Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Marie Tussauds

แอนน์ มาเรีย ทุสโซ (Anne Marie Tussauds)
มาเรีย กรอโชลต์ซ (Marie Grosholtz) เกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1761 ในสตรัสบูร์ก, ฝรั่งเศส (Strasbourg, France) พ่อของเธอชื่อโจเซฟ (Joseph Grosholtz) เป็นทหาร เขาเสียชีวิตสองเดือนก่อนที่มาเรียจะเกิด ระหว่างที่ออกไปรบในช่วงสงครามเจ็ดปี (Seven Years’ War)
แม่ของเธอชื่อแอน-มาเรีย วัลเดอร์ (Anne-Marie Walder)  
หลังจากมาเรียเกิดแม่ได้พาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่กรุงเบิร์น, สวิสต์เซอร์แลนด์ โดยไปอาศัยอยู่ในบ้านของหมอฟิลิปเป้ (Philippe Curtius) ซึ่งแอน-มาเรีย มาทำงานเป็นคนรับใช้อยู่ที่บ้านหลังนี้
หมอฟิลิปเป้ นอกจากเป็นแพทย์แล้ว เขายังมีฝีมือในการทำหุ่นขี้ผึ้ง  มาเรียเรียกหมอฟิลิปเป้ว่าลุง แล้วเขาเป็นคนที่สอนมาเรียในการทำหุ่นขี้ผึ้ง
1765 หมอฟิลิปเป้ย้ายมาอยู่ในปารีส และได้ก่อตั้ง Cabinet of Portraits En Cire กลุ่มของช่างปั่นหุ่นขึ้ผึ้ง  เขายังได้ทำงานให้กับมาดามดูแบร์รี่ (Madame du Barry) ซึ่งเป็นสนมคนหนึ่งของกษัตริย์หลุยส์ ที่ 15 (Louis XV)
1766 มาเรีย และแม่ได้ย้ายตามหมอฟิลิปเป้มาอยู่ในปารีส 
1770 หมอฟิลิปเป้เปิดนิทรรศการแสดงผลงานหุ่นขึ้ผึ้งของตัวเองเป็นครั้งแรก ซึ่งงานได้รับความสนใจและมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก
1776 หมอฟิลิปเป้ย้ายสถานที่จัดแสดงมาอยู่ที่พาเลส-โรยัล  (Palais-Royal)
1777 มาเรียปั้นหุ่นขึ้ผึ้งชิ้นแรกของตัวเองเป็นรูปของโวลแตร์ (Voltaire)
1782 หมอฟิลิปเป้เปิดสถานที่แสดงผลงานแห่งที่สองขึ้นที่วิหารบูเลอวาร์ด (Boulevard du Temple)
1789 เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ซึ่งในวันที่ 12 กรกฏาคม ก่อนการบุกคุกบัสติลสองวัน ผู้ประท้วงในปารีสได้ใช้ขึ้ผึ้งรูปศรีษะของเนคเกอร์ (Necker) และหลุยส์ ฟิลิปเป้ ที่ 2 (Louis Philippe II, Duke of Orleans) ซึ่งหมอฟิลิปเป้เป็นคนทำขึ้นในการแห่ขบวนไปรอบเมือง
หลังการปฏิวัติ ฝรั่งเศสตกอยู่ในยุคแห่งความหวาดกลัว (Reign of Terror) มาเรียถูกมองว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนระบอบกษัตริย์ เธอจึงถูกทางการจับตัวเป็นนักโทษและเตรียมที่จะประหารชีวิตเธอด้วยกิโยติน  แต่ว่าได้รับการช่วยเหลือวิ่งเต้นจากแจ็ค-หลุยส์ เดวิด (Jacques-Louis David) จิตรกรซึ่งเป็นเพื่อนกับโรเบสปิแอร์ (Maximilian of Robespierre) แกนนำปฏิวัติ ทำให้มาเรียถูกส่งไปทำงานเป็นช่างหล่อหน้ากากคนตาย (death masks) ให้กับเหยื่อที่ถูกพวกปฏิวัติลงโทษ  มาเรียจึงได้ทำหน้าที่ในการหล่อหน้ากากของหลุยส์ ที่ 16 (Louis XVI) , มาเรีย อ๊องตัวเน็ตต์ (Marie Antoinnette) ด้วย ซึ่งหน้ากากที่เธอทำขึ้นถูกใช้ในการแห่เดินขบวนของพวกปฏิวัติไปทั่วกรุงปารีส
1794 เมื่อหมอฟิลิปเป้เสียชีวิต เขาให้มอบคอลเลคชั่นหุ่นขี้ผึ้งที่ทำขึ้นให้กับมาเรีย
1795 28 ตุลาคม, มาเรียแต่งงานกับฟรานซิส ทุสโซ (Francios Tussaud) ซึ่งเป็นวิศวกร พวกเขามีลูกด้วยกันสามคน แต่ว่ามีคนหนึ่งเสียชีวิตเมื่อแรกเกิด ส่วนคนที่เหลือชื่อโจเซฟ (Joseph) และฟรานซิส (Francois)
1802 มาเรียพร้อมโจเซฟบุตรชาย เดินทางมายังกรุงลอนดอน เพื่อนำผลงานของเธอมาแสดงที่โรงละคนไลเซียม (Lyceum Theatre, London) ตามคำเชิญของนักมายากลชื่อพอล ฟิลิดอร์ (Paul Philidor) แต่ว่ามาเรียและลูกดำรงชีวิตอย่างลำบากเพราะว่าต้องแบ่งกำไรครึ่งหนึ่งให้กับพอล 
ระหว่างที่อยู่ในอังกฤษ นโปเลียนก็ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ (War of Third Coalition) ทำให้มาเรียไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้
1822 ฟรานซิสลูกชายของมาเรียได้เดินทางมาสบทบกับเธอที่อังกฤษ แต่ว่ามาเรียไม่มีโอกาสได้พบกับสามีของเธออีกเลยตลอดชีวิต
1835 เธอก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สำหรับจัดแสดงผลงานของตัวเองอย่างถาวรขึ้นที่ถนนเบเกอร์ (Baker Street) ซึ่งกลายมาเป็นพิพิธภัณธ์มาดามทุสโซที่รู้จักัน (Madame Tussauds Museum)
1838 เธอเขียนหนังสือบันทึกความทรงจำ Madame Tussaud’s Memoirs and Reminiscences of France แต่ว่าประวัติของเธอในหนังสือถูกมองว่าเธอแต่งขึ้นจนเกินจริงหลายเรื่อง
1842 เธอสร้างหุ่นขึ้ผึ้งของตัวเองขึ้นมา

1850 15 เมษายน, มาเรีย ทุสโซ เสียชีวิตขณะมีอายุ 88 ปีในลอนดอนระหว่างที่เธอนอนหลับ

Don`t copy text!