Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Tag: Soviet

  • Afghan War (1979-1989)

    Soviet in Afghan War  1969 กลุ่มมุสลิมหัวรุ่นแรง ประกาศว่าต้องการที่จะสร้างอัฟกานิสถานให้เป็นรัฐอิสลามอย่างแท้จริง ปากีสถานในสมัยของประธานาธิบดีซัลฟิการ์ บุตโต (Zulfikar Ali Bhutto) ก็ได้ให้ความช่วยเหลือในการก่อตั้งกลุ่ม Jamayat-E-Islami  โดยมีอาจารย์นักศึกษาของมหาวิทยาลัยคาบูล (Kabul University) อย่าง กุลบุดดิน เฮ็กมัตยาร์ (Gulbuddin Hekmatyar), เบอร์ฮานุดดิน รับบานี (Burhanuddin Rabbani) , อับดุล เซย์ยาฟ ( Abdul Sayyaf) เป็นแกนนำ 1973 17 กรกฏาคม, อดีตนายกรัฐมนตรีโมฮัมเหม็ด เดาอุ๊ด (Mohammed Daoud) ของอัฟกานิสถาน ก่อการปฏิวัติ โค่นล้มการปกครองของกษัตริย์โมฮัมเหม็ด ซาไฮร์ (King Mohammed Zahir)  , อัฟกานิสถานจึงกลายสถานะเป็นสาธารณรัฐ  ประธานาธิบดีเดาอุ๊ด นั้นปกครองบ้านเมืองแบบเผด็จการ เขาพยายามจะทำการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศขนานใหญ่ แต่ว่าจบลงด้วยความล้มเหลว ขณะเดียวกันพรรคการเมืองนิยมลัทธิมาร์กซ PDPA…

  • Stanislav Voronin

    สตานิสลาฟ โวโรนิน (Станислав Николаевич Воронин) โวโรนิน เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 1930 ในเมืองยาโลสลาฟ (Yaroslavl)  1954 สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการต่อเรือเลนินกราด (Leningrad Shipbuiding Institute) ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล หลังจากนั้นได้เข้าทำงานในศูนย์วิจัยฟิสิก (All-Russian Research Institute of Experimental Physics, VNIIEF หรือ Arzamas-16) ในเมืองซารอฟ, เขตนิชนี นอฟโกรอด (Sarov, Nizhny Novgorod)  เขาร่วมในโครงการพัฒนาจรวด R-7 ขีปนาวุธข้ามทวีป รุ่นแรกของสหภาพโซเวียตที่สามารถยิงไปได้ไกลถึงสหรัฐฯ  1960 ได้รับรางวัล Lenin Prize จากโครงการจรวด R-7 หลังจากโครงการ R-7 แล้ว โวโรนินได้มีส่วนในการพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์ และอาวุธหลายชนิดอย่างโครงการพัฒนาตอร์ปิโด T-5 และ ASBZO , มิสไซด์ K-10,X-22,P-5,P-6,P-20, …

  • Svetlana Alexeivich

    สเว็ตลาน่า อเล็กซีวิช (Сьвятлана Алексіевіч) โนเบลวรรณกรรม 2015 เธอเกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 1948 ในเมืองอิวาโน่-ฟรานกอฟส์ก (Ivano-Frankovsk) ตะวันตกของยูเครน, สหภาพโซเวียต พ่อของเธอเป็นชาวเบลารุส ส่วนแม่เป็นชาวยูเครน  หลังจากพ่อของเธอออกจากกองทัพแล้ว ครอบครัวได้ย้ายกลับมาอยู่ในเบลารุส ซึ่งพ่อและแม่ของเธอได้ทำงานเป็นครูอยู่ที่นี่  1965 หลังจากเรียนหนังสือจบมัธยมปลาย เธอเริ่มทำงานเป็นครูสอนวิชาประวัติศาสตร์และภาษาเยอรมัน  1966 ทำงานเป็นนักข่าวให้กับหนึ่งสือพิมพ์ท้องถิ่นในเมืองนาโรฟล์ (Narovl, Gomel Region) 1967 เข้าเรียนสาขาสื่อสารมวลชลที่มหาวิทยาลัยเบลารุส (Belarussian State University) 1972 หลังจากเรียนจบได้ไปทำงานอยู่ในเมืองเบเรซ่า (Beresa, Brest Region) ใกล้กับโปแลนด์ ซึ่งเธอทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น แต่ขณะเดียวกันก็สอนหนังสือให้เด็กๆ ที่โรงเรียนในเมืองด้วย  ต่อมาเธอกลับมาอยู่ที่มินส์ก (Minsk) ทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ Sel’skaja Gazeta 1976 ทำงานให้กับหนังสือแม็กกาซีนวรรณกรรม Neman 1983 เธอเขียนหนังสือเรื่อง The Unwomanly Face of…

  • Valentine Glushko

    วาเลนติน กลุชโก้ (Валентин Петрович Глушко) กลุ๊ชโก้ เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1908 (20 สิงหาคม O.S.) เกิดในโอเดสสา, ยูเครน, จักรวรรดิรัสเซีย (Odessa, Russia Empire)  1919 เข้าเรียนที่โรงเรียนเทคนิคโอเดสสา (Odessa trade school) ระหว่างที่เรียนหนังสืออยู่นี้เขาได้อ่านหนังสือของจูน เวิร์ล (Jules Verne) เรื่อง From Guns to the Moon และ Around  the Moon จึงทำให้เขาสนใจจะทำงานด้านนี้ และเขายังได้แรงบันดาลใจจากงานเขียนของคอนสแตนติน ไซคอฟสกี (Konstantin Tsiolkovsky) จนกระทั้งตั้งชมรมขึ้นมราเพื่อศึกษางานของไชคอฟสกีโดยเฉพาะ 1923 กลุซโก้เขียนจดหมายถึงไซคอฟสกี ซึ่งต่อมาไซคอฟสกีเขียนตอบ โดยจดหมายส่งเสริมให้เขามีความมุ่งมั่นที่จะทำงานบุกเบิกอวกาศมากขึ้นไปอีก 1924 หลังจากเรียนจบได้เข้าทำงานในโรงงานผลิตอุปกรณ์ไฮโดรลิค เขามีผลงานเขียน เรื่อง The Issues of…

  • Andrei Gromyko

    แอนเดรย โกรมีโก้ (Андрей Андреевич Громыко) รัฐมนตรีต่างประเทศโซเวียต 1957-1985 โกรมีโก้ เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม  1909 (5 กรกฏาคม OS) ในหมู่บ้านสตาเรียโกรมีกิ  (Starrya Gramyki) ในเบลารุส, จักรวรรดิรัสเซีย  ตามธรรมเนียมของคนในหมู่บ้านที่มักจะใช้ชื่อนามสกุลที่สัมพันธ์กับชื่อหมู่บ้าน จึงเป็นที่มาของชื่อสกุลโกรมีโก้ ตามชื่อหมู่บ้าน ครอบครัวมีฐานะยากจน พ่อของชื่อแอนเดรย (Angrei Matveyevich) ทำงานรับจ้างตามโรงงาน แต่เคยออกรบในช่วงสงครามระหว่างรัสเซียและญี่ปุ่น (Russia-Japanese war, 1904) ส่วนแม่ชื่อโอลก้า (Olga Javgenyevna) เป็นเกษตรกร  1914 เมื่อเยอรมันโจมตีรัสเซียในสงครามโลก ครั้งที่ 1 พ่อของเขาออกไปรบอีกครั้งหนึ่ง และได้กลับบ้านเมื่อเกิดการปฏิวัติและรัสเซียถอนตัวออกจากสงคราม 1917 เมื่อเกิดการปฏิวัติตุลาคมไม่นาน เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของยุวคอมมิวนิสต์  โกมิโก้เรียนหนังสือระดับประถมที่โรงเรียนเมืองโกเมล (Gomel)  และต่อย้ายมาเรียนในโรงเรียนเทคนิคที่เมืองโบริสอฟ (Borisov)  เมืองอุตสาหกรรมในเบลารุสเวลานั้น 1933 ย้ายมาอยู่ในมินส์ก (Minsk) และเข้าศึกษาต่อคณะเศรษฐศาสตร์การเกษตร ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งมินส์…

  • Pyoter Wrangel

    ปีเตอร์ แวงเจล (Пётр Николаевич Врангель) หนึ่งในผู้นำกองทัพขาว แวงเจล เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 1878 ในเมืองมุกุไลอี, เขตกอฟโน่ (Mukuliai, Kovno Governorate)  ในจักรวรรดิรัสเซีย ปัจจุบันเป็นเมืองซาราไซ (Zarazai) ประเทศแลตเวีย พ่อของแวงเจล ชื่อ นิโคไลย์ (Nikolay Egorovich) เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ครอบครัวของเขาเป็นเจ้าของเหมืองทองคำ ตระกูลของเขามีเชื้อสายเยอรมันบอลติค เป็นตระกูลเก่าแก่ที่มักทำงานในในกองทัพต่างๆ ของยุโรป แวงเจล เป็นญาติห่างๆ กับเฟอร์ดินัน แวงเจล (Ferdiannd von Wrangel) นักเดินเรือสำรวจทวีปอาร์คติก 1896 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทคนิครอสตอฟ (Rostov Technical High School) และเข้าเรียนต่อที่สถาบันวิศวกรรมเหมืองแร่ (Institute of Mining Engieering) ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 1901 จบวิศวกรรม และได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนทหารนิโคไล (Nikolaev Cavalry…

  • Sergei Tumansky

    เซอร์เกย์ ตุแมนสกี้ (Сургей Константинович Туманский)  OKB-300 (Tumansky Design Bureau)  เซอร์เกย์ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 1901 (8 พฤษภาคม OS) ในกรุงมินส์ก (Minsk) ส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียในขณะนั้น  1922 จบด้านเครื่องกลจากโรงเรียนเทคนิคทางทหารของกองทัพอากาศในกรุงเปโตรกราด (Petrograd military-technical school) 1931 จบจากสถาบันการบินซูคอฟสกี (Zhukovsky Air Force Engineering Academy) หลังจากนั้นได้เข้าทำงานที่สถาบันวิจัยเครื่องยนต์อากาศยาน CIAM (www.ciam.ru) ช่วงปี 30s มีผลงานการออกแบบเครื่องยนต์อย่าง Tumansky M-87 ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็น M-88 ให้สามารถทำงานได้ในความสูงที่มากขึ้น ซึ่งนำไปใช้กับเครื่องบินอิล-4 (Ilyushin il-4) เครื่องบินทิ้งระเบิดของโซเวียตในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2  1941 เป็นผู้อำนวยการของสถาบันวิจัยการบิน LII (www.lii.ru) ในช่วงเวลานี้มีผลงานการสร้างเครื่องยนต์ R11-300…

  • Wolf Messing

    วูล์ฟ เมสซิ่ง (Вольф Григорьевич Мессинг) เมสซิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 1899 ในหมู่บ้านโกรา กัลวาเรีย (Gora Galwaria) ทางตะวันออกของกรุงวอร์ซอว์, โปแลนด์ ซึ่งในขณะนั้นเมืองดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย  ครอบครัวของเขามีเชื้อสายยิว พ่อแม่ของเขาต้องการให้เขาเป็นครูสอนศาสนา แต่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาได้ตัดสินใจขึ้นรถไฟหนีออกจากบ้าน โดยมุ่งหน้าไปยังเบอร์ลิน แต่ว่าเขาไม่มีเงินที่จะซื้อตั๋วรถไฟ เมื่อนายตรวจเดินมาเขาก็พยายามจะหลบอยู่ใต้เก้าอี้นั่ง แต่เขาก็ยังถูกจับได้อยู่ดี เมสซิ่งจึงได้ส่งเศษกระดาษหนังสือพิมพ์ให้นายตรวจแทน ปรากฏว่านายตรวจต่อว่าเขาว่า “ในเมื่อมีตั๋วอยู่แล้ว จะหลบทำไม” นั่นทำให้เมสซิ่งรู้ว่าเขามีพลังพิเศษบางอย่างเป็นครั้งแรก เมื่อมาอยู่ในเบอร์ลินเขาทำงานรับจ้างจิปาทะเพื่อประทังชีวิต จนกระทั้งเมื่อได้งานในคณะละครสัตว์โดยเขาทำการแสดงเป็นผู้วิเศษที่มีอำนาจในการอ่านจิต ทำนายอนาคต  เมสซิ่งอ้างว่าได้มีโอกาสพบกับไอสไตน์ (Alber Einstein) และฟรอย์ด (Sigmund Freud) ระหว่างที่พวกเขาอยู่ในเวียนนา  นอกจากนั้นยังเคยพบกับคานธี (Mahatma Gandhi) ด้วย ช่วงปี 1930s เมื่อฮิตเลอร์มีอำนาจในเยอรมัน เมสซิ่งจึงได้เดินทางกลับโปแลนด์ เมสซิ่งได้ทำนายเกี่ยวกับฮิตเลอร์เอาไว้ว่า “ถ้าเขาทำสงครามกับตะวันออก ฮิตเลอร์จะต้องตาย” ซึ่งคำทำนายนี้ทำให้เมสซิ่งถูกนาซีตั้งค่าหัวเป็นเงิน 200,000 มาร์ก จนเมื่อนาซียึดโปแลนด์แล้ว เมสซิ่งได้ถูกเกสตาโปจับกุมตัว…

  • Rudolf Abel

    รูดอล์ฟ เอเบล (Rudolf Abel, Рудолья Иванович Абель)     สายลับ เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 1903 ใน อังกฤษ (Newcastle-upon-Tyne) ชื่อจริงคือ วิลเลี่ยม ฟิชเชอร์ (William Genrikhovich Fisher, Вильям Генрихович Фишер) พ่อของเขาชื่อเฮนริช (Heinrich Fisher) ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์เชื้อสายเยอรมันจากรัสเซีย เฮนริชเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติต่อต้านซาร์ จนต้องหนีออกจากรัสเซียมาอยู่ในอังกฤษตั้งแต่ปี 1901 เขาเริ่มเรียนหนังสือในสก๊อตแลนด์ โดยสามารถพูดได้ถึงหกภาษา ได้แก่ รัสเซีย, ยิดดิช, เยอรมัน, โปแลนด์, อังกฤษ  1920 ครอบครัวของเขาย้ายกลับมาอยู่ในสหภาพโซเวียต เขาเริ่มทำงานเป็นพนักงานแปลให้กับองค์การโคมินเทิร์น ก่อนที่ต่อมาจะสมัครเข้าเรียนในสถาบันศิลปะมอสโคว์ (VHUTEMAS) 1924 สมัครเข้าเป็นทหารเกณฑ์ และถูกส่งไปอยู่ในหน่วยงานเกี่ยวกับวิทยุ 1927 7 เมษายน, แต่งานกับเยเลน่า เลเบเดว่า (Elena…

  • Viktor Belenko

    วิคเตอร์ เบเลนโก้ (Виктор Иванович Беленко) นักบินโซเวียต นำเครื่อง MiG-25 หนีไปญี่ปุ่น เขาเกิดในครอบครัวของชนชั้นแรงงานในเมืองนาลชิก (Nalchik) เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1947  1965 สำเร็จชั่นมัธยมโดยมีผลการเรียนดี และได้รับรางวัลเหรียญเงิน หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนแพทย์เมืองโอมส์ก (Omsk medical school) ซึ่งระหว่างเรียนได้สมัครเข้าชมรมการบิน DOSAAF 1967 เข้าเรียนที่โรงเรียนการบินทหารในเมืองอาร์มาเวียร์ (Armavir Higher Military Aviation School) 1971 สำเร็จการศึกษา และได้เข้าเป็นครูฝึกนักบินที่โรงเรียนการบินในสตาฟโรโพล (Stavropol Higher Military Aviation School) ต่อมาได้ถูกส่งให้มาประจำการในฐานทัพอากาศ กองบิน 11 ใกล้กับเมืองวลาดิวอสต๊อก   1976 วันจันทร์ 6 กันยายน, เบเลนโก้ นำเครื่องบิน MiG-25 หมายเลข  31 ออกจากสนามชินชุเกียฟก้า (Chuguevka airport) ไปยังฮอคไกโด และลงจอดที่สนามบินคาโคดาเตะ…

  • Viktor Belenko

    วิคเตอร์ เบเลนโก้ (Виктор Иванович Беленко) นักบินโซเวียต นำเครื่อง MiG-25 หนีไปญี่ปุ่น เขาเกิดในครอบครัวของชนชั้นแรงงานในเมืองนาลชิก (Nalchik) เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1947  1965 สำเร็จชั่นมัธยมโดยมีผลการเรียนดี และได้รับรางวัลเหรียญเงิน หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนแพทย์เมืองโอมส์ก (Omsk medical school) ซึ่งระหว่างเรียนได้สมัครเข้าชมรมการบิน DOSAAF 1967 เข้าเรียนที่โรงเรียนการบินทหารในเมืองอาร์มาเวียร์ (Armavir Higher Military Aviation School) 1971 สำเร็จการศึกษา และได้เข้าเป็นครูฝึกนักบินที่โรงเรียนการบินในสตาฟโรโพล (Stavropol Higher Military Aviation School) ต่อมาได้ถูกส่งให้มาประจำการในฐานทัพอากาศ กองบิน 11 ใกล้กับเมืองวลาดิวอสต๊อก   1976 วันจันทร์ 6 กันยายน, เบเลนโก้ นำเครื่องบิน MiG-25 หมายเลข  31 ออกจากสนามชินชุเกียฟก้า (Chuguevka airport) ไปยังฮอคไกโด และลงจอดที่สนามบินคาโคดาเตะ…

  • Fanni Kaplan

    แฟนนิ คาแปลน (Фанни Ефимовна Каплан) ผู้พยายามสังหารเลนิน เธอเกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1890 โดยมีชื่อจริงว่าไฟก้า (Feiga Haimovna Roytblat, Фейга Хаимовна Ройтблат-Каплан) ครอบครัวของเธอเป็นเกษตรกรที่ยากจนในยูเครน  เมื่อตอนเป็นวัยรุ่นคาแปลนได้ร่วมกลุ่มกับผู้มีแนวคิดปฏิวัติ  1906 ระหว่างอยู่ในเคียฟ เธอถูกจับในข้อหาก่อการร้าย เธอพยายามจะสังหารนายพลสุโคมลินอฟ (Kiev Governor-General Sukhomlinov) ผู้ว่าของเคียฟ  เธอถูกตัดสินให้ไปใช้แรงงานในค่ายแรงงานที่เมืองกาตอร์ก้า (Katorga) ไซบีเรีย ซึ่งระหว่างอยู่ในค่ายแรงงานนี้เธอสูญเสียการมองเห็นจนเกือบจะตาบอด 1917 3 มีนาคม​, ได้รับการปล่อยตัวหลังการปฏิวัติกุมภาพันธ์  หลังจากนั้นเธอได้รับการผ่าตัดรักษาดวงตา ทำให้กลับมามองเห็นได้ดีขึ้นแม้จะไม่เป็นปกติ  30 สิงหาคม, เลนิน (Vladimir Lenin) เดินทางไปปราศรัยที่โรงงานมิเชลสัน (Michelson Factory) ในมอสโคว์ ซึ่งเมื่อเลนินกำลังจะกลับ เขาเดินมาที่รถ และได้ยินเสียงคาแปลนเรียก เมื่อเลนินหันมา เธอก็ยิงปืนใส่ที่ตัวเลนิน 3 นัด โดยปืนเบรานิ่ง (Browning, no.150489) โดยกระสุนสองนัดเข้าที่คอและไหล่…

Don`t copy text!