Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Marvin Minsky

มาร์วิน มินสกี้ (Marvin Lee Minsky)
father of artificial intelligence
มินสกี้ เกิดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1927 ในนิวยอร์คซิตี้ ในครอบครัวเชื้อสายยิว พ่อของเขาชื่อเฮนรี่ (Henry Minsky) เป็นจักษุแพทย์ และแม่ชื่อแฟนนี่ (Fannie) เป็นผู้สนับสนุนไซออนนิสต์ (Zionism) 
เข้าเรียนหนังสือที่ฟิล์ดตัน (Ethical Culture Fieldston School)  และต่อมัธยมที่โรงเรียนมัธยมบร๊อนซ์ Bronx High School of Science) ในนิวยอร์ค
ต่อมาเข้าเรียนที่สถาบันฟิลิปส์ (Phillips Academy) ในแมสซานชูเซตต์
1944 เข้าเป็นทหารอยู่หนึ่งปีในกองทัพสหรัฐฯ​ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2
1950 จบปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์จากฮาร์วาร์ด (Harvard University) 
1954 จบปริญญาเอกด้านคณิตศาสตร์จากพริ้นตั้น (Princeton University)
1956 ร่วมกับแชนนอน (Claude Shannon, father of information theory), แม็คคาร์ธี (John McCharthy, ผู้สร้างภาษา Lisp) , โรเชสเตอร์ (Nathaniel Rochester) จัดการประชุมดารท์เมาท์ (Dartmouth Conference) ซึ่งเป็นการประชุมประเด็นเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ครั้งแรกของโลก
1958 มาทำงานที่คณะวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของเอ็มไอที (MIT)  มินสกี้ทำงานที่เอ็มไอทีนี้จนกระทั้งเสียชีวิต
1951 สร้าง SNARC (Stochastic Neural Analog Reinforcement Calculation) เครื่องคำนวณที่จำลองระบบข่ายประสาท
1952 แต่งงานกับกลอเรีย (Gloria Rudisch) พวกเขามีลูกด้วยกัน 3 คน
1959 มินสกี้ และจอห์น แม็คคาร์ธี  ได้ร่วมกันตั้งกลุ่มปัญญาประดิษฐ์ (AI Group) ขึ้นมาภายในเอ็มไอที
1961 เขาจดสิทธิบัตรไอเดียเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอล (confocal scanning microscope)
1963 มินสกี้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรจอภาพแบบครอบศรีษะ (head graphical display)
1969 ได้รับรางวัลทูริ่ง (Turing Award) 
1970 MIT AI Lab ได้ถูกตั้งขึ้นมา โดยการร่วมตัวกันระหว่างสมาชิกของ Project MAR และ A.I. Group
1981 เขียนบทความชื่อ “Music, Mind and Meaning” 
1985 ร่วมก่อตั้ง MIT Media Lab
1986 เขียนหนังสือ Society of Mind Theory ขณะเดียวกันก็ยังเป็นชื่อของทฤษฏีของเขา ซึ่งมินสกี้เชื่อว่ามนุษย์กับหุ่นยนต์ไม่มีความแต่งต่างกันอย่างชัดเจน สิ่งที่พวกเราเรียกว่า ความฉลาด (intelligence) นั้นมาจากการปฏิสัมพันธ์กันของส่วนประกอบซึ่งไม่มีมีความฉลาด (non-intelligence)
1987 เขียนหนังสือ Perceptons ร่วมกับเปเปิร์ต (Seymour Papert, ผู้สร้างภาษา Logo) ซึ่งถือเป็นหนังสือพื้นฐานเล่มหนึ่งในสายของปัญญาประดิษฐ์
1990 ได้รางวัล Japan Prize
ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์โตชิบา (Toshiba Professor of Media Arts and Sciences) ที่ MIT Media Lab
2001 เป็นที่ปรึกษาของการสร้างภาพยนต์ Space Odyssey
2006 เขียน The Emotion Machine
2016 24 มกราคม, เสียชีวิตในบอสตัน จากอาการเลือดออกในสมอง
ผลงานเขียน
  • Neural Nets and the Brain Model Problem, 1954
  • Steps Toward Artificial Intelligence, 1961
  • Computation: finite and infinite machines, 1967
  • The perceptron, 1969
  • Artificial intelligence, 1972
  • Communication with extraterrestrial interlligence, 1985
  • Robotics, 1986
  • The Society of Mind, 1987
  • The choice of Turing, 1992
  • Emotional machine, 2006

Don`t copy text!