Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Alexandre Saint-Yves d’Alveydre

https://www.youtube.com/watch?v=VBkboRPe_ZE

อเล็กซานเดอร์ เซงดีส ดิเอลเวย์เดอ (Alexandre Saint-Yves d’Alveydre)

Synarchism

เซงดีส เกิดวันที่ 26 มีนาคม 1842 ในปารีส, ฝรั่งเศส พ่อของเขาเป็นจิตแพทย์ชื่อกิโยม (Guillaume-Alexandre Saint-Yves) เซงดีสเป็นลูกคนโตในพี่น้องทั้งหมดสามคน 

1863 ย้ายมาอยู่ในเจอร์ซีย์ และได้รู้จักกับวิคเตอร์ ฮูโก้ (Victor Hugo) 

1870 กลับมายังฝรั่งเศส และได้ร่วมรบในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (Franco-Prussian War, 1870-1871) 

หลังจากสงครามยุติ เซงดีส ก็ได้เข้าทำงานราชการในกระทรวงมหาดไทย

1877 6 กันยายน, แต่งงานกับเคาน์เตสแมรี่ (Countess Marie Victorie de Riznitch-Keller) ซึ่งการแต่งงานนี้ทำให้เซงดีสราวกับหนูตกถังข้าวสาร ทำให้เขาสามารถที่จะทุ่มเทเวลาไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องราวลึกลับ เหนือธรรมชาติ ตามความสนใจของเขาได้อย่างเต็มที

ตีพิมพ์ผลงานบทกวี ในชื่อ “Lyrical Testament” 

1879 เขียน “De l’utilité des algues marines” ซึ่งเซงดีสอธิบายการศึกษาและการสร้างโรงงานสำหรับผลิตสาหร่ายทะเลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ แต่ว่าตัวเขาเองขาดเงินทุนที่จะสร้างโรงงานขึ้นมา

1880 ได้รับยศเป็นมาร์กีสแห่งอัลเวย์ดี (Marquis of Alveydre)

1884 ตีพิมพ์ “Mission des Juifs” และไม่นานหลังจากหนังสือพิมพ์ออกมา เซงดีสก็ได้สนใจเรียนภาษาสันสฤต เพื่อที่จะได้อ่านเอกสารโบราณ

พิมพ์ “La France vraie” ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เขาได้อธิบายคำศัพท์ “Synarchy/ ไซนาร์คี” ซึ่งเขาอธิบายว่ามันหมายถึงรัฐบาลในอุดมคติ และยังเป็นคำที่ตรงข้ามกับอนาธิปไตย (anarychy) ซึ่งเป็นกระแสที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงเวลานรั้น เซงดีสมองว่าความร่วมมือกันระหว่างชนชั้นนั้นสำคัญกว่าความขัดแย้งระหว่างกัน โดยการปกครองแบบไซนาร์คีตามแนวคิดของเซงดีสมีการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ส่วน หรือ 3 สภา คือ สภาเศรษฐกิจ, สภานิติบัญญัติ, และวิทยาศาสตร์

เข้าเป็นสมาชิกสมาคมลับโรสิครูเซียน (Rosicrucian) และฟรีเมสัน (Freemason)

1885 เซงดีสได้พบกับอาร์ดจิจ ชาริฟ (Hardjij Charipf)  ซึ่งซารีฟ นั้นเป็นชาวอินเดียว เกิดในปี 1838 แต่ว่าต้องออกจากอินเดียช่วงการประท้วงที่เปปอย (Sepoys Revolt) มาอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสโดยทำอาชีพขายนกและสอนภาษา แต่ภูมิหลังของซารีฟก็คลุมเครือ บางข้อมูลบอกว่าเขาเป็นเจ้าชาย บ้างบอกว่าเป็นชาวอัฟกานิสถาน

ซาริฟ นั้นได้มาทำหน้าที่เป็นครูสอนภาษาสันสฤตให้กับเซงดีส  ซึ่งระหว่างที่เรียนนั้นทำให้เซงดีสได้รับรู้เรื่องราวของดินแดนศักดิ์สิทธิลึกลับที่ชื่อว่าอะการ์ธ่า (Agartha) 

1886 เขีย Mission de I’Inde en Europe ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของอาณาจักรอะการ์ธ่า ดินแดนลึกลับซึ่งเชื่อว่าอยู่ใต้พิภพ  มีอายุอยู่ในช่วง 3,200 ปีก่อนคริสต์กาล เซงดีสยังอ้างด้วยว่าอะการ์ธ่าเป็นต้นแบบการปกครองแบบไซนาร์คี

แต่ว่าเซงดีสไม่นานหลังหนังสือพิมพ์ออกมา เซงดีสได้ทำลาย Mission de l’Inde en Europe ไปด้วยตัวเอง เพราะเขากังวลว่าจะเป็นการเอาความลับของดินแดนลับมาเปิดเผยมากเกินไป จะทำให้อันตรายตกแก่เพื่อนจากดินแดนตะวันออกของเขาด้วย เซงดีสจึงได้เผาหนังสือที่เขาเก็บเอาไว้ลงเสีย แต่ว่าฉบับที่ถูกพิมพ์ออกมานั้นเป็นฉบับที่เจอราร์ด  เอนคอส (Gérard Encausse) เพื่อนของเขาซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งลัทธิมาร์ตินิสซึ่ม (Martinist Order)เก็บไว้แล้วพิมพ์ออกมาในปี 1910

1909 5 กุมภาพันธ์, เสียชีวิต

ผลงานเขียน

  • Thèse de Médecine , 1838.
  • Le Retour du Christ, 1874.
  • Les Clefs de l’Orient., 1877 
  • Testament lyrique, 1877
  • Le Mystère du Progrès, 1878.
  • De l’utilité des algues marines, 1879.
  • Mission des Souverains, 1882
  • Mission des Ouvriers, 1882
  • Mission des Juifs (Mission of the Jews) , 1884
  • Mission de l’Inde en Europe (Mission of India in Europe), 1886
  • Les Funérailles de Victor Hugo, 1885.
  • La France vraie ou la Mission des Français, 1887.
  • Vœux du syndicat de la Presse économique, 1887.
  • Les États-généraux du suffrage universel, 1888. 
  • Le Centenaire de 1789 – Sa conclusion, 1889.
  • L’Ordre économique dans l’Electorat et dans l’État, 1889.
  • Le Poème de la Reine, 1889.
  • Maternité royale et mariages royaux, 1889.
  • L’Empereur Alexandre III épopée russe, 1889.
  • Jeanne d’Arc victorieuse, 1890.
  • Théogonie des Patriarches., 1909
  • L’Archéomètre, 1910
Don`t copy text!