Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Paul Broca

ปิแอร์ พอล โบรค่า (Pierre Paul Broca)
ผู้ค้นพบ Broca’s area
โบรค่า เกิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนยน 1824 ในเซนต์ ฟอย ลา แกรนด์ (Sainte-Foy-la-Grande,Bordeaux) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ครอบครัวของเขานับถือนิกายโปเตสแตนท์ พ่อของเขาเป็นศัลยแพทย์ชื่อเบนจามิน (Benjamin Broca) ทำงานอยู่ในกองทัพของนโปเลียน ส่วนแม่ชื่อแอนเน็ต (Annette Thomas) เธอเป็นลูกสาวของนักบวช
1841 เมื่ออายุ 17 ปี สมัครเข้าเรียนในคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยปารีส 
1844 ได้รับอนุปริญญาตอนอายุ 20 ปี  
1843 ย้ายมาฝึกกับ Francois Leuret ที่ Bicetre
1848 ก่อตั้ง Society of Freethinkers (Societe des libres-penseurs) เพื่อสนับสนุนทฤษฏีการคัดสรรโดยธรรมชาติ (natural selection) ของชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) 
1850 เขาทำการศึกษาเกี่ยวกับกระโหลกศรีษะของมนุษย์ ทั้งขนาดของกระโหลกของมนุษย์ปัจจุบันและมนุษย์โบราณ โบรค่าพัฒนาเทคนิคหลายอย่างที่ใช้ในการวัดอัตราส่วนของหัวกระโหลกและขนาดสมอง 
1859 ก่อตั้งสมาคมมนุษยวิทยาแห่งยุโรป (European Society of Anthropology) ในปารีส
1860 โบรคา ทำการศึกษผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติในการพูด (aphasia)  ผู้ป่วยคนแรกของโบรค่ามีชื่อว่าเลอบอร์น (Leborgne) ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเครมลิน-บิเซ็ต (Hôpital du Kremlin-Bicêtre) เขาถูกเรียกว่า “ทาน” เพราะเขาสามารถพูดได้เพียงพยางค์เดียวคือ คำว่า “Tan” แต่ว่าความสามารถในการเข้าใจภาษาของเขานั้นดูปกติ  ผู้ป่วยอีกคนที่มีอาการผิดปกติในการพูดเช่นกัน ชื่อเลลอง (Lelong) หลังจากเลอบอร์นและเลลองเสียชีวิต โบรค่าทำการชันสูตรดูสมองของพวกเขา และค้นพบว่าทั้งคู่มีความผิดปกติของสมองที่บริเวณเดียวกันเทียบกับสมองของคนปกติ นำไปสู่บทสรุปเกี่ยวกับส่วนซึ่งควบคุมการทำงานในการพูดของสมอง
สมองของเลอบอร์นและเลลอง ปัจจุบันยังถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ดูปีทราน (MUSÉE DUPUYTREN) ในปารีส
1861 โบรค่านำเสนอรายงานการค้นพบบริเวณของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ภาษา (ซึ่งปัจจุบันเรียก Broca’s area) ต่อสมาคมนุษย์วิทยาแห่งปารีส (Anthropological Society of Paris)
โบรค่ายังเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานของประสาท โดยเขาประดิษฐ์ “themometric crown” ขึ้นมา เพราะเขาคิดว่าเมื่อสมองทำงาน สมองส่วนที่กำลังทำงานอยู่น่าจะทำให้อุณภูมิที่กระโหลกศรีษะเปลี่ยนไปด้วย แต่อุปกรณ์ของเขาไม่เป็นที่สนใจ
1867 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านศัลยกรรมที่มหาวิทยาลัยปารีส (University of Paris, Sorbonne)
1872 ก่อตั้งวารสาร Anthropological Review (Revue d’anthropologie)
1873 การศึกษาเกี่ยวกับขนาดของสมอง ทำให้โบรค่าพบว่าสมองของมนุษย์แต่ละเผ่าพันธ์มีขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการยืนยันแนวคิดของซามูเอล มอร์ตัน (Samuel Morton) ในหนังสือ Crania Americana ด้วย  แต่ว่าโบรค่ายังอ้างว่าคนขาวและคนผิวสี มีสีผิวที่แตกต่างกันอันเนื่องมาจากขนาดสมอง และเขายังสรุปว่าผู้หญิงซึ่งมีขนาดสมองที่เล็กกว่าผู้ชายทำให้พวกเธอมีความอ่อนแอและด้อยกว่าตามธรรมชาติ
1876 ก่อตั้ง Paris Higher School of Anthropology และในปีเดียวกันนี้ยังได้ต่อตั้งพิพิธภัณฑ์มนุษยวิทยา (Anthropological Museum in Paris)
1880 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกตลอดชีวิต 
9 กรกฏาคม, เสียชีวิตขณะอายุ 56 ปี ด้วยอาการเส้นเลือกในสมองโป่งพอง (aneurism-rupture)
สมองของโบรค่าถูกแยกออกมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (National Museum of Natural History, http://www.mnhn.fr)
Don`t copy text!