Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Paul I of Russia

พาเวล เปโตรวิช (Павел Петрович)
จักรพรรดิของรัสเซีย ระหว่าง  1796-1801

พอล มีประราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน 1754 ในพระราชวังฤดูร้อน, นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นโอรสของจักรพรรดินีแคทเธอรีน มหาราช (Catherine II The Great) ซึ่งขณะนั้นแคทเธอรีน ยังดำรงพระยศเป็นเพียงแกรนด์ดัชเชส (Grand Duchess)  ส่วนพระบิดาของพระองค์คือซาร์ปีเตอร์ ที่ 3 (Emperor Peter III) ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็นแกรนด์ดุ๊ก (Grand Duch)
มีข่าวลือกันว่าความเป็นจริงแล้วพอล ไม่ใช่โอรสของซาร์ปีเตอร์ที่ 3 แต่เป็นลูกของพันเอกเซอร์เกย์ ซัลตุกอฟ (Colonel Sergei Saltykov) คนรักคนแรกของแคทเธอรีน
ขณะที่ทรงอยู่ในวัยทารก ทรงถูกส่งตัวไปฝากไว้ในการอุปภัมภ์ของสมเด็จย่าของพระองค์ คือจักรพรรดินีอลิซาเบธ (Empress Elizabeth Petrovna) ซึ่งมีพระประสงค์ที่จะให้พอลสืบราชบัลลังค์ของพระองค์มากกว่าซาร์ปีเตอร์ ที่ 3 พระโอรส

1760 ได้เริ่มทรงพระอักษรจากนิกิต้า ปานิน (Nikita Ivanovich Panin)
1762 มกราคม, สมเด็จย่าของพระองค์สิ้นพระชนษ์  … ปีเตอร์ ที่ 3 จึงได้รับสถาปนาขึ้นเป็นซาร์พระองค์ใหม่
8 กรกฏาคม, พระนางแคทเธอรีน ก็ทำการปฏิวัติและขึ้นปกครองประเทศเอง
1771 ทรงประชวรด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ (typhus)
1773 29 กันยายน, ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงออกันเต้ (Auguste Wilhelmins Luise of Hessen-Darmstadt) ตามพระประสงค์ของพระนางแคทเธอรีน , หลังจากอภิเษกแล้วออกัสเต้ ได้เปลี่ยนมานับถือคริสต์ออโธดีอกซ์ และได้เปลี่ยนพระนามเป็นนาตาเลีย อเล็กซีฟน่า (Natalia Alekseevna)
1774 เกิดกรณีกบฏปูกาเชฟ (Pugachev’s Rebellion) นำโดยเยเมลยาน ปูกาเชฟ (Yemelyan Pugachev) ซึ่งนำชาวนาที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเยียกคอสแซ็ค (Yaik Cossacks) เรียกร้องให้มีการเลิกทาส และต่อต้านการปฏิรูปการบริหารราชการของจักรพรรดินีแคทเธอรีน ซึ่งในช่วงเวลานี้มีข่าวลือว่าปูกาเชฟเองประกาศว่าตัวเองเป็นปีเตอร์ ที่ 3 ที่ยังไม่สวรรคต
1776 เมษายน, นาตาเลียสวรรคตระหว่างกำลังจะคลอด
กันยายน, พอลอภิเษกอีกครั้งกับเจ้าหญิงเยอรมัน ชื่อโซเฟีย (Sophie Dorothea Auguste Luise of Wurttemberg) ซึ่งหลังแต่งงานได้เปลี่ยนพระนามมาเป็นมาเรีย  ฟีโอโดรอฟน่า(Maria Feodorovna) ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสและพระธิดารวมสิบคน
1777 เมื่อโอรสพระองค์แรกของพอลประสูติขึ้นมา จักรพรรดินีแคทเธอรีนได้มอบที่ดินผืนหนึ่งในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กให้เป็นของขวัญ ซึ่งพอลได้สร้างวังปาฟลอฟส์ก (Pavlovsk Palace) ขึ้นบนที่ดินนี้ โอรสของพระองค์ต่อมาภายหลังก็คือซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 1 (Alexander I of Russia)
1781 พอลพร้อมด้วยมาเรีย ฟีโอโดรอฟน่าเสด็จเยือนประเทศในยุโรปตะวันตก ระหว่าง 1781-1782
1783 ได้รับพระราชทานที่ดินในแกตไชน่า (Gatchina) จากจักรพรรดินีแคทเธอรีนอีกพืนหนึ่ง ซึ่งพอลได้นำมาสร้างเป็นสถานที่สำหรับฝึกทหาร และจำลองการรบ โดยใช้รูปแบบกองทัพของปรัสเซีย ซึ่งพอลมีไอดอลคือกษัตริย์เฟรดริช แห่งปรัสเซีย (Friedrich the Great of Prussia)

พอลเกิดความสงสัยว่าแคทเธอรีนพระมารดา, และมาเรีย ฟีโอดรอฟน่า จะทำร้ายพระองค์ เพราะแคทเธอรีนต้องการให้อเล็กซีน ขึ้นครองราชย์มากกว่า
ช่วงเวลานี้พอลจึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของบริวารอย่างสาวใช้ชื่อ แคทเธอรีน เนลิโดว่า (Catherine Nelidova), แอนนา โลปุคิน่า (Anna Lopukhina) และช่างตัดผมที่เป็นทาสเชื้อสายตุรกีชื่อ โครอยส์ซอฟ (Koroissov)
1797 17 พฤศจิกายน, จักรพรรดินีสวรรคต พอลขณะพระชมน์มายุ 42 พรรษา ได้ครองราชย์สืบต่อมา
5 เมษายน, มีพระราชพิธีราชาภิเษกในมอสโคว์

เมื่อทรงครองราชย์งานแรกๆ ที่ทรงทำ คือการปล่อยตัวนักโทษสำคัญหลายคน อย่าง ทาดุสซ์ คอสเซียสโก้ (Tadeusz Kosciuszko) ผุ้นำชาวโปแลนด์ที่ก่อจราจลต่อต้านรัสเซีย เขาถูกขังในเรือนจำหลังจากแพ้ในการรบเมื่อปี 1794 และยังปล่อยตัวอเล็กซานเดอร์ ราดิชเชฟ (Alexander Radishchev) นักเขียนซึ่งถูกจับหลังจากวิจารณ์แคทเธอรีนอย่างหนักหลายหน
พอลรับสั่งให้มีการถอนทหารที่แคทเธอรีนส่งไปพิชิตอิหร่านกลับประเทศ และเรียกทหารกว่าหกหมื่นนายที่ช่วยอังกฤษในการรบกับฝรั่งเศสกลับด้วย  โดยพอลมีนโยบายที่ต่อต้านการทำสงครามและไม่ต้องการขยายดินแดน พระองค์ต้องการเห็นสันติภาพในยุโรป แต่ติดปัญหาการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution) ที่ทำให้พระประสงค์ไม่เป็นจริง

ทรงปฏิรูปกฏหมายเกี่ยวกับทาส อย่างการห้ามใช้กำลังบังคับทาสให้ทำงานในวันอาทิตย์ และทาสสามารถให้การเป็นพยานและร้องเรียนต่อศาลยุติธรรมได้ได้
1798 มิถุนาย, นโปเลียน (Napoleon) ยึดเกาะมัลต้า (Malta) ซึ่งเป็นฐานกำลังหลักของอัศวินมัลต้า (Knights of Hospitaller) กลายเป็นชนวนสุดท้ายให้รัสเซียตัดสินใจทำสงครามกับฝรั่งเศส
1801 มกราคม, พอลสั่งให้ฟีโอดอร์ ออร์ลอฟ-เดนิสซอฟ (Feodor Orlov-Denisov) ทหารคอสแซ็ค นำกำลังทหารมุ่งไปยังอินเดียซึ่งเป็นดินแดนในอาณัติของอังกฤษ มีเป้าหมายเพื่อป่อนทำลายอำนาจของอังกฤษ แต่ว่าสองเดือนต่อมาพอลถูกปลงพระชนษ์เสียก่อน คำสั่งนี้จึงยังไม่ได้ปฏิบัติ
คืนวันที่ 23 มีนาคม ( O.S 11/12 มีนาคม) พอลถูกปลงพระชนภายในห้องบรรทมในพระราชวังเซนต์ไมเคิ้ล (St.Mkchael Palace)  โดยผู้ก่อเหตุนำโดยนายพลเบนนิกเซ่น (Bennigsen), นายพลแยชวิล (General Yashvil) ชาวจอร์เจีย พวกเขาบุกเข้าไปในห้องบรรทม พยายามข่มขู่ให้พอลลงพระนามสละราชบัลลังค์ พอลพยายามเจรจาแต่ว่าคนร้ายได้ใช้ดาบแทงพระองค์จนสิ้นพระชนษ์
ผู้บงการการลอบปลงพระชนษ์นี้ ได้แก่นายพล นิโคไล ซุบอฟ (Nikolay Zubov) , เคาต์ ปีเตอร์ พาห์เลน (Peter Ludwig von der Pahlen), นิกิต้า ปานิน (Nikita Petrovich Panin), โจเซ่ ริมาส (Jose de Ribas)  ใช้บ้านของโอลก้า ชุโบว่า (Olga Zubova) เป็นสถานที่ในการวางแผนการณ์, มีเพียงริมาสเท่านั้นที่ไม่ได้ร่วมก่อเหตุในคืนวันลอบปลงพระชนม์เพราะเขาเสียชีวิตไปก่อน

หลังพอลสวรรคต นายพลซุบอฟ ผู้นำในการก่อการณ์ครั้งนี้ ได้ไปผู้กับอเล็กซานเดอร์ ที่ 1 ซึ่งก็อยู่ในพระราชวังที่เกิดเหตุ  นายพลซูบอฟบอกกับอเล็กซานเดอร์ว่า  “ได้เวลาเติบโตแล้ว, จงไปแล้วปกครอง / Time to grow up/ Go and Rule” … อเล็กซานเดอร์ ที่ 1 จึงสืบราชสมบัติสืบมา

Don`t copy text!