Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Walter Freeman

วอลเตอร์ แจ็คสัน ฟรีแมน ที่ 2 (Walter Jackson Freeman II)
Lobotomy
ฟรีแมน เกิดวันที่ 14 พฤศจิกายน 1895  ในฟิลาเดลเฟีย, เพนซิลวาเนีย (Philadelphia, Pennsylvania)  พ่อของเขาชื่อวิลเลี่ยม คีน (William Williams Keen) เป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงจากการเป็นแพทย์ในช่วงสงครามการเมืองในสหรัฐฯ 
1912 ฟรีแมนเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ในคณะแพทย์
1916 จบการศึกษา หลังจากนั้นได้เข้าเรียนด้านระบบประสาท (neurology) ที่โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย (University of Pennsylvania Medical School) โดยระหว่างเรียนเขามีความสนใจผลงานของวิลเลี่ยม สปิลเลอร์ (William Spiller) เป็นพิเศษเพราะบุกเบิกศาสตร์แขนงใหม่ในด้านระบบประสาทซึ่งยังไม่มีการศึกษากันมากนั้นในเวลานั้น
1924 ฟรีแมนย้ายมาอยู่ในดี.ซี. (Washington D.C.) เพื่อทำงานเป็นศัลยแพทย์ระบบประสาท ที่โรงพยาบาลเซนต์อลิซาเบธ (St.elizabeth’s Hospital) 
จบปริญญาเอก ในสาขาแพทย์ด้านพยาธิระบบประสาท (neuropathology)  
เข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน (George Washington University)
3 พฤศจิกายน, แต่งงานกับมาร์โจรี่ (Marjorie Lorne Franklin) 
1935 ดร.โมนิซ (Egas Moniz) สาธิตการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชด้วยวิธี “leucotomy” เป็นครั้งแรก ในโปตุเกส โดยเป็นการนำเอาชิ้นส่วนสมองเล็กๆ (coring) ออกมาจากสมองส่วนหน้า (frontal lobes) ซึ่งวิธีการรักษาของ ดร.โมนิช กลายเป็นแบบอย่างให้กับฟรีแมน 
แต่ว่าฟรีแมนไปไกลกว่านั้นด้วยการตัดสมองส่วนหน้า (frontal lobes) กับธาลามัส (thalamus) ให้แยกออกจากกัน แล้วเขาเรียกวิธีการของเขาว่า “lobotomy” 
แต่ว่าครั้งหนึ่งในการผ่าตัดโลโบโตมี่ของเขา คนไข้ของเขาเสียชีวิตระหว่างการผ่าตัดทำให้ฟรีแมนถูกยึดใบอนุญาตในการผ่าตัด ฟรีแมนจึงได้อาศัยศัลยแพทย์ชื่อเจมส์ วัตต์ (James Watts) ให้เป็นผู้ช่วยและทำหน้าที่ผ่าตัด
1936 14 กันยายน, ฟรีแมนและหมอวัตต์ ทำการผ่าตัดคนใข้รายแรกที่ทั้งคู่ทำร่วมกัน ชื่ออลิส (Alice Hood Hammatt) ภายในบ้านของเธอในแคนซัส 
1937 แพทย์ชาวอิตาลี ชื่อฟิแอมเบอร์ติ (Amarro Fiamberti) ได้ทำการผ่าตัดสมองของคนไข้โดยที่ไม่ต้องเปิดกะโหลก แต่ว่าใช้การสอดอุปกรณ์ผ่านช่องตา (eye sockets) ซึ่งเมื่อฟรีแมนและหมอวัตต์ได้อ่านรายงานดังกล่าว พวกเขาก็พัฒนาการผ่าตัดโลโบโตมี่แบบใหม่ เรียกว่า “transorbital lobotomy” ซึ่งใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “icepick” ในการสอดผ่านช่องตา
พวกเขาทำการผ่าตัดคนไข้ด้วยวิธี transorbital lobotomy กับคนไข้รายแรกชื่อ แซลลี่ โลเนสโค่ (Sallie Ellen Lonesco) ในวอชิงตัน ดี. ซี.
1941 โรสแมรี่ เคนเนดี้ (Rosemary Kennedy) น้องสาวของประธานาธิบดีเคนเนดี้ (Joseph F. Kennedy) รับการผ่าตัดด้วยวิธีโลโบโตมี กับฟรีแมนและหมอวัตต์ ซึ่งการผ่าตัดทำให้เธอกลายเป็นคนพิการ
1950 หมอวัตต์ยุติการทำงานร่วมกับฟรีแมน สาเหตุอ้างว่าหมอวัตต์ไม่เห็นด้วยกับการที่ฟรีแมนใช้การผ่าตัดด้วยวิธีโลโบโตมีในการรักษาผู้ป่วยจำนวนมากเกินจำเป็น
1967 ฟรีแมนทำการผ่าตัดโลโบโตมีของเขาครั้งสุดท้ายกับเฮเลน มอร์เตนเซ่น (Helen Mortensen) ซึ่งตลอดการทำงานของเขา ได้ผ่าตัดคนไข้กว่า 4,000 ราย ซึ่งคนไข้ราว 15% ต้องเสียชีวิตระหว่างการผ่าตัด,2500 คนที่รักษาด้วยการสอดอุปกรณ์ผ่านดวงตา และเกือบครึ่งหนึ่งเป็นคนไข้ที่มีอาการเบี่ยงเบนทางเพศ และพวกเขาต้องกลายเป็นคนพิการหลังการผ่าตัด 
1952 ฟรีแมนเกษียณจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในวัย 57

1972 31 พฤษภาคม, เสียชีวิต
Don`t copy text!