Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Ashoka

อโศก (Devanam Priyadarshi, Ashoka) 
อโศก ประสูติราวปี 304 BC ในกรุงปาตาลีปุตรา (Pataliputra) เป็นโอรสของจักรพรรดิพินทุสาร (Emperor Bindusara) ซึ่งตามหนังสือ Avadana บันทึกเขาไว้ว่าพระมารดาคือพระนางสุภาดรัง (Subhadrangī) พระมเหสีของจักพรรดิพินทุสาร,  ในขณะที่หนังสือ Divyavadana บันทึกว่าพระราชินีพระนามว่าจันภากัลยาณี (Janapadakalyani) แต่หนังสือ Ashokavadana บันทึกว่าพระมารดาเป็นลูกสาวของพราห์มคนหนึ่งจากเมืองจำปา (Champa) 
อโศก เป็นพระนัดดา ของจักรพรรดิจันทราคุปตะ เมารยะ (Chandragupta Maurya) ผู้ก่อตั้งราชงงศ์เมารยะ ( Mauryan dynasty) 
อโศกได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าครองเมืองอวานติ (Avanti)
323 BC อเล็กซานเดอร์ สวรรคต (Alexander the Great)   ปโตเลมี โซเตอร์ (Ptolemy I Soter) แม่ทัพคนหนึ่งของอเล็กซานเดอร์ จีงได้สถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นกษัติย์แห่งอียิปต์
305 BC ซีลัวคัส (Seleucus) แม่ทัพคนหนึ่งของอเล็กซานเดอร์  โดยได้รับการสนับสนุนจากปโตเลมี ทำให้เขาได้ปกครองบาบิโลน (Babylon) และซีลัวคัสได้ทำสงครามขยายดินแดนออกไปทางตะวันออก ไปยังเปอร์เซีย (Persia), มีเดีย (Media) จนกระทั้งไปถึงอินเดีย 
303 BC ซีลัวคัส พ่ายแพ้ให้กับกองทัพของจักรพรรดิจันทราทราคุปตะ , ซีลัวคัสจึงทำสันติภาพกับอินเดียโดยการให้ลูกสาวคนหนึ่งของเขา แต่งงานกับจักรพรรดิจันทราคุปตะ
297 BC จักรพรรดิจันทราคุปตะสวรรคต และจักรพรรดิพินทุสารครองราชย์
285 BC อโศก มีมเหสีและสนมรวม 5 พระองค์ องค์แรกพระนามว่าเทวี (Devi, Vedisa-Mahadevi Sakyakumari)  ซึ่งแม้ไม่ปรากฏว่าพระองค์อภิเษกกันเมื่อใด แต่ว่าโอรสองค์แรกชื่อมาเฮนตรา (Mahendra) เกิดในปีนี้ และมีพระธิดาด้วยกันชื่อแสงหะมิตรา (Sanghamitra)
ต่อมาอโศกถูกส่งให้ไปเมืองตักศิลา (Takshashila) เพื่อปราบปรามการจราจล แต่ว่ากันว่าเมื่อพระองค์เดินทางมาถึง ฝ่ายผู้ก่อการจราจลยินดีในการมาของพระองค์ ทำให้มีการยอมวางอาวุธโดยที่ไม่มีการสู้รบ
ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ที่ตักศิลาสงบ อโศกก็ถูกส่งไปยังคาลินกา (Kalinga)  ซึ่งที่เมืองนี้พระองค์ได้พบกับ มเหสีองค์ที่สองของพระองค์ ชื่อคารุวากี (Karuvaki) ซึ่งตอนนั้นเป็นเพียงหญิงชาวประมง ซึ่งให้กำเนิดโอรสสามคนแก่อโศก แต่รู้เพียงว่าโอรสองค์โตชื่อทิวาลา (Tivala Maurya)
ไม่นานอโศกถูกสั่งให้ไปปราบปรามการจราจลที่อุจเจน (Ujjain) ซึ่งที่เมืองนี้ อโศกได้รับบาดเจ็บในการต่อสู้  และพระองค์ได้รับการช่วยเหลือจากภิกษุ ที่เมืองนี้จึงเป็นครั้งแรกที่พระองค์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา
272 BC จักรพรรดิพินทุสารสวรรคต  ซึ่งหนังสือ Divyavadana ได้เล่าว่าพระองค์ต้องการใช้เจ้าชายสุสิมา (Susima) พระโอรสองค์โตเป็นรัชทายาทแต่ทว่าขุนนางส่วนใหญ่สนับสนุนเจ้าชายอโศก โดยขุนนางชื่อ ราภากุปตะ (Radhagupta) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เจ้าชายอโศกครองราชย์ โดยเป็นผู้ที่นำช้างหลวงเชือกหนึ่งมาให้กับเจ้าชายอโศกเพื่อใช้เดินทางไปยังพระตำหนักทองคำที่ซึ่งจักรพรรดิพินทุสารกำลังจะตัดสินใจมอบตำแหน่งรัชทายาทให้ เล่ากันว่าอโศกได้หลอกให้เจ้าชายสุสิมาตกลงไปในหลุมซึ่งมีถ่านหินลุกไหม้อยู่จนเสียชีวิต
แต่เหตุการณ์อีกแบบหนึ่งเล่าว่า อโศกได้รับการสนับสนุนจากราภากุปตะ ให้นำกองทัพบุกเมืองหลวง ซึ่งอโศกได้ยกทัพมายังปาตาลีปุตรา และได้สังหารพระเชษฐาสุสิม และพี่น้องคนอื่นๆ อีกหลายคน 
นอกจากนั้นหนังสือ Dipavansa และ Mahavansa ได้เขียนเอาไว้ว่าอโศกฆ่าพี่น้องกว่า 99 คนเพื่อที่จะได้เหลือตนเองเป็นรัชทายาทแต่เพียงผู้เดียว มีเพียงพระอนุชาวิทาโศก (Vithashoka) เท่านั้นที่ได้รับการไว้ชีวิต
เมื่ออโศกขึ้นเป็นจักรพรรดิ งานแรกๆ ของพระองค์ในฐานะจักรพรรดิคือการทำสงครามในการปราบปรามกบฏ เพราะในระหว่างที่จักรพรรดิพินทุสารยังมีพระชนษ์อยู่นั้น  ในหนังสือ Divyavadana ได้บันทีกเอาไว้ว่าในสมัยของจักรพรรดิพินทุสาร  อุปราชย์จันนากยะ (Channakya) ได้ก่อกบฏขึ้น ซึ่งเขาสามารถทำลายและยึดเมืองหลายสิบแห่งทางตะวันออกของอินเดียเอาไว้ได้  เมื่ออโศกขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงสืบราชกิจในการทำสงครามปราบกบฏต่อจากพระบิดา
270 BC อภิเษกกับอสันธิมิตรา (Asandhimitra) ซึ่งพระนางได้รับตำแหน่งพระอัครมเหสี  และเป็นพระราชีนีของประเทศ
269 BC มีพิธีราชพิเษกอย่างเป็นทางการ  ซึ่งเมื่อทรงครองราชย์ พระองค์ได้ทำสงครามต่อเนื่องกว่า 8 ปี เพื่อขยายดินแดนทุกทิศทาง ด้านตะวันออกเข้าไปยังบริเวณอัสสัม (Assam)  ด้านตะวันตก ไปถึงบาโลชิสถาน (Balochistan) บริเวณอัฟกานิสถานและปากีสถาน และทางใต้ขยายไปจนติดรัฐทมิฬ นาดู (Tamil Nadu) ซึ่งมีอาณาจักรของชาวทมิฬอยู่ที่ปลายของอนุทวีปอินเดีย
เมื่ออโศกครองราช ตำนานเล่าว่าพระองค์มีนิสัยที่โหดอำมะหิต พระองค์ทรงสร้างสถานที่สำหรับทรมานนักโทษขึ้นมา เรียกกันว่าเป็นนรก (Ashoka’s Hell)  จนพระองค์ถูกขนาดนามว่าเป้น Chanda Ashoka หรือ Ashoka the Fierce 
265 BC อโศกเปิดสงครามกับคาลิงกา (Kalinka) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้หัดมานับถือพุทธศาสนา เพราะว่าพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นผู้คนล้มตายและเจ็บป่วยหลายแสนคนเพราะสงคราม
263 BC เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา
เจ้าชายกุนาละ (Kunala) จากพระมเหสีปัทมาวะตี (Padmavati) มเหสีองค์ที่ 4 
มเหสีองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายของอโศกชื่อติชยะรัคชา (Tishyaraksha) ซึ่งติชยะรัคชาเคยหลงรักกุนาละ พระโอรสของอโศก แต่ว่ากุนาละไม่ได้คิดเช่นเดียวกับพระองค์ ติชยะรัคชาจึงเกิดความแค้นและได้ทำให้ดวงตาของกุนาละปอด
260 BC ชนะสงครามต่อคาลิงกา 
250 BC ส่งคณะทูตไปเผยแพร่ศาสนาพุทธ
กันธารา มาหาติกะ (Gandhara Majjhantika) – ไปแคชเมียร์
มหาเทวา (Mahadeva) – ไมเซอร์ (Mahasamandala ~ Mysore)
รักขิตา (Rakkhita) – ทามิฬ นาดู (Vanavasi ~ Tami Nadu)
มหารักขิตา (Maharakkhita) – จักรวรรดิซีลูคิด (Bactria, Seleucid Emire, Country of Yona)
มาจหิมา (Majjhima) – เนปาล (Himavanta ~ Nepal)
โสนะ (Sona)  , อุตตะระ (Uttara) – ไทย พม่า (Suvannabhumi)
โยนะ ธรรมารักขิตะ (Yona Dhammarakkhita) – กุจรัต (Aparantaka ~ Gujarat , Sindh)
มหาธรรมารักขิตะ (Mahadhammarakkhiita) – มหารัชทะ (Maharattha)
มหามหินตา (Mahamahinda) – ศรีลังกา (Lankadipa ~ Sri Lanka)
232 BC สวรรคต , ตำนานเล่าว่าต้องใช้เวลาถึงเจ็ดวันเจ็ดคืนในการเพลิงพระศพ 

Don`t copy text!