Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Elizabeth Bathory

อลิซาเบธ บาโธรี่ (Elizabeth Báthory)

อลิซาเบธ เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 1560  ในคฤหาสต์ของตระกูลในเมืองเนียร์เบเตอร์ (Nyírbátor, Hungary) พ่อของเธอชื่อจอร์จ (George Báthory of Ecsed) และแม่ชื่อว่าแอนนา (Anna Báthory)

จอร์จเป็นพี่น้องของแอนดริว บาโธรี่ (Andrew Bonaventura Báthory, Voivod of Transylvania) เจ้าชายแห่งทรานซิลวาเนีย, ส่วน แอนนา เป็นลูกสาวของสตีเฟน บาโธรี่ แห่งซอมเลีย (Stephen VIII Bathory of Somlyó) ซอมเลีย เป็นแขนงหนึ่งของตระกูลบาโธรี่ สตีเฟนมียศเป็นเจ้าชายแห่งทรานซิลวาเนียเช่นกัน 

ตระกูลบาโธรี่เป็นตระกูลขุนนางชั้นสูงในฮังการีและยุโรปตะวันออก อลิซาเบธ  แอนนาแม่ของอลิซาเบธเป็นพี่สาวของกษัตริย์สเตฟาน (King Stefan Báthory of Polish-Luthunian commonweath) แห่งโปแลนด์และลัตเวีย 

ในวัยเด็กเธอใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในปราสาทเอซด์ (Esced Castel) ในจังหวัดเฮเวส (Heves Country) ของฮังการี เธอเรียนภาษาลาติน, กรีก และเยอรมัน 

1571 เมื่ออลิซาเบธอายุ 11 ปี ได้หมั่นหมายกับ เฟเรนซ์ นาดัสดี (Ferenc Nádasdy) ขณะนั้นเฟเรนซ์มีอายุเพียง 5 ขวบ

1575 8 พฤษภาคม, เมื่ออายุ 15 ปี อลิซาเบธเข้าพิธีแต่งงานกับ เฟเรนซ์ นาดัสดี ที่พระราขวังวารันโน่ (Palace of Varannó) เฟเรนซ์บุตรชายของบารอนทอมัส (Tamás Nádasdy) ขุนนางและรัฐบุรุษคนหนึ่งของฮังการี หลังการแต่งงานคู่สมรสได้ย้ายไปอยู่ที่ปราสาทในเมืองซาร์วาร์ (Sárvár) อลิซาเบธได้เปลี่ยนศาสนามาเป็นนิกายลูเธอลัน (Lutheran) 

อลิซาเบธ กับเฟเรนซ์ มีลูกด้วยกันทั้งหมด 6 คน แอนนา (Anna, b.1585) , คาตาลิน (Katalin, b.1594), ไมกลอส (MiKlós), จอร์กี้ (György), ออร์โซลย่า (Orsolya), พอล (Pál)

1578 เฟเรนซ์ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารนำกองทัพฮังการี่ไปรบกับอ๊อตโตมัน  (Turks Long War 1593-1606) ซึ่งระหว่างที่ไปรบ อลิซาเบธจะทำหน้าที่ดูแลกิจการของครอบครัว

1602 ช่วงปี 1602-1604 เกิดข่าวลือเกี่ยวกับการสังหารโหดหญิงสาวหลายสิบศพ โดยคนจากตระกูลบาโธรี่ จนกระทั้งรัฐมนตรีศาสนานิกายลูเธอรัน อิสต์วาน แม็กยารี (Lutheran minister István Magyari) ได้ยืนคำร้องให้สอบสวนกรณีดังกล่าวต่อศาล โดยกล่าวหาอลิซาเบธ 

1604 4 มกราคม, เฟเรนซ์เสียชีวิต ขณะอายุ 48 ปี โดยที่ก่อนตายได้ฝากฝังอลิซาเบธไว้กับจอร์จี ทูร์โซ่ (György Thurzó) เป็นผู้ดูแล ทูร์โซเป็นขุนนางและเคยออกรบในสงครามกับอ๊อตโตมันเช่นกัน แต่ต่อมาเขาเป็นคนที่ดำเนินคดีที่เกี่ยวกับอลิซาเบธและเป็นผู้จับอลิซาเบธขัง

1609 ทูร์โซ่ ได้รับยศเป็นปาลาตีน (Palatine of Hungary) ยศสูงสุดทางราชการของฮังการี

1610 กษัตริย์แมตเธียส ที่ 2 (King Matthias II, House of Habsburg)  และทูร์โซ่ เริ่มสอบสวนข่าวลือ และดำเนินคดีกับอลิซาเบธ โดยเธอถูกตั้งข้อสงสัยว่าได้สังหารหญิงสาว 80-650 คน ระหว่างปี 1585-1610 

30 ธันวาคม, ทูร์โซ่นำทหารไปจับอลิซาเบธที่ปราสาท พร้อมกับจับข้ารับใช้ของเธออีกสี่คน คือโดโรเทีย (Dorotya Semtész)  ไอโลน่า (Ilona Jó) แคทาริน่า (Katarí Benická) และ  จาโนส (János Újváry) 

อลิซาเบธถูกลงโทษโดยการถูกขังอยู่ในปราสาทเซจต์ (Csejte castle) ปราสาทที่เป็นบ้านของเธอเอง ปราสาทหลังนี้เธอได้มาเป็นสินสมรสเมื่อตอนแต่งงาน ปัจจุบันอยู่ในประเทศสโลวาเกีย โดยอลิซาเบธถูกขังไว้ในห้องที่ก่ออิฐขึ้นมาปิดจนมืดสนิท มีเพียงช่องเล็กๆ สำหรับส่งอาหาร 

ทาสผู้หญิงที่ถูกจับตัวมาพร้อมกับเธอ ต่อมาถูกเผาทั้งเป็นในข้อหาเป็นแม่มด 

1614 21 สิงหาคม, อลิซาเบธเสียชีวิตภายในห้องขัง

25 พฤศจิกายน, ถูกนำไปฝังที่โบสถ์เซจต์ (Csejte Church) แต่ภายหลังถูกย้ายกลับไปที่บ้านเกิดของเธอในเมืองเอซด์

1729  หนังสือ Tragica Historia ของลาสโล ทูรอคซี (László Turóczi) เป็นหนังสือเล่มแรกที่เขียนเกี่ยวกับตำนานของอลิซาเบธ

1984 นักเขียนชื่อลาสโล นากี (László Nagy) เป็นผู้ที่ตั้งข้อสงสัยว่าอลิซาเบธอาจจะเป็นเหยื่อทางการเมืองขณะนั้น เพราะว่าตระกูลฮับสเบิร์ก และตระกูลบาโธรี่เป็นศัตรูกันมานาน เพราะฮับสเบิร์กเป็นแคโธริกแต่บาโธรี่เป็นโปแตสแตนต์ และกษัตริย์สตีเฟ่น น้าของอลิซาเบธ ก็แย่งตำแหน่งกษัตริย์แห่งโปแลนด์มาจากจักรพรรดิแม็กซิมิเลียน ที่ 2 (Emperor Mazimilian II) ซึ่งมาจากตระกูลฮับสเบิร์กด้วย ที่สำคัญกษัตริย์แมตเธียส ที่ 2 ติดหนี้สินจำนวนมากกับอลิซาเบธ เพราะต้องการเงินไปทำสงคราม

Don`t copy text!