Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Mehmed II

สุลต่าน เมห์เมด ที่ 2 (Muhammad al-Fatih,  the Conqueror)

เมห์เมด ประสูตรในวันที่ 30 มีนาคม 1432 ในเมืองหลวงของอ๊อตโตมานขณะนั้นคือเมืองอีดีร์นี (Edirne) เป็นโอรสองค์ที่สี่ของสุลต่านมูราด ที่ 2 (Murad II) กับฮูมา ฮาตัน (Hüma Hatun) นางนั้นเดิมที่เป็นทาสแต่ประวัติไม่ชัดเจน บ้างว่าเป็นเจ้าหญิงของฝรั่งเศสและมีที่บอกว่าเป็นหญิงชาวอิตาลีชื่อเอสเตลล่า (Estella) 
พี่ชายต่างมารดาของเมห์เมดสองคนคือ อาห์เมด (Ahmed) และ อลาดิน (Aladin Ali) เสียชีวิตอย่างปริศนาในปี 1437 และ 1443 
1443 เมื่ออายุได้ 11 ปีได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเมืองอมาสย่า (Amasya) 
1444 สิงหาคม, อ๊อตโตมาณทำข้อตกลงสันติภาพกับอาณาจักรคารามาน (Karaman Emirate) ซึ่งอยู่ตอนใต้ของตุรกีปัจจุบัน หลังจากนั้นสุลต่านมูราดได้สละราชสมบัติ และมอบตำแหน่งสุลต่านให้กับเมห์เมด ซึ่งมีพระชันษาเพียง 12 ปี  โดยที่มีผู้ช่วยดูแลกองทัพคือ ลาลา ปาชา ( Lala Sahin Pasha, Beylerbey of Rumelia)  และแคนดาร์ลี ปาชา (Candarli Halil Pasha, Grand Vizier)
พฤศจิกายน, การรบที่เมืองวาร์น่า (Battle of Varna) มูราดนำทหารอ๊อตโตมานทำสงครามกับฮังการีและโปแลนด์ และมีชัยชนะ
1446 มูราดได้กลับมารับตำแหน่งเป็นสุลต่านอีกครั้งตามคำเรียกร้องของเมห์เมด เพราะเกิดการประท้วงในกองทัพนำโดยแคนดาร์ลี ปาชา  
1448 Battle of Kosovo , สุลต่านมูราดออกรบที่โคโซโว่ โดยที่เมห์เมดติดตามไปรบด้วย
1451 กุมภาพันธ์, มูราดสวรรคต, เมห์เมดในวัย 18 ชันษา จึงได้กลับเข้ารับตำแหน่งสุลต่านอีกครัง
1453 29 พฤษภาคม, ยึดคอนสแตนติโนเปิ้ล (Fall of Constantinople) อ็อตโตมานใช้เวลา 53 วันในการบุกเมืองหลวงของอาณาจักรไบเซนไทน์ โดยหลังจากยึดเมืองได้แล้ว เมห์เมดสถาปนาตัวเองเป็นซีซาร์ และได้ประกาศกฤษฏีกาแรกคือประกาศให้อิสระภาพแก่ทุกคนที่ยังมีชีวิตรอด
แคนดาร์ลี ปาชา, ถูกเมห์เมด จับขังและประหารในเวลาต่อมาไม่นานหลังจากยึดคอนสแตนติโนเปิ้ล 
1454 ทำสงครามกับเซอร์เบีย ซึ่งทำให้เซอร์เบียกลายเป็นรัฐบริวารของอ๊อตโตมานและต้องส่งบรรณาการณ์ให้เป็นประจำ
1456 บุกเบลเกรด (Siege of Belgrade) ซึ่งเวลานั้นเป็นของฮังการี แต่ว่านายพลจานอส ฮันยาดิ (Janos Hunyadi) สามารถเอาชนะอ๊อตโตมานได้ อย่างไรก็ตามเมห์เมดสามารถยึดดินแดนส่วนใหญ่ในเซอร์เบียคืนกลับมาได้ 
1460 บุกดินแดนโมเรีย (Despotate of Morea) ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของไบเซนไทน์ ที่ยังไม่ยอมจำนน
1461 บุกอาณาจักรทรีไบซอนด์ (Empire of Trebizond)  อีกจังหวัดหนึ่งของไบเซนไทน์ที่เหลืออยู่
1462 บุกดินแดนวัลลาเชีย (Wallachia) ของวล๊าด แดร็กคูล่า ที่ 3 (Vlad III Dracula) ซึ่งเมห์เม็ดได้ตั้งให้เจ้าชายราดู (Radu cel Frumos) พี่ของวล๊าดซึ่งสนับสนุนอ๊อตโตมาน เป็นผู้ปกครองวัลลาเซีย 
1463 บุกบอสเนีย (Ottoman conquest of Bosnia) และสังหารกษัตริย์สตีเฟ่น (Stephen Tomašević) 
อีอตโตมานเริ่มทำสงครามกับสาธารณรัฐเวนิช (Ottoman-Venetian War, 1463-1479) 
1466 พยายามโจมตีอัลบาเนีย (Albania) แต่ล้มเหลว 
1475 บุกมอลดาเวีย การรบที่เมืองวาสลุย์ (Battle of Vaslui), อ๊อตโตมานขัดแย้งกับมอลดาเวียในการอ้างกรรมสิทธิในดินแดนเบสซาราเบีย (Bessarabia) ซึ่งอ๊อตโตมานเห็นว่าเคยเป็นส่วนหนึ่งของวัลลาเซียอาณานิคมของตน เมห์เมดจึงได้สั่งให้แม่ทัพลุไลมาน ปาชา (Suleiman Pasha) นำทหารบุกมอลดาเวีย และเกิดสงครามขึ้นที่เมืองวาสลุย์  กษัตริย์สตีเฟ่น แห่งมอลดาเวีย (Stephen the Great, Moldavia) ได้รับการสนับสนุนจากฮังการีและโปแลนด์ในการสงทหารมาช่วยรบ ทำให้สงครามนี้กษัตริย์สตีเฟ่น เป็นฝ่ายชนะ
1476 การรบที่วาเลีย อัลบา (Battle of Valea Albã) เมห์เมดนำทหารอ๊อตโตมานออกรบด้วยพระองค์เองกับมอลดาเวีย  และมีชัยชนะสามารถยึดดินแดนตอนใต้ของแม่น้ำดานูบมาได้ ส่วนกษัตริย์สตีเฟ่นนั้นต้องหนีไปยังโปแลนด์ 
1478 Siege of Shkodra , บุกอัลบาเนีย เป็นสงครามครั้งสุดท้ายที่เมห์เมดออกรบด้วยตัวเอง และสามารถยึดเมืองชโกดร้า
1480 เมห์เมด ส่งนายพลอาห์เมด ปาชา (Gedik Ahmed Pasha) บุกอิตาลีและสามารถยึดดินแดนอัตรันโต้ (Otranto) ได้ แต่ไม่นานเมื่อเมห์เมดสวรรคต ดินแดนก็ถูกพระสันตะปาปายึดกลับไป
1481 3 พฤษภาคม สวรรคต พระศพถูกนำไปฝังที่สุสานในมัสยิดฟาติห์ (Fatih Mosque) ในคอนสแตนติโนเปิ้ล
มีความเชื่อว่าสาเหตุการสวรรคตน่าจะถูกวางยาพิษ โดยแพทย์เชื้อสายยิวที่เปลี่ยนเป็นอิสลาม ชื่อยากับ ปาชา (Yakub Pasha) 
Don`t copy text!