Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Willem Barentsz

วิลเลม บาเรนต์ซ (Willem Barentsz)

บาเรนต์ซ เกิดประมาณปี 1550 บนเกาะเตอร์สเซลลิ่ง (Terschelling, Seventeen Provinces) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ 

ต่อมาเขาได้เป็นลูกศิษย์ของเปตรัส แพลนเซียส (Petrus Plancius, Peter Platevoet)

1592 แจน แวน ลินเชต (Jan Huyghen van Linschoten of Enkhuizen) พ่อค้าชาวดัตซ์ ซึ่งเดินทางกลับจาก เกา (Goa) รัฐทางตะวันตของอินเดียปัจจุบัน พร้อมกับกองเรือของโปตุเกส ได้เขียนหนังสือ Itenerary (ภายหลังพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Discours of Voyages into Ye East & West Indies) ออกมา ซึ่งหนังสือมีชื่อเสียงมาก และทำให้ชาวยุโรปได้เห็นภาพของความเป็นอินเดียเป็นครั้งแรก 

Itenerary ทำให้กลุ่มของพ่อค้าดัตซ์ มีความสนใจที่จะสำรวจดินแดนตะวันออกของอินเดียมากขึ้น แต่ว่าก็รู้ตัวเองว่าไม่สามารถจะสู้กับอิทธิพลและกำลังทหารของโปตุเกส ซึ่งครอบครองอินเดียและเส้นทางเดินเรือจากแหลมกู๊ดโฮ๊ป (Cape of Good Hope) ได้  ทำให้ดัตซ์แสวงหาเส้นทางสายเหนือ (Northeast passage) ผ่านมหาสมุทร์อาร์กติก เพื่อที่จะเดินทางไปยังตะวันออก 

1594 5 มิถุนายน,(First voyage) บาเรนต์ซ ออกเดินทางสำรวจครั้งแรกจากอัมสเตอร์ดัม โดยใช้เรือสามลำ คือเรือ เมอร์คิวรี่ (Murcury)  , Burger Swan, Enkhuizener

23-29 มิถุนายน, แวะพักอยู่บนเกาะคิลดิน (Kildin Island) 

4 กรกฏาคม,  เดินทางไปจนถึงแหลมนาสซอ (Cape of Nassau) โนวาย่า เซมเลีย (Novaya Zemlya) 

ซึ่งการเดินทางสำรวจเส้นทางใหม่นี้แม้ว่าจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ

1595 2 มิถุนายน, (Second voyage) ออกเดินทางสำรวจครั้งที่ 2 โดยในครั้งนี้บาเรนต์ซได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากเจ้าชายมัวไรซ์ แห่ง ออเร็นจ์ (Prince Maurice of Oragne) และสภาของดัตซ์ เพราะความสำเร็จจากการเดินทางครั้งแรก

ในครั้งนี้ บาเรนต์ซโดยสารไปกับเรือ โกลเด้น วินธัน (Gulden Windthunde) และมีเรืออื่นอีกหกลำ โดยบรรทุกสินค้าเต็มลำเรือเพื่อหวังจะไปทำการค้ากับจีน

6 กันยายน, ลูกเรือสองคนถูกหมีขาวทำร้ายจนเสียชีวิต บนเกาะเวย์กาช (Vaygach Island) ในทะเลการ่า (Kara sea)

15 กันยายน, ตัดสินใจเดินทางกลับ เพราะทะเลการ่าปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งไม่สามารถเดินทางต่อไปได้

18 กันยายน, กลับมาถึงดัตซ์ การเดินทางครั้งที่ 2 ของบาเรนต์ซถือว่าล้มเหลว

1596 เพราะความล้มเหลวในการเดินทางครั้งที่ 2 ของบาเรนต์ซ ทำให้รัฐบาลดัตซ์ยกเลิกที่จะสนับสนุนเงินทุนให้กับคณะสำรวจใดก็ตามในลักษณะเดียวกันอีก แต่เปลี่ยนมาใช้วิธีจูงใจด้วยการให้รางวัลตอบแทนแก่ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการหาเส้นทางใหม่ได้

10 พฤษภาคม, (Third voyage) ออกเดินทางครั้งที่สาม ในการเดินเรือครั้งนี้บาเรนต์ซได้เรือเล็กๆ สองลำ ที่ควบคุมโดกัปตัน แจน ริจป์ (Jan Rijp) และกัปตันจาค็อป แวน ฮีมสเกิร์ก (Jacob van Heemskerk) ซึ่งบาเรนต์ซได้ขึ้นเรือลำเดียวกับกัปตันจาค๊อป

9 มิถุนายน, ค้นพบเกาะแบร์ (Bear Island)

17 มิถุนายน, ค้นพบเกาะสปิตสเบอร์เก้น (Spitsbergen)

25 มิถุนายน, ค้นพบฟยอร์ดแม็กดาเลน (Magdalenefjorden)  ซึ่งคณะสำรวจของบาเรนซ์ตั้งชื่อว่าอ่าวทัสก์ (Tusk Bay) เพราะว่าพวกเขาเจองาของวอลรัสระหว่างแล่นเรือเข้าไป

หลังจากค้นพบสปิตสเบอร์เก้น เรือสองลำก็แยกกัน โดยที่เรือของกัปตันแจน ริจป์ยังคงสำรวจเกาะสปิตสเบอร์เก้นต่อ ในขณะที่เรือของกัปตันจาค๊อปและบาเรนต์ซ ได้ข้ามทะเลบาเรนต์ซไปถึงโนวาย่า เซมเลีย ซึ่งพวกเขาได้แล่นผ่านจุดเหนือสุดของโนวาย่า เซมเลีย ซึ่งเรียกว่า Hook of Desire จากนั้นก็แล่นเรือต่อไปทางตะวันออก

พฤศจิกายน, เรือของบาเรนต์ซติดอยู่ในแผ่นน้ำแข็ง ที่ละติจูดที่ 81 ลูกเรือจึงช่วยกันสร้างที่กระท่อมขึ้นมาบนน้ำแข็งเพื่อหลบภัย โดยกระท่องมีขนาด 7.8*5.5 เมตร ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า Het Behouden Huys (The Saved House) 

1597 บาเรนต์ซและลุกเรือซึ่งติดอยู่ในน้ำแข็งนานหลายเดือน มีอากาศป่วยด้วยโรคลักปิดลักเปิด (scurvy) และพวกเขายังมีจิตใจที่เข้มแข็ง พวกเขาเรียกต้วเองว่าเป็น “burghers of Novoya Zemlya” และช่วยกันต่อเรือลำเล็กขึ้นมาใหม่สองลำ 

20 มิถุนายน, บาเรนต์ซเสียชีวิต ขณะที่ขอให้เกอร์ริต เดอ เวียร์ (Gerrit de Veer) ซึ่งทำหน้าที่บันทึกการเดินทาง ช่วยประคองเขาขึ้นนั่งเพื่อมองดูโนวาย่า เซมเลียเป็นครั้งสุดท้าย 

กัปตันจาค๊อปและลูกเรือที่เหลือ ได้เดินทางกลับออกมาจากโนวาย่า เซมเลีย จนไปถึงคาบสมุทรโคล่า (Kola peninsula) ก่อนที่จะได้รับการช่วยเหลือจากเรือของกัปตันริจป์ ซึ่งกัปตัดริจป์ได้กลับไปยังดัตซ์หลายเดือนแล้ว และเดินทางออกมาอีกครั้งเพื่อทำการค้า 

…. 

1853 ทะเลเมอร์มีน (Murmean sea) ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นทะเล บาเรนต์ซ (Barents sea) 

1871 ชาวนอร์เวย์ ชื่อเอลลิ่ง คาร์ลเซ่น (Carlsen) ซึ่งออกไปล่าแมวน้ำ ค้นพบกระท่อมที่บาเร็นตซ์ได้สร้างขึ้นเพื่อหลบภัยอีกครั้ง และได้สเก็ตภาพของกระท่อมและข้าวของเอาไว้

1875 17 สิหาคม, กัปตันกันเดอร์สัน (Gunderson) ได้ไปยังกระท่อมของบาเรนซ์ และนำเอาข้าวของเครื่องใช้บางส่วนกลับมา 

1876 29 กรกฏาคม, ชาร์ล การ์ดิเนอร์ (Charles L.W. Gardiner ) ไปยังกระท่อมของบาเรนต์ซอีกครั้ง และนำสิ่งของต่างๆ กว่า 112 รายการกลับมา พร้อมกับข้อความซึ่งเขียนโดยบาเรนต์ซ 

ซึ่งปัจจุบัน สิ่งของต่างๆ ถูกนำไปจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ริก ( Rijks museum) ในกรุงอัมสเตอร์ดัม

1876 The Three Voyages of William Barents ซึ่งเขียนโดย เกอร์ริต เดอ เวียร์ ได้ตีพิมพ์อออกมาโดยสมาคม Hakluyt Society 

หนังสือ (แนะนำ )

  • A History of Geographical Discovery in the Seventeenth and Eighteenth Centuries, Edward Heawood,1912
  • The Golden Book of the Dutch Navigators, Hendrik Willem van Loon, 1916
  • The Cradle of Colonialism, George Masselman, 1963
Don`t copy text!