Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Voltaire

โวลแตร์ (François-Marie Arouet)
โวลแตร์ เป็นนามปากกาของ ฟรานเซียส-มาเรีย อารัวต์  เขาเกิดในปารีส เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 1694 ในปารีสพ่อของเขาเป็นนักกฏหมายชื่อฟรานเซียส (Francois Arouet)  และแม่ชื่อมาเรีย (Marie Marguerite d’Aumart) โวลแตร์เป็นลูกคนเล็กในพี่น้องห้าคน  พ่อของเขาเป็นเจ้าหน้าที่ในกระทรวงการคลัง 
อย่างไรก็ตามโวลแตร์อ้างว่าตัวเขาเกิดในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1694 ใน Chatenay-Malabry และอ้างว่าพ่อที่แท้จริงของเขาคือ Guérin de Rochebrune
โวลแตร์ มีชื่อเล่นว่า Zozo เขาเข้าพิธีรับศีล เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 1694 
1701 แม่ของเขาเสียชีวิตตอนโวลแตร์อายุ 7 ขวบ
1704 เข้าเรียนที่วิทยาลัยหลุยส์ เลอ แกรนด์ (Louis le Grand College) โดยได้เรียนภาษาลาติน และกรีก 
ผลงานเขียนชิ้นแรกของเขาเป็นบทกวี Ode to St.Genevieve  ที่พ่อของเขาเป็นผู้ออกทุนการการพิมพ์
1711 เขาลาออกจากโรงเรียน โดยที่มุ่งมั่นจะเป็นนักเขียน แต่ว่าพ่อของเขาไม่เห็นด้วย และพยายามจะบังคับให้เขามุ่งไปด้านกฏหมาย โวลแตร์ถูกพ่อบังคับให้สมัครเข้าเรียนที่สถาบันกฏหมายในปารีส  แต่ระหว่างนี้เขาก็เริ่มทำงานเขียนต่อไปด้วย
1713 พ่อของโวลแตร์ได้งานเป็นเลขานุการของทูตฝรั่งเศสประจำเนเธอแลนด์  พวกเขาจึงได้ย้ายมาอยู่ในกรุงเฮก โวลแตร์เข้าเรียที่ Caen& The Hague ซึ่งที่นี่โวลแตร์ได้พบรักกับแคทเธอรีน (Catherine Olympe Dunoyer, «Pimpette») ซึ่งเป็นโปเตสแตนท์ ความรักของทั้งคู่ไม่สมหวัง และโวลแตร์ถูกส่งกลับฝรั่งเศสในช่วงปลายปี 
1717 เขาถูกจับขังไว้ที่เรือนจำบัสติลล์ (Bastille) เพราะว่าเขียนกลอนหลบหลู่ฟิลิปเป้ ที่ 2 (Philippe II, Duke of Oeleans) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 15 (Louis XV) โวลแตร์เขียนกล่าวหาฟิลิปเป้ ที่ 2 ว่ามีความสัมพันธ์กับลูกสาวของตัวเอง 
โวลแตร์ใช้ช่วงเวลาในคุกเขียน The Henriade
1718 หลังจากเขียนบทละครเวทีเรื่องแรกเสร็จ เขาก็เริ่มใช้นามปากกา Voltaire แทนนามสกุลของตัวเอง เพราะความสัมพันธ์ที่มึนตึงกับพ่อ  โวลแตร์ไม่เคยอธิบายความหมายของคำว่า Voltaire เอาไว้ว่าหมายถึงอะไร แต่ว่าสมมุติฐานที่เชื่อกันมากที่สุดคือ Voltaire คือมาจากการเรียงอักขระใหม่ (anagram) ของนามสกุล Arouet เป็นภาษาลาติน
18 พฤศจิกายน, หลังจากออกจากคุกได้ 7  เดือน ละครเวทีที่สร้างจากนิยายเรื่อง Oedipus ของโวลแตร์ได้เปิดแสดงครั้งแรก ที่โรงละครคอมเมดี้ (Comédie-Française)
1722 พ่อของเขาเสียชีวิต
โวลแตร์ กับ มาเรีย รูเปลมองด์ (Marie-Marguerite de Rupelmonde) หญิงม่ายที่เป็นชู้รักกับโวลแตร์ได้เดินทางไปเบลเยี่ยม เพราะโวลแตร์ต้องการพิมพ์ Artemire ผลงานของเขาซึ่งถูกห้ามพิมพ์ในฝรั่งเศส ระหว่างอยู่ในบรัสเซลส์ เขามีโอการได้พบกับรุสโซ่ (Rousseau) พวกเขามีโอกาสได้พูดคุยกันหลายวัน ก่อนที่โวลแตร์จะกลับมายังฝรั่งเศส
1723 ล้มป่วยด้วยโรคฝีดาษ (smallpox) บริเวณริมฝีปาก
1726 17 เมษายน, ถูกจับขังที่คุกบัสติลล์อีกครั้ง เพราะว่ามีปากเสียงกับโรฮัน-ชาบอต (chevalier de Rohan-Chabot) ครอบครัวของโรฮัน จึงใช้อิทธิพลจับเขาขังคุก ซึ่งเขาถูกขังไว้ในคุกบัสติลล์อีกครั้งหนึ่งระหว่างรอการตัดสิน แต่โวลแตร์ได้ยื่นข้อเสนอให้ลงโทษเขาด้วยการเนรเทศแทนการจองจำ ซึ่งทางการยอมรับข้อเสนอ โวลแตร์จึงได้ถูกส่งไปอยู่อังกฤษ
1727 ในอังกฤษโวลแตร์ได้อ่านผลงานของเซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isacc Newton) , เชคเปียร์ส (Shakespeare) ซึ่งล้วนยังไม่แพร่หลายในภาคพื้นทวีปของยุโรปเวลานั้น 
ในงานเขียนของโวลแตร์ เรื่อง Essay on Epic Poetry เขาเขียนเกี่ยวกับทฤษฏีแรงโน้มถ่วงของนิวตัน เอาไว้ว่า «had the first thought of his system of Gravitation, upon seeing an apple falling from a tree» ซึ่งช่วยให้เรื่องเล่าเกี่ยวกับแอปเปิ้ลหล่นใส่หัวของนิวตันแล้วทำให้เขาค้นพบทฤษฏีเรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น ถูกเล่ากันปากต่อปากมากขึ้น แม้ว่าโวลแตร์เองจะไม่ใช่ผู้เริ่มเรื่องนี้
โวลแตร์มีผลงานเขียนสองเรื่องที่พิมพ์ระหว่างที่เขาอยู่ในอังกฤษ คือ Upon the Civil Wars of France, Extracted from Curious Manuscripts และ Upon Epic Poetry of the European Nations, from Homer Down to Milton
1729 กลับมายังฝรั่งเศสหลังทางการอนุญาต เมื่อกลับมาไม่นานเขาได้มีโอกาสพบกับชาร์ล (Charles Marie de La Condamine) นักคณิตศาสตร์ ซึ่งพบว่าการออกฉลากล๊อตเตอรี่ของรัฐบาลฝรั่งเศสปกพร่อง และเขาสามารถทำกำไรจากรางวัลได้มากกว่าเงินที่ใช้ซื้อล๊อตเตอรี่ เขาจึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกช่วยกันลงขันซื้อล๊อตเตอรี่ และโวลแตร์ก็ร่วมวงด้วย ซึ่งทำให้เขาถูกสลาก ได้เงินรางวัลจำนวนกว่าครึ่งล้างฟรังก์ กลายเป็นมหาเศรษฐี
1733 โวแตร์ได้รู้จักกับอีมิเลีย (Émilie du Châtelet) นักฟิสิกและคณิตศาสตร์ โวลแตร์เป็นคนทำให้อมิเลียได้รู้จักกับคณิตศาสตร์ของนิวตัน ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานกว่า 15 ปี แม้ว่าอีมิเลียจะเป็นผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว อีมิเลียพาโวลแตร์ไปอยู่ในบ้านของสามีเธอในซีเรย์ (Cirey-sur-Blaise) ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ในขณะที่สามีของอีมีเลียคือ มาร์กีสแหงชาตูเลต์ (Marquis du Châtelet) เป็นทหารและมักจะไปออกรบ แต่เขาก็รู้ความสัมพันธ์ระหว่งโวแตร์กับภรรยาของเขา บางครั้งทั้งสามคนก็อาศัยอยู่พร้อมกันที่บ้าน
ระหว่างที่อยู่ที่บ้านของอีมิเลีย ทั้งสามคนใช้เวลาศึกษางานของนิวตัน ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญา พวกเขาช่วยกันแปลงานของนิวตันเป็นภาษาฝรั่งเศส
พิมพ์ Letters Concerning the English Nation
1734 หนังสือ Letters Concerning the English Nation ทำให้เขาถูกทางการประกาศจับ โวลแตร์ต้องหนีไปยังบรัสเซลล์  แต่ต่อมาหนีมาอาศัยทที่เมืองซีเรย์ (Cirey) ทางตะวันออกของฝรั่งเศส
1736 กษัตริย์ฟรีเดอริค แห่งปรัสเซีย (Frederick the Great of Prussia) ทรงเริ่มติดต่อกับโวลแตร์ เพราะสนพระทัยในงานเขียนของเขา
1740 กันยายน, โวลแตร์ได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ฟรีเดอริคครั้งแรก ที่ปราสาทมอยแลนด์ (Moyland castle) ในครีฟ (Kleve)   หลังจากนั้นได้เป็นแขกของพระองค์ และไปอยู่ในเบอร์ลินสองอาทิตย์
1743 โวลแตร์กลายเป็นสายลับให้กับรัฐบาลของฝรั่งเศสช่วงหนึ่ง ระหว่างที่เขาเข้าไปทำงานในราชสำนักของปรัสเซีย โวลแตร์เขียนจดหมายหลายฉบับรายงานข่าวให้ฝรั่งเศสทราบ แตว่าไม่นานกษัตริย์ฟรีเดอริคทรงสงสัยในวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโวลแตร์ พระองค์จึงวางพระองค์ออกห่างจากโวลแตร์
โวลแตร์กลับมาฝรั่งเศส และได้ทำงานในราชสำนักของหลุยส์ ที่  15 (Louis XV)
1744 อีมีเลีย ได้พบกับนักเขียน ฌอห์น เซนต์-แลมเบิร์ต (Jean Francois de Saint-Lambert) ที่มีอายุน้อยกว่าเธอ 10 ปี  ทั้งคู่ตกหลุมรักกัน ทำให้โวลแตร์ผิดหวัง และออกจากบ้านของอีมีเลีย
1747 มาอยู่ที่ Sceaux
1748 ไปเป็นแขกของกษัตริย์ สตานิสลัส แห่งโปแลนด์ (Stanislas of Poland)
1749 อีมิเลีย เสียชีวิต, โวลแตร์กลับมาอยู่ในปารีส
1750  ออกจากปารีส มายังพอตสดัม (Potsdam) เขาได้มีโอกาสเข้าเผ้ากษัตริย์เฟรเดอริค อีกครั้ง และในครั้งนี้เขาได้รับประทานเงินปีจำนวน 20,000 ฟรังค์ต่อปี 
ช่วงปี 50s โวลแตร์กับมาเรีย-หลุยส์ มิกน๊อต (Marie-Louise Mignot) ระหว่างอยู่ในปารีส เขาและเธอมีความสัมพันธ์กันอย่างลับๆ เธอเป็นญาติของเขาเอง ทั้งคู่ไม่มีลูกด้วยกัน แต่ว่าได้รับอุปการะเด็กไว้คนหนึ่งในปี 1760 และตั้งชื่อว่ามาเรีย (Marie Francoise Corneille)
1752 ระหว่างอยู่ที่พอตสดัม เขาเขียน Micromégas เรื่องสั้นแนวนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งน่าจะเป็นผลงานชิ้นแรกของเขาในแนวนี้
โวลแตร์มีปัญหากับปิแอร์ มัวเปอร์เตียส (Pierre  Maupertuis) ขณะนั้นเป็นประธานของสถาบันวิทยาศาสตร์ปรัสเซีย (Prssian Academy of Science) จนทำให้กษัตริย์เฟรเดอริคไม่พอพระทัยและได้สั่งให้คุกขังโวลแตร์ไว้ในที่พัก
ไม่นานโวแตร์ได้อิสระภาพ เขาก็ออกพอตสดัม และมุ่งหน้าไปยังปารีส แต่ว่าหลุยส์ ที่ 15 ห้ามไม่ให้เขาเข้าเมือง เขาจึงเปลี่ยนไปเจนีวาแทน
1758 ย้ายมาอยู่ในเฟอร์เน็กซ์ (Fernex) สวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างที่อยู่ในสวิส เขาได้เริ่มทำธุรกิจผลิตนาฬิกา โดยใช้บ้านพักของเขาเอง ต่อมาธุรกิจเจริญรุ่งเรืองจนการผลิตนาฬิกากลายเป็นธุรกิจหลังในชุมชน จนกระทั้งเมืองนี้ถูกตั้งชื่อว่า Ferney-Voltaire  เดิมเมืองนี้มีชื่อว่ า Fernex แต่โวลแตร์เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Ferney โวลแตร์อาศัยอยู่ที่เฟอร์เนย์กว่า 20 ปี ก่อนที่เขาจะกลับฝรั่งเศส
1759 พิมพ์ Candide (Optimism) ผลงานที่เป็นที่รู้จักที่สุดของเขา แต่ว่าถูกทางการสั่งแบนในแทบจะทันที
1762 9 มีนาคม, ศาลศาสนาในตูลูสซ์ (Toulouse) ได้ตัดสินประหารชีวิตพ่อค้าชื่อ ฌอห์ณ คาลัส (Jean Calas) จากคดีที่ลูกชายของเขา มาร์ค แอนโทนี่ (Marc-Antoine) เสียชีวิตภายในบ้านเมื่อเดินตุลาคมปีที่ผ่านมา หลังจากลูกชายของเขาตาย คนก็พากันลือว่าฌอห์ณ ฆ่าลูกชายของตัวเอง เพราะว่าลูกชายของเขาต้องการเปลี่ยนศาสนาเป็นแคโธริก ในขณะที่ครอบครัวนั้นเป็นโปเตสแตนท์ แม้ว่าหลังฐานหลายอย่างชี้ว่ามาร์คแอนโทนี่ฆ่าตัวตาย  แต่ศาลได้ตัดสินว่าฌอห์ณ ฆ่าลูกชายของตัวเอง วันต่อมาฌอห์นก็ถูกนำตัวไปประหาร
โวลแตร์ สนใจคดีนี้ และเห็นว่าเป็นการตัดสินที่ไม่ยุติธรรมเพียงเพราะฌอห์ณไม่ใช่แคโธริก  โวลแตร์ช่วยรณรงค์จนกระทั้งคำตัดสินถูกประกาศว่าผิผลาดในปี 1764 และมีการลบล้างความผิดให้แก่ฌอห์น และชดเชยเงินให้กับครอบครัวของเขา
ช่วงเวลานี้โวลแตร์ยังได้ติดต่อกับแคทเธอรีน ที่ 2 (Catherine II of Russia) ผ่านทางจดหมาย โดยที่ทั้งสองไม่เคยพบกัน และโวลแตร์ไม่รู้ฐานะที่แท้จริงของแคทเธอรีน 
1764 พิมพ์ Dictionnaire Philosophique ผลงานด้านปรัชญา
1778 กุมภาพันธ์, เขาเดินทางกลับฝรั่งเศสเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี  มีคนหลายร้อยคนมารอที่จะพบเขา รวมถึงเบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ซึ่งขณะนั้นมาเป็นทูตสหรัฐฯ ประจำฝรั่งเศส
4 เมษายน, โวลแตร์เข้าเป็นสมาชิกของฟรีเมสัน  ตามคำชักชวนของ เบนจามิน แฟรงคลิน
30 พฤษภาคม, เสียชีวิตในปารีส โดยก่อนเสียชีวิตเขาพูดว่า let me die in peace เพราะว่าเขาไม่ต้องการให้มีการประกอบพิธีของเขาตามแบบแคโธริก อย่างไรก็ดี เพื่อนของเขาได้แอบนำร่างของเอาไปฝังไว้ที่ใต้ถุนของโบสถ์ (Abbey of Scellières) ในเมืองแชมเปญ โดยที่หัวใจและสมองของเขาถูกแยกออกมาทำเป็นขี้ผึ้งแยกจากกัน 
หัวใจ ของโวลแตร์ หลังจากทำเป็นขี้ผึ้งแล้ว ถูกมอบให้กับมาเรีย-หลุยส์ มิกน๊อต  และภายหลังตกไปอยู่กับหอสมุดแห่งชาติของฝรั่งเศส (National Library of France) หัวใจของเขาถูกเก็บไว้ที่ฐานรูปปั้นของเขา โดยมีข้อความเขียนไว้ว่า
Son esprit est partout et son cœur est ici / His spirit is everywhere, his heart is here / จิตวิญญาณของเขาอยู่ทุกหนทุกแห่ง, หัวใจอยู่ที่นี่
แต่ว่าสมองของโวลแตร์ ถูกนำออกประมูลและไม่มีใครทราบว่าปัจจุบันอยู่ที่ไหน
…..
«I disapprove of what you say, but I will defend to the death your right to say it / ข้าพเจ้าไม่เชื่อในสิ่งที่ท่านพูด, แต่ข้าพเจ้าจะยืนยันด้วยชีวิตว่าท่านมีสิทธิที่จะพูด>
ประโยคนี้เข้าใจผิดกันทั่วไปว่าโวลแตร์เป็นผู้เขียน/พูด แต่ว่าไม่เคยปรากฏในงานเขียนของเขา 
ต้นฉบับที่ของประโยคนี้ เขียนไว้ในหนังสือ The Friends of Voltaire ของ อีเลลิน ฮอล์ล (Evelyn Beatrice Hall) พิมพ์ในปี 1906
1789 เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส 

1791 11 กรกฏาคม, สภาแห่งชาติฝรั่งเศส (National Assembly of France) ได้ยกย่องโวลแตร์ว่าเป็นผู้บุกเบิกทางของการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) และได้ย้ายอัษฐิที่เหลือของโวลแตร์ย้ายมาไว้ที่วิหารแพนธีออน (Pantheon) ในปารีส

Don`t copy text!