Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Nikolai Berdyaev

นิโคไล เบอร์เดียเยฟ (Николай Алексанрович Бердяев)

นักปรัชญา
เขาเกิดในเคียฟ วันที่  18 มีนาคม 1874 ในครอบครัวที่มีฐานะดี พ่อของเขาชื่ออเล็กซานเดอร์ (Alexander Berdyaev) เป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในหน่วนทหารม้า ส่วนแม่ชื่อ อลิน่า (Alina, Pricess Kudasheva Skobtsova) เป็นชาวฝรั่งเศส เกิดในครอบครัวชนชั้นสูง ที่นับถือนิกายออร์โธดอก แต่ว่าตัวเธอเองนั้นมีทัศนะคติไปทางแคธอริกมากกว่า 
ในตอนเด็กเบอร์เดียเยฟ เรียนหนังสืออยู่กับบ้าน  
ตอนอายุ 10 ขวบ เข้าเรียนที่โรงเรียนเตรีมทหารในเคียฟ (Kiev Cadet Corps) เบอร์เดียเยฟ เริ่มอ่านผลงานของ คานต์ (Immanuel Kant) เฮเกล (Georg Hegel) ตั้งแต่อายุราว 14 ปี
1894 ตัดสินใจออกจากโรงเรียนทหาร เพื่อสมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเคียฟ (Kiev State Universtiy) ในคณะวิทยาศาสตร์ ก่อนที่ในปีต่อมาเขาจะย้ายมาเรียนในคณะกฏหมาย ซึ่งเบอร์เดียเยฟบอกว่าเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เขาเริ่มสนใจในปรัชญา
เบอร์เดียเยฟ กลายมาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่ศึกษาลัทธิมาร์กอย่างลับๆ เพราะช่วงเวลานั้นมันผิดกฏหมาย
1897 เข้าร่วมการประท้วงของนักศึกษา ซึ่งเป็นผลทำให้เขาถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย และเนรเทศไปยังโวล็อกด้า (Vologda)  ตอนกลางของประเทศรัสเซีย เขาอยู่ในโวล็อกน่านานกว่า  3 ปี และทำงานเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ของพวกมาร์กซิสต์ ชื่อว่า Neue Zeit โดยบทความแรกของเขา Critical philosophy in their relation to socialism
  แต่ว่าระหว่างนี้เขาก็เริ่มเห็นว่าลัทธิมาร์กให้ความสนใจในเรื่องของวัตถุนิยมมากจนตัวเขาเบื่อ และหันไปสนใจด้านศาสนาและปรัญชามากกว่า  ในที่สุดแล้วเขาก็พัฒนาแนวคิดปรัญชาของเขาเอง ที่เขาเรียกว่า Vehovstvo (веховство) 
1902 หนังสือรวมบทความของเขา พิมพ์ออกมาในชื่อ Problems of Idealism
1903 เดินทางไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเฮียเดลเบิร์ก (Heidelberg U.) อยู่เทอมหนึ่ง เพื่อฟังวิชาปรัญชาของ Wilhelm Windelband
1904 แต่งงานกับลูเดีย ทรูเชฟฟ์ (Lydia Trusheff) หลังแต่งงานทั้งคู่ย้ายมาอยู่ที่เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
เขาร่วมทำแม็กกาซีน Novi Put (The New Way) ร่วมกับบุลกากอฟ (Sergey Bulgakov) ซึ่งเป็นแม็กกาซีนเกี่ยวกับการเมือง วรรณกรรมและปรัญชา
1907 เดินทางไปฝรั่งเศส ก่อนที่จะกลับมาและย้ายไปอยู่ที่่มอสโคว์
1909 มีผลงานตีพิมพ์ลงใน Vehi (Landmark)  , surrendered of pragmatic social values
1911 The Philosophy of Freedom (Философия свободы) งานชิ้นสำคัญที่สุดของเขา
 เขาและภรรยาเดินทางไปอิตาลี ระหว่างอยู่ในอิตาลี ได้เขียนหนังสือเล่มใหม่ The Meaning of the Creative Act (Смысл творчества) หนังสือเล่มหนึ่งที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดของเขา
1913 ไม่นานหลังจากกลับมารัสเซีย เขาก็ถูกตัดสินลงโทษเนรเทศให้ไปอยู่ในไซบีเรีย ตลอดชีวิต ในข้อหาหลบหลู่ศาสนา  (blasphemy) จากการที่เขาเขียนโจมตีคณะบาทหลวง (Holy Synod)  แต่ว่าเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้คำสั่งลงโทษชะงักไป
1918 Out of the depths (Из глубины) เป็นหนังสือรวมบทความของนักปรัชญาหลายคนของรัสเซีย ซึ่งเบอร์เดียเยฟ เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ล้วนรวมคนที่ไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติของบอลเชวิค พวกเขาพยายามตักเตือนคนรัสเซียด้วยกันให้หยุดการใช้ความรุนแรงต่อกัน
ช่วงการปฏิวัติของคอมมิวนิตส์และสงครามกลางเมือง (1917-1921) ทำให้เบอร์เดียเยฟ หมดศรัทธาต่อระบบมาร์กซิสต์ เมื่อได้เห็นประชาชนมากมายที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ถูกสังหาร  เขาบอกว่ามันเป็น คุณธรรมและภารดรภาพแบบบีบบังคับ ( Forced Virtue and a froced brotherhood, จากหนังสือ The Philosophy of Inequality) อย่างไรก็ดี เขาก็ไม่ได้สนับสนุนฝ่ายที่นิยมพระเจ้าซาร์ด้วย
1919 เขาก่อตั้งโรงเรียนสอนปรัญชาของตัวเองขึ้นมา ชื่อ Free Academy of Spiritual Culture (Вольную академию духовной культуры) โดยปรัญชาของเบอร์เดียเยฟ นั้นเน้นเรื่องของเสรีภาพ แต่ก็ผสมผสานไปกับศาสนาคริสต์ ซึ่งในเวลานั้นศาสนาเป็นสิ่งผิดกฏหมายในโซเวียต
1920 พรรคคอมมิวนิสต์ แต่งตั้งให้เขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยมอสโคว์ คณะปรัญชา  แม้ว่าตัวเขาเองจะไม่มีใบปริญญามาก่อน 
 แต่ว่าไม่นานถูกจับ โดยถูกกล่าวหาว่าวางแผนโค่นล้มรัฐบาล โดยผู้ที่เข้ามาสอบปากคำเขาคือ ดเซอร์ซินสกี (Felix Dzerzhinsky) หัวหน้าของตำรวจเชก้า และเลฟ คาเมเนฟ (Lev Kamenev) ก็อยู่ด้วย เบอร์เดียเยฟ กับคาเมเนฟ นั้นเป็นเพื่อนกัน แต่ว่าคาเมเนฟ ได้แต่ยืนฟังการสอบปากคำโดยดเซอร์ซินสกี ซึ่งเบอร์เดียเยฟ อธิบายแนวคิดและปรัญชาของเขาให้ดิเซอร์ซินสกีฟัง ประกอบกับที่เขาเคยเป็นสมาชิกของบอลเชวิคมาก่อน ทำให้เขาถูกตัดสินลงโทษแค่การถูกเนรเทศออกจากโซเวียต  
เบอร์เดียเยฟ ถูกส่งลงเรือ Philosophy’s ship (ชื่อเล่น ของเรือเยอรมันสองลำ สองเที่ยว คือเรือ Oberbürgermeister และเรือ Preussen) ที่โซเวียตใช้บรรทุกคนที่ถูกเนรเทศกว่า 300ออกจากโซเวียตไปยังเยอรมัน ผู้ถูกเนรเทศเป็นมีทั่วนักวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และนักคิด เรือจึงถูกขนานนามว่าเรือของนักปราญช์ 
  เบอร์เดียเยฟอยู่ในเยอรมัน 2 ปี โดยทำงานให้กับสถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซีย  (Russian Scienctific Institue) ซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ โดยเบอร์เดียเยฟ ก่อตั้งสาขา ศาสนาและปรัญชาที่สถาบันแห่งนี้
1923 ย้ายไปอยู่ที่เมืองแคลเมร์ต (Clamart) ใกล้ๆ กับกรุงปารีส เป็นเมืองที่เขาใช้ชีวิตอยู่จนกระทั้งเสียชีวิต
 เขาก่อตั้งสถาบันสอนใหม่อีกครั้ง และทำแม็กกาซีน The Way (Путь)  ซึ่งเผยแพร่งานของเขา มันถูกตีพิมพ์ต่อเนื่องจนกระทั้งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
ในปารีส เขากับมาพบและร่วมทำงานกับบุลกากอฟอีกครั้ง ซึ่งต่อมาบุลกากอฟ ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่ Russian Theological Academy 
1939 ถูกเชิญไปสอนที่ Sorbonne , ซึ่งเขาได้แปล Freedom and the Spirit ของเขาเป็นภาษาฝรั่งเศส จนได้รับรางวัลจาก French Academy
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขายังอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสแม้ว่านาซีเยอรมันจะยึดประเทศเอาไว้ได้แล้ว เขามักจะถูกตำรวจเกสตาโปเชิญตัวไปสอบสวนอยู่บ่อยๆ  และแม้จะมีชีวิตยากลำบากแต่ก้ผ่านช่วงสงครามมาได้ แต่ภรรยาของเขาเสียชีวิตในปีที่สงครามสิ้นสุด ปี 1945  ทั้งคู่ไม่มีทายาทด้วยกัน
1947 ได้รับรางวัลดุษฏีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแคมบริต
1948 เสียชีวิตภายในบ้านของเขาที่เมืองแคลเมร์ต ในขณะที่นั่งอยู่บนหน้าโต๊ะ ในวันที่ 23 มีนาคม 
Don`t copy text!