Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Frederick Taylor

1915    21 มีนาคม, เสียชีวิตจากอาการปอดบวม

เฟรเดริก เทย์เลอร์ (Frederick Winslow Taylor)

ผู้เขียน The Principles of Scientific Management ,ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารแบบวิทยาศาสตร์

เทยเลอร์ เกิดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 1856 ในฟิลาเดนเฟีย, รัฐเพนน์ซิลวาเนีย (Philadelphia, Pennsylvania) สหรัฐฯ พ่อของเขาชื่อแฟรงคลิน (Franklin Taylor) เป็นนักกฏหมายแต่ว่าร่ำรวยจากธุรกิจการปล่อยกู้ซื้ออสังหาริมทรัยพ์ แม่ของเขาชื่ออีมิลี (Emily Annette Winslow) เป็นนักสิทธิมนุษยชนที่เคลื่อนไหวสนับสนุนการเลิกทาสร่วมกับลูครีเทีย มอตต์ (Lucretia Mott)

1872    เข้าเรียนที่สถาบันฟิลิป (Philips Exeter Academy) ในนิวแฮมไชร์

1874    สามารถสอบเข้าเรียนที่ฮาร์วาร์ดได้ แต่เขากลับเกิดปัญหาเกี่ยวกับสายตาขึ้นมา

1875    เมื่ออาการป่วยเกี่ยวกับสายตาเริ่มดีขึ้นเขาได้เข้าฝึกงานที่โรงงานผลิตแม่พิมพ์ Enterprise Hydralic Works

1878    ย้ายมาทำงานที่โรงงานมิดเวลตรีล (Midvale Steel Works) ซึ่งเขาเริ่มทำงานตั้งแต่เป็นแรงงานทั่วไป แต่ว่าได้เลื่อนนตำแหน่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

1881    เขาศึกษากระบวนการทำงานและได้พัฒนาเทคนิคการบริหารจัดการเวลา ( Time Study) เพื่อใช้ในโรงงาน

18xx    เข้าเรียนภาคค่ำภาควิชาวิศวะที่สถาบันเทคโนโลยีสตีเว่น (Stevens Institute of Technology)

1883    สำเร็จวิศวเครื่องกล ในขณะที่การทำงานที่โรงงานมิดเวลเขาก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าวิศวกร

1884    3 พฤษภาคม, แต่งงานกับ หลุยส์ สปูเนอร์ (Louise M. Spooner of Philadelphia)

1890    ทำงานที่บริษัทผลิตกระดาษ Manufacturing Investment Company of Philadelphia

1893    เขาลาออกมาเปิดบริษัทที่ปรึกษา

1898    เข้าทำงานกับบริษัทเบธเลเฮมสตรีล (Bethlehem Steel)  เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่เครื่องมือมีราคาแพง ผลที่ได้คือเทย์เลอร์ และไวท์ (Maunsel White) ได้พบสูตรการทำเหล็กกล้าแบบใหม่ในเวลานั้น ที่เรียก High Speed Steel (HSS) ซึ่งเป็นอัลลอยด์ของเหล็กที่มีการผสมโลหะชนิดอื่น อย่างทังสเตนหรือวานาเดียม เข้าไปเพื่อทำให้เหล็กทนความร้อนได้ดีและแข็งยิ่งขึ้น ซึ่ง HSS มักถูกนำไปสร้างเป็นเครื่องมือช่าง

1901    ลาออกจากเบธเลเฮมสตีล

1911    ตีพิมพ์หนังสือหลักการบริหารจัดการแบบวิทยาศาตร์ (The Principles of Scientific Management)

Don`t copy text!