Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Bashar al-Assad

บาซาร์ อัล-อัซซาด (حافظ الأسد)
อัซซาด เกิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 1965 ในกรุงดามัสคัส (Damascus, Syria) พ่อของเขาคือนายพลจัตวาฮาเฟซ อัล-อัซซาด(Brigadier General Hafex al-Assad) ซึ่งต่อมาได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของซีเรีย และแม่ชื่ออนิซา (Anisa Makhlouf) ครอบครัวของเขานับถือศาสนาอิสลาม นิกายอลาวิต (Alawite)  พ่อของเขาเป็นมาจากผู้นับถือนิกายอลาวิต เผ่ากาลเบียย่า (Kalbiyya) ส่วนแม่มาจากนิกายอลาวิต เผ่าฮาดดาดิน (Haddadin)
อัซซาด เป็นลูกคนที่ 3 จากพี่น้องทั้งหมดรวมห้าคน  บุชรา (Bushra, b.1960), บัซเซล (Bassel,b.1962), อัซซาด,  มาจด์ (Majd, b.1966), , เมเฮอร์ (Maher,b.1967)
อัซซาด ( أسد ) หมายถึง สิงโต ในภาษาอารบิก
อัซซาด เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนเฮอรริย่า (Hurriya) ซึ่งเป็นโรงเรียนอัล-เฮอร์ริย่า  (al-Hurriya school) ซึ่งมีการศึกษาแบบอาหรับ-ฝรั่งเศส ตั้งอยู่ในกรุงดามัสคัส 
นายพลฮัลเฟช พ่อของอัซซาดนั้นเป็นสมาชิกของพรรคบาธ (Ba’ath Party)
1967 ช่วงสงครามหกวัน (Six Day War) อิสราเอลยึดเอาที่ราบสูงโกลัน (Golan Heights) ไปจากซีเรีย
1971 (Corretive Revolution) นายพลฮัลเซฟ ทำรัฐประหาร และได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี
1982 เข้าเรียนคณะแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลับดามัสคัส (Damascus Univerisity)
1988 สำเร็จการศึกษา ซึ่งอัซซาดเชี่ยวขาญเฉพาะทางด้านจักษุ (Ophthalmology) หลังจากเรียนจบจึงได้ทำงานในโรงพยาบาลทหาร Tishrin ชานกรุงดามัสคัส
1976 ซีเรียส่งทหารเข้าไปในเลบานอน เพื่อช่วยยุติสงครามกลางเมืองในเลบานอน (Lebanese Civil War) ซึ่งสงครามเริ่มต้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจากปัญหาด้านศาสนาระหว่างกลุ่มผู้นับถือคริสต์ (Maronite Christians) กับกลุ่มชาวปาเลสไตน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของพีแอลโอ (Palestine Liberation Organizaton)
1982 กองทัพอิสราเอลบุกเลบานอน ทำให้เกิดปะทะกับทหารซีเรียที่อยู่ในเลบานอน
1989 อัซซาดและบัซเซลพี่ชายร่วมกันก่อตั้งสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งซีเรีย (Syrian Computer Society) ซึ่ง SCS ทำหน้าที่รับผิดชอบการจดโดเมนของซีเรีย
1991 บางข้อมูลบอกว่าอัซซาดได้เดินทางมาฝึกเป็นหมออินเทิร์นอยู่ที่โรงพยาบาลเวสต์เทิร์นอาย-เซนต์แมรี่ (Western Eye Hospital St.Mary’s Hospital) ในกรุงลอนดอน อังกฤษ แต่ว่าเขาใช้ชื่อปลอมทำให้ไม่มีใครรู้จักว่าเขาเป็นใคร
ระหว่างที่อยู่ในอังกฤษอัซซาดได้พบกับ แอสม่า (Asma Fauaz al-Akhras, b. 11/08/1975) ภรรยาในอนาคตของเขา เธอเป็นชาวอังกฤษแต่มีเชื้อสายซีเรีย ครอบครัวของเธอนับถือนิกายซุนนี่ แอสม่าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการลงทุนของเจพีมอร์แกน 
1994 21 มกราคม, บัซเซลพี่ชายของอัซซาดซึ่งถูกวางตัวเป็นทายาททางการเมืองและเป็นประธานาธิบดีต่อจาก ปธน.ฮาเฟซ เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้อัซซาดซึ่งยังฝึกแพทย์อยู่ในอังกฤษถูกเรียกกลับมายังซีเรียทันที 
1995 อัซซาดเข้าเรียนในสถาบันทหารในเมืองฮอมส์ (Homs) โดยมียศเป็นกัปตันมีหน้าที่บังคับบัญชาหน่วยรถถัง
ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งให้เป็นผู้บัญชาการหน่วยรีพับพลิคการ์ด (Repblican Guard)
1998 อัซซาดเข้าไปรับผิดชอบการปกครองเลบานอน
1999 ได้เลื่อนยศเป็นพันโท
2000 10 มิถุนายน, ปธน.ฮาเฟซ เสียชีวิตเพราะอาการหัวใจล้มเหลว หลังจากที่เขาปกครองประเทศซีเรียมากว่า 30 ปี ซึ่งหลังจาก ปธน.ฮาเฟซ ถึงแก่กรรมแล้ว รองประธานาธิบดีคัดดัม (Khaddam) ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีรักษาการณ์ และ ปธน.คัดดัม ได้เลื่อนตำแหน่งอัซซาดเป็นพลโทและเป็นผู้บัญชาการณ์กองทัพ หลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของซีเรีย มีการลดอายุของผู้ที่สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ลงมาจาก 40 เหลือ 34 ปี 
20 มิถุนายน, ที่ประชุมของพรรคบาธ (Baath Party) ได้เลือกอัซซาดขึ้นเป็นเลขาธิการพรรค 
10 กรกฏาคม, อัซซาดชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน 97.29 
17 กรกฏาคม, เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดี โดยเขาให้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีว่าจะมีการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย ประชาชนจะเข้าถึงอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ สัญญาจะปราบปรามการคอร์รัปชั่นอย่างเด็ดขาด  นอกจากนั้นยังเปิดให้มีการวิภาควิจารณ์รัฐบาลอย่างสร้างสรรค์ได้
ด้านนโยบายต่างประเทศของอัสซาดไม่แตกต่างจากพ่อของเขา พวกเขามีจุดยืนที่ต้องการได้ที่ราบสูงโกลันคืนจากอิสราเอลก่อนที่จะทำข้อตกลงสันติภาพใดๆ 
27 กันยายน, (Damascus Spring) เมื่ออดีตประธานาธิบดีฮาเฟซเสียชีวิตลง กลุ่มปัญญาชนและนักวิชาการแถวหน้าของซีเรีย ได้ลงชื่อในแถลงการณ์  99 (Statement of 99)  เรียกร้องให้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 1963 และให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลของอัซซาดตอบสนองข้อเรียกร้องด้วยการสั่งปิดเรือนจำเมซเซ (Mezze prison) และปล่อยนักโทษหลายร้อยคน ในตอนแรก แต่ว่าปีต่อมารัฐบาลกลับมาจับตัวกลุ่มนักเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ชุมนุมกันอย่างลับๆ โดยกล่าวหาว่าพยายามวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยวิธีรุนแรง
31 ธันวาคม, อัซซาดแต่งงานกับแอสม่า พวกเขามีลูกด้วยกกันสามคน ฮาเฟซ (Hafez, b.2001) , เซอิน (Zein, b.2003) และคาริม (Karim, b.2004)
2002 7 พฤษภาคม,  ในสมัยของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ของสหรัฐฯ​ ได้มีการประกาศให้ซีเรีย อยู่ในกลุ่มประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย (Asix of evil) ซึ่งนอกจากซีเรียแล้วมีอิหร่าน  อิรัก และเกาหลีเหนืออยู่ด้วย  ทั้งนี้สหรัฐฯ อิสราเอล และชาติตะวันตกมักกล่าวหาซีเรียว่าให้การสนับสนุนขบวนการติดอาวุธที่เป็นศัตรูของอิสราเอล อาทิ กลุ่มฮามาส (Hamas) เฮซโบลเลาห์ (Hezbollar) และอิสลามิคจีฮัด (Islamic Jihad) และยังกล่าวหาว่าซีเรียช่วยจัดหาอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapons of mass destruction) ให้กับอิรัก
2003 เมื่อบุชส่งทหารบุกอิรัก อัซซาดเป็นคนหนึ่งที่ออกมากล่าวต่อต้านปฏิบัติการของสหรัฐฯ ทั้งๆ ที่ความสัมพันธ์ระหว่างอิรักและซีเรียก็ไม่ดีนัก อัซซาดบอกว่าเขาหวังว่าปฏิบัติการครั้งนี้จะล้มเหลว แต่เมื่อคำทำนายของอัดซาดผิดผลาด นักวิเคราะห์ก็คาดการณ์กันว่า ซีเรีย จะเป็นเป้าหมายต่อไปของสหรัฐฯ 
2005 Cedar Revolution เกิดการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่ในเลบานอน หลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรีราฟิก ฮาริรี (Rafik Hariri) ของเลบานอนถูกลอบสังหาร ผู้คนจึงได้พากันออกมาประท้วงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนรัฐบาลที่อยู่ใต้อิทธิพลของซีเรีย และต้องการให้ซีเรียถอนทหารออกจากเลบานอน
2006 12 กรกฏาคม,​สงครามในเลบานอน (Lebanon war, Israel-Hezbollah war) สงครามระหว่างกลุ่มฮิซโบลเลาห์ กับอิสราเอล เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มฮิซโบลเลาห์ได้ยิงจรวดเข้าไปในพื้นที่ราบสูงโกลันซึ่งมีทหารอิสราเอลอยู่ และต่อมาได้ลักพาตัวทหารอิสราเอลสองคนมาไว้ในเลบานอน อิสราเอลจึงตอบโต้ด้วยการโจมตีทางอากาศต่อเลบานอน และส่งทหารราบบุกเข้าไปตอนใต้ของเลบานอน สงครามดำเนินไป 34 วัน จนกระทั้งสหประชาชาติเข้ามาเป็นตัวกล่างในการเจรจาให้ยุติ  
2007 20 พฤษภาคม, มีการลงประชามติในซีเรียอีกครั้ง แต่ว่าในใบลงคะแนนมีเพียงคำถามเดียว คือ ‘’คุณสนับสนุนให้ ประธานาธิบดีอัล-อัซซาด ดำรงตำแหน่งต่อไปจนถึงปี 2014 หรือไม่ ? ’’ ซึ่งคะแนนเสียงสนับสนุนออกมาที่ 97.62%
2010 ธันวาคม, (Arab Spring) เริ่มเกิดกระแสการปฏิวัติในกลุ่มประเทศอาหรับและอัพฟริกาโดยเริ่มต้นในประเทศตูนิเซีย (Tunisia) 
2011 มกราคม, (Syrian Civil War)  เริ่มเกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลอัซซาดในซีเรีย
18 พฤษภาคม, สหรัฐฯ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรต่ออัซซาด
29 กรกฏาคม, พันโทริอัด อัล-เอซาด (Riad al-Asaad) ซึ่งแปรพักตร์จากอัดซาด ได้ก่อตั้ง FSA (Free Syrian Army) โดย FSA มีสำนักงานอยู่ในตุรกี สงครามกลางเมืองในซีเรียเริ่มต้นขึ้น เมื่อสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนด้านอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลของอัซซาด
2012 กลุ่มอัลเกด้า (al-Qaeda) ในอิรัก หรือ Islamic State of Iraq ขยายภาระกิจเข้ามาในซีเรีย โดยอัลเกด้าในซีเรียรู้จักกันในชื่อ Al-Nusra Front
2013 อัลเกด้าในซีเรีย เรียกตัวเองใหม่ว่าเป็น ISIL (Islamic State of Iraq and the Levant) หลังจากยึดเมืองสำคัญในอิรักและซีเรียไว้ได้จำนวนมาก ISIL มีผู้นำคืออาบู บาคร์ อัล-บัคดาดี (Abu Bakr al-Baghdadi) ชาวอิรักที่เคยเป็นนักโทษเรือนจำบุคคา (Camp Bucca) ในสหรัฐฯ  ก่อนถูกปล่อยตัวออกมาในปี 2009 แล้วปีต่อมาเขาก็กลายเป็นหัวหน้าอัลเกดาร์ในอิรัก
27 พฤษภาคม, จอห์น แม็คเคน (John McCain) วุฒิสมาชิกจากรัฐอริโซน่าของสหรัฐฯ เดินทางเข้าซีเรียอย่างผิดกฏหมาย เพื่อพบกลุ่มกบฏในซีเรีย และเรียกร้องให้สหรัฐฯ เพิ่มการสนับสนุนต่อกลุ่มต่อต้านอัซซาด
21 สิงหาคม, (Ghouta chemical attack) ในเมืองเกาต้า (Ghouta) ใกล้กับดามัสกัส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรียของอัซซาดยึดครองอยู่ เกิดการระเบิดของอาวุธเคมี ที่ระบุว่าเป็นก๊าซซาริน (sarin) ซึ่งประมาณจำนวนผู้เสียชีวิต 200-1500 คน 
องค์การสหประชาชาติได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ดังกล่าวในวันที่ 25 สิงหาคม แต่ว่าไม่สามารถสรุปได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อาวุธเคมี , ต่อมารัฐบาลตะวันตก อย่างสหรัฐฯ , ยุโรป และหลายประเทศได้กล่าวหากองทัพรัฐบาลซีเรียว่าเป็นผู้ใช้อาวุธเคมีดังกล่าว แต่รัฐบาลซีเรียปฏิเสธ และกล่าวหาฝ่ายกบฏต่อต้านรัฐบาลว่าเป็นผู้ใช้อาวุธดังกล่าว
รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามใช้เหตุการณ์นี้เป็นเงื่อนไขในการส่งทหารราบเข้าไปในซีเรีย แต่รัสเซียได้เข้ามาช่วยเจรจา สุดท้ายจึงได้เสนอให้ซีเรียกำจัดอาวุธเคมีที่มีอยู่ในสต๊อคทั้งหมดเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่สหรัฐฯ จะไม่บุกซีเรีย
2014 มิถุนายน, อัซซาดชนะการเลือกตั้งโดยได้รับเสียงสนับสนุน 88.7 เปอร์เซ็นต์
กันยายน, สหรัฐฯ และพันธมิตร เริ่มโจมตีทางอากาศต่อกลุ่ม ISIL ในซีเรีย
2015 29 มกราคม, (Secreat deal) จูเลียน แอสแซง (Julian Assange)และวิกิลีส (Wikileaks) เปิดเผยเอกสารทางการทูตของทาางการซาอุดิอารเบีย ยืนยันว่าสหรัฐฯ ฝรั่งเศส อังกฤษ  ซาอุดิอารเบีย การ์ต้า ตุรกี มีข้อตกลงลับร่วมกันเพื่อโค่นล้มรัฐบาลของอัซซาด มาตั้งแต่ปี 2012 เป้าหมายเพื่อทำให้อิหร่านและกลุ่มฮิสโบลเลาะห์อ่อนแอลง และช่วยให้อิสราเอลครอบครองที่ราบสูงโกลัน
การสร้างท่อขนส่งก๊าซ เป็นอีกปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ทำให้ตะวันตกต้องการจะล้มรัฐบาลของอัซซาด เพราะมีเส้นทางสร้างท่อก๊าซ เส้น อิหร่าน-อิรัก-ซีเรีย (Islamic Pineline) และกาตาร์-ตุรกี (Qatar-Turkey pinpeline) ทั้งสองเส้นทางต้องผ่านซีเรียทั้งสิ้น แต่รัฐบาลซีเรียนั้นปฏิเสธท่อก๊าซจากกาตาร์ โดยให้เหตุผลว่าต้องการปกป้องผลประโยชน์ของรัสเซียซึ่งเป็นพันธมิตรและเป็นผู้ส่งออกก๊าซสำคัญไปยังยุโรป
30 กันยายน, รัสเซียส่งเครื่องบินรบเข้าโจมตีกลุ่ม ISIL ในซีเรียเป็นครั้งแรก

2016 6 กุมภาพันธ์,แม่ของอัซซาดเสียชีวิต

Don`t copy text!