Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Landysh

Landysh to help Japan defeat radiation

Tags: Commentary, Fukushima-1, radiation, Society, Russia, World 7.04.2011, 18:01 Interview with Sergey Antipov, Deputy Director of the Institute of Safe Nuclear Energy Development, Russian Academy of Sciences.In 1983, Russia and Japan signed an agreement on providing assistance for the disposal of nuclear arms and the respective technologies, for the purposes of disarmament. Japan provided assistance to Russia within the framework of this agreement. Читать далее Source: Voice of Russia.

สัมภาษณ์ เซอร์เกย์ แอนติมอฟ  , รองอำนวยการสถาบันความปลอดภัยทางนิวเคลียร์, สภาบันวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย

ในปี 1983 รัสเซียและญีุ่ปุ่นได้ทำข้อตกลงในการให้ความช่วยเหลือในการทำลายอาวุธนิวเคลียร์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จำเป็นซึ่งความร่วมมือดังกล่าว ญี่ปุ่นได้ให้เงินสบันสนุน ในการสร้างเรือเพื่อบำบัด น้ำเสียที่บนเปื่อนกัมมันตรังสี (LRW, liquid radioactive waste) โดยเรือลำดังกล่าวมีกำลังในการบำบัดน้ำเสียได้สูงสุด 7,000 ลูกบาศน์เมตรต่อปี แต่ว่าต้องเป็นน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีในระดับที่ต่ำ ไม่ใช่ปานกลาง หรือสูง

ช่วยอธิบายความแตกต่างระหว่างระดับการปนเปื้อนทั้ง 3 ระดับ ?

ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของกัมมันตรังสีที่อยู่ในของเหลวนั้นๆ มันถูกแบ่งเป็นสามระดับ ถ้าปนเปื้อนในระดับที่สูงมนุษย์จะไม่สามารถสัมผัสกับของเหลวนั้นได้ การปนเปื้อนในระดับปานกลางก็ต้องการการบำบัดที่ซับซ้อน ในขณะที่การปนเปื้อนในระดับที่ต่ำนั้นเป็นสิ่งที่เราเอามาบำบัดและทำให้บริสุทธิ์ได้ เรือ Landysh แลนดิช ถูกสร้างเพื่อบำบัดน้ำเสียในระดับการปนเปื้อนที่ต่ำ

สำหรับหลักการทำงาน ของเหลวที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีจะถูกส่งผ่านเข้าไปในตัวกรองหลายชนิด เพื่อกำจัดอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ก่อน จากนั้นก็จะส่งเข้าไปบัดโดยการใช้เรซินหลายชนิดและต้องใช้กระบวนการเคมีหลายขั้นตอน เช่น การออสโมซิส (reverse osmosis) ซึ่งหมายความว่ามันใช้เวลาในการทำงานที่นานกว่าจะครบขัั้นตอนกว่าจะใช้น้ำที่บริสุทธิ์ ซึ่งดีกว่าน้ำประปาที่ส่งไปตามบ้าน ซึ่งกระบวนการบำบัดนี้จะทำให้มีขยะปนเปื้อนกัมมันตรังสีด้วย ซึ่งมันจะถูกนำไปเก็บไว้ในแท่งคอนกรีด จากนั้นใส่ลงในถังเหล็กขนาด 200 ลิตร ซึ่งจะต้องน้ำถังพวกนี้ไปเก็บในสถานที่เฉพาะเช่นกัน เพื่อไม่ให้ไหลลงสู่ทะเล

ซึ่งเรือลำนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เดินทางไปในที่ต่างๆ ปกติแล้วจะถูกจอดไว้ที่โรงงานซเวซด้า (Zvezda plant) ซึ่งไม่เคยถูกย้ายไปไหนเลย จึงไม่ต้องสงสัยหรือตั้งคำถามเลยว่ามันจะถูกขนส่งไปที่ญี่ปุ่นได้หรือไม่ แน่นอนว่ามีคนบอกว่ากองทัพเรือมีความสามารถที่จะขนส่งเรือลำนี้ไปได้ แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่ามีการฝึกซ้อมการขนส่งลักษณะนี้หรือไม่ นอกจากนั้นของเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิม่าจำเป็นจะต้องตรงกับสเปกของของแลนดิชด้วย ผมเห็นแต่ข่าวในหนังสือพิมพ์ว่าญี่ปุ่นต้องการเท่านั้นบนหน้าหนังสือพิมพ์ และมันก็ขึ้นอยู่กับรัสเซียว่าจะตอบสนองหรือไม่ และญี่ปุ่นเองก็ก็อาจจะจำเป็นต้องซื้อมันไว้ใช้ตลอดไปหรือไม่ ซึ่งราคามันสูงมาก

ในรัสเซียเองได้มีการสร้างอุปกรณ์คล้ายกันในสถาบันเคมีในตะวันออกไกลของ RAS  ที่ฐานทัพเรือเก่า ซึ่งตอนนี้ถูกใช้โดยรอสอะตอม (Rosatom) ซึ่งให้ตัวดูดซับที่ผลิตได้ในรัสเซีย ต่างจากแลนดิซที่สารหลายตัวต้องนำเข้ามา ซึ่งเป็นสาเหตุให้มันมีราคาแพง พวกเราได้กำลังสร้างโรงงานที่มีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกัน แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ซึ่งก็อาจจะนำไปติดตั้งที่แลนดิชด้วย ปัญญาของฟุกุชิม่าค่อนข้างจะรุนแรง และนอกจากแลนดิชแล้ว ก็จำเป็นต้องมียุทธวิถีอื่นๆ ด้วย

Don`t copy text!