Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Robert Oppenheimer

จูเรียส โรเบิร์ต ออฟเพนไฮเมอร์ (Julius Robert Oppenheimer)

บิดาแห่งระเบิดนิวเคลียร์

ออฟเพนไฮเมอร์ เกิดเมื่อวันที่  22 เมษายน 1904 ในนิวยอร์คซิตี้  พ่อของเขาชื่อจูเลียส (Julius Seligmann Oppenheimer, 1865-1948) เป็นชาวเยอรมันที่อพยพเข้ามาอาศัยในสหรัฐตั้งแต่ปี 1988 และประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าผ้าจนมีฐานะร่ำรวย แม่ชื่อว่าเอลล่า (Ella Firedman) เป็นจิตรกร เขายังมีน้องชายอีกคนหนึ่งชื่อแฟรงค์ (Frank Oppenheimer) ซึ่งต่อมาเป็นนักฟิสิกเช่นกัน 
1911 เข้าเรียนที่  Ethical Culture Society School
1922 เมื่ออายุ 18 ปี เข้าเรียนที่ฮาร์วาร์ดคอลเลจ (Harvard College) ในสาขาเคมี  แต่ว่าไม่นานก็ล้มป่วยด้วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (ulcerative colitis)  ทำให้เขาถูกพาตัวไปรักษาอาการป่วยในยุโรปช่วงซัมเมอร์ ก่อนที่จะกลับมาเรียนต่อ
ระหว่างที่เรียนได้ถูกตอบรับให้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคม Phi Beta Kappa 
1924 เข้าเรียนที่คริสต์คอลเลจ, แคมบริดจ์ (Christ’s College, Cambridge)
1926 ออกจากแคมบริดจ์ มาเรียนที่ก๊อตตินเจน (University of Göttingen) ในเยอรมัน โดยได้มีโอกาสเรียนกับแม็ก บอร์น (Max Born)  ซึ่งระหว่างอยู่ที่นี่มีผลงานทางวิชาการพิมพ์ออกมาหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัมซึ่งยังเป็นเรื่องใหม่ในเวลานั้น  
1928 กลับมาสหรัฐอเมริกาและทำงานที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California)
1930 เขียนบทความทำนายการมีอยู่ของอนุภาคโพสิตรอน  (positron) ซึ่งอาศัยผลงานของดิเรค (Paul Dirac) ในปี 1928 ซึ่งเขาเป็นว่าอิเล็กตรอนสามารถมีประจุเป็นบวกได้ ในขณะที่ดิเรคคิดว่าอนุภาคดังกล่าวน่าจะเป็นโปรตอน
1936 มีความสัมพันธ์กับจีน แททล๊อค (Jean Tatlock) นักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นลูกสาวของศาสตราจารย์จากเบิร์กเลย์ แททล๊อค ยังเขียนคอลัมน์ลงในหนังสือพิมพ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ The Western Worker  
1937 บริจาคเงินสนับสนุนให้กับ International Brigades ช่วง Spanish Civil War
1940 1 พฤศจิกายน, แต่งงานกับแคทเธอรีน (Katherine Puening Harrison) แคทเธอรีนเคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาก่อน และเคยผ่านการแต่งงานมาแล้วสามครั้ง ทั้งคู่มีลูกด้วยกันสองคนคือปีเตอร์ (Peter, b.1941) กับแคทเธอรีน (Katherine, b.1944) แต่ว่าความสัมพันธ์ของออฟเพนไฮเมอร์ กับแททล็อคยังคงดำเนินต่อไป
1942   ออฟเพนไฮเมอร์ได้รับแต่งตั้งจากโกรฟ (Brigadier General, Leslie R. Groves) ให้เป็นหัวหน้าโครงการแมนฮัตตัน  (Manhattan Project) ในการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ แต่ว่าระหว่างทำงานอยู่ในโครงการแมนฮัตตันนี้เขาถูกซีไอเอจับตามองอยู่ตลอด เนื่องจากบูมหลังที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์
1944 4 มกราคม, แททล็อคฆ่าตัวตาย 
1945 16 กรกฏาคม , สหรัฐทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรก ในทะเลทรายในนิวเม็กซิโก ซึ่งใช้ชื่อรหัสสถานที่ว่าไตรนิตี้ (Trinity) โดยออฟเพนไฮเมอร์บอกว่าชื่อไตรนิตี้นี้มาจากบทกวี Holy Sonnet ของจอห์น ดอนน์ (John Donne)
พฤศจิกายน,  ได้ออกจากโครงการแมนฮัตตัน และกลับไปสอนยัง ม.เทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย
ภายหลังออฟเพนไฮเมอร์กล่าวถึงการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ของตัวเองเอาไว้ว่า  I am become Death, the destroyer of worlds / ฉันเหมือนตายไปแล้ว กลายเป็นคนที่ทำลายโลกนี้ 
1947 มาเป็นผู้อำนวยการของสถาบัน IAS (Institue for Advanced Study) ในพรินตัน, นิวเจอร์ซีย์ (Princeton, New Jersey)  , และได้ดำรงตำแหน่งประธานของคณะกรรมการด้านพลังงานนิวเคลียร์ (Atomic Energy Commission, AEC)
1949  ต่อต้านการพัฒนาระเบิดไฮโดรเจน ทำให้มีปัญหากับ Edward Teller
1953 ในสมัยของประธานาธิบดีไอเซ่นเฮาว์ (Dwight D. Eisenhower) เกิดกระแสแม็คคาร์ธีลิซึ่ม (McCarthyism) ซึ่งกลายมาเป็นการต่อต้านคอมมิวนิสต์  ออฟเพนไฮเมอร์ถูกกล่าวหาว่าเคยเป็นคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเขาถูกกันออกจากโครงการนิวเคลียร์ของสหรัฐ
1954 AEC ยกเลิกสิทธิพิเศษด้านการเข้าถึงข้อมูล (security clearance) ของออฟเพนไฮเมอรื  
หลังจากนี้เขาใช้ชีวิตที่เหลือในการสอนหนังสือ งานเขียน และเดินทางไปบรรยายในยุโรป
1959 ทำงานกับมหาวิทยาลัยโคโลราโด้ (University of Colorado)
1963 ได้รับรางวัล Enrico Fermi ในสมัย ปธน.จอห์นสัน (Lyndon Johnson) ซึ่งคล้ายกับเป็นการอภัยโทษและคืนเกียรติยศให้กับเขา 
1967  เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในลำคอ 18 กุมภาพันธ์ ภายในบ้านพักที่ IAS
Don`t copy text!