Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Paul Dirac

พอล ดิเรก (Paul Adrien Maurice Dirac)
โนเบลฟิสิกส์ 1933
พอลเกิดวันที่ 8 สิงหาคม 1902 ในบริสตอล, อังกฤษ (Bristol, England)  พ่อของเขาชื่อชาร์ล (Charles Adrien Ladislas Dirac) เป็นชาวสวิสฯ ที่ย้ายมาเป็นครูสอนหนังสือในอังกฤษตั้งแต่ปี 1888 แม่ชื่อฟลอเรนซ์ (Florence Hannah Holten) ทำงานเป็นบรรณารักษ์อยู่ในห้องสมุดบริสตัล (Bristol Central Library) พวกเขาแต่งงานกันในปี 1899
พอลเป็นลูกคนกลางในพี่น้องสามคน พี่ชายเชาชื่อเฟริกซ์ (Reginald Charles Felix Dirac) และน้องชื่อเบตตี้ (Breatrice Isabelle Marguerite Walla Dirac, “Betty”) 
พ่อของเขาเป็นคนเข้มงวด และดุ เขาบังคับให้ลูกๆ พูดกับเขาด้วยภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น ชีวิตวัยเด็กของพอลเป็นชีวิตที่ไม่มีความสุข น้องชายของพอลเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในปี 1925
พอลเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนประถมบิชอฟโร็ด (Bishop Road Primary School) และมาต่อระดับมัธยมที่เมอร์ชานต์ เวนเจอร์ เทคนิคคอลเลจ (Merchant Venturers’ Technical College) โรงเรียนชายล้วนซึ่งเป็นโรงเรียนที่พ่อของเขาสอนหนังสืออยู่
1918 พอลเข้าเรียนมหาวิทยาลัยบริสตัล (Bristol University) ในคณะวิศวะกรรมไฟฟ้า
1921 เมื่อเรียนจบวิศวะ  ก็ได้สมัครสอบเข้าเรียนต่อที่เซนต์จอห์นคอลเลจ, แคมบริดจ์ (St.John’s College, Cambridge)  แต่ว่าเมื่อสอบผ่านแล้วและเขาได้รับทุน 70 ปอนด์ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เรียนจนจบ และขณะนั้นเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำด้วยทำให้การหางานวิศวะกรทำจึงยาก เขาจึงไม่ได้เรียนที่แคมบริดจ์แต่ว่าเลือกเรียนที่ ม.บริสตัล ในสาขาคณิตศาสตร์แทน ซึ่งเขาได้เรียนฟรี
1923 จบการศึกษา และได้เข้าเรียนและทำงานวิจัยต่อที่แคมบริดจ์ โดยมีราฟ โฟวเลอร์ (Ralph Fowler) เป็นที่ปรึกษา โดยระหว่างนี้เขามีความสนใจเกี่ยวกับทฤษฏีสัมพันธภาพ (theory of relativity) เป็นพิเศษ 
1926 จบปริญญาเอก โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง Quantum mechanics
หลังจากเรียนจบได้มีโอกาสเดินทางไปทำงานร่วมกับบอห์ร (Niels Bohr) ที่โคเปนฮาเก้น (Copenhagen) 
1927 เดินทางไปดูงานที่ก๊อตตินเจ้น (Göttingen) และได้มีโอกาสติดต่อกับโอเปนไฮเมอร์ (Robert Oppenheimer), บอร์น (Max Born), ทามม์ (Igor Tamm) 
ได้รับทุนวิจัยจากเซนต์จอห์น คอลเลจ (St. John’s College)
1928 เดินทางไปโซเวียตครั้งแรก และหลังจากั้นเขาก็กลับไปโซเวียตอีกหลายครั้ง ซึ่งในปีนี้เขาค้นพบ Dirac equation อนุภาค ซึ่งเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลศาสตร์ควอนตัมกับทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษ (theory of special relativity) 
เขียนรายงานวิจัยเรื่อง theory of the electron
พิมพ์หนังสือ Quantum Theory of the Electron
1929 เดินทางมาสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก โดยได้มาเลคเชอร์ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (Wisconsin University) และที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน (Michigan University) และหลับจากออกจากสหรัฐฯ เขาก็เดินทางไปเลคเชอร์ที่ญี่ปุ่นก่อนจะกลับอังกฤษโดยโดยสารรถไฟสายทรานไซบีเรีย
1930 ตีพิมพ์ผลงานเรื่อง The Principles of Quantum Mechanics
ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของ Royal Society
1932 รับตำแหน่งศาสตราจารย์ลูคาเซียน (Lucasian professor) ในสาขาคณิตศาสตร์ที่ ม.แคมบริดจ์ ซึ่งเขาอยู่ในตำแหน่งนี้กว่า 37 ปี
เขียนรายงานวิจัยเรื่อง theory of holes
1933 ได้รับรางวัลโนเบลฟิสิกส์ ร่วมกับชโรดินเจอร์ (Erwin Schrödinger) จากการค้นพบทฤษฏีเกี่ยวกับอะดอม
ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับ Lagrangian quantum mechanics
1934 เดินทางมาที่สถาบันการศึกษาระดับสูง (Institute for Advanced Study) ของมหาวิทยาลัยพริ้นตั้น (Princeton) ทำให้ได้รู้จักกับยูจีน วิกเนอร์ (Eugene Wigner) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล
1937 มกราคม, แต่งงานกับมาร์กิต (Margit Wigner) น้องสาวของวิกเนอร์ พวกเขามีลูกด้วยกันสคน ชื่อแมรี่ (Mary Elizabeth) และฟลอเรนซ์ (Florence Monica) และยังมีลูกบุญธรรมอีกสองคน จูติท (Judith) และเกเบรียล (Gabriel) 
1940s ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการนิวเคลียร์ของอังกฤษ
1969 เกษียณจากตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ ม.แคมบริดจ์ และเดินทางไปอาศัยอยู่ในฟลอริด้าพร้อมครอบครัว และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยไมอามี (University of Miami) และที่มหาวิทยาลัยฟลอริด้า (Florida State University) 
1971 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ ม.ฟลอริด้า
1973 เขาเลคเชอร์เรื่อง problem of non-dimensional combinations of world constant ที่สถาบันวิศกรรมฟิสิกส์ (Physical Engineering Institute) ในเลนินกราด, โซเวียต ซึ่งเลคเชอร์เรื่องเดียวกันนี้อีกครั้งที่นี่ในปี 1975 
1984 20 ตุลาคม, เสียชีวิตในทัลลาฮัสซี, ฟลอริด้า (Tallahassee, Florida)

Don`t copy text!