Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Henry Puyi

1861 22 สิงหาคม, จักรพรรดิเซียนเฟง (Xianfen Emperor) สวรรคต ในช่วงระหว่างเหตุการณ์สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 พระองค์ไม่มีโอรสกับพระมเหสีซีอาน (Empress Dowager Ci’an)  แต่มีพระโอรส คือ เจ้าชายเซียชุน ( Zaichun) ที่ประสูติจากพระสนมเอก (Empress Dowager Cixi,พระนางซูสีไทเฮา) มียังมีพระชนษ์เพียง 5 ชันษา 
ก่อนสวรรคตจักรพรรดิเซียนเฟง ได้มอบตราตั้งให้กับทั้งพระมเหสีซีอาน และพระนางซูสี โดยทรงต้องการให้ทั้งคู่เป็นที่ปรึกษาให้กับ เจ้าชายเซียชุน  ซึ่งขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิตงซี (Tongzhi Emperor) 
พฤศจิกายน, (Xinyou Coup)ไม่นานหลังพระราชพิธีปลงพระศพจักรพรรดิเซียนเฟง พระนางซูสี ก็ได้ทำการรัฐประหารซินยู่ จับผู้สำเร็จราชการ 8 คนเอาไว้ ทำให้อำนาจในราชสำนักอยู่ภายใต้การบริหารของพระนางซูสีเพียงผู้เดียว
1875 13 มกราคม, จักรพรรดิตงซี สวรรคต คาดว่ามาจากการป่วยด้วยโรคฝีดาษ โดยที่พระองค์ไม่มีรัชทายาท
พระนางซูสีจึงได้เลือก เซียะเทียน (Zaitian) โอรสองค์โตของเจ้าชายชุน (Prince Chun) พระโอรสองค์ที่ 7 ของจักรพรรดิเต๋ากวง (Daoguang Emperor) กับหว่านเชน (Yehenara Wanzhen) น้องสาวของพระนางซูสี ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่  พระนามว่า จักรพรรดิกวงซู (Guangxu Emperor)
………………………………..
ปูยี (溥儀, PuYi) ประสูตรเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1906 ในกรุงปักกิ่ง ทรงเป็นสมาชิกของราชสกุล อายซินเจี๋ยหรอ (爱新觉罗,Aisin Gioro) ในราชวงศ์ชิง (Qing dynasty) 
พระบิดาของปูยีคือเจ้าชายเซียเฟง (载沣,Zaifeng) โอรส องค์ที่ 4 ของเจ้าชายชุน 
  ส่วนพระมารดาของพระองค์พระนามยู่หลาน (幼兰,Youlan, 1884-1921) ทรงเป็นธิดาของแม่ทัพรงหลู่ (Ronglu)
1908 14 พฤศจิกายน, จักรพรรดิกวงซู เสด็จสวรรคต
ปูยี ในวัย 2 ขวบ 10 เดือน ได้รับเลือกจากพระนางซูสี ให้รับการราชาภิเษกขึ้นเป็นพระจักรพรรดิ องค์ที่ 12 ของราชวงศ์ชิง โดยได้รับการขานพระนามว่าจักรพรรดิซวนตง (宣统皇帝, Xuantong Emperor)
การที่ปูยีถูกพรากจากครอบครัวตั้งแต่เล็กเพื่อขึ้นเป็นจักรพรรดิทำให้พระองค์ไม่มีโอกาสได้พบกับพระมารดาแท้ๆ กว่าเจ็ดปี ปูยีให้เครดิตแม่นมหวาง เหวนเฉา (Wang Wen-Chao) ว่าเป็นคนๆ เดียวที่สามารถทำให้พระองค์เชื่อฟังได้ แต่ว่าแม่นมหวางถูกพระนางซูสีสั่งให้ออกจากพระราชวังต้องห้ามไปเมื่อปูยีอายุได้ 8 ปี 
วัยเด็กของปูยีมีนิสัยก้าวร้าว และชอบลงโทษบรรดาขันทีอย่างรุนแรง
1911 เกิดการปฏิวัติซินไห่ (Xinhai Revolution) นำโดยพรรคโกะมินตั๋ง (Kuomintang) ของ ดร.ซุน ยัด เซน (Sun Yat-sen) ที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ
1912 12 กุมภาพันธ์, (Imperial Edict of the Abdication of the Qing Emperor) หลังการปฏิวัติซินไห่ นายกรัฐมนตรีหยวน ซื่อไค่ (Yuan Shikai ) ได้เป็นคนกลางเจรจาระหว่างราชสำนักกับฝ่ายสาธารณรัฐจีน จนกระทั้งพระนางซูสียอมประกาศพระราชกฤษฏีกายกเลิกระบบกษัตริย์และราชวงศ์ชิง ประเทศจีนจึงกลายมาเป็นระบอบสาธารณรัฐ
แต่ว่าปูยียังได้รับอนุญาตให้ใช้บรรดาศักดิ์เดิม และได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ภายในพระราชวังต้องห้ามต่อไป 
1913 พระนางซูสีสวรรคต
1915 หยวน ซื่อไค่ ประกาศแต่งตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิ แต่ว่าต้องล้มเลิกไปเองเพราะถูกต่อต้านจากประชาชนจำนวนมาก
1917 1-12 กรกฏาคม, แม่ทัพซาง ซุน (Zhang Xun) ได้ยกกองทัพเข้ามาในปักกิ่ง และได้ประกาศให้ปูยี เป็นจักรพรรดิจีนอีกครั้ง  แต่ว่าเพียงเวลาสิบกว่าวันคำประกาศของนายพลจาง ชุนก็ไม่มีความหมายเพราะประชาชนทั่วไปไม่สนับสนุน
1919 ปูยี ได้พบกับเซอร์จอห์นตั้น (Sir Reginald Johnston) เป็นชาวสก๊อตแลนด์ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่ปูยีเคยเห็น เขาถูกส่งเข้ามาในพระราชวังต้องห้ามโดยรัฐบาล เพื่อให้เป็นพระอาจารย์สอนภาษาอังกฤษให้ปูยี ด้วยอิทธิพลจากเซอร์จอห์นตั้น ปูยี จึงเรียกตัวเองว่า “เฮนรี่” และเรียนภรรยา Wanrong ว่า อลิซาเบธ
นอกจากนี้ปูยียังมีความปรารถนาที่จะไปเรียนที่อ๊อกฟอร์ด เหมือนกับจอห์นตั้นอีกด้วย 
1922 21 ตุลาคม, ปูยีกับเจ้าหญิงหว่านรง (Princess Wanrong) และสนมเว่นซู (Wenxiu) ในคืนเดียวกัน
1924 23 ตุลาคม, แม่ทัพเฟง ยู่เซียง (Feng Yuxiang) บุกยึดกรุงปักกิ่งเอาไว้ได้  
5 พฤศจิกายน, แม่ทัพยู่เซียงได้ประกาศปลดปูยีออกจากบรรดาศักดิ์ให้เหลือฐานะเพียงแค่พลเมืองคนหนึ่ง และยังขับไล่ปูยีออกจากพระราชวังด้วย 
1925 ปูยีเดินทางมาอาศัยอยู่ในเมืองเทียนจิน (Tianjin) โดยมีที่ปรึกษาอย่า เชน เบ๋าเชน (Chen Baochen), เซง เซียะซู (Zheng Xiaoxu) , ลัวะ เชนหยู๋ (Luo Zhenyu) คอยช่วยวางแผนที่จะกอบกู้ราชวงศ์ชิงขึ้นมาอีกครั้ง
1928 สนมเว่นซู หย่ากับปูยี ภายหลังนางไปทำงานเป็นครูและเสียชีวิตในปี 1950 โดยที่ไม่ได้แต่งงานใหม่ , หลังสนมเว่นซูจากไป ญี่ปุ่นได้ส่งโยชิโกะ คาวาชิมทา (Yoshoko Kasashima, Eastern Jewel) ซึ่งเป็นเจ้าหญิงของจีน และเป็นพระญาติกับปูยี แต่ว่าถูกเลี้ยงขึ้นมาในญี่ปุ่นและเธอทำงานเป็นสายลับให้ญี่ปุ่น ได้เข้ามาตีสนิทกับปูยี
1931 ปูยีเขียนจดหมายไปขอยังจิโร่ มินามิ (Jairo Minami) รัฐมนตีสงครามของญี่ปุ่น เพื่อขอความช่วยเหลือในการกอบกู้ราชวงศ์ชิง ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นได้เสนอว่าจะให้ปูยีเป็นผู้บริหารของแมนจูเรีย
1932 1 มีนาคม, ญี่ปุ่นตั้งปูยี่ขึ้นเป็นผู้นำของรัฐแมนจูกั๋ว  (Manchukuo) รัฐบาลหุ่นของญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณจีนตอนเหนือและเขตมองโกเลียใน
1934 1 มีนาคม, ญี่ปุ่นสนับสนุนปูยีขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกั๋ว แต่ระหว่างนี้ปูยีก็เหมือนกับถูกกักบริเวณอยู่แต่ภายในพระราชวังซอล์ตแท็กซ์ (Salt Tax Palace) โดยญี่ปุ่น เขาไม่สามารถไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ ระหว่างที่เป็นจักรพรรดิของแมนจูกั๋ว ปูยีหันมาสนใจพระพุทธศาสนาและขงจื้อ ทว่าเขายังมีอารมณ์ที่รุนแรง แปรปรวณ และมักลงโทษข้ารับใช้ด้วยการเคี่ยนตี
1935 ปูยีเดินทางไปญี่ปุ่นและได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิญี่ปุ่น
1937 ตาน หยูลิ่ง (Tan Yuling) เด็กสาวาชาวแมนจูจากชนชั้นสูง ถูกส่งเข้ามาในพระราชวังซอล์ตแท็กซ์ เพื่อที่จะให้เป็นนางสนมของปูยี แต่ว่าไม่ปรากฏแน่ชัดว่าทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ทั้งยังมีข่าวลือหนาหูว่าปูยีเองมีรสนิยมชอบเด็กชายด้วย
1940 ญี่ปุ่นเร่ิมบังคับใช้ชาวแมนจูนับถือชินโต มีการสร้างรูปปั่นเทพอมาเตราสุ (Amaterasu) ขึ้นภายในพระราชวัง
1942 ตาน หยูลิ่ง ล้มป่วยและเสียชีวิต
1943 ลี ยูคิน (Li Yuqin) หญิงชาวจีน วัย 16 ปี ถูกส่งมาเป็นสนมคนใหม่ของปูยี 
1945 9 สิงหาคม, (Operation August Storm) สหภาพโซเวียตประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และได้ส่งทหารกว่าล้านหกแสนคนบุกแมนจูกั๋ว 
15 สิงหาคม, ปูยีถูกทหารโซเวียตจับตัวเอาไว้ได้ และถูกส่งไปยังไซบีเรีย ไปยังเมืองชิตา (Chita) และต่อมาถูกส่งไปยังคาบารอฟส์ก (Khabarovsk)
1946 ปูยีถูกนำตัวขึ้นสอบปากคำในศาลอาชญากรรมทหารระหว่างประเทศกรณีตะวันออกไกล (International Military Tribunal for the Far East) ในกรุงโตเกียว ซึ่งเมื่อถูกไต่สวนแล้ว ปูยีก็ถูกนำตัวกลับมาขังที่สหภาพโซเวียตเหมือนเดิม  โดยที่เขาได้รับอนุญาตให้มีข้ารับใช้คอยช่วยเหลือ
1949 เมื่อจีนอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเหมา เจ๋อตุง (Mao Zedong)  โซเวียตก็ได้ยอมส่งตัวปูยีคืนให้กับทางการจีน โดยเขาถูกนำไปคุมขังที่เรือนจำฟุชุน (Fushun War Criminals Management Centre) ในมณฑลเลียวหนิง (Liaoning) ทางการจีนมีความต้องการที่จะเปลี่ยนให้ปูยีกลายเป็นคอมมิวนิสต์เพื่อแสดงความเหนือกว่าสหภาพโซเวียต ที่ไม่สามารถเปลี่ยนพระเจ้าซาร์ให้มาเลื่อมใสระบบคอมมิวนิสต์ได้ 
ชีวิตภายในเรือนจำปูยีมังถูกนักโทษด้วยกันทำร้ายเขา มีเพียงจิน หยวน (Jin Yuan) ที่คอยให้การช่วยเหลือ
1950 เข้าร่วมกับกลุ่มลัทธิเหมา
1959 ได้รับการอภัยโทษจากประธานเหมา และได้กลับมายังกรุงปักกิ่ง ปูยีอยู่ในฐานะประชาชนทั่วไปและได้งานทำเป็นคนสวนในสวนพฤษศาสตร์ปักกิ่ง 
1962 30 เมษายน, ปูยีแต่งงานกับ ลี ชุเซียน (Li Shuxian)  และกลายเป็นสมาชิกสภาประชาชน ในฐานะผู้แทนของเขตแมนจูเรีย
ปูยีเขียนชีวประวัติของตัวเขาเอง From Emperor to Citizen ออกมาด้วยการสนับสนุนจากประธานเหมา
1966 ช่วงการปฏิวัติวัฒธรรม (Cultural Revolution) ปูยี เกือบจะถูกพวกเรดการ์ด (Red Guards) หรือกลุ่มเยาวชนกึ่งติดอาวุธที่สนับสนุนคอมมิวนิสต์ทำร้าย เพราะเห็นว่าหนังสือชีวประวัติของเขาทำลายชื่อเสียงของจีน 

1967 17 ตุลาคม, เสียชีวิตอาจเพราะโรคมะเร็งตับหรือว่าโรคหัวใจ ขณะมีอายุ 61 ปี
Don`t copy text!