes les peines que, sans le vouloir, j’aurois pu vous causer. Je pardonne à tous mes ennemis le mal qu’ils m’ont fait. Je dis ici adieu à mes tantes [rature] et à tous mes frères et sœurs. J’avois des amis, l’idée d’en être séparée pour jamais et leurs peines sont un des plus grands regrets que j’emporte en mourant, qu’ils sachent, du moins, que jusqu’à mon dernier moment, j’ai pensé à eux. Adieu, ma bonne et tendre Sœur ; puisse cette lettre vous arriver ! pensez toujours à moi ; je vous embrasse de tout mon cœur, ainsi que ces pauvres et chers enfants ; mon Dieu ! qu’il est déchirant de les quitter pour toujours. Adieu, adieu ! je ne vais plus m’occuper que de mes devoirs spirituels. Comme je ne suis pas libre dans mes actions, on m’amènera peut-être, un prêtre, mais je proteste ici que je ne lui dirai pas un mot, et que je le traiterai comme un être absolument étranger.

C’est à vous, ma Sœur, que j’écris pour la dernière fois. Je viens d’être condamnée non pas à une mort honteuse, elle ne l’est que pour les criminels, mais à aller rejoindre votre frère ; comme lui innocente, j’espère montrer la même fermeté que lui dans ces derniers moments. Je suis calme comme on l’est quand la consience[sic] ne reproche rien, j’ai un profond regret d’abandonner mes pauvres enfants ; vous savez que je n’existois que pour eux, et vous, ma bonne et tendre Sœur : vous qui avez par votre amitié tout sacrifié pour être avec nous ; dans quelle position je vous laisse ! J’ai appris par le plaidoyer même du procès que ma fille étoit séparée de vous. Hélas ! la pauvre enfant, je n’ose pas lui écrire, elle ne recevroit pas ma lettre je ne sais même pas si celle-ci vous parviendra, recevez pour eux deux ici, ma bénédiction. J’espère qu’un jour, lorsqu’ils seront plus grands, ils pourront se réunir avec vous, et jouir en entier de vos tendres soins. Qu’ils pensent tous deux à ce que je n’ai cessé de leur inspirer, que les principes, et l’exécution exacte de ses devoirs sont la première base de la vie ; que leur amitié et leur confiance mutuelle, en feront le bonheur ; que ma fille sente qu’à l’âge qu’elle a, elle doit toujours aider son frère pour les conseils que [rature] l’expérience qu’elle aura de plus que lui et son amitié pourront lui inspirer ; que mon fils à son tour, rende à sa sœur, tous les soins, les services que l’amitié peut inspirer ; qu’ils sentent enfin tous deux que, dans quelque position où ils pourront se trouver, ils ne seront vraiment heureux que par leur union. Qu’ils prennent exemple de nous, combien dans nos malheurs, notre amitié nous a donné de consolations, et dans le bonheur on jouit doublement quand on peut le partager avec un ami ; et où en trouver de plus tendre, de plus cher que dans sa propre famille ? Que mon fils n’oublie jamais les derniers mots de son père, que je lui répète expressément : qu’il ne cherche jamais à venger notre mort. J’ai à vous parler d’une chose bien pénible à mon cœur. Je sais combien cet enfant, doit vous avoir fait de la peine ; pardonnez-lui, ma chère Sœur ; pensez à l’âge qu’il a, et combien il est facile de faire dire a[sic] un enfant ce qu’on veut, et même ce qu’il ne comprend pas, un jour viendra, j’espère, où il ne sentira que mieux tout le prix de vos bontés et de votre tendresse pour tous deux il me reste à vous confier encore mes dernières pensées. J’aurois voulu les écrire dès le commencement du procès ; mais, outre qu’on ne me laissoit pas écrire, la marche en a été si rapide, que je n’en aurois réellement pas eu le tem.

Je meurs dans la religion catholique, apostolique et romaine, dans celle de mes pères, dans celle où j’ai été élevée, et que j’ai toujours professée, n’ayant aucune consolation spirituelle à attendre, ne sachant pas s’il existe encore ici des prêtres de cette religion, et même le lieu où je suis les exposeroit trop, si ils[sic] y entroient une fois. Je demande sincèrement pardon à Dieu de toutes les fautes que j’ai pu commettre depuis que j’existe. J’espère que dans sa bonté il voudra bien recevoir mes derniers vœux, ainsi que ceux que je fais depuis longtems pour qu’il veuille bien recevoir mon âme dans sa miséricorde et sa bonté. Je demande pardon à tout ceux que je connois, et à vous, ma Sœur, en particulier, de toutes les peines que, sans le vouloir, j’aurois pu vous causer. Je pardonne à tous mes ennemis le mal qu’ils m’ont fait. Je dis ici adieu à mes tantes [rature] et à tous mes frères et sœurs. J’avois des amis, l’idée d’en être séparée pour jamais et leurs peines sont un des plus grands regrets que j’emporte en mourant, qu’ils sachent, du moins, que jusqu’à mon dernier moment, j’ai pensé à eux. Adieu, ma bonne et tendre Sœur ; puisse cette lettre vous arriver ! pensez toujours à moi ; je vous embrasse de tout mon cœur, ainsi que ces pauvres et chers enfants ; mon Dieu ! qu’il est déchirant de les quitter pour toujours. Adieu, adieu ! je ne vais plus m’occuper que de mes devoirs spirituels. Comme je ne suis pas libre dans mes actions, on m’amènera peut-être, un prêtre, mais je proteste ici que je ne lui dirai pas un mot, et que je le traiterai comme un être absolument étranger.

Don`t copy text!