Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Pyotr Kapitsa

เปียเตอร์ คาปิตช่า (Пётр Леонидович Капица)

โนเบลฟิสิก 1978

คาปิตช่าเกิดในครอนสแตท (Kronstadt, Russia) เมื่อวันที่  9 กรกฏาคม 1894 พ่อของเขาชื่อลีโอนิค (Leonid Petrovich Kapitsa) เป็นวิศกรทหาร และแม่ชื่อโอลก้า (Olga Leronimovna Stebnitskaia) มีอาชีพเป็นครู 

1914 เข้าเรียนในภาควิชาไฟฟ้าเครื่องกลของสถาบันโพลีเทคนิคเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St. Petersburg Polytecnic Institute) แต่เมื่อเกิดสงครามโลกขึ้น เขาได้อาสาสมัครเข้าเป็นทหาร โดยได้ทำหน้าที่เป็นพลขับรถในแนวหน้าด้านการรบกับโปแลนด์

1916 เมื่อสงครามสิ้นสุดได้กลับมาศึกษาต่อ  ระหว่างนี้ ศ.จ. ไอออฟฟ์ (A.F. Ioffe) ได้ชวนเขาให้เข้ามาทำงานในสถาบันรังสี ของสถาบันฟิสิกเทคนิค (Physic-technical Institute)

1917 พ่อของคาปิตช่าเสียชีวิตในช่วงที่เกิดการปฏิวัติในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยเขาเสียชีวิตจากการระบาดของไข้หวัดสเปน (Spanish Flu) 

1921 ถูกส่งมาฝึกงานที่ห้องทดลองคาเวนดิช (Cavendish Laboratory) มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ได้มีโอกาสทำงานกับ รัทเธอฟอร์ด (Ernest Rutherford) โดยฉายา “จรเข้ (Crocodite)” ของรัทเธอฟอร์ด คาปิตช่าเป็นคนตั้ง

1924 พัฒนาวิธีการสร้างสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูง โดยมีขนาด 320 กิโลเกาส์ (Kilogauss) ในพื้นที่ปริมาตร 2 ลูกบาศเซนติเมตร

1927 แต่งงานกับแอนนา (Anna Alekseevna Krylova) พวกเขามีลูกด้วยกันสองคนชื่อ เซอร์เกย์ (Sergei) และแอนดรี (Andrei)

1928 ค้นพบค่าความต้านทานสนามแม่เหล็กเชิงเส้นของโลหะหลายชนิดในสนามแม่เหล็กแบบเข้ม (linear dependence of resistivity on magnetic field for various metals in very strong magnetic fields.)

1934 เดินทางกลับมารัสเซีย และถูกห้ามเดินทางออกนอกประเทศอีก 

เมื่อมีก่อตั้งสถาบันศึกษาปัญหาทางฟิสิก (Institute of Physical Problems) คาปิตช่าได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของสถาบัน  ตัวเขาเองเปลี่ยนแนวการวิจัยมาศึกษาฟิสิกที่ภาวะอุณภูมิต่ำแทน และสามารถสร้างอุปกรณ์ผลิตฮีเลี่ยมเหลวที่ให้ปริมาณครั้งละมากขึ้นได้

1937 ค้นพบซุปเปอร์ฟลูอิดดิตี้ (Superfluidity~ ของไหลยวดยิ่ง) สภาวะซึ่งสสารมีพฤติกรรมเหมือนของเหลวและมีความหนีดเป็นศูนย์

1939 เขาออกแบบปรับปรุงเครื่อง Turboexpander เครื่องจักรที่ใบพัดทำงานโดยอาศัยความดันของก๊าซ จนมีประสิทธิภาพสูงและกลายเป็นต้นแบบพื้นฐานของเครื่องประเภทเดียวกันนี้จนปัจจุบัน

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1940s สถาบัน IPP ได้ย้ายไปอยู่ในคาซาน (Kazan) และในสงครามมีความต้องการใช้อ๊อกซิเจนเหลวเป็นจำนวนมาก คาปิตช่าจึงได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ผลิตอ๊อกซิเจนเหลวของเขาให้มีประสิทธิภาพสำหรับอุตสาหกรรม

1946 เขาถูกให้ออกจากสถาบัน IPP จากความขัดแย้งกับเบเรีย (Lavrenty Beria) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมโครงการวิจับระเบิดนิวเคลียร์ของโซเวียต ในตอนแรกคาปิตช่าถูกเลือกให้เข้าร่วมทีมวิจัยการแยกยูเรเนียมโดยใช้เทคนิคฟิสิกสภาวะอุณหภูมิต่ำ แต่ความขัดแย้งกับเบเรียทำให้เขาลาออกจากทีม บางว่าช่วงเวลานี้คาปิตช่าถูกกักบริเวณอยู่แต่ในบ้านพัก แต่ว่ายังได้รับอุปกรณ์สำหรับการวิจัยจำนวนหนึ่งมาไว้ที่บ้าน

1950 พัฒนาเครื่องกำเนิดคลื่นไมโครเวฟกำลังสูง (UHF oscillators) ชื่อ the Planotron และ the Nigotron 

1955 ในยุคของครุสเชฟ (Nikita Khrushcev) คาปิตช่าได้เป็นผู้อำนวยการของสถาบันเซมิคอนดัคเตอร์ฟิสิก (Institute of semiconductor physics) 

1957 เป็นสมาชิกของ USSR Academy of Sciences 

1959 คาปิตช่าเป็นผู้พิสูจน์ว่ามีทะเลสาบอยู่ใต้พื้นนำ้แข็งในแอนตาร์ติก้าจริง ตามที่ปีเตอร์ โครป๊อตกิ้น (Peter Kropotkin) เคยตั้งสมมุตฐานเขาไว้ ทะเลสาบแห่งนี้ถูกตั้งชื่อว่าทะเลสาบวอสต๊อค (Lake Vostok)

1978 ได้รับรางวัลโนเบลฟิสิก จากการบุกเบิกวิชาฟิสิกในภาวะอุณภูมิต่ำ

1984 22 มีนาคม, มีอาการเส้นเลือดในสมองตีบ

8 เมษายน, เสียชีวิต ร่างของเขาถูกนำไปฝังที่สุสานโนเวเดวิชี  (Novedevichy cemetery) ในมอสโคว์

Don`t copy text!