Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Alfred Adler

อัลเฟรด แอ๊ดเลอร์ (Alfred W. Adler)
Individual psychology (Adlerian psychology)
แอ๊ดเลอร์ เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1870 ในรูดอลฟ์เชม (Rudolfsheim-Fünfhaus) ใกล้กับกรุงเวียนนา, ออสเตรีย-ฮังการี (rudolfsheim, Vienna, Austria-Hungary) เขาเป็นลูกคนที่สามในพี่น้องทั้งหมดหกคน พ่อของเขาเป็นพ่อค้าข้าวเชื้อสายยิว ลีโอโปลด์ (Leopold Adler) กับพอลลีน (Pauline Beer) ตอนเล็กแอ๊ดเลอร์มีอาการป่วยด้วยโรคกระดูกอ่อนในเด็ก (rickets) ทำให้เขาเริ่มเดินได้ช้า ต้องรอจนกระทั้งอายุสี่ขวบกว่าจะสามารถเดินได้ แต่ก็ต้องล้มป่วยด้วยโรคปอดบวมอีกจนเกือบจะเสียชีวิต  นั้นเป็นแรงพลักดันทำให้เขามีความฝันที่จะเป็นหมด
เขาเข้าเรียนระดับมัธยมที่เฮอร์นัลเซอร์จิมเนเซียม (Hernalser Gymnasium)
1888 เขาเข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา (University of Vienna) เขาเลือกเรียนเฉพาะทางด้านจักษุ ระหว่างที่เรียนอยู่ที่นี่เขาได้พบกับเรียซ่า (Raisa Timofevna Epstein) นักศึกษาชาวรัสเซีย ซึ่งต่อมาทั้งคู่แต่งงานกัน
1895 จบการศึกษา หลังจากนั้นเขาเริ่มทำงานเป็นจักษุแพทย์แต่ว่าต่อมาก็เปลี่ยนมาฝึกที่จะเป็นแพทย์รักษาทั่วไป 
1897 แต่งงานกับเรียซ่า ในมอสโคว์ ซึ่งต่อมาพวกเขามีลูกด้วยกันสี่คน วาเลนติน่า (Valentina) อเล็กซานดร้า (Alexandra) เคิร์ด (Kurt) และคอร์เนเลีย (Cornelia)
1902 เข้าร่วมสมาคมบ่ายวันพุธ (Wednesday evening Society) ที่ก่อตั้งโดยซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แต่ว่าไม่นานแอ๊ดเลอร์ก็พัฒนาแนวคิดของตัวเอง ที่แตกต่างจากจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) ของฟรอยด์  ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่แย่ลง
1907 แอ๊ดเลอร์พิมพ์ผลงาน Study on the inferiority of organs  ซึ่งแอ๊ดเลอร์บรรยายถึงจิตวิทยาแนวทางของเขาเองที่เรียกว่า Individual psychology (Individual psychology ไม่ได้หมายถึงการโฟกัสที่เฉพาะตัวบุคคลของคนไข้ แต่หมายถึงให้ศึกษาสภาวะแวดล้อมของคนๆ นั้นทั้งหมดรวมถึงคนที่คนไข้มีการติดต่อด้วย  ซึ่งบางครั้ง จึงแปลคำว่า Individual ว่าหมายถึง patient is an indivisible whole (ผู้ป่วยคือองค์ประกอบของทุกสิ่งร่วมกันที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้) 
1910 แอ๊ตเลอร์ได้รับเลือกเป็นประธานของสมาคมจิตวิเคราะห์แห่งเวียนนา (Vienna Psychoanalytic Society)
1911 เพราะความขัดแย้งกับฟรอยด์ทำให้แอ๊ดเลอร์ลาออกจากสมาคมจิตวิเคราะห์แห่งเวียนนา  แล้วเขาได้ก่อตั้งสมาคมของตนเองขึ้นมา ชื่อว่า The Society of Free Psychoanalysis Studies ซึ่งต่อมาใช้ชื่อว่า Association for Individual Psychology
1912 พิมพ์ On the Nervous Character  ซึ่งได้อธิบายคอนเซปต์ของ Individual psychology  พร้อมกันนี้เขาได้ทำวารสาร Journal of Individual Psychology ออกมา แต่ว่าต้องหยุดพิมพ์ไปเมื่อเกิดสงครามโลก
1913 Healing andฎกีแฟะรนื
1914 เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 1 แอ๊ดเลอร์ได้ทำงานเป็นแพทย์ทหาร ย้ายไปประจำตามเมืองต่างๆ อย่างคราคอฟ (Krakow) เบอร์โน่ (Brno) เวียนนา ตลอดช่วงสงคราม
1920 ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรียขณะนั้น แอ๊ดเลอร์จึงได้เปิดคลีนิคของตัวเองขึ้นในเวียนนา เพื่อดูแลผู้ป่วยเด็กโดยเฉพาะ  และในปีนี้เขาเริ่มทำงานเป็นครูสอนหนังสือในวิทยาลัยครูในกรุงเวียนนา 
ปีนี้เขายังมีผลงานเขียน The Practice and theory of individual psychology  ออกมาด้วย
1926 เขาดินทางไปสหรัฐฯ และได้เป็นศาสตราจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University)  ในนิวยอร์ค และจากนั้นเขาก็เดินทางมาที่ประเทศนี้อีกหลายครั้ง ในสหรัฐฯ แนวคิดของแอ๊ตเลอร์ได้รับการยอมรับมาก และทำให้เขากลายเป็นนักจิตวิทยาแถวหน้าในโลกตะวันตก
1927 Menschenkenntnis
1928 The Case of Miss R: The Interpretation of a Life Story
1931 What Life Should Mean to You
1932 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่วิทยาลัยแพทย์ลองไอส์แลนด์ (Long Island Medical College)
1934 เข้าย้ายมาอยู่ในสหรัฐฯ 
1935 ทำวารสาร International Journal of Individual Psychology ออกมาเป็นภาษาอังกฤษ
1937 28 พฤษภาคม, เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย ระหว่างเดินทางมาเพื่อสอนหนังสือที่อเบอร์ดีน, สก๊อตแลนด์ (Aberdeen, Scotlant) ขณะนั้นเขามีอายุ 67 ปี ร่างของเขาถูกฝังเอาไว้ที่อีดินบูร์ก (Edinburgh)

2011 มีการย้ายอัษฐิของแอ๊ดเลอร์กลับมาไว้ในเวียนา

Don`t copy text!