Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Hypatia

ไฮเปเทีย(Υπατία)

ปีเกิดของไฮเปเทีย ไม่เป็นที่ยืนยัน แต่บางข้อมูลบอกว่าเธอเกิดในปี c370 ในเมืองอเล็กซานเดรีย, อียิปต์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบเซนไทน์ (Byzantine Empire) พ่อของเธอเป็นนักคณิตศาสตร์ชื่อธีโอน (Theon Alexandricus) ธีโอนสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยอเล็กซานเดรีย, ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับแม่ของเธอ  เชื่อกันว่าไฮเปเทียน่าจะมีเชื้อสายกรีกอย่างเดียว หรือบางข้อมูลบอกว่าเธอมีเชื้อสายกรีกและอียิปต์

c400 เดินทางไปเรียนหนังสือในเอเธนส์ และเมื่อกลับจากเอเธนส์เธอได้สอนหนังสือโรงเรียนในอเล็กซานเดรีย ไฮเปเทียนำปรัชญาของเพลโต (Plato) และอริสโตเติ้ล (Aristotle) และเธอยังเอาความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของดิโอฟันัส (Diophantus’s Arithmetica)
ไฮเปเทียเขียนทฤษฏีเอาไว้หลายเรื่องอย่างเช่น, Amagest
ลูกศิษย์คนหนึ่งของไฮเปเทียที่รู้จักกัน เช่น  ไซเนเซียส แห่ง ไซรีน (Synesius of Cyrene)ซึ่งต่อมากลายเป็นบิชอฟแห่งปโตเลมี (Bishop of Ptolemy)
ในอเล็กซานเดรียขณะนั้นผู้คนนับถือกันหลายศาสนา ทั้งเทพเจ้าโบราณ อิสลาม และคริสต์ แต่ว่าบรรดาคนที่เรียนกับไฮเปเทียส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์

c415 เมื่อบาทหลวงไซริล (patriarch Cyril) ได้เป็นสังฆราชในอียิปต์ ไซริลได้โจมตีไฮเปเทียโดยกล่าวหาว่าเป็นเพราะนางคอยเป่าหูโอเรสเตส (Orestes) ผู้ว่าการ(prefect) ของเมืองอเล็กซานเดรีย  ทำให้อียิปต์ไม่เจริญ และยังบอกว่าถ้าไฮเปเทียตายไปซะ ความรุ่งเรืองจะกลับคืนมา  คำพูดของไซริล ทำให้ผู้คนพากันโกรธแค้นไฮเปเทีย
บางข้อมูลบอกว่าไฮเปเทียบอกว่านักบวชชาวคริสตร์ (Nitiran monks) ซึ่งสนับสนุนไซริลได้รุมสังหารไฮเปเทียอย่างทารุณโหดร้าย
งานเขียนของโสเครตีสแห่งคอนสแตนติโนเปิ้ล (Socrates of Constantinople) บอกว่าการสังหารไฮเปเทีย มีการเดินขบวนนำโดยปีเตอร์ (Peter the Lector) ไปจับไฮเปเทียระหว่างที่เธอกำลังอยู่ระหว่างทางเดินเพื่อไปมหาวิทยาลัย เธอถูกประชาชนจับถอดเสื้อผ้า และลากไปยังโบสถ์ จากนั้นก็สับเธอเป็นชิ้นๆ ก่อนจะเผาร่างของเธอ

ไม่มีผลงานเขียนของไฮเปเทียหลงเหลืออยู่ แต่ว่าเธอทำงานร่วมกับพ่อของเธอ ซึ่งเชื่อว่าเธอได้ทำงานร่วมกับพ่อของเธอ ผลงานของธีโธน อย่างผลงานเขียนกับเกี่ยวคณิตศาสตร์แบบยูคลิด (Euclid’s Elements) และการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของปโตเลมี (Ptolemy’s Algamest) , The Conics of Apollonius, Apoolonius’ Conics
ซูดา (Suda) สารานุกรมของไบเซนไทน์ บอกว่าไฮเปเทียเป็นผู้เขียน The Astronomical Canon

Don`t copy text!