Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

East India Company

บริษัท อีสต์อินเดีย (East India Company)
กองทัพเรืออังกฤษสามารถรบเอาชนะกองทัพเรือสเปนได้ (Spanish Amanda) ในปี 1588 หลังนั้นพ่อค้าชาวอังกฤษนำโดยเซอร์ โธมัส สมิธี (Sir Thomas Smythe) จึงได้ถวายฏีกาแก่ควีนอลิซาเบธ ที่ 1 (Queen Elizabeth I) เพื่อขอพระราชทานอนุญาตในการทำการค้าในเส้นทางผ่านมหาสมุทรอินเดีย
1591 เรือเอ็ดเวิร์ด โบนาเวนเจอร์ (Edward Bonaventure) เป็นหนึ่งในเรือสามลำแรกที่แล่นออกจากตอร์เบย์ (Torbay) มายังคาบสมุทรมาเลย์ โดยการเดินทางครั้งนี้ บริษัทได้ตั้งโรงงานขึ้นที่บานตัม (Bantam) บนเกาะชวา เพื่อรับซื้อพริกไท ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญอันดับหนึ่งของบริษัทในช่วง 20 ปี แรกที่ก่อตั้ง
1600 31 ธันวาคม,​ ควีนอลิซาเบธ ที่ 1 พระราชทานกฤษฏีกาก่อตั้งบริษัทอีสต์อินเดีย ในชื่อ Governor and Company of Merchants of London trading with the East Indies โดยพระราชทานแก่จอร์จ, เอิร์ลแห่งคัมเบอร์แลนด์ (George, Earl of Cumberland) , อัศวินอีก 215 คน ซึ่งบริษัทได้รับความคุ้มครองผูกขาดในการทำการค้ากับดินแดนใดๆ ทางตะวันออกของแหลมกูดโฮปส์ (Cape of Good Hope) บริษัทมีใช้ทุนเริ่มต้น 72,000 ปอนด์สำนักงานใหญ่ของบริษัทในอังกฤษอยู่บนถนนเลียเดนฮอล์ล (Leadenhall Street) การตั้งอีสต์อินเดียในตอนแรกมีเป้าหมายเพื่อทำลายการผูกขาดการค้าเครื่องเทศที่เวลานั้นถูกผูกขาดโดยโปตุเกสและสเปน
เซอร์โทมัส สมิธี  และเรือสินค้านำโดยกับตันจอห์น ซาริส (John Saris) เดินทางไปญี่ปุ่นครั้งแรก ตรงกับสมัยของจักรพรรดิโตกุกาว่า ฮิเดตาดะ (Tokugawa Hidetada) และได้เปิดศูนย์การค้าขึ้นในเมืองฮิราโดะ (Hirado) แต่ว่ากิจการค้าไหมดิบเพื่อส่งไปจีนไม่ประสบความสำเร็จและบริษัทปิดโรงงานไปในปี 1623
ขณะที่ในอินเดีย เวลานั้นเป็นยุคของจักรวรรดิโมกุล (Moghal Empire) ซึ่งปกครองโดยจักรพรรดิอักบาร์ (Akbar the Great) ซึ่งดินแดนของพระองค์กินเนื้อที่จะอัฟกานิสถานไปจนเกือบหมดแผ่นดินอินเดียในปัจจุบัน
1601 เจมส์ แลนคาสเตอร์ (James Lancaster) เป็นผู้บัญชาการณ์กองเรือสินค้ากองแรกของบริษัทที่ออกเดินทางมาจนถึงเกาะชวา เป้าหมายในตอนแรกของบริษัทคือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นแหล่งผลิคเครื่องเทศสำคัญ  แต่ในระยะแรกบริษัทพบว่าบริเวณดังกล่าวอิทธิพลของดัตช์มีสูงกว่า 
1605 จักรพรรดิอักบาร์  และจักรพรรดิจาฮาไงร์ ( Nuruddin Salim Jahangir Emperor) ขึ้นครองราชย์
1612 สมรภูมิสวัลลี (Battle of Swally) เกิดขึ้นบริเวณชายฝังของหมู่บ้านสุวาลี (Suvali) ในสุรัต (Surat) เรือ Red Dragon ของอีสต์อินเดีย สามารถเอาชนะเรือรบโปตุเกสได้  หลังจากนั้น EIC จึงได้รับประทานพระราชานุญาตจากจักรพรรดิจาฮาไงร์   ให้เปิดโรงงานในสุรัต 
1628 ชาห์ จาฮาน (Shar Jahan) ขึ้นเป็นจักรพรรดิโมกุลพระองค์ใหม่ ต่อจากจักรพรรดิจาฮาไงร์ พระบิดา
1640 บริษัทได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานแห่งที่สองมาดรัส (Madras) 
1647 จนถึงปีนี้ EIC มีโรงงาน 23 แห่งในอินเดีย โดยสินค้าหลักคือ ผ้าไหมและผ้าฝ้าย นอกจากนั้นยังมี ชา, ข้าว, และสีย้อมผ้า ศูนย์กลางการค้าสำคัญของบริษัทคือที่ฟอร์ทวิลเลี่ยม (Fort William) ในเบงกอล และที่ฟอร์ทเซนต์จอร์จ (Fort St.George) ในมาดราส 
1652 สงครามอังกฤษ-เนเธอแลนด์ ครั้งที่ 1(First Anglo-Dutch War)
1659 อูแรงเซฟ (Aurangzeb) ขึ้นเป็นจักรพรรดิโมกุล ลำดับที่ 6 
1661 ชาร์ล ที่ 2 พระราชทานอำนาจ EIC ในการมีกำลังทหาร ใช้กำลังทหาร การล่าดินแดนได้ ในอินเดียและบริเวณที่ยึดมาได้
1664 ฝรั่งเศสตั้งบริษัท French East India Company เพื่อแข่งกันกับอังกฤษและเนเธอแลนด์
1668 EIC เช่าเกาะบอมเบย์ (Bombay Island)  ซึ่งตอนนั้นเป็นอาณานิคมของโปตุเกสมา เพื่อทำการค้าในนามของแคทเธอรีน บรากินสกี้ (Catherine Braginskii) สนมของชาร์ล ที่ 2 
1687 EIC ย้ายสำนักงานใหญ่ในเอเชียจากสุรัตไปอยู่ในบอมเบย์
1689 จักรพรรดิอุแรงเซฟ ได้สั่งให้กองทัพเรือนำโดยซิดิ ยาคับ (Sidi Yaqub) โจมตี EIC ในบอมเบย์ เพราะบริษัทพยายามใช้กำลังเพื่อการผูกขาดการค้าในอินเดีย แต่ว่าสุดท้ายบริษัทอีสต์อินเดียแพ้และต้องขอพระราชทานอภัยโทษ
1690 บริษัทก่อตั้งบริษัทเพื่อการชำระเงินขึ้นในโกลกาต้า (Kolkata)
1707 บาฮาดูร์ ชาห์ ที่ 1 (Bahadur Shah I) ขี้นเป็นจักรพรรดิโมกุล หลังจากจักรพรรดิอุแรงเซป สวรรคต และพระองค์ไม่ได้ทรงแต่งตั้งมงกุฏราชกุมารเอาไว้ ทำให้เกิดการแย่งอำนาจกันระหว่างเจ้าเมืองต่างๆ และบาฮาดูร์ ชาห์ ที่ 1 ซึ่งปกครองคาบูล (Kabul) สามารถชิงอำนาจมาได้
1711 อีสต์อินเดียตั้งสำนักงานขายขึ้นในประเทศจีนที่กวางโจว (Canton, Guangzhou) เพื่อทำการซื้อใบชา ซึ่งในตอนแรกบริษัทชำระค่าสินค้าโดยใช้เงิน แต่ว่าเมื่อเริ่มหาเงินยากขึ้น บริษัทก็เริ่มนำฝิ่นเข้ามาขายซึ่งฝิ่นนั้นถูกปลูกในเบงกอล
1756 อาลี วารดิข่าน (Ali Vardi Khan) ผู้นำของเบงเกลเสียชีวิต และอำนาจได้ตกไปอยู่กับหลานของเขา ศีราจ อัล-ดาวเลาะห์ (Siraj al-Dawlah)
1757 การรบที่พาระสี (The Battle of Plassey) กองทัพของ EIC นำโดยโรเบิร์ต คลิฟ (Robert Clive)  ได้ต่อสู้กับทหารของสีราช อุด ดัวเราห์ (Siraj-UD-daulah, Nawab of Bengal)  ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส บริเวณเมืองพาระสีห่างจากเมอร์ชิดาบัด (Murshidabad) เมืองหลวงของเบงกอลไปราว 150 กิโลเมตร โดยบริษัทได้จ่ายเงินว่าจ้างชาวอินเดียท้องถิ่นในการรบด้วย และยังจ่ายเงินสินบทให้ไมร์ จาฟาร์ (Mir Jafar) แม่ทัพคนหนึ่งของเบงกอลโดยสัญญาว่าจะตั้งเขาเป็นเนวาบคนใหม่ของเบงกอล เมื่อบริษัทมีชัยชนะที่พาระสี บริษัทสามารถยึดเมืองกัลกัตต้าเอาไว้ด้วย 
1756 สงครามเจ็ดปี (Seven Years War, 1756-1763) เริ่มต้นขึ้นในยุโรป ทำให้ความสนใจของอังกฤษกลับไปอยู่ที่การปกป้องดินแดนในยุโรป และอาณานิคมในอเมริกาเหนือ
1763 เมื่อสิ้นสุดสงครามเจ็ดปี  โดยฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้ดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินเดียส่วนใหญ่ไม่มีการป้องกัน บริษัทอีสต์อินเดียจึงส่งกำลังเข้าไปยึดพื้นที่ในส่วนของฝรั่งเศสมา 
1764 ชัยชนะที่บุซาร์ (the victory at Buxar) หลังจากได้รับชัยชนะ EIC จึงได้อำนาจในการปกครองเบงกอล (Bengal), พิหาร(Bihar), โอริสสา (Orissa) โดยโรเบิร์ต คลิป กลายเป็นผู้ปกครองเบงกอลคนแรกที่เป็นชาวอังกฤษ มีอำนาจในการบริหารและเก็บภาษี
หลังจากนั้นบริษัทก็มีนโยบายที่จะขยายดินแดนอาณานิคมไปอีก
แต่ว่าต้นทุนของการทำสงครามเพื่อยึดเบงกอลนี้สูงจนบริษัทเกือบล้มละลาย และประชาชนเกือบหนึ่งในสามของเบงกอลก็ล้มตายไป บริษัทอีสต์อินเดียจึงไปของความช่วยเหลือจากสภาอังกฤษจนได้รับสิทธิในการทำการค้ากับอเมริกา 
1766 สงครามอังกฤษ-ไมซอร์ (Anglo-Mysore war, 1766-1799) การรบกับ สุลต่านทิพู (Tipu Sultan) แห่งอาณาจักรไมซอร์ทางใต้ของอินเดีย เป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อที่สุดครั้งหนึ่งของบริษัทอีสต์อินเดียในอินเดียเพราะใช้เวลาถึงสามสิบปีกว่าที่จะสามารถเอาชนะ และสังหารสุลต่านทิพูได้ในปี 1799 
1769 เกิดสภาวะการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง (Great Bengal famine ,1769-1770) สาเหตุจากการยึดคลองเบงกอลของ EIC และการบริหารที่ผิดผลาด มีการประกาศขึ้นภาษีที่ดิน 5 เท่า และเรียกเก็บภาษีผลผลิต จาก 10% เป็น 50% ซึ่งประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตจากภาวะอดอยากนี้ 7-10  ล้านคน  
1772 สงครามอังกฤษ-มาราท่า (Anglo-Maratha wars, 1772-1818) 
สงครามทั้งสองครั้งทำให้บริษัทมีอิทธิพลเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนใต้ของแม่น้ำลุดเลจ (Sutlej) อาไว้ได้ แต่ผูกขาดการค้ากับต่างประเทศของเบงกอล
1773 วิกฤตการณ์ความอดอยากในเบงกอลครั้งใหญ่ และค่าใช้จ่ายทางทหาร ทำให้บริษัทต้องขอการสนับสนุนจากสภาอังกฤษอีกครั้ง  โดยครั้งนี้รัฐสภาได้ผ่านกฏหมายชา (The Tea Act of 1773) ให้สิทธิในการผูกขาดการค้าชากับอเมริกา แต่ว่าการผูกขาดของอีสต์อินเดีย เป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์ประท้วงในบอสตัน (Boston Tea Party) มีการเผาทำลายเรือที่ใช้ขนใบชาและเทใบชาลงน้ำทะเล เหตุการณ์ประท้วงที่บอสตันเป็นเหตุการณ์สำคัญหนึ่งที่นำไปสู่สงครามเพื่อเอกราชของสหรัฐฯ 
รัฐสภาอังกฤษผ่านกฏหมาย Regulating Act 1773 เพื่อตรวจสอบการดำเนินการณ์ของบริษัทอีสต์อินเดีย และมีการแต่งตั้งผู้แทนของอังกฤษมาทำหน้าที่ดูดินแดนอาณานิคม มีการตั้งสภาการปกครองขึ้นมาในเมืองกัลกัตต้า โดยมีสมาชิกสภา 5 คน ซึ่ง 3 คนเป็นคนที่รัฐสภาจากอังกฤษเลือกส่งมา และที่เหลือเป็นตัวแทนของบริษัท
วาร์เรน ฮาสติ้งส์ (Warren Hastings) เป็นผู้ปกครองอินเดีย (Governor-General of India) คนแรกที่อังกฤษส่งมา  แต่ว่าภายหลังเมื่อเขาเดินทางกลับอังกฤษก็ถูกสอบสวนในคดีเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น
1775 เกิดสงครามการประกาศเอกราชของสหรัฐฯ (American War of Independence, 1755-1783)
1783 สหรัฐฯ ได้รับเอกราชจากอังกฤษโดยสมบูรณ์
1784 รัฐสภาอังกฤษผ่านกฏหมาย India Bill 1783 กฏหมายนี้ร่างขึ้นตั้งแต่ปี 1783 โดยมีการแยกอำนาจทางธุรกิจกับอำนาจทางการเมืองของบริษัทออกจากกัน อำนาจทางการเมืองนั้นให้เป็นไปตามนโยบายของอังกฤษโดยตรง 
1791 ภายใต้การดูแลของโรเบิร์ต เวสเลสลีย์ EIC ยึดโคชิน (Cochin)
1794 ยึดไจเพอร์ (Jaipur)
1795 ยึดทราวานคอร์ (Travancor)
1798 Subsidiary alliance , ลอร์ด เวลเลสลีย์ (Lord Wellesley) ผู้ปกครองอินเดียของอังกฤษ ระหว่าง 1798-1805 ได้ริเริ่มสนธิสัญญา Subsidiary alliance โดยเนื้อหาไม่อนุญาตให้รัฐย่อย (princely state) ที่มีผู้ปกครองท้องถิ่นหรือกษัตริย์ของตัวเองในอินเดียมีกองทัพของตัวเอง แต่ว่ารัฐย่อยเหล่านั้นจะต้องยอมรับการเป็นพันธมิตรสนับสนุนโดยอังกฤษ ซึ่ง EIC จะเป็นบริษัทที่ส่งกำลังไปคุ้มครองโดยที่รัฐย่อยเหล่านั้นจะต้องจ่ายเงินค่าคุ้มครอง แต่ว่าถ้ารัฐใดไม่จ่ายเงินตามกำหนด ก็จะถูกยึดดินแดนบางส่วนเพื่อเป็นค่าตอบแทน ซึ่ง SA ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือในการทำลายจักรวรรดิโมกุล (Mogul Empire) และขยายอำนาจของอังกฤษในอินเดีย
ซึ่งปกครองเมืองคนแรกที่ยอมรับสัญญา SA คือไนซาม แห่ง ไฮเดราบัด (Nizam of Hyderabad) แต่ก็มีบางรัฐที่ถูกบังคับให้ต้องยอมรับสัญญา SA ด้วยกำลังเช่น รัฐไมซอร์ จนเกิดสงคราม
เกิดสงครามอังกฤษ-ไมซอร์ ครั้งที่ 4 (4th Anglo-Mysore war) 
1799 ทางการจีนออกกฏหมายห้ามการนำเข้าฝิ่น แต่ว่าบริษัทยังคงลักลอบขนฝิ่นเข้ามาขายในจีน
1801 EIC ยึดดินแดนบางส่วนของอะวัธ (Awadh) หลังไม่สามารถจ่ายเงินตามสนธิสัญญา SA
1803 ยึดเดลฮี (Delhi)
1806 EIC เปิดวิทยาลัยไอเลย์บูรี (Haileybury College) ขึ้นในลอนดอน โดยสถาปัตยกรรมออกแบบโดยวิลเลี่ยม วิลกิ้นส์ (William Wilkins) ที่นี่เป็นวิทยาลัยสำหรับฝึกเสมียรของบริษัท
1813 (East India Company Act 1813) รัฐสภาอังกฤษยกเลิกสิทธิการผูกขาดการค้าของอีสต์อินเดียในอินเดียคงเหลือแต่สิทธิผูกขาดในจีน
1815 บริษัทอีสอินเดียทำหน้าที่ควบคุมตัวนโปเลียน (Napoleon Bonaparte) มาขังไว้บนเกาะเซนต์เฮเลน่า (St. Helena island) นโปเลียนถูกควบคุมตัวอยู่บนเกาะจนกระทั้งเสียชีวิตในปี 1821
1818 ยึดราชปุตะณะ (Rajputana), จนถึงปีนี้ EIC ครองครองดินแดนในอินเดียราวสองในสาม
1819 EIC สามารถยึดคุตช์ (Kutch) และกุจาราต (Gujarat)
1833 ยึดบาฮาวัลเพอร์ (Bahawalpur)
(Government of India Act 1833)รัฐบาลอังกฤษยกเลิกเอกสิทธิในการคุ้มครองการค้ากับจีนแต่เพียงผู้เดียวของอีสต์อินเดีย
1839 รันจิต สิงห์ (Ranjit Singh) ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิซิกค์ (Sikh Empire) สวรรคต 
อังกฤษเริ่มอังกฤษเริ่มกังวลต่ออิทธิพลของจักรวรรดิรัสเซีย ที่ขยายเข้ามาในเอเซียกลาง อังกฤษจึงได้บุกอัฟกานิสถาน (First Anglo-Afghan War)
เกิดสงครามฝิ่น (The Opium War, 1839-1842) ในประเทศจีน
1845 สงครามอังกฤษ-ซิกห์ ครั้งที่ 1 (1st Anglo-Sikh War, 1845-1846)
อีสต์อินเดียเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในชวาและฟิลิปปินส์ และเพิ่มการค้ากับจีน หลังจากเนเธอแลนด์ขาย Tranquebar ให้กับอังกฤษ
1848 สงครามอังกฤษ-ซิกห์ ครั้งที่ 2 (2nd Anglo-Sikh War, 1848-1849) 
1849 ยึดปันจาบ (Panjab) และดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคชเมียร์ (Kashmir) ในช่วงสงครามกับซิกห์ครั้งที่ 2 
1850 EIC ย้ายสำนักงานใหญ่ในอังกฤษไปอยู่ที่ East India House บนถนนเลียเดนฮอล์ล (Leadenhall Street)
1853 ยึดแนกเพอร์ (Nagpur)
1856 ยึดอะวัธ (Avadh)
เกิดสงครามฝิ่น ครั้งที่ 2 (Arrow War, 1856-60)
1857 (The First war of independence, หรือ The Sepoy Mutiny)เกิดการลุกฮือขึ้นต่อต้านบริษัทอีสอินเดีย และการปกครองของอังกฤษ ครั้งแรก แต่ว่าผู้ต่อต้านอังกฤษถูกปราบปรามอย่างหนัก ทำให้มีผู้เสียชีวิตราวหนึ่งล้านคน 
1858 2 สิงหาคม, ผลของสงครามเพื่ออิสรภาพของอินเดียทำให้รัฐสภาอังกฤษผ่านกฏหมายการปกครองอินเดีย (Goverment of India Act 1858) ซึ่งโอนอำนาจการปกครองอินเดียจากบริษัทอีสต์อินเดียมาอยู่ที่ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากอังกฤษ
1860 เมื่อสิ้นสุดสงครามฝิ่น ครั้งที่ 2 จากการที่จีนยอมรับสนธิสัญญาเทียนจิน (Treaty of Tianjin) จีนต้องยอมให้การค้าฝิ่นกลายเป็นส่ิงถูกกฏหมาย, เสียเกาลูนให้กับอังกฤษ 
1862 จักรพรรดิโมกุล บาฮาดูร์ ชาห์ ที่ 2 (Bahadur Shah II, Mughal Emperor) สวรรคตระหว่างถูกอังกฤษคุมขัง จากการที่พระองค์ร่วมสนับสนุนการต่อต้านอังกฤษในปี 1857
1866 Orissa famine 1886,  เกิดสภาวะอดอยากครั้งใหญ่ในพื้่นที่ชายฝั่งตะวันออกของอินเดีย ซึ่งมีประชากรเกือบห้าสิบห้าคน แต่ว่าหนึ่งในสามเสียชีวิตไปจากความอดอยากครั้งนี้ สาเหตุเกิดจากความแห้งแล้งทำให้การปลูกข้าวไม่ได้ผล และเกิดโรคมาลาเรียและอหิวาห์ระบาดตามมา ทั้งบริษัทอีสต์อินเดียไม่มีประสิทธิภาพในการกระจายอาหารเข้าไปช่วยเหลือในพื่้นที่
1873 Bihar famine 1873, เกิดวิกฤตการณ์อดอยากขึ้นในแถบรัฐพิหาร  แต่ว่าในตอนนี้เซอร์ริชาร์ด เทาเพิ่ล (Sir Richard Temple) ซึ่งถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองของเบงกอลสามารถรับมือได้อย่างดี โดยมีการนำเข้าข้าวจำนวนมากจากพม่าเข้ามาแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัย

1874 1 มกราคม, บ.อีสต์อินเดีย ปิดกิจการ ตามกฏหมายการไถ่ถอนหุ้นบริษัทอีสต์อินเดีย (East India Stock Dividend Redemption Act)
Don`t copy text!