Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Albert Einstein

อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Einstein)
ไอสไตน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 1879 ในเมืองอูล์ม, ราชอาณาจักรเวิร์ตเตมเบิร์ก, จักรวรรดิเยอรมัน (Ulm, Wurttemberg, German Empire) พ่อของเขาชื่อเฮอร์แมนน์ (Herman Einstein, 184701902) เป็นวิศวกรและเซลล์แมน ส่วนแม่ชื่อว่าพอลลีน (Pauline Koch, 1858-1920) ไอสไตน์มีน้องสาวชื่อมาเรีย (Maria, 1881-1951)
1880 ครอบครัวย้ายมาอยู่ในเมืองมิวนิค ที่นี่พ่อและลุงจาคอฟ  (Jakob Einstein) ของไอสไตน์ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Elektrotechnische Fabrik J. Einstein & Cie. เพื่อผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นหลัก
1884 ตอนอายุ 5 ขวบ ไอสไตน์เข้าเรียนที่โรงเรียนประถมแคโธริค (Catholic elementary school) ไอสไตน์เริ่มเล่นไวโอลิน ตั้งแต่อายุห้าหกปี ด้วยการสนับสนุนจากแม่ของเขา 
1887 ย้ายมาเรียนที่ลูอิตโพล์ดจิมเนเซียม (Luitpold Gymnasium) โดยหนังสือที่มีอิทธิพลให้ไอสไตน์สนใจวิทยาศาสตร์ อาทิ Elements ของยูคลิด (Euclid) และ Critique of Pure reason  ของคานต์ (Immanuel Kant)  ไอสไตน์มีผลการเรียนดีมากในวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิก
1894 พ่อและลุงของเขาต้องขายกิจการโรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าไปหลังธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นพ่อของเขาจึงย้ายไปอยู่ในอิตาลี เพื่อหาลู่ทางการทำธุรกิจใหม่ ในขณะที่ไอสไตน์ยังคงอยู่ในมิวนิคเพื่อเรียนหนังสือให้จบ แต่ว่าเขาเกิดมีปัญหากับครูและผู้บริหารของโรงเรียนจนต้องออกจากการเรียนกลางคัน
ธันวาคม, ไอสไตน์เดินทางไปหาพ่อที่ปาเวีย  (Pavia)  ในอิตาลี
1895 ไอสไตน์สอบเข้าเรียที่สถาบันโพลีเทคนิคสวิส (Swiss Federal Polytechnic) แต่ว่าเขาสอบไม่ผ่าน เขาจึงได้สมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนอาร์โกเวียน (Argovian cantonal school)  ตั้งอยู่ในที่เมืองอารัว  (Aruba, Switzerland) 
โดยระหว่างที่เรียนไอสไตน์พักอยู่ที่บ้านของ ศจ.โจส์ต วินเทเลอร์ (Jost Winteler) และเขาได้ตกหลุมรักมาเรีย  (Marie Winteler) ลูกสาวของศาสตราจารย์
1896 มกราคม, ไอสไตน์สละสัญชาติเวิร์ตเตมเบิร์ก เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเกณฑ์ทหาร
กันยายน, ไอสไตน์สอบผ่านมาตุร่า (Matura, การทดสอบแห่งชาติเพื่อจบมัธยม) โดยได้คะแนนในกลุ่มท๊อป 
หลังจากนั้นไอสไตน์ได้สมัครเข้าเรียนที่ซูริคโพลีเทคนิค (Zurich Polytechnic)  ในระดับอนุปริญญาทางด้านการสอนคณิตศาสตร์และฟิสิก ซึ่งที่ซูริคโพลีเทคนิค ไอสไตน์ได้รู้จักกับมิเลว่า มาริค (Mileva Marić) ว่าที่ภรรยาในอนาคตของเขา  มิเลว่าเป็นผู้หญิงคนเดียวในนักเรียนทั้งคลาสหกคนที่ลงเรียนทางด้านคณิตศาสตร์และฟิสิก
ในขณะที่มาเรียคนรักของไอสไตน์ ย้ายไปเรียนที่เมืองโอลสเบิร์ก (Olsberg)  
1900 ไอสไตน์สำเร็จการศึกษา และได้รับอนุปริญญาการสอนวิชาฟิสิกและคณิตศาสตร์ ในคณะที่มิเลว่าไม่สามารถสอบผ่าน
เมษายน, บทความชื่อ Conclusions from the Capillarity Phenomena ของไอสไตน์ พิมพ์ลงในวารสาร Annalen Dyer Physik
1901 กุมภาพันธ์, เขาได้รับสัญชาติสวิสฯ 
ต่อมาไม่นานก็ได้งานเป็นเจ้าหน้าที่ในสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสวิสฯ 
1902 ลูกสาวของไอสไตน์กับมิเลว่าชื่อไลเซิร์ล (Lieserl) เกิดมา ข้อมูลเกี่ยวกับไลเซิร์ลนี้ถูกพบในปี 1987  ซึ่งชะตากรรมของเธอไม่มีหลักฐานอื่นแน่ชัด เป็นไปได้ว่าเด็กเสียชีวิตไปด้วยโรคหัดตั้งแต่ยังเป็นทารกหรือว่ามิเลว่าได้มอบทารกให้ผู้อื่นไปอุปการะ โดยที่ไอสไตน์เองก็ไม่เคยเห็นหน้าลูกสาว
ปีนี้ไอสไตน์ก่อตั้งกลุ่มเล็กๆ ของตัวเองขึ้นมา ที่เขาเรียกว่า The Olympia Academy ซึ่งเขาและเพื่อนๆ จะมาพบกันเพื่อคุยกันและอ่านหนังสือในประเด็นของวิทยาศาสตร์และปรัชญา 
1903 6 มกราคม, ไอสไตน์แต่งงานกับมิเลว่า
1904 พฤษภาคม, ลูกชายคนแรกจของไอสไตน์ ชื่อฮันส์ (Hans Albert Einstein) เกิดมาในกรุงเบิร์น, สวิส
1905 ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซูริค (University of Zürich) โดยเขาเขียนวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ “A New Determination of Molecular Dimensions”
ไอสไตน์ยังเขียน Annus Mirabilis ลงในวารสาร Annalen der Physik ซึ่งเนื้อหาประกอบไปด้วยทฤษฏีวิทยาศาสตร์ 4 เรื่อง เกี่ยวกับ ปรากฏการณ์โฟโต้อิเล็กทริก (photoelectric effect), การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน (Brownian motion), สัมพันธภาพพิเศษ (special relativity), และสมการ E=MСปี 1905 จึงถูกเรียกว่าเป็นปีมหัศจรรย์ในชีวิตของไอสไตน์
1908 ได้งานสอนที่มหาวิทยาลัยเบิร์น (University of Bern)
1909 มาสอนฟิสิกที่มหาวิทยาลัยซูริค (University of Zürich)
1910 กรกฏาคม, ไอสไตน์ได้ลูกชายคนที่สองชื่อเอดูอาร์ด (Eduard Einstein) ไอสไตน์เรียกลูกคนนี้ของเขาว่าตีตี (Tete, “เจ้าตัวเล็ก”) ภายหลังเอดูอาร์ดป่วยด้วยอาการทางจิตชิโซเฟรเนีย (schizophrenia) ตอนอายุ 20 
1911 ไอสไตน์ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยชาร์ล-เฟอร์ดินันด์ (Charles-Ferdinand University) ในกรุงปาร์ก, เชคฯ 
1912 กลับมาอยู่ในซูริค และได้สอนหนังสือที่สถาบันเทคโนโลยีซูริค (ETH Zürich)
1913 3 กรกฏาคม, ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์ปรัสเซีย (Prussian Academy of Sciences) ในเบอร์ลิน ทำให้ไอสไตน์ย้ายจากซูริคมาอยู่ในเบอร์ลิน  นอกจากนั้นไอสไตน์ยังได้ถูกเสนอให้เป็นผุ้อำนวยการของสถาบันฟิสิกไกเซอร์วิเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Institute for Physics) ที่จะก่อตั้งขึ้นใหม่ด้วย
1914 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ไอสไตน์ ทำให้แผนที่จะไปทำงานที่สถาบันฟิสิกไกเซอร์วิเฮล์มต้องเลื่อนออกไป
1916 ได้รับเลือกให้เป็นประธานของสมาคมฟิสิกเยอรมัน (German Physical Society)
เขียนบทความเกี่ยวกับทฤษฏีสัมพันธภาพทั่วไป (General Relativity)
1919 14 กุมภาพันธ์, ไอสไตน์หย่ากับมิเลว่า หลังจากแยกกันอยู่มาหลายปีเพราะมิเลว่าจับได้ว่าไอสไตน์นอกใจ เขายังติดต่อกับมาเรียคนรักเก่า และยังมีผู้หญิงคนอื่นอีก  
29 พฤษภาคม, ปรากฏการ์ณสุริยุปราคา เป็นโอกาสให้เซอร์อาร์เธอร์ เอ็ดดิงตั้น (Sir Arthur Eddington) พิสูจน์ทฤษฏีสัมพันธภาพทั่วไปของไอสไตน์ ซึ่งทำนายว่าแสงจากดาวด้านหลังดวงอาทิตย์จะเดินทางเป็นวิธีโค้งเพราะแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ ซึ่งการพิสูจน์ของเซอร์เอ็ดดิงตั้น ยิ่งทำให้ไอสไตน์มีชื่อเสียง
2 มิถุนายน, ไอสไตน์แต่งงานเอลซ่า (Elsa Einstein) ญาติของตัวเอง เธอเป็นหญิงม่ายที่มีลูกจากการแต่งงานครั้งแรกแล้วสามคน ไอสไตน์และเอลซ่าคบหากันมาตั้งแต่ปี 1912
1921 2 เมษายน, ไอสไตน์เดินทางมานิวยอร์คเป็นครั้งแรก
ตุลาคม, ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกส์ (photoelectric effect) แต่ว่าไอสไตน์ไม่ได้เดินทางมาร่วมพิธีรับมอบรางวัลด้วยตัวเองที่จัดขึ้นในเดือนธันวาคมเพราะเขาออกเดินทางทัวร์เอเซียตะวันออก
1922 เขาเดินทางทัวร์หลายประเทศในเอเซีย ทั้งสิงคโปว์, ศรีลังกา, ญี่ปุ่นและปาเลสไตน์
1930 เดินทางมาสหรัฐฯ เป็นครั้งที่สอง โดยได้ไปทำงานวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology)  สองเดือน  ช่วงเวลานี้เขาจึงได้รู้จักและเป็นเพื่อนกับชาลี แชปลิ้น (Charlie Chaplin) 
1933 มีนาคม, ไอสไตน์และเอลซ่าเดินทางจากสหรัฐฯ โดยเรือไปยังเบลเยี่ยม ตอนนี้เขารู้แล้วว่าไม่สามารถเดินทางกลับไปยังเยอรมันได้ เพราะรัฐบาลนาซีที่ต่อต้านชาวยิว ซึ่งเมื่อไอสไตน์ไปถึงเมืองแอนต์เวิร์ป (Antwerp)  ในเบลเยี่ยม ไอสไตน์จึงได้ไปที่สถานทูตเยอรมันที่เมืองนี้และสละสัญชาติเยอรมัน
กรกฏาคม, ไอสไตน์ออกจากเบลเยี่ยมไปยังอังกฤษ โดยได้ไปอาศัยในบ้านชานกรุงลอนดอนที่นายพลโอลิเวอร์  (Oliver Locker-Lampson) จัดหาไว้ให้ เขายังพาไอสไตน์ไปพบกับนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) โดยไอสไตน์ได้ขอร้องให้อังกฤษช่วยอพยพนักวิทยาศาสตร์ยิวออกจากเยอรมัน
ตุลาคม, ไอสไตน์ย้ายมาอยู่ในสหรัฐฯ โดยได้ทำงานที่สถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูง (Institute for Advanced Study) ในพริ้วตัน, นิว เจอร์ซี่ โดยไอสไตน์ได้ทำงานให้สถาบันแห่งนี้จนกระทั้งเสียชีวิต
1936 ธันวาคม, เอลซ่าเสียชีวิต จากอาการป่วยเกี่ยวกับหัวใจและไต
ไอสไตน์ลงชื่อในจดหมาย ที่เขียนโดยเลฟ ซิลาร์ด (Leo Szilard) เพื่อส่งให้ประธานาธิบดีรูสเวสต์ (Franklin D. Roosevelt) เพื่อเตือนสหรัฐฯ ถึงความเป็นไปได้ที่นาซีเยอรมันกำลังพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ และสหรัฐฯ ควรจะเร่งวิจัยโครงการอย่างเดียวกันนี้ ซึ่งต่อมารูสเวลต์ จึงได้สั่งให้มีการริเริ่มโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project)
1940 ไอสไตน์ได้รับสิทธิเป็นพลเมืองสหรัฐฯ 
1952 นายกรัฐมนตรีเดวิด เบนกูเรียน (David Ben–Gurion) ของอิสราเอล ได้เสนอตำแหน่งประธานาธิบดีอิสราเอลให้ไอสไตน์ หลังจากชาอิม วิซแมนน์ (Chaim Weizmann)  ปธน.อิสราเอล เสียชีวิตลง  แต่ว่าไอสไตน์ปฏิเสธ
1955 17 เมษายน, ไอสไตน์ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลพริ้นตั้น (Princeton Hospital) จากอาการเลือดออกในสมอง แต่ว่าเขาปฏิเสธการผ่าตัดเพราะไม่อยากยื้อชีวิต
18 เมษายน, ไอสไตน์เสียชีวิตในช่วงเช้า ในวัย 76 ปี
ดร.โธมัส อาร์เวย์ (Thomas Stoltz Harvey) เป็นผู้ผ่าเอาสมองไอสไตน์ออกมาเก็บไว้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากครอบครัวของไอสไตน์

Don`t copy text!