Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Andrew Yao

แอนดริว เหยา (姚期智, Andrew Chi-Chih Yao)
Turing Award 2000
แอนดริว เกิดวันที่ 24 ธันวาคม 1946 ในชางไห่, จีน (Shanghai, China) 
ต่อมาครอบครัวของเขาย้ายมาอยู่ในฮ่องกง ก่อนที่ภายหลังจะย้ายมาอยู่ไต้หวัน
1967 จบปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยไต้หวัน (National Taiwan University) 
1972 จบปริญญาเอกด้านฟิสกส์จากฮาร์วาร์ด (Harvard University) โดยมีเชลดอน กลาโชซ์ (Sheldon Glashow) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล 1979 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
1975 จบปริญญาเอกใบที่สองด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois , Urbana-Champaign)  โดยได้เขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง A Study of Concrete Computational Complexity โดยมีศาสตราจารย์  เหลียว ชง หลาง  (Chung Laing Liu, 劉炯朗) 
หลังจบการศึกษาได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ในคณะคณิตศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) 
1976 ได้มาทำงานที่คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของสแตนฟอร์ด (Stanford University) ในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตร์ ซึ่งระหว่างอยู่ที่นี้เขามีผลงานเกี่ยวกับทฤษฏีอัลกอริทึ่มพื้นฐานอออกมาหลายชิ้น อาทิ Yao’s min-max principle (Probabilistic computations : toward a unified measure of complexity) 
1978 เขาเขียนรายงานเรื่อง “Should tables be sorted” ซึ่งเป็นทฤษฏีเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูล (data structures)  ซึ่งมีโมเดลของข้อมูล แบบ cell-probe model 
1979 เขียน Some complexity questions related to distributive computing ซึ่งเป็นการแนะนำทฤษฏี Theory of Communication complexity 
1981 รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่เบิร์กเลย์ (University of California, Berkeley) 
มีผลงานเขียนร่วมกับแดนนี่ โดเลฟ (Danny Dolev) เรื่อง “On the security of public-key protocols”  ซึ่งพวกเขาร่วมกันออกแบบโปรโตคอล (security protocols) ที่เรียกว่า Dolev-Yao model
1982 ย้ายกลับมารับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่สแตนฟอร์ด 
เขียน Theory and applications of trapdoor functions ที่เป็นทฤษฏีบุกเบิกเกี่ยวกับการเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร (public-key cryptography) , Yao’s test (next-bit test)
เขียน Protocols for secure computations ที่แนะนำปัญหา Millionaires’ Problem ที่มีชื่อเสียง 
ทำวารสาร Journal of Algorithms 
1986 รับตำแหน่งศาสตราจารย์วิลเลี่ยม-เอ็ดน่า มาคาเลียร์ (William and Edna Macaleer Professor) ที่คณะวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ของมหาวิทยาลัยพรินตั้น (Princeton University) 
เขียน How to generate and exchange secrets
1993 เขียน Quantum circuit complexity
1998 ได้เป็นสมาชิกของ US Academy of Sciences
2000 ได้รับรางวัล Turing Award จาก การพัฒนาทฤษฏีการคำนวณพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฏีการสุ่มตัวเลข, การเข้ารหัส, และการสื่อสาร ( “in recognition of his fundamental contributions to the theory of computation, including the complexity-based theory of pseudorandom number generation, cryptography, and communication complexity" )
2004 รับตำแหน่งศาสตร์จารย์ที่สถาบันการศึกษาขั้นสูง (Center for Adavnced Study), และรับตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบันทฤษฏีวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Institute for Theoretical Computer Sciences) 
มหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University) 
2005 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ (Distinquished Professor-at-Large) จากมหาวิทยาลัยจีน ณ. ฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong) 
2010 เป็นอธิการบดีของสถาบันวิทยาศาสตร์สารสนเทศ (Institute for Interdisciplinary Information Sciences) ม.ชิงหัว
2015 สละสัญชาติอเมริกัน เพื่อที่จะได้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) 

ภรรยาของแอนดริวคือศาสตราจารย์ฟรานเซส (Frances Yao, 储枫) เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเช่นกัน
Don`t copy text!