Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Klaus Fuchs

อีมิล เคลาส์ ฟุชส์ (Emil Julius Klaus Fuchs)

สายลับโซเวียต

เคลาส์ เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 1911 พ่อของเขาเป็นปาสเตอร์ในนิกายลูเธอลัน ชื่ออีมิล พุชส์ (Emil Fuchs) ซึ่งมีแนวคิดสนับสนุนสังคมนิยม เขาเป็นปาสเตอร์ของนิกายกลุ่มแรกๆ ที่เข้าเป็นสมาชิกพรรค SPD (Social Democratic Party of Germany)  ส่วนแม่ชื่อเอลส์ แว็กเนอร์ (Else Wagner) เคลาส์เป็นลูกคนที่สามในพี่น้องทั้งหมดสี่คน 

เคลาส์เริ่มเรียนหนังสือที่จิมเนเซียมในเมืองไอซแน็ช (Eisenach) 

1930 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยลิปซิก (University of Leipzig) ในสาขาคณิตศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้พ่อของเขาก็ทำงานเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาด้านศาสนา  (professor of theology) อยู่ด้วย 

1931 ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเคียล (University of Kiel) เพราะว่าพ่อของเขาย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้  ปีเดียวกันนี้แม่ของเขาฆ่าตัวตาย

1932 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเยอรมัน เคลาส์หาเสียงสนับสนุนให้กับเอิร์น ทัลมานน์ (Ernst Thalmann) จากพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน (KPD) ทำให้เขาถูกไล่ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค SPD ทำให้เขาย้ายไปสมัครเป็นสมาชิกพรรค KPD แทน

1933 มกราคม, เคลาส์ลาออกจาก ม.เคียล และมาสมัครเรียนที่สถาบันฟิสิกส์ในกรุงเบอร์ลิน (Kaiser Wilhelm Insittute for Physics) 

28 กุมภาพันธ์, เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารรัฐสภา (Reishstag fire) เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มีการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์อย่างลับๆ ในเบอร์ลิน เคลาส์และสหายมีลางสังหรณ์อยู่แล้วว่าพวกเขาจะตกเป็นเป้าหมายถูกโจมตีจากเหตุการณ์นี้ บางคนจึงได้วางแผนที่จะหลบหนี เคลาส์เองก็หนีไปหลบในบ้านของเพื่อนนานกว่าห้าเดือน ก่อนที่จะหลบออกจากเยอรมันไป

สิงหาคม, เขามาเข้าร่วมการประชุมต่อต้านนาซีในกรุงปารีส ซึ่งการประชุมจัดโดยเฮนรี่ บาร์บัสซ์ (Henri Barbusse) ในที่ประชุมนี้เคลาส์ได้พบกับสามีภรรยาชาวอังกฤษ ชื่อโรนัลด์ กันน์ (Ronald Gunn) และเจสซี่ (Jessie Gunn) ซึ่งได้ช่วนเคลาส์ไปในอังกฤษ

กันยายน, เคลาส์ เดินทางมาถึงอังกฤษ และต่อมาได้งานเป็นผู้ช่วยของ ศจ.เนวิลล์ มอตต์ (Nevil Mott) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกที่มหาวิทยาลัยบริสตัล (University of Bristol)

1937 เคลาสต์ได้รับปริญญาเอกด้านฟิสิก จาก ม.บริสตัล  และได้ทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัย ของแม็กซ์ บอร์น (Max Born)  ที่ ม.อีดินบูร์ก (University of Edinburgh) บอร์นเป็นนักฟิสิกเยอรมันที่ลี้ภัยมาในอังกฤษเช่นกัน พวกเขามีผลงานวิจัยร่วมกันที่พิมพ์เผยแพร่ออกมาสี่เรื่อง 

1938 ได้รับปริญญาเอก จาก ม.อีดินบูร์ก 

1941 เคลาส์ได้รับคำเชิญจากเซอร์รูดอล์ฟ ไพเอิร์ล (Rudolf Peierls) ให้ร่วมในโครงการ Tube Alloys ซึ่งเป็นรหัสโครงการวิจัยระเบิดนิวเคลียร์ของอังกฤษ

1942 7 สิงหาคม, เคลาส์ได้รับสัญชาติอังกฤษ

ไม่นานเขาได้ติดต่อไซม่อน ครีเมอร์ (Simon Davidovitch Kremer, “Alexander”) ซึ่งเป็นสายลับ GRU ของโซเวียต 

1943 เคลาส์และเซอร์ไพเอิร์ล เดินทางมายัง ม. โคลัมเบีย ในสหรัฐฯ เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับการแยกไอโซโทปของธาตุด้วยก๊าซ (gaseous diffusion) ซึ่งนำไปใช้เพื่อเสริมสมรรถนะยูเรเนียม

1944 เขามาอยู๋ในห้องปฏิบัติการของลอสอลามอส (Los Alamos Laboratory) ที่นี้เคลาต์ไม่ได้ติดต่อกับสายลับโซเวียตโดยตรง แต่มีตัวกลางคือนักเคมีชื่อ แฮร์รี่ โกล์ด (Harry Gold)

1945 16 กรกฏาคม, (Trinity test)เคลาส์เข้าร่วมในการสังเกตุการณ์การทดสอบการระเบิดของนิวเคลียร์ครั้งแรก  ในทะเลทรายนิวเม็กซิโก

1945 เดินทางกลับมายังอังกฤษ และได้เป็นหัวหน้าของศูนย์วิจัยพลังงานนิวเคลียร์ (Atomic Energy Researc Esablishment) ที่ฮาร์เวลล์ (Harwell) 

1949 ข้อมูลจากโครงการวีโนน่า (Venona Project) โครงการต่อต้านการจารกรรมของสหรัฐฯ ได้ตรวจพบว่าเคลาส์เป็นสายลับ สหรัฐฯ จึง ส่งข้อมูลให้กับอังกฤษ ทำให้เขาถูก MI5 เรียกตัวไปสอบสวน โดยเจ้าหน้าที่วิลเลียม สการ์ดัน (William Skardon) ซึ่งในที่สุดเขารับสารภาพ 

1950 1 มีนาคม, ถูกศาลตัดสินจำคุก 14 ปี และถูกถอนสัญชาติอังกฤษ, เขาถูกนำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำเวกฟิล์ด (Wakefield Prison) 

1959 23 มิถุนายน, ได้รับการปล่อยตัวจากการลดโทษเพราะมีความประพฤติดี หลังการปล่อยตัวเขาเดินทางกลับเยอรมัน และแต่งงานกับมากาเร็ต เคลสัน (Margarete Keilson) เพื่อนตั้งแต่วัยเด็ก

เคลาส์ได้งานใหม่ที่ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ (Central Institute for Nuclear Research) และงานสอนหนังสือที่ ม.เดรสเดน (Dresden University of Technology)

1971 ได้รับรางวัล Patriotic Order of Merit

1988 28 มกราคม, เสียชีวิตในเดรสเดน

Don`t copy text!