Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Arthur Cecil Piqou

อาร์เธอร์ ซีซิล พิกอู (Arthur Cecil Piqou)

พิกอู เกิดวันที่ 18 พฤศจิกายน 1877 ในไรด์, อิเซล ออก เวธ (Ryde, Isle of Wight) , อังกฤษ พ่อของเขาเป็นนายทหารชื่อ คลาเรนซ์ (Clarence George Pigou) และแม่ชื่อโนร่า (Nora Biddel Frances Sophia Lees

เขาได้รับทุนเข้าเรียนที่ฮาร์โรว (Harrow School)  อาจารย์คนหนึ่งของเขาคืออัลเฟรด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall) 

1896 เข้าเรียนที่คิงคอลเลจ, แคมบริดจ์ (King’s College, Cambridge) 

1901 เริ่มทำงานสอนด้านเศรษศาสตร์ 

1903 ได้รับรางวัล Adam Smith prize จากผลงานเขียน Principles and Methods of Industrial Peace

1908 รับตำแหน่งศาสตร์จารย์สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่แคมบริดจ์

1918 เป็นคณะกรรมการด้านนโยบายการเงิน (Cunliffe Committee)

1919 เป็นคณะกรรมการด้านภาษีเงินได้ (Royal Commission on the Income Tax)

1920 The Economics of Welwafe พิกอูพัฒนาแนวความคิดเรื่อง externality (ผลกระทบภายนอก) ของมาร์แชล กิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลที่สามที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากกิจกรรมนั้นโดยตรง ผลกระทบภายนอกนี้มีทั้งแบบที่ไม่ดี อาทิเช่น การสร้างสนามบินส่งผลกระทบทางเสียงต่อชุมชนใกล้เคียง , การจราจรมีการปล่อยควันพิษ   แต่ในแบบที่ดี เช่น การเลี้ยงเกษตรกรผึ้ง ทำให้แปลงเกษตรใกล้เคียงได้รับผลดีจากผึ้งในการผสมเกสรให้ผลไม้  พิกอูบอกว่ารัฐบาลควรเข้าไปแทรกแซงผลกระทบภายนอกเหล่านี้ โดยการเก็บภาษี เพื่อลดผลกระทบภายนอกที่ไม่ดี ภาษีเหล่านี้ เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม อาทิ ภาษีคาร์บอน, ภาษีขยะมีพิษ  หรือส่งเสริมผลกระทบภายนอกที่ดีด้วยการสนับสนุนสวัสดิการ เหล่านี้เป็นแนวคิดภาษีแบบพิกอู (Piovian tax)

1924 เป็นคณะกรรมการด้านการพิมพ์ธนบัตร (Cambelian Committee on the Currency and Bank of England Notes) 

1925 เป็นสมาชิกของ (British Academy) แต่ว่าลาออกในปี 1927

1930s เมื่อเกิดวิกฤติภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression)

1943 ลาออกจากตำแหน่งศาสตร์จารย์ที่แคมบริดจ์

Pigou effect ในบทความเรื่อง The Classical Stationary State ที่เขาเขียนลงในวารสาร Economic Journal  , เขาเห็นว่าการปล่อยให้ราคาสินค้าตกลงกระช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตัวมันเอง เพราะผู้บริโภคจะรู้สึกว่าตัวเองร่ำรวยขึ้น มีเงินเหลือและกลับมาบริโภค เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Wealth Effect ซึ่งต่อมาก็จะช่วยกระตุ้นการจ้างงาน

1959 7 มีนาคม เสียชีวิตในวัน 81 ปี ที่เมืองแคมบริดจ์

  • 1912 Wealth and Welfare
  • 1914 Unemployment
  • 1920 The Economics of Welfare
  • 1921 The Political Economy of War
  • 1929 Industrial Fluctuations
  • 1933 The Theory of Unemployment
  • 1935 The Economics of Stationary States
  • 1950 Keynes’s General Theory
Don`t copy text!