Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Slobodan Milošević

สโลโบดาน มิโลเซวิช (Слободан Милошевић)
   ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหพันสาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
มิโลเซวิช เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1941 ในโปซาเรแว็ค, เซอร์เบีย (Požarevac, Serbia) ช่วงเวลาที่เขาเกิดนั้นบ้านเมืองอยู่ใต้การยึดครองของนาซีเยอรมัน
พ่อของเขาเป็นนักบวชในนิกายเซิร์บออโธด็อกซ์ ชื่อว่าสเวโตซาร์ (Svetozar Milośević) และแม่ชื่อสตานิสลาว่า (Stanislava Koljenšić) เป็นครูและเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์ มิโลเซวิช มีพี่ชายคนหนึ่งชื่อบอริสลาฟ (Borislav)  บรรบุรุษของเขาสืบเชื้อสายมาจากตระกูล Vasojevici ซึ่งมีรากเหง้าอยู่ในมอนเตเนโกร (Montenegro) 
พ่อกับแม่ของเขาแยกทางกันหลังสงครามโลกยุติลง
มิโลเซวิช เรียนมัธยมในโรงเรียนในเมืองโปซาเรแว็ค เขาเป็นคนที่เรียนหนังสือเก่งและมีระเบียบวินัย ทั้งยังเขียนบทความลงในวารสารของโรงเรียนเป็นประจำ มิโลเซวิชพบกับมีร์จาน่า (Mirjana Markovic) ภรรยาในอนาคตของเขาระหว่างที่เรียนมัธยม
หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ยูโกสลาเวีย หรือ สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย (Socialist Federal Republic of Yugoslavia, SFRY) ประกอบไปด้วย 6 สาธารณรัฐสังคมนิยม ได้แก่ สโลวีเนีย (Slovenia), โครเอเทีย (Croatia), บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีน่า (Bosnia and Herzegovina), เซอร์เบีย (Serbia), ,มอนเตเนโกร (Montenegro), มาซิโกเนีย (Macedonia)
ในขณะที่เซอร์มี มีเขตปกครองตัวเองสองแห่ง ได้แก่ โคโซโว(Kosovo) และวอจโวดิน่า (Vojvodina)
1960 จบมัธยมและเข้าเรียนกฏหมายที่มหาวิทยาลัยเบลเกรด (University of Belgrade) มิโลเซวิช ระหว่างที่เรียนเขาได้เป็นหัวหน้าของยุวสันนิบาตคอมมิวนิสต์ (Yugoslav Youth Communist League, SKOJ) สันนิบาตคอมมิวนิสต์ (League of Communists) คือ พรรคคอมมิวนิสต์ของยูโกสลาเวีย
ที่โรงเรียนเขายังได้เป็นเพื่อนกับอีวาน สแตมโบวิช (Ivan Stambolić) หลานชายของ ปีตาร์ สแตมโบวิช 
(Petar Stambolić) ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของเซอร์เบีย โดยที่ปีตาร์ สแตมโบวิชมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มิโลเซวิซก้าวหน้าในตำแหน่งการงานและอำนาจ
1962    พ่อของมิโลเซวิช ใช้อาวุธปืนทำอัตวินิบาตกรรม
1966    สำเร็จการศึกษา หลังจากเรียนจนเขาได้เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจให้กับเทศมนตรีของกรุงเบลเกรด บรานโก้ เปสิช (Branko Peśić)
1968    ได้งานในบริษัทเทคโนก๊าซ (Tehnogas company) ซึ่งสแตมโบวิช ก็ทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งนี้
1971    แต่งงานกับมีร์จาน่า มาร์โกวิช (Mirjana Marković, Mira) พวกเขามีลูกด้วยกันสองคน มาร์โก้ (Marko) และ มาริจา (Marija~ Maria)
   มีร์จาน่า นั้นเกิดในครอบครัวที่เป็นคอมมิวนิสต์​ตัวของมิร่านั้นสนับสนุนแนวคิดในการตั้งสหพันธ์รัฐบอลข่าน (Federation of Balkan) จากบัลแกเรียจนถึงโครเอเทีย  มีร์จาน่านั้นมีบทบาททางการเมืองมากเมื่อมิโลเซวิชเล่นการเมืองจนกระทั้งเป็นประธานาธิบดี  ฝ่ายที่ต่อต้านเธอ ให้ฉายาว่าเธอคือแม็คเบธแห่งบอลข่าน (Lady macBeth of the Balkans)
1972    แม่ของมิโลเซวิช ฆ่าตัวตาย 
1973 ได้เลื่อนเป็นประธานของบริษัทเทคโนก๊าซ
1978    ได้รับตำแหน่งประธานของของธนาคารบีโอบันคา (Beobanka) ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศ
1980 4 พฤษภาคม,​ติโต (Josip Broz Tito) ประธานาธิบดีของยูโกสลาเวียเสียชีวิต
1984    16 เมษายน, ได้รับตำแหน่งประธานของคณะกรรมาธิการสันนิบาตคอมมิวนิสต์ประจำกรุงเบลเกรด (Belgrade League of Communists City Committee)
1986    28 พฤษภาคม, ได้รับเลือกจากที่ประชุมให้เป็นประธานสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งเซอร์เบีย (League of Communist of Serbia)
1987 มิโลเซวิช ประกาศสนับสนุนชาวเซิร์บในโครเอเทียและบอสเนีย
   สหพันธสาธาณรัฐยูโกสลาเวีย ที่ยังเหลืออยู่ประกอบได้เซอร์เบียและมอนเตเนโกร ถูกคว่ำบาตรและกดดันอย่างหนักจากตะวันตก
   เพื่อให้การคว่ำบาตรยุติลง มิโลเซวิชถูกกดดันให้ต้องรับเงื่อนไขให้ยุติการสนับสนุนชาวเซิร์บในโครเอเทียและบอสเนีย
1988 รัฐบาลของวอจโวดินน่า (Vojvodina) ประกาศลาออกหลังจากประชาชนออกมาประท้วง
1989 มิโลเซวิชได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเซอร์เบีย (เฉพาะเซอร์เบียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย)
1990    สันนิบาตคอมมิวนิสต์ปิดตัวลง
มิโลเซวิชก่อตั้งพรรคสังคมนิยเซอร์เบีย (Socialist party of Serbia) โดยที่เขาเป็นหัวหน้าพรรค
ในปีนี้รัฐ 6 รัฐของยูโกสลาเสียมีการเลือกตั้งอยู่นำของตัวเอง ในคณะที่พรรคของมิโลเซวิชยังได้รับการสนับสนุนในเซอร์เบีย
1991 สโลเวเนีย (Slovenia)  มาเซโดเนีย (Macedonia) และโครเอเทีย (Croatia) แยกตัวออกจากยูโกสลาเวีย , การแยกตัวของสโลเวเนียเป็นไปอย่างราบรื่น ในขณะที่กรณีของโครเอเทียเกิดสงครามทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน
ขณะที่มิโลเซวิช ให้สัมภาษณ์ว่าเยอรมันอยู่เบื้องหลังการแยกตัวของรัฐต่างๆ ในยูโกสลาเวีย
ชาวเซิร์บในโครเอเทีย ได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐกราจิน่า (Republic of Serbian Krajina, 1991-1995) 
ชาวเซิร์บในบอสเนีย ได้ตั้งสาธารณรัฐซรัฟสก้า (Republika Srpska)
ธันวาคม, เซอร์เบีย และมอนเตเนโกร รัฐที่เหลืออยู่ของยูโกสลาเวีย ได้ร่วมกันก่อตั้งสหพันธสาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (Federal Republic of Yugoslavia, FRY)
1992 เกิดสงครามบอสเนีย (Bosnian War) เมื่อบอสเนีย-เฮอร์เซโกวิน่า แยกตัวออกจากยูโกสลาเวีย ชนเชื้อสายต่างๆ ในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวิน่า ประกอบด้วย ชาวมุสลิม ชาวเซิร์บ และโครแอต ต่างต้องการตั้งรัฐของตัวเองและทำสงครามกัน
1993 กองทัพโครเอเทียเริ่ม โจมตีสาธารณรัฐกราจิน่า ที่ต้องการจะแยกตัวออกจากโครเอเทีย
1995 องค์การสหประชาติประกาศคว่ำบาตรเซอร์เบีย
สิงหาคม, (Operation Storm) โครเอเทีย โจมตีครั้งใหญ่ต่อสาธารณรัฐกราจิน่า และเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ
ธันวาคม, สหพันธ์รัฐยูโกสลาเวีย,​ โครเอเทีย, สาธารณรัฐบอสเนีย-เฮอร์เซโกวิน่า ลงนามในข้อตกลงเดย์ตัน (Dayton accord) เป็นสัญลักษณ์การสิ้นสุดสงครามบอสเนีย
1996 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในโคโซโวร่วมกันเป็นกองทัพปลดปล่อยโคโซโว (Kosovo Liberation Army) และเริ่มทำสงครามกองโจรภายในยูโกสลาเวีย
1997 มิโลเซวิชได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีของยูโกสลาเวีย (ประกอบด้วยรัฐที่เหลืออยู่แค่เซอร์เบีย และมอนเตเนโกร)
1998 มิโลเซวิชส่งกองทัพยูโกสลาเวียเข้าไปในโคโซโว่ ซึ่งสหรัฐฯ​และนาโต้ มีปฏิกริยาต่อต้านอย่างรุนแรง และขู่จะใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง
1999    24 พฤษภาคม-10 มิถุนายน, นาโต้ (NATO) โจมตีเซอร์เบีย โดยอ้างเหตุผลว่ามีการกดขี่ชนเชื้อสายอัลบาเนีย ในโคโซโว่ 
มิถุนายน, ยูโกสลาเวีย (FRY) ถอนทหารออกจากโคโซโวหลังจากแพ้ให้กับนาโต้
   เมื่อมิโลเซวิช ถูกจับ เขาถูกตั้งข้อหาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวอัลบาเนียทำให้ชาวอัลบาเนียกว่า 250,000 คนที่เสียชีวิตในโคโซโว
2000 5 ตุลาคม, (Bulldozer Revolution) มีการประท้วงใหญ่ขับไล่มิโลเซวิชออกจากตำแหน่ง
7 ตุลาคม, มิโลเซวิชลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี
2001  31 มีนาคม, มิโลเซวิช ถูกจับ ในข้อหาคอรัปชั่น, การใช้อำนาจอย่างมิชอบ โดยคำสั่งของนายกรัฐมนตรีโซรัน ดินดิช (Zoran Dindic)  ต่อมาการสอบสวนขาดหลักฐานที่ชัดเจน จึงเร่งส่งตัวเขาให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ คดีอดีตยูโกสลาเวีย (International Criminal Tribunal for the former Yugoslavia, ICTY) โดยที่ศาล ICTY มีการตั้งข้อหามิโลเซวิช ในฐานของการเป็นอาชญากรสงคราม
มิโลเซวิช ปฏิเสธอำนาจของ ICTY โดยกล่าวหาว่าศาลถูกตั้งขึ้นมาโดยมิชอบ เพราะไม่ได้รับการรับของโดยมติของที่ประชุมใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ มิโลเซวิช จึงต่อสู้คดีโดยที่ไม่ได้ตั้งทนายความขึ้นมา
นอกจากนั้นเขายังโชว์หลักฐานว่านาโต้ ใช้ระเบิดดาวกระจาย (cluster bombs) และอาวุธที่ปล่อยสารกัมตรังสี (depleted uranium) ระหว่างการโจมตียูโกสลาเวียด้วย
2006 11 มีนาคม, มิโลเซวิช เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายและความเครียด ระหว่างถูกจองจำอยู่ในกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ โดยที่ยังไม่มีคำพิพากษาว่าเขามีความผิดจริงตามที่ถูกกล่าวหา
2007 ศาลโลก (International Court of Justice, ICJ) มีคำพิพากต่างหากในกรณีฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในบอสเนีย ว่ามิโลเซวิช ไม่มีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์ดังกล่าว เพียงแต่เขาบกพร่องที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น   
2008 17 กุมภาพันธ์, โคโซโว แยกตัวออกจากเซอร์เบีย

2013    ศาล ICTY (คำพิพากษา) ตัดสินคดีของโรโดวาน คาราดซิค (Rodovan Karadzic) ผู้นำชาวเซิร์บในบอสเนียว่าเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ในขณะที่มิโลเซวิชไม่มีส่วนรู้เห็นกับการดำเนินการของคาราดซิค่าล้างเผ่าพันธ์

Don`t copy text!