Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Philip Zimbardo

ฟิลิป ซิมบาร์โด (Philip George Zimbardo) 
Stanford prison experiment, ผู้เขียน The Lucifer Effect
ซิมบาร์โด เกิดวันที่ 23 มีนาคม 1933 ในนิวยอร์ค ซิตี้  ครอบครัวของเขาอพยพมาจากเกาะซิซิลีในอิตาลี
1945 จบปริญญาตรี โดยเอกในสามสาขาวิชา ได้แก่ สังคมศาสตร์, จิตวิทยา และมนุษยศาสตร์จากบรู๊คลินคอลเลจ (Brooklyn College) ด้วยเกียรตินิยมเหรียญทอง
1955 จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University)
1959 จบปริญญาเอกจาก ม.เยล  ซึ่งหลังจากเรียนจบเขาได้ทำงานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้
1960 ย้ายมาทำงานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์นิวยอร์ค (New York University College of Arts & Science) 
1967 มาสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) 
1968 ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)  
1971 Stanford prison experiment, ซิมบาร์โดทำการทดลองร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐฯ​ในการสร้างคุกจำลองขึ้นมาภายในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักโทษและผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมเรือนจำ  โดยในการทดลองของเขา เขาได้โฆษณาลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่าจะจ้างอาสาสมัครที่จะเข้าร่วมการทดลองเป็นเงิน 15 เหรียญต่อวัน และใช้ระยะเวลาในการทดลองนาน 2 สัปดาห์
ผู้ร่วมการทดลองนั้นจะถูกแบ่งออกเป็นผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้คุมเรือนจำ และผู้ที่รับบทเป็นนักโทษ โดยผู้ทำหน้าที่ควบคุมเรือนจำสามารถทำอย่างไรก็ได้เพื่อควบคุมนักโทษให้อยู่ใต้การปกครอง แต่มีเงื่อนไชว่าห้ามทำร้ายร่างกายโดยตรง  ผู้เป็นนักโทษจะถูกขังอยู่ภายในห้องขังตลอดระยะเวลาที่ทำการทดลอง แต่ผู้คุมจะรับหน้าที่เป็นกะ และห้องขังหนึ่งจะมีนักโทษอยู่ร่วมกันสามคน
ซึ่งเมื่อเริ่มการทดลอง ผู้ทำหน้าที่ผู้คุมได้มีไอเดียในการควบคุมนักโทษโดยจัดห้องขังพิเศษขึ้นมาที่จะให้สิทธิพิเศษกับนักโทษที่มีความประพฤติดีให้ได้รับอาหารที่ดีกว่านักโทษปกติ ส่วนนักโทษที่ก่อความวุ่นวายนั้น ในตอนแรกถูกสั่งให้ออกกำลังกาย  หรือบางคนก็ถูกยึดเบาะรองที่นอนและปล่อยให้นอนกับพื้นปูน  ต่อมาการลงโทษเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ ผู้คุมลงโทษนักโทษบางคนด้วยการไม่อยนุญาตให้เขาอาบน้ำ ห้ามใช้ห้องน้ำ และให้ใช้กระโถนอุจจาระแทน และสังให้นักโทษใช้มือเปล่าทำความสะอาดวส้วม บางคนถูกสั่งให้แก้ผ้า  
ซึ่งการทดลองผ่านไปแค่หกวันก็ต้องยุติลง ไม่ใช่เพราะพฤติกรรมของผู้คุมหนึ่งในสามมีแนวโน้มว่าจะซาดิสต์ขึ้น ในขณะผู้รับบทเป็นนักโทษก็ดูจะอินกับบทที่ได้รับ  แต่เพราะการทดลองถูกนักศึกษาหญิงที่เข้ามาสังเกตุการณ์ถามถึงศีลธรรมของการทดลองนี้ นักศึกษาคนนั้นคือคริสติน่า มาสลัส (Christina Maslach) ซึ่งต่อมากลายเป็นภรรยาของซิมบาร์โด
ต่อมาซิมบาร์โด จึงได้เขียนหนังสือ The Lucifer Effect จากประสบการณ์ที่ได้จากการทดลองนี้
2003 เขาเกษียณจากงานสอนหนังสือ
ได้รับรางวัล Ig Noble สาขาจิตวิทยา ร่วมกับคาปราร่า (Gian Vittorio Caprara), บาร์บาเรเนลลิ (Claudio Barbaranelli) จากงานเขียน ที่ให้เหตุผลว่า “นักการเมืองก็เป็นเพียงมนุษยธรรมดาๆ” 
2008 เขาตั้งทฤษฏีสมมมุติฐานเกี่ยวกับอาการที่เขาเรียกว่า Social intensity syndrome (SIS) ร่วมกับซาราห์ บรันสกิลล์ (Sarah Brunskill) และแอนโทนี่ เฟอร์ราเรส (Anthony Ferreras) 
2010 ได้เป็นสมาชิกของ American Academy of Arts and Sciences

2014 เขาเริ่มทำโครงการ Heroic Imagination Project (HIP) องค์กรเพื่อส่งเสริมและโปรโมทผู้ที่ทำตัวเป็นวีรบุรุษในสังคม
Don`t copy text!