Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Johannes Stark

โจฮันเนส สตาร์ค (Johannes Stark)

ผู้ค้นพบปรากฏการณ์ Stark Effect , โนเบลฟิสิกส์ 1919

เกิดในเมืองชิเคนฮอฟ (Schickenhof, Bavaria Kingdom) บาวาเรีย เมื่อวันที่ 15 เมษายน 1874 ในชิกเค่นฮอฟ, บาวาเรีย (Schickenhof, Bavaria) 

สตาร์คเริ่มเรียนหนังสือในจิมเนเซียมในเมืองเบย์รูธ (Bayreuth)

1894 เข้าเรียนด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยมิวนิค

1897 จบปริญญาเอก 

1900 ทำงานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยก๊อตตินเจน (University of Göttingen) โดยที่ไม่ได้รับเงินเดือน 

1905 ค้นพบปรากฏการณ์ดอปเปอร์ในรังสีคาเอโนด (Doppler effect in canal rays)

1904 ก่อตั้งหนังสือ Yearbook of Radioactivity and Electronics ซึ่งพิมพ์ระหว่างปี 1904 ถึงปี 1913

1906 เป็นศาสตราจารย์พิเศษที่สถาบันเทคโนโลยีในเมืองแฮนโนเวอร์

1908 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีในเมืองอาเช่น (Aachen)

1913 ค้นพบปรากฏการณ์สตาร์ค (Stark Effect , Splitting of spectral lines in electric fields)

1919 ได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบปรากฏการ์ Stark Effect และ Doppler effect in canal rays เขานำเงินรางวัลที่ได้รับมาตั้งห้องทดลองส่วนตัว 

1917 มาทำงานที่มหาวิทยาลัยไกร์ฟวัลด์ (University of Greifswald)

1920 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่สถาบันฟิสิกของมหาวิทยาลัยเวิร์ซเบิร์ก (University of Würzburg)

1930 เข้าเป็นสมาชิกพรรคนาซี (National Socialist German Workers’ Party)

1933 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานของสถาบันฟิสิกส์-เทคนิค (Physikalisch-Technische Reichsanstalt) เขาอยู่ในตำแหน่งจนกระทั้งตัวเขาเกษียณในปี 1939

นอกจากนั้นในเวลาเดียวกันนี้ยังได้เป็นประธานของสมาคมนักวิจัยแห่งเยอรมัน (Deutsche Forschungsgemeinschaft )

ช่วงที่นาซีมีอำนาจในเยอรมัน สตาร์คและภรรยาเป็นผู้ที่สนับสนุนนาซี ตัวเขาเองเข้าร่วมกับกลุ่มนักฟิสิกส์อารยัน (Aryan Physics) ในเยอรมัน ซึ่งต่อต้านนักฟิสิกส์ยิว โดยเฉพาะไอสไตน์ เขาเรียกร้องให้นักวิทยาศาสตร์ทำงานเฉพาะที่มีประโยชน์กับกองทัพ

เขามีความสุขที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคนาซี ในปี 1934 เมื่อนาซีออกกฏหมาย Nuremberg Laws ออกมาห้ามไม่ให้ยิวมีตำแหน่งในมหาวิทยาลัย สตาร์คเองอยากที่จะได้เป็นผู้นำ (Führer) ของกลุ่มนักฟิสิกส์อารยัน 

1947 หลังสงครามโลกครั้งที่  2 เขาถูกศาลต่อต้านนาซี (denazification court) ตัดสินว่ามีความผิดและถูกลงโทษใช้แรงงานในค่ายกักกันเป็นเวลา 4 ปี แต่สตาร์คได้ยื่นอุทรณ์ และสุดท้ายในปี 1949 เขาถูกลงโทษเพียงแค่ปรับเป็นเงินหนึ่งพันดอยซ์มาร์ก 

1957 21 มิถุนายน, เสียชีวิตขณะอายุ 83 ปี ในเมืองเทราน์สไตน์ (Traunstein, Upper Bavaria)

สตาร์คมีผลงานเขียนทางวิชาการว่า 300 เล่ม , ภรรยาของเขาชื่อลูซอี (Luise Uepler) พวกเขามีลูกด้วยกันห้าคน

Don`t copy text!