Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

1812 : Crossing the Berezina

Crossing the Berezina

Tags: Russia, World, History, War of 1812, Culture Lyubov Tsarevskaya 21.12.2010, 16:10 The winter of 1812 came early and was extremely cold. Frost-bitten and famine-stricken, exhausted by rearguard clashes and partisan raids, Napoleon’s Grande Armee was shrinking rapidly. The emperor led his troops to Smolensk, where he hoped to find food and shelter, but there was no food and no warm quarters in the war-ravaged city. Besides, he got a letter from Paris informing him of a failed conspiracy, which alarmed him profoundly and strengthened his determination to return home. Still worse, he learnt that the Russian army commanded by General Chichagov, on its way back from Turkey, was moving towards the river Berezina to cut off Napoleon’s retreat. It was too dangerous to stay in Smolensk: Napoleon had to cross the Berizina before the Russians came or face surrender. Meanwhile, the frost was getting harder. As the French were pulling out of Smolensk, some soldiers, too weak to walk, fell down and, unable to get up, froze to death. The road was covered with frozen corpses. Napoleon had 100 thousand men when he left Moscow, and only 36 thousand when he left Smolensk. Things took a dire turn when, having approached the town of Borisov that accounted for the only bridge across the Berezina, Napoleon learned that it had been taken by the Russians. His officers were dismayed. Napoleon decided to cross north of Borisov where a ford was found. He managed to deceive Chichagov, pretending he would cross near Borisov. In the meantime, French sappers, standing waist-deep in icy water, were building two pontoon bridges. The crossing began on November 26, and continued into the following day and night. Hardly a half of regular army units had crossed the Berezina when crowds of people and carts with foreign refugees, who had dropped behind, started flowing in. Napoleon ordered to ferry the troops first and then, if there was time, let the others cross, and if not – burn the bridges. Deliberately or not, the Russian army came too late when the crossing was already over. The French then headed for Vilno where they ransacked local shops and warehouses, hurrying to stuff their stomachs with food and warm themselves up before being driven out. Soon the remainder of the French army, pursued by Russians, crossed the ice-bound Niemen. Of the 420 thousand troops at the start of the invasion and 150 thousand reinforcements brought in from Europe later, less than 30 thousand were left. Читать далее Source: Voice of Russia.


ฤดูหนาวปี 1812 มาเร็วกว่าปกติและมันก็หนาวยะเยือก ทั้งความเจ็บปวดจากน้ำแข็งกัดและความอดอยาก ทำให้ทัพหลวงของนโปเลียนเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว จักรพรรดิทรงนำทัพมุ่งหน้าไปยังสโมเลนส์ก (Smolensk) เพื่อหวังจะได้อาหารและที่กำบัง แต่ที่นั้นกลับไม่เหลืออะไรให้เลย อาหาร หรือที่กำบังลมหนาวสักนิด ล้วนถูกส่งครามทำเสียหายไปหมดแล้ว นอกจากนั้นนโปเลียนยังได้รับข่าวจากปารีส ซึ่งอาจจะมีความพยายามกำจัดเขา ทำให้เขามุ่งมั่นท่จะรีบกลับประเทศโดยเร็ว แต่สถานะการณ์ก็เลวร้ายไม่สิ้นสุด กองทัพรัสเซียภายใต้การนำของนายพลชิชากอฟ (Gernaral Chichagov) กำลังมุ่งหน้ากลับมาจากตุรกี เพื่อไปยังแม่น้ำเบริซินา (Berizina river) เพื่อหวังจะตัดทางหนีของนโปเลียน ตอนนั้นมันอันตรายมากที่นโปเลียนจะค้างแรมที่สโมเลนส์ก ต่อไป เขาต้องเร่งที่จะข้ามแม่น้ำเบริซิน่าให้ได้ก่อนมิเช่นนั้นคงต้องยอมรับกับความฝ่ายแพ้

ขณะเดียวกับ น้ำแข็งสร้างอุปสรรคให้ยากขึ้น ขณะที่กำลังพยายามจะออกจากสโมเลนส์ก ทหารบางนายที่เหนื่อยอ่อนจนไม่อาจจะก้าวเท้า และล้มลงก็จะถูกจับกลายเป็นศพใต้กองหิมะ ถนนตลอดเส้นทางถูกปกคลุมไปด้วยซากศพที่แข็งทื่อ นโปเลียนมีทหารเหลืออยู่ราว 1 แสนคนตอนที่เขาออกจากมอสโคว์มา แต่ตอนที่เขาผ่านสโมเลนส์กไปนั้นเขาเหลือทหารเพียงสามหมื่นหกพันคน และความสะพรึงสะพรือยังค่อยๆ ถูกคลี่ออกมาเมื่อเหล่าทหารไปถังเมื่องโบริสอฟ (Borisov) ซึ่งเป็นจุดเดียวที่มีสะพานข้ามแม่น้ำเบริซินา กองทัพรัสเซียตอนนั้นได้ยึดเมืองนั้นเอาไว้แล้ว ทำให้ทหารปารีสรู้สึกหมดหวัง นโปเลียนจึงตัดสินใจให้ทหารขึ้นไปตอนเหนือของแม่น้ำ และข้ามแม่น้ำตรงจุดที่ผิวน้ำจับตัวเป็นน้ำแข็งแทน เขาวางแผนหลอกนายพลชิชากอฟ โดยลวงว่าเขาจะบุกข้ามแม่น้ำใกล้เมืองโบริสอฟ แต่ก็แอบสั่งให้ทหารไปสร้างสะพานข้ามแม่น้ำชั่วคราวขึ้น  และแล้วการข้ามแม่น้ำก็เริ่มต้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยใช้เวลาทั้งตอนกลางวันและกลางคืน โดยกองทหารครึ่งหนึ่งตามไปก่อน จากนั้นจึงตามมาด้วยตัวประกันและขบวนเกวียน โดยนโปเลียนตั้งใจว่าจะให้ทหารข้ามไปก่อน และถ้าเวลายังเพียงพอก็จะให้ที่เหลือตามไปแต่ว่าถ้าเกิดจวนตัวขึ้นมา ก็จะสามารถสั่งให้ทำลายสะพานทิ้งซะ ฝ่ายรัสเซียกว่าจะรู้ตัวก็ช้าไปมากแล้ว เพราะเมื่อทหารรัสเซียมาถึงกองทัพนโปเลียนก็สามารถข้ามแม่น้ำได้หมดแล้ว ฝรั่งเศสมุ่งหน้าไปยังเมืองวิลโน (Vilno) ซึ่งที่นี่พวกเข้าสามารถปล้นสดมถ์ ได้อาหารเพียงพอก่อนที่จะต้องตายเพราะความหิว และไม่นานกองทัพฝรั่งเศสที่ถูกฝ่ายรัสเซียไล่ล่า ก็สามารถข้ามทุ่งน้ำแข็งไนเมน (Niemen) หนีไปได้  จากตอนเริ่มต้นที่นโปเลียนมาพร้อมทหารกว่า 420,000 คน ในตอนที่เริ่มการรุกราน โดย 150,000 คนเป็นทหารรับจ้างที่ซื้อตัวมาจากทั่วยุโรป แต่สุดท้่ายมีเพียง 30,000 คนที่เหลือรอดกลับไป
หนึ่งอาทิตย์ก่อนที่นโปเลียนจะข้ามไนเมนไป นโปเลียนได้มอบอำนาจการบังคับบัญชาให้กับจอมพลมุรัต (Marshal Murat) และเร่งหนีกลับไปยังปารีส โดยต้องการที่จะสร้างกองทัพขึ้นมาใหม่ เขาตระหนักดีว่าการฝ่ายแพ้ต่อรัสเซียย่อมปลุกให้ทั่วทั้งยุโรปลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจของเขา โดยเยอรมัน เฉพาะชาวรัสเซียที่นั่นเป็นกลุ่มที่เขาหวาดระแวงมากที่สุด นายพลอมาน เกอ คัวเลนคอร์ท (General Armand de Caulaincourt)  ซึ่งร่วมเดินทางกลับปารีสพร้อมกับนโปเลียน กล่าวถึงประโยคของนโปเลียนว่า “ฉันเดินทางออกจากปารีสด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจจะหยุดแค่โปแลนด์ แต่ว่าเหตุการณ์พาให้ฉันเองถล่ำก้าวต่อไป บางที่มันเป็นความผิดผลาดที่เราเดินทางกันไปไกลแสนไกล ไกลเกินไปจนไปถึงมอสโคว์ ที่ซึ่งฉันไม่ได้คิดว่าจะอยู่ที่นั้นนานนัก แต่คุณรู้ไหม มันเป็นเพียงก้าวหนึ่งที่เปลี่ยนจากความยิ่งใหญ่ให้กลายเป็นเสียงเย้ยหยัน และคนที่จะตัดสินใจว่าถูกหรือไม่คือคนรุ่นหลัง”
สำหรับนโปเลียนแล้วเขาอาจจะคิดว่ามันเป็นแค่เกมที่เขาเล่นแพ้ ไม่มีอะไรมากกว่านัั้น และเร่ิมแคมเปญใหม่ที่จะป้องกันการล่มสลายของจักรวรรดิ
แต่ว่าเขาไม่รู้เลยหรือว่าดวงดาวของเขามันมืดดับลงแล้ว 


 

Don`t copy text!