Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Eratosthenes

อีราโตสเธเนส (Ερατοσθένης ο Κυρηναίος)

Sieve of Eratosthenes 

อีราโตสเธเนส เกิดราวปี 276 BC ในไซรีน (Cyrene) ดินแดนที่ก่อตั้งโดยกรีก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศลิเบีย แต่ขณะนั้นไซรีนเป็นส่วนหนึ่งของกรีก พ่อของเขาชื่ออะเกลออส (Aglaos)

เขาเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนในเมืองก่อนที่ต่อมาจะเดินทางไปยังเอเธนส์เพื่อศึกษาต่อ โดยได้มีโอกาสเข้าเรียนนักปราชญ์ที่ดีที่สุดของกรีกหลายท่านในเวลาอย่างนั้น เขาได้เรียนภาษาศาสตร์กับไลซาเนียส (Lysanias of Cyrene), ปรัชญาสโตอิค (Stoicism) กับซีโน่ (Zeno of Citium) และยังได้เรียนกับอาร์เซซิลาอุส (Arcesilaus of Pitane) และกับอริสโต้ (Aristo of Chios) 

ความสนใจในปรัชญาของเพลโต (Plato) ทำให้เขาเขียนหนังสือ Platonikos

อีราโตสเธเนส ได้เรียนการทำเครื่องปั้นดินเผากับ คัลลิมาชุส (Callimachus)

เขียน Chronographies 

เขียน Olympia victors ซึ่งรวบรวมประวัติของนักกีฬาที่ชนะที่การแข่งขันโอลิมปิก

Catasterisms ซึ่งเขียนเรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์  ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเดียวของเขาที่หลงเหลืออยู่จนปัจจุบัน

245 BC ได้รับการแต่งตั้งจากฟาโรห์ปโตเลมี ที่ 3 (Ptolemy III Euregetes) ตำแหน่งบรรณารักษ์ของห้องสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย (Library of Alexandria)  ซึ่งต่อมาเขาได้มีโอกาสเป็นครูสอนหนังสือให้กับโอรสธิดาของปโตเลมี ที่ 3 รวมถึงปโตเลมี ที่ 4 (Ptolemy IV Philopator) 

194 BC เสียชีวิตในอเล็กซาเตรีย ขณะอายุ 82 ปี ในขณะที่ช่วงบั่นปลายชีวิตของเขาต้องประสบกับอาการตาปอด ทำให้เขาฆ่าตัวตายด้วยการอดอาหาร

ผลงานสำคัญของอีราโตสเธเนส

1. sieve of Erathothenes เป็นวิธีการในการหาจำนวนเฉพาะ (prime numbers) ซึ่งอีราโตสเธเนสคิดค้นขึ้น ซึ่งวิธีนี้ยังมีความสำคัญอยู่ในคณิตศาสตร์

2. ราวปี 240 BC เขาคำนวณหาขนาดเส้นรอบวงของโลก ซึ่งคำนวณได้อย่างแม่นยำ (คลาดเคลื่อน ราว 1-17% จากขนาดของโลกที่ได้รับการยอมรับปัจจุบัน) ทำให้มีการยอมรับกันว่าโลกนั้นมีลักษณะเป็นทรงกลม 

โดยอีราโตสเธเนส วัดขนาดเส้นรอบวงของโลกได้จากองศาของแสงอาทิตย์ซึ่งเมื่อเอาอยู่ในเมืองไซรีนนั้นพระอาทิตย์ทำมุมตั้งฉากกับกำแพงพอดีในเวลากลางวัน แต่เมื่อเขาเดินทางมายังอเล็กซานเดรียแล้ว เขาพบว่าในช่วงเวลาเดียวกัน พระอาทิตย์กลับทำมุม 1/50 ของวงกลม (7.2 องศา) และเมืองอเล็กซานเตรียอยู่ห่างจากไซรีสไป 800 กิโลเมตร ทำให้เขาคำนวณระยะทางของเส้นรอบวงของโลกออกมาได้ 252,000 สเตเดีย (stadia) ซึ่งวิธีการคำนวณของอีราโตสเธเนสถูกบันทึกเอาไว้ในหนังสือ Meteora ของนักดาราศาสตร์กรีกชื่อ คลีโอเมเดส (Cleomedes) 

3. อีราโตสเธเนส ยังคำนวนความเอียงของแกนโลก ได้อย่างแม่นยำ

4. เขาประดิษฐ์แผนที่โลกขึ้นมาใช้ โดยมีการใช้ระบบ coordinations ที่คล้ายกับละติจูด (latitude)และลองจิจูด (longitude)

5. อีราโตสเธเนสได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ armillary sphere ขึ้นคนแรกของกรีกและโรมันโบราณ 

6. เป็นผู้บัญญัติคำว่า “geography” ขึ้นมา

7. Catasterismi (Καταστερισμοί) , “placeings amount the stars” เป็นบทกวีที่บรรยายเกี่ยวกับกำเนิดของดาวและหมู่ดาวเชื่อว่าเป็นผลงานหนึ่งของอีราโตสเธเนส

8. อีราโตสเธเนสยังเป็นผู้ประดิษฐ์ปฏิทินโดยมีการใช้ leap year (ปีอธิกสุรทิน) ขึ้นมาเป็นคนแรก และยังแบ่งดวงดาวออกเป็น 675 กลุ่ม

Don`t copy text!