Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Béla Kun

เบลา คุน (Béla Kun)
ผู้ก่อตั้ง Hungarian Soviet Republic
คุน เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1886 ในหมู่บ้านลีเล (Lelei, Transylvanis, Romania) ทรานซิลวาเนีย, โรมาเนีย ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ชื่อจริงเมื่อแรกเกิดของเขาคือ Béla Kohn,  พ่อของเขาเป็นยิว ส่วนแม่นั้นเป็นคริสต์โปรเตสแตนต์ 
เข้าเรียนที่วิทยาลัยซิลวาเนีย (Silvania National College) โดยขณะที่เรียนเขาได้รับรางวัลจากการเขียนบทความ ภายหลังได้เข้าเรียนด้านกฏหมายที่มหาวิทยาลัยโคโลชวาร์ (Kolozhvar University) โดยระหว่างที่เรียนเขาได้เป็นเพื่อนกับกวีอย่างเอ็นดรี เอดี้ (Endre Ady)  ซึ่งเป็นพวกนิยมฝ่ายซ้าย 
1902 ได้เป็นสมาชิกของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยฮังการี (Hungarina Social Democratic Party)
1904 ออกจากมหาวิทยาลัยก่อนที่จะเรียนจบ และได้มาทำงานเป็นนักข่าว
1913 1 พฤษภาคม, แต่งงานกับอิเรน กัล (Iren Gal) ซึ่งเป็นครูสอนวิชาดนตรี พวกเขามีลูกสาวด้วยกันคนหนึ่งชื่อแอ็กเนส (Agnes Kun, b. 1915)  ซึ่งต่อมาได้แต่งงานกับกวีฮังการีชื่อฮีดัส อันตาล (Hidas Antal)
1914 ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 เขาเข้าเป้นทหารในการรบให้กับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี 
1916 มกราคม, ถูกทหารรัสเซียจับตัวได้ และถูกนำไปขังเป็นเชลยในข่ายกักกันแถบทือกเขายูราล ระหว่างที่เป็นเชลยอยู่นี้ ทำให้เขาได้รับอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์มา นอกจากนั้นยังเรียนรู้ภาษารัสเซียจนสามารถใช้ได้อย่างดี
1918 หลังการปฏิวัติคอมมิวนิตส์ในรัสเซีย เบลา คุน  เข้าต่อสู้ในฝ่ายเดียวกับพรรคบอลเชวิค เขาได้รู้จักกับเลนิน (Lenin) และแกนนำคนอื่นๆ ของพรรค 
28-31 ตุลาคม, เกิดการปฏิวัติแอสเตอร์ในฮังการี (Aster Revolution) นำโดยมิเฮลี กาโรลอี (Mihály Károlyi) เขาเรียกร้องให้มีการแยกฮังการีออกจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี  ในวันที่ 31 ตุลาคม ทหารและกองทัพฮังการีส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนกาโรลอี และนำกำลังบุกยึกสถานที่ราชการหลายแห่งในกรุงบูดาเปสต์ นายกรัฐมนตรีซานเดอร์ เวเกอร์ลี (Sandor Wekerle) ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง
จักรพรรดิชาร์ล แห่งออสเตรียฮังการี (King Charles I of Austria, King Charles IV of Hungary) จำนนต่อการปฏิวัติและได้แต่งตั้งให้กาโรลอีเป็นนายกรัฐมนตรี
พฤศจิกายน, เบลา คุน และชาวฮังกาเรียนอีกหลายร้อยคนที่เป็นคอมมิวนิสต์เดินทางกลับมายังฮังการีโดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากโซเวียต เพื่อทำการปฏิวัติในฮังการี แต่ว่างานแรกที่กาโรลอีทำคือการนำฮังการีออกจากจักรวรรดิ
4 พฤศจิกายน, เบลา คุน ก่อตั้งพรคคอมมิวนิสต์ฮังการี (Hungarian Communist Party) 
หลังจากนั้นฝ่ายคอมมิวนิตส์มีการปลุกระดมในหมู่ผู้ใช้แรงงานอย่างมาก มีการนัดหยุดงาน การเดินประท้วง
16 พฤศจิกายน, รัฐบาลฮังการีนำโดยกาโรลอี ได้ประกาศให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนฮังการี (Hungarina People’s Republic) อย่างเป็นทางการ และตัวกาโรลอีขึ้นเป็นประธานาธิบดี
1919 20 มีนาคม, ฝรั่งเศสได้ประกาศคำสั่ง Vix Note ซึ่งสั่งให้ทหารฮังการีถอยจากที่ตั้งกลับเข้าไปภายในประเทศ ก่อให้เกิดการประท้วงในฮังการี เพราะกลัวกันว่าแนวที่ตั้งใหม่ของทหารจะกลายเป็นพรหมแดนใหม่ทำให้เสียดินแดนไป  นั้นทำให้นายกรัฐมนตรีเบรินสกี (Denes Berinsky) และคณะรัฐมนตรีของฮังการีประกาศลาออกจากตำแหน่ง , ปธน.กาโรลอี จึงได้แถลงการณ์ให้พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย (The Social Democrats) มีสิทธิในการตั้งรัฐบาลใหม่  ซึ่งพรรค SD ได้หันไปจับมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ของเบลา คุน เพื่อหวังที่จะได้รับความช่วยเหลือทางทหารจากโซเวียต
21 มีนาคม, พรรคคอมมิวนิสต์และพรรค SD  ร่วมตัวกันเป็นพรรคใหม่ในชื่อพรรคสังคมนิยม (Hungarian Socialist Party)  เบลา คุน ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง และได้ประกาศให้ฮังการีเป็นสาธารณรัฐฮังการีโซเวียต (Hungarian Soviet Republic) ทันที โดยเป็นประเทศที่ 2 ในโลกตามหลังรัสเซียที่กลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ เขาดำเนินนโยบายยึดที่ดินจากประชาชน และประกาศเปลี่ยนที่ดินให้เป็นระบบนารวม นั่นทำให้เขาเสียเสียงสนับสนุนจากบรรดาชาวนายากจนที่ต้องการที่ดิน และเกิดความพยายามปฏิวัติอีกครั้งเพื่อโค่นรัฐบาลของเขาแต่ว่าเบลา คุน ใช้กองกำลังติดอาวุธ ที่ถูกเรียกว่า Lenin Boys ในการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของเขา
1 สิงหาคม, สาธารณรัฐฮังการีโซเวียตของเบลา คุน ล้มลงโดยมีอายุเพียง 133 วัน จากการบุกฮังการีของเชค, โรมาเนีย  และพลเอกมิกอล ฮอร์ธี (Admiral Miklos Horthy) ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส
เบลา คุน หนีไปยังเวียนา และถูกจับที่นั่น 
1920 เบลา คุนถูกนำไปแลกเปลี่ยนกับเชลยของออสเตรียที่ถูกจับอยู่ในโซเวียต เขาจึงได้อาศัยอยู่ในโซเวียตโดยไม่ได้เดินทางกลับมาฮังการีเลยหลังจากนี้ไป เขาได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต และถูกส่งไปทำงานในไครเมีย ช่วงสงครามกลางเมืองในรัสเซีย ซึ่งไครเมียเป็นที่มั่นสุดท้ายของกองทัพขาว 
1921 ได้มาทำงานกับองค์กรโคมินเทิร์น (Comintern) 
เขาเดินทางไปเยอรมันและได้ให้คำปรึกษากับพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน (KPD, Communist Party of Germany) ซึ่งเขาอยู่เบื้องหลัง ความพยายามจะทำการปฏิวัติในเดือนมีนาคมที่เรียกว่า March Action แต่ว่าล้มเหลว ความล้มเหลวดังกล่าวทำให้เขาถูกเลนินตำหนิ
1928 ถูกจับในเวียนนาเพราะว่าเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ใช้หนังสือเดินทาง แต่ว่าไม่นานได้รับการปล่อยตัว
1937 28 มิถุนายน, เบลา คุน ถูกจับในสมัยของสตาลิน ในข้อหาเป็นพวกเดียวกับทร็อตสกี และต่อต้าการปฏิวัติ 
1938 29 สิงหาคม, ถูกตัดสินประหารชีวิต และถูกนำไปยิงทิ้งที่คอมมูนาร์ก้า (Communarka shooting ground) พื้นที่ของ NKVD ที่สำหรับประหารนักโทษ

1955 2 กรกฏาคม, รัฐบาลโซเวียตในยุคหลังสตาลินได้ลบล้างความผิดของเขา

amzn_assoc_ad_type = “contextual”;
amzn_assoc_tracking_id = “hoboctn-20”;
amzn_assoc_marketplace = “amazon”;
amzn_assoc_region = “US”;
amzn_assoc_placement = “ZBYUDA42I5YV2PW4”;
amzn_assoc_linkid = “ZBYUDA42I5YV2PW4”;
amzn_assoc_emphasize_categories = “1000”;
amzn_assoc_fallback_products = “”;
amzn_assoc_width = “300”;
amzn_assoc_height = “250”;

Don`t copy text!