Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Charles Hatfield

จากนายหน้าขายเครื่องพรวนดิน สู่ คน “ขายฝน” 

ชาร์ล มาลโลรี แอตฟิลน์ (Charles Mallory Hatfield ,1875-12 Jan 1958)

 พ่อมดหรือว่าเรื่องจริง แต่แฮตฟิลด์เป็นนี้แหละเป็นเทพเจ้าซูส องค์แรกของสหรัฐที่สามารถเรียกให้ฝนตกลงได้

… เขาเกิดใน รัฐแคนสัส ในเมืองฟอร์ท สก๊อต (Fort Scott) ประมาณปี 1875 หรือ 1876 และแต่ว่าครอบครัวได้ย้ายมายังรัฐแคลิฟอร์เนียใต้ในระหว่างปี 80s  เขาเรียนหนังสือจนกระทั้งถึงเกรดเก้า (ม. 3) ตอนเป็นหนุ่มเขาเริ่มทำงานเป็นเซลล์แมน ขายจักรกลสำหรับพรวนดิน แต่ว่ามันไม่ได้ขายดีนัก และเขาก็ใช้เวลาว่าในการอ่านหนังสือ และหลงเสน่ห์หนังสือเกี่ยวกับ Pulviculture (วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการควบคุมบรรยากาศ) หนังสือเล่มนั้นพิมพ์เมื่อปี 1871

 วันหนึ่งเขาจึงบอกกับพี่ชาย, พอล (Paul) ว่าควรจะมองหาธุรกิจใหม่กัน แล้วพวกเขาก็เริ่มสร้างส่วนผสมทางเคมี สูตรเฉพาะ จากสารเคมี 23 ตัวแตกต่างกัน พวกเขาปล่อยสารเคมีตัวนั้นขึ้นไปในอากาศ โดยการสร้างอาคารกังหันลมและก็สเปรย์สารเคมีนั้นไปกับกระแสลม เวลาผ่านไปก็จะเกิดฝนตกลงมา  แฮตฟิลน์ เรียกตัวเขาเองว่าเป็น “Moisture accelerator” คนเร่งความชื้น

ในปี 1904 สองพี่น้องโปรโมทกิจการสร้างฝน โดยได้การสนับสนุนจากเฟรด บินนีย์ (Fred Binney ) พวกเขาลงในหนังสือพิมพ์ในลอสแองเจิ้ลลิส ต่อมาจึงมีผู้อ่านที่ท้าท้ายติดต่อกลับมา เขาสัญญาว่าจะจ่ายเงิน 50 เหรียญให้แฮตฟิลน์ ถ้าสามารถทำให้ฝนตกลงมาได้จริง แม้ว่าจะเพียงเล็กน้อย พอเดือนเมษายน แฮตฟิลน์และพอล จึงสร้างหอสูงที่ภูเขาโลว์ (Mount Lowe) จากนั้นก็ปีนขึ้นไปปล่อยสารเคมีสูตรเฉพาะของพวกเขาไปในอากาศ ไม่นานก็ฝนก็ตกลงมาจริงๆ และเขาก็ได้รับเงินจากนักพนันรวมกัน 100 เหรียญ  มากกว่าที่สัญญาไว้เสียอีก ในตอนนั้นสถานีอุตุสหรัฐ บอกว่าการที่ฝนตกลงมานั้นเพราะว่าพี่น้องแฮตฟิล์ได้ติดตามพยายามกรณ์อากาศไว้ล่วงหน้าและมันก็มีพายุเล็กๆ เคลื่อนผ่านแถบนั้นพอดี และฝนที่สองพี่น้องทำก็น้อยเกินไปไม่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตามตอนนั้นคนจำนวนมากก็เชื่อในสิ่งที่เขาทำและเรียกเขาว่าเป็น Rain Maker แล้ว ต่อมาเขาจึงได้รับงานมากขึ้น ซึ่งในลอสแองเจลิส มีคนเสนอให้เขาสร้างฝนในปริมาณมากกว่าเดิม แฮตฟิลด์ จึงสัญญาว่าจะทำให้ฝนตกลงมาในปริมาณ 18 นิ้ว แฮตฟิลด์ได้สร้างหอคอยกังหันลมขึ้นบริเวณทุ่งในเอสเปรานซา ซานิทาเรียม (Esperanza Sanitarium) ในอัลตาเดน่า (Altadena) ซึ่งตอนนั้นบันทึกเอาไว้ว่าเขาทำได้สำเร็จจริงๆ และก็ได้รับเงินตอบแทน 1000 เหรียญ

ในปี 1906 แฮตฟิลด์ถูกจ้างให้ไปสร้างฝนในอลาสก้า ซึ่งจะได้รางวัลตอบแทน 10,000 เหรียญ แต่ว่าครั้งนี้เขาทำไม่สำเร็จ

1915 สภาเมืองซานดิเอโก้ เจอกับวิกฤตขาดแคลนน้ำ ทำให้ถูกกดดันให้เรียกตัวแฮตฟิลด์มาเพื่อช่วยในการสร้างฝน เพื่อเติมน้ำลงไปในเขื่อน โมรีน่า (Morena Dam) ตอนนั้นแฮตฟิลด์คิดค่าบริการ 1000 เหรียญต่อฝน 1 นิ้วในปริมาณที่ไม่เกิน 50 นิ้ว แต่ว่าถ้าฝนตกลงมามากกว่านี้ก็ไม่คิดเงินในส่วนที่เกิน ตอนนั้นสภาเมือง กลับเสนอเงินให้ถึง 10,000 เหรียญอย่างท้าทาย เพราะเดิมที่สมาชิกก็ไม่ค่อยจะเชื่อเรื่องนี้อยู่แล้ว แต่่าถูกกดดันจากสมาคมในเมือง แฮตฟิลด์และพอล สร้างหอคอยสูงหกเมตร ริมทะเลสาปโมรรีน่า ซึ่งสร้างเสร็จในธันวาคมของปีนั้น ตอนปีใหม่พอดี พอวันที่  5 มกราคม 1916 ก็เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก และหนักขึ้น จนกระทั้งแม่น้ำและเมืองที่แห้งแล้ง กลับเจอปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรง จนสะพานพัง ทางรถไฟขาด ฝนตกยาวนานไปจนถึงวันที่ 20 มกราคม ทำให้เขื่อนสองแห่งของเมืองถึงกับเต็ม และมีเขื่อนหนึ่งคือ เขื่อนโลเวอร์ โอเทีย (Lower Otay Dam) พังลงมา ซึ่งทำใหัอุทกภัยรุนแรงมากและมีผู้เสียชีวิตกว่า 20 คน แฮตฟิลด์กล่าวว่ามันไม่ใช่ความผิดของเขา เขาสัญญาแค่ว่าจะทำฝน ไม่ได้มีสัญญาที่จะหยุดมัน และเป็นเจ้าหน้าที่ของเมืองที่ไม่เตรียมความพร้อมในการรับมือล่วงหน้า เขามีหน้าที่แค่ทำตามสัญญาคือหาน้ำมาเติมในเขื่อน แต่ว่าสภาซานดิเอโก้ กลับพยายามเรียกร้องค่าเสียหายจากการที่เขื่อนพังและไม่ยอมจ่ายเงินที่สัญญาไว้ โดยเรียกค่าเสียหายของเขื่อนสูงถึง 3.5 ล้านเหรียญ แต่ว่าคู่กรณีไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แฮตฟิลด์พยายามฟ้องศาลเรียกร้องเงิน 4,000 เหรียญ

การต่อสู้ในศาลกินเวลากว่า 22 ปี แต่ว่าการพิจารณาในศาลอุทรณ์ ในปี 1938 บอกว่า ฝนเป็นเรื่องของพระเจ้า และคดีนี้ตกไป แฮตฟิลด์ไม่ได้ค่าตอบแทนใดๆ  หลังจากนี้แฮตฟิลด์ก็ยังทำงานเป็นคนขายฝนต่อไปอีกระยะหนึ่ง และคำตัดสินของศาลไม่ได้กระทบต่องานของเขา ยังมีคนที่ต้องการซื้อฝนที่เขาสร้างขึ้น จนถึงช่วงที่เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐ (Great Depression) เขาจึงกลับไปทำงานเป็นคนขายเครื่องพรวนดินอีกครั้ง ภรรยาของเขาก็ทิ้งเขาไป

ชารล์ แฮตฟิลด์ เสียชีวิตในวันที่ 12 มกราคม 1958 หลุมฝังร่างของเขาอยู่ที่สุสาน Forest Lawn Memorial Park Cemetery ในเกลนเดล แคลิฟอร์เนีย

ส่วนผสมของสารทั้ง 23 ชนิดกลายเป็นความลับไปพร้อมกับความตายของแฮตฟฟิลด์ ไม่รู้ว่าเขาจะมีบันทึกเขียนทิ้งเอาไว้บ้างหรือไม่

แต่ตลอดชีวิตของเขา ผู้สังเกตุบอกว่า เขาทำให้ฝนตกได้สำเร็จกว่า 500 ครั้ง เคยช่วยดับไฟป่าในเซียร่า เนวาน่า , แก้ปัญหาภัยแล้งในอิตาลี ชื่อของแฮตฟิลด์ กลายเป็นตราสินค้าของเครื่องกันฝน ร่ม  เรื่องราวของเขาเคยถูกนำไปสร้างเป็นหนัง The Rainmaker ซึ่งในปี 1956 ฮอลลีวู๊ด ได้เชิญแอตฟิลด์เข้าไปชมภาพยนต์รอบปฐมทัศน์นี้ด้วย

Don`t copy text!