Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Duma 1905-1917

ประวัติศาสตร์รัสเซียส่วนหนึ่งที่พบว่าคนไทยส่วนใหญ่สนใจ แต่เข้าใจผิดกันมาก คือการปฏิวัติของพรรคบอลเชวิค ในปี 1917 โดยเลนิน ซึ่งจำนวนไม่น้อยเข้าใจความหมายของคำว่า บอลเชวิค ที่แปลว่า “เสียงส่วนใหญ่” เลยทำให้สับสนว่าพรรคบอลเชวิคได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฏรณ์ในเวลานั้นไปด้วย ซึ่งความจริงแล้ว พรรคบอลเชวิค หรือในฐานะส่วนหนึ่งของพรรคแรงงานสังคมนิยมประชาธิปไตย (RSDP, Russian Social Democratic Party) เป็นเพียงเสียงส่วนน้อยมากในสภาผู้แทนราษฏร์ในเวลานั้น และบอลเชวิคก็ไม่ใช่พรรคที่นิยมคอมมิวนิสต์เพียงพรรคเดียว แต่แทบทุกพรรคการเมืองในรัสเซียเวลานั้น มีแนวคิดแบบเสรีนิยมที่เอียงซ้าย สนับสนุนการปฏิรูป แต่มีความรุนแรงในระดับที่แตกต่างกัน

ก่อนปี 1905 รัสเซียไม่มีซึ่งสถาบันนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ในการออกกฏหมาย สภาดูม่า (สภาล่าง หรือสภาผู้แทนราษฎร์ของรัสเซีย Дума มีความหมายว่า “คิด (to think)” เป็นผลมาจากการผ่ายแพ้สงครามกับญี่ปุ่นก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ความไม่พอใจของชาวนาที่ต้องการให้เกิดการปฏิรูปที่ดิน และการปฏิวัติในปี 1905 (The 1905 Revolution) ทำให้เกิดกระแสกดดันไปยังรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ให้มีการสร้างรัฐบาล สถาบันขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนของประชาชน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1905 พระเจ้าซาร์ นิโคลัส ที่ 2 ทรงได้รับคำแนะนำจากนายกรัฐมนตรี Sergei Witte  ได้ออกประกาศตั้งสภาดูม่า (Манифесту Императора Николая Второго Об учреждении Государственной думы, Manifesto of Emperor Nicholas II on the estabilishment of the State Duma) ขึ้นมา ตอนนั้นเรียกสภาดูม่า ว่า  State Duma  โดยที่มีสภาสูงคือ the State Council ต่อมาพระเจ้าซาร์ได้ประกาศ กฏหมายปรับปรุงเพิ่มเติม ( Манифесту Об усовершенствовании государственного порядка, Manifesto on Improment Public Order) เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 1905 การเลือกตั้งสภาครั้งแรกมีกฏหมายออกมาครั้งแรกเมื่อ 11 ธันวาคม 1905 และยังไม่เหมือนกับการเลือกตั้งโดยทั่วไป แต่เป็นคณะของผู้เลือกแทน(electoral curia) เลือกจากสี่กลุ่มในสังคม คือ เจ้าของที่ดิน(landowner) ประชาชนในเมือง(urban) เกษตรกร(peasant) และแรงงาน(labour) แรงงานที่จะสามารถออกเสียงได้จะต้องทำงานในโรงงานที่มีแรงงานไม่น้อยกว่า 50 คน ซึ่งทำให้มีแรงงานที่สามารถลงคะแนนโหวตได้ประมาณ 2 ล้านคน นอกจากนั้นกำจัดไม่ให้สิทธิในการลงคะแนนกับ ผู้หญิง และผู้ที่อายุยังไม่ถึง 25 ปี ทหาร และชนกลุ่มน้อย

ะบบการเลือกตั้งมีหลายขึ้นตอน ขั้นตินที่ 1. ผู้เลือกตั้ง (electors) จะถูกเลือกโดยผู้มีสิทธิออกเสียง (Voter)ขั้นตอนที่ 2. ผู้แทนราษฏรณ์ จะมาจากการโหวตของตัวแทนในแต่ละกลุ่ม เจ้าของที่ดินจะมีตัวแทนโหวต 2,000 คน คนในเมือง 4,000 คน เกษตรกร 30 คน และแรงงาน 90,000 คน จากนั้นจึงเลือกผู้แทนราษฏรณ์ ซึ่งมีจำนวนรวมกันระหว่าง 480-525 คน 23 เมษายน 1906 ซาร์ได้ออกกฏหมายพื้นฐานสำหรับประเทศ (Fundamental law of State) ในคงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการบริหาร และกฏหมายทุกฉบับต้องได้รับการยอมรับจากพระองค์ ซาร์มีอำนาจในการแต่งตั้งรัฐมนตรี กำหนดนโยบายต่างประเทศ ควบคุมกองทัพ อำนาจในการประกาศสงคราม และออกกฏอัยการศึกและอำนาจการบริหารประเทศเป็นของซาร์ ไม่ใช่ของสภา นอกจากนั้นในย่อหน้า 87 ให้อำนาจซาร์ในการออกกฏหมายใหม่่ได้เองโดยไม่ต้องผ่านสมัยประชุมสภา
การจัดการเลือกตั้งดำเนินไประหว่าง 26 มีนาคม ถึง 20 เมษายน 1906 แต่ว่าพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายส่วนใหญ่ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง พรรค RSDLP(Bolsheviks) , SR (Socialist Revolutionaries), และสหภาพชาวนาแห่งรัสเซีย (All Russia Peasant Union) ประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง แต่พรรค RSDLP มีเสียง 10 เสียงในสภาดูม่า จากการที่สมาชิกจากพรรคแรงงาน ทรูโดวิท เข้าสังกัดกลุ่มเมนเชวิค RSDLP(Mensheviks) ของนาย เปลคานอฟ (Г.В.Плехановым,Plekhanov)

 
สภาดูม่า ครั้งที่ 1 ( 27 เมษายน 1906- 9 กรกฏาคม 1906)

  การประชุมสภาดูม่าครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 1906 จัดขึ้นที่พระราชวังตูไรด์ (Таврическом дворце,Tauride palace) ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เมืองหลวงในขณะนั้น ซึ่งในสมัยของซาร์นิโครัส ใช้เป็นพระราชวังฤดูหนาว และในสมัยของพระนางแคทเธอรีน ที่นี้เป็นวังของเจ้าชาย กริกอรี โปเต็มกิน (Григория Потемкина ,Highness Prince Grigory Potemkin) รัฐสภาซึ่งมีกลุ่มฝ่ายซ้ายอยู่เต็มไปหมด นำโดยพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (คาร์เด็ท) สภาดูม่า เรียกร้องสิทธิในความเสมอภาคทั้งหมด ต้องการให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต ยกเลิกที่ิดินที่เป็นเจ้าของโดยรัฐและของกษัตริย์ และแปรรูปที่ดินทั้งหมดเป็นของเอกชนโดยเฉพาะแบ่งให้เกษตรกรไร้ที่ดินทำ กิน แต่ว่าได้รับการปฏิเสธจากคณะรัฐมนตรี (council of Ministers) ที่ทำงานขึ้นตรงต่อซาร์มากกว่ารัฐสภา และมีอำนาจบริหาร ซึ่งนายกรัฐมนตรี กอร์ไมกิน (Ivan Goremykin) ใช้เวลา 8 วัน นับจาก 13 พฤษภาคม ปฏิเสธข้อเรียกร้องทั้งหมดของสภาดูม่า หลังจากนั้นสภาดูม่าที่นำโดยฝ่ายซ้าย ก็พยายามออกกฏหมายปฏิรูปที่ดิน โดยการยึดทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินทั้งหมดมาเป็นของรัฐ ทำให้รัฐมนตรีหลายคนในรัฐบาลบอยคอตสภา ส่วนสภาดูม่าก็เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีกอร์ไมกินลาออก  6 กรกฏาคม มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีจากกอร์ไมกิน โดยรัฐมนตรีมหาดไทย สโตไลปิน (PA Stolypin) ขึ้นมาแทน ซึ่งเขาได้เข้าร่วมประชุมสภาดูม่าในวันที่ 9 ซึ่งได้ทำประกาศจากซาร์ เรื่องการประกาศยุบสภา 
หลังจากมีการประกาศยุบสภาแล้ว สมาชิกสภาดูม่า จำนวน 200 คน จากพรรค คาเด็ท (Cardet หรือ Constitution Democrats) ,ทรูโดวิก (Trudoviks), SD (Social Democrats) ได้เดินทางไปยังเมืองไวบอร์ก (ในฟินแลนด์ ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสเซีย) ทั้งหมดได้อ่านประกาศแห่งไวบอร์ก (Manifesto of Vyborg) เรียกร้องให้ประชาชนหยุดจ่ายภาษี ไม่เข้ารับการเกณฑ์ทหาร เพราะรัฐบาลไม่ยอมแจกจ่ายที่ดินให้เกษตรกร แต่ว่าแถลงการณ์นี้ไม่ได้รับการตอบสนองจากประชาชน และต่อมาศาลได้ตัดสินจำคุกผู้ที่ลงนามในประกาศดังกล่าว โดยถูกจำคุกเป็นเวลา 3 เดือน และถูกตัดสิทธิการลงสมัครเลือกตั้ง ประธานสภาดูม่า ครั้งแรกนี้ ได้แก่  เซอร์เกย์ อเล็กซานโดรวิท มูรอมเชฟ(Сергей Александрович Муромцев,Sergey Muromtsev) จากพรรคคาเด็ท เป็นศาสตร์จารย์จากมหาวิทยาลับเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก  State Duma ทำงานครั้งแรก เป็นระยะเวลา 72 วัน ก็สิ้นสุดลง

สภาดูม่า ที่ 2 (20 กุมภาพันธ์ 1907 – 2 มิถุนายน 1907) 

สภาสามารถประชุมสภากันได้เพียงหนึ่งสมัยเช่นกันก่อนที่จะถูกยุบ การเลือกตั้งยังใช้กติกาเช่นเดียวกันกับสภาในสมัยแรก พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายอย่าง กลุ่มบอลเชวิค พรรค SRs และทรูโดวิก รวมกลุ่มกัน ต่อสู้กับพรรคคาร์เด็ทและฝ่ายขวา ในครั้งนี้กลุ่มของฝ่ายซ้ายมีที่นั่งรวมกัน 118 ที่นั่งเกินกว่า 20% ของสภา RSDLP  ได้ 65 เสียง Popular Socialist 16 เสียง SRs 37 เสียง และเมื่อรวมเสียงจากพรรคอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายซ้ายด้วยกันแล้ว ก็มีที่นั่งกว่า 43% (222 เสียง) ของสภาดูม่า อย่างพรรคทรูโดวิค ใช้แคมเปญในการเลือกตั้ง Project Framework ด้วยต้องการให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตย ยกเลิกชนชั้นในสังคม ใช้อัตราภาษีแบบก้าวหน้า การศึกษาฟรี ปฏิรูปกองทัพ เรียกร้องความสมบูรณณ์แบบของความเสมอภาคของทุกคนในประเทศ ทุกเชื้อชาติ วัฒนธรรมและศาสนา เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศรัสเซีย กลุ่มของเชื้อชาติ อย่าง โปแลนด์ได้ที่นั่ง 46 ที่ มุสลิม 30 ที่นั่ง ชาวครอสแซค 17 ที่นั่ง กลุ่มชาวโปแลนด์นี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในพรรค National Democrat สภาดูม่าครั้งที่ 2 เปิดประชุมกันวันที่ 20 กุมภาพันธ์ โดยประธานสภาถูกเลือกในมอสโคว์ และ ฟิโอดอร์ โกโลวิน (Федор Александрович Головин,Fyodor Golovin) จากพรรคคาเด็ท ได้ตำแหน่ง สภาดูม่า ลำดับ 2 นี้ ประชุมกันได้เพียงสมัยเดียว เพราะกิจกรรมสภาส่วนใหญ่ยังมีความขัดแย้งกับรัฐบาลหลายเรื่อง สภาในครั้งนี้มีปัญหาที่ต้องพิจารณา เช่น งบประมาณปี 1907  ปัญหาด้านอาหาร การเกณฑ์ทหาร หรือการยกเลิกศาลทหาร เป็นต้น ปัญหาสำคัญประการหนึ่งในสมัยนี้คือ การพิจารณามาตรการณ์ฉุกเฉินในการต่อต้านกับพวกเคลื่อนไหวปฏิวัติ แต่ว่าสภามีความวุ่นวาย สมาชิก 16 คนจากพรรค RSDLP พัวพันกับการพยายามล้มล้างระบบ และกว่า 55 คนในสภา พัวพันกับแผนการต่อต้านสมาชิกราชวงค์ ซาร์ นิโคลัส ที่ 2 ทรงประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน และได้ทรงเปลี่ยนกติกาการเลือกตั้ง

สภาดูม่า ที่ 3 (พฤศจิกายน1907-มิถุนายน 1912)

มีการประกาศกติกาการเลือกตั้งใหม่ โดยพยายามลดจำนวนที่นั่งของฝ่ายซ้ายลง โดยการลดจำนวนสิทธิของเกษตกรและแรงงาน โดยเฉพาะจำนวนของเกษตรกรลดลง 2 เท่า ทำให้เหลือที่นั่งสูงสุดไม่เกิน 22% ของทั้งหมดจากเดิม 41.4%  และจากแรงงานเหลือ 2.3% เสียงจากคนในเมือง ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือจากชนชั้นสูงและกลุ่มของนายทุนพ่อค้า รวมกัน 26% ให้อำนาจรัฐมนตรีมหาดใชไทยในการกำหนดเขตการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผลให้ในครั้งนี้มีผู้แทนจากกลุ่มชาติพันธ์ในประเทศ ได้รับตำแหน่งผู้แทนลดลง เช่น เบลารุส 7 คน  โปแลนด์ 11 จากเดิม 37 คอเคซัส 10 จากเดิม 29  ในขณะที่พรรคฝ่ายขวามีที่นั่ง 50 คน และจากกลุ่มชาตินิยมและขวาแบบก้าวหน้าได้ที่นั่งรวมกัน 97 ที่นั่ง สภาดูม่าครั้งที่สามนี้สามารถทำงานได้ยาวนานถึงห้าปี มีการเปิดประชุมสภากันห้าหน แม้ว่าในช่วงเดือนแรกๆ ของการทำงานปัญหาเดิมจะยังตามมารบกวน ทังการเรียกร้องการปฏิรูปกองทัพ จัดสรรที่ดินให้เกษตรกร และปัญหาเรื่องพรหมแดน ในครั้งนี้มีผู้ร่วมออกเสียงราว 3.5 ล้านคน และ 44% ของสภามาจากชนมีชื่อเสียง เจ้าของที่ดิน กลุ่ม Octo และ Union of Russia People จับมือกัน ทำให้ฝ่ายตรงข้ามมีอิทธิพลด้อยลง



แต่ว่าท้ายสุดแล้วสมาชิกก็ได้เรียนรู้ระบบการทำงานของสภา การแสดงความคิดเห็น ดูม่ามีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำงานหลายชุด เช่น คณะกรรมการพิจารณางบประมาณ กฏหมายต่างๆ จะถูกเสนอจากรัฐบาล โดยรัฐมนตรีมาสู่ดูม่า เพื่อให้การรับรอง มีกฏหมายผ่านสภาไป 2572 เรื่องโดยในนี้ 205 เรื่องเป็นเรื่องที่สภาเป็นผู้ริเริ่ม  มีกฏหมายเช่น การดูแลแรงงานที่ป่วย เจ็บ การรับรองสิทธิในทรัพย์สินของชาวนา การตั้งรัฐบาลท้องถิ่นดูแลตนเองในจังหวัดทางตะวันตกสภามีเหตุให้ต้องหมดวาระไป เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการ ครบจำนวนสูงสุดแล้วคือ 30 คณะกรรมการ  สภาดูม่า 3 มีการใช้ประธานสภา ถึง 3 คน  คือ นิโคไล แฮมสเตอร์ (Николай Алексеевич Хомяков,Nikolay A. Hamsters ,1 พฤศจิกายน 1907 – มีนาคม 1910), อเล็กซานเดอร์ กุชกอฟ (Александр Иванович Гучков ,Alexander Guchkov ,มีนาคม 1910 – 1911), มิคาอิล รอดเซียนโก (Михаил Владимирович Родзянко ,Mikhail Rodzianko ,1911-1912)

สภาดูม่า ที่ 4  ( 15 พฤศจิกายน 1912- 25 กุมภาพันธ์ 1917)

เป็นสภาดูม่า ครั้งสุดท้ายภายใต้ระบบกษัตริย์ของรัสเซีย เป็นช่วงเวลาก่อนที่จะเกิดวิกฤตขึ้นในประเทศ และสงครามโลกก็อยู่ไม่ช้านานนัก การเลือกตั้งจัดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 1912 ระหว่างกันยายน ถึงตุลาคม  รัฐบาลในขณะนั้นนำโดยนายกรัฐมนตรีโกกอฟวิท(В.Н.Коковцев) หลังการถูกฆาตกรรมของนายกรัฐมนตรีสโตไลปิน ในปี 1911รัฐสภานีมีการเปิดสมัยประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง ประธานสภาในสมัยนี้คือ อีกาเธอริโนสลาฟ (Ekaterinoslav) ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่ และรอดเซียนโก ( MV Rodzianko) จากพรรคออคโต้ โดยภาพรวมแล้วเสียงส่วนใหย่ในสภากว่า 70% เป็นของกลุ่มคนชั้นสูง นายทุนเจ้าของที่ดิน


สภาไม่สามารถทำงานได้เต็มที่เนื่องจากสภาพปัญหาเวลานั้น พอเดือนสิงหาคม 1914 สงครามโลก ครั้งที่  1 ก็เริ่มต้น กองทหารรัสเซียฝ่ายแพ้นำมาซึ่งความขัดแย้ง รัฐบาลต้องการให้สภาอนุมัติให้กู้เงินเพื่อใช้ในสงคราม แต่ว่าไม่ทันที่จะส่งเข้าการประชุมในวันที่ 13 กันยายน 1915 เนื่องจากติดวันหยุด และสภาก็ปิดสมัยประชุม ก็เลยต้องรอจนถึง เดือนกุมภาพันธ์ 1916 แต่สภาดูม่าใช้เวลาในการพิจารณานานมาก จน 16 ธันวาคม 1916 รัฐสภาก็ปิดสมัยประชุมอีก และมาเปิดใหม่ตอน 14 กุมภาพันธ์ 1917 ซึ่งในคืนนั้นมีการปฏิวัติ จับตัวพระเจ้าซาร์ นิโคลัส ที่ 2  บังคับให้สละราชสมบัติ สภาถูกยุบลงในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ สมาชิกสภาดูม่า ยังคงทำกิจกรรมนัดพบกัน และสภาดูม่าเปลี่ยนบทบาทตัวเองมาเป็นผู้นำในการตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล  มีความพยายามปฏิวัติอีกสองครั้งก่อนการปฏิวัติเดือนตุลาคมและตอน 6 ตุลาคม 1917 รัฐบาลเฉพาะกาลได้ออกคำสั่งให้ยุบสภาดูม่าลง


ตารางสุดท้ายใช้ข้อมูลจาก ru.wikipedia จำนวนที่นั่งในสภาดูม่าของแต่ละพรรค จากแต่ละแห่งไม่ค่อยจะเท่ากัน เนื่องจากสมัยประชุมสภาแต่ละครั้ง (seession) มีการคัดเลือกสมาชิกกันใหม่ และการจัดกลุ่มว่าใตรอยู่ฝ่ายไหน

Reference

http://encyclopaedia.biga.ru/enc/history/GOSUDARSTVENNAYA_DUMA_ROSSISKO_IMPERII.htmlhttp://ru.wikipedia.org/wiki/Государственная_дума_Российской_империиhttp://en.wikipedia.org/wiki/State_Duma_of_the_Russian_Empirehttp://www.duma.gov.ru/index.jsp?t=history/history.html

 

Don`t copy text!