Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Geroge Berkeley

จอร์จ เบิร์กลีย์  (George Berkeley)

ผู้สร้างปรัญชา Immaterialism (subjective idealism)
เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 1685 ภายในปราสาทดีซาร์ต (Dysart Castle) ในคิลเคนนี, ไอร์แลนด์ (Kilkenny country, Ireland) พ่อของเขาเป็นทหารชื่อวิลเลี่ยม (Wiliam Berkeley) 
เร่ิมเรียนหนังสือที่วิทยาลัยคิลเคนนี  (Kilkenny College) 
1700 เมื่ออายุ 15 ปี เข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยไตรนิตี้ ในดับลิน (Trinity College, Dublin)
1707 เรียนจบปริญญาโทรที่วิทยาลัยไตรนิตี้ แต่ยังคงทำงานอยู่ที่วิทยาลัยโดยเป็นครูสอนวิชาภาษากรีก
1709 เขียน Essay Towards a New Theory of Vision 
1710 Treatise concerning the Principles of Human Knowledge 
1713 Three Dialogues between Hylas and Philonous
1721 ได้รับรางวัล Holy Orders จากนิกายาเชิร์ชออฟไอแลนด์( Church of Ireland) และได้รับปริญญาเอกทางด้านศาสนา หลังจากนั้เขาได้ทำงานสอนด้านเกี่ยวกับศาสนา โดยได้รับตำแหน่งอธิการแห่งโดรมอร์ (Dean of Dromore) สอนหนังสืออยู่ที่วิหารพระไถ่ (Christ the Redeemer Cathedral, Dromore) 
1724 ย้ายมาเป็นอธิการเดอร์รี่ (Dean of Derry) ซึ่งสอนศาสนาอยู่ที่วิหารเซนต์โคลัมบ์ (St. Columb’s Catherdral)
1725 ทำโครงการให้ทุนแก่นักเรียนในเบอร์มิวด้า (Bermuda) โดยนักเรียนจะเป็นผู้ที่ต้องการจะเป็นครูสอนศาสนาซึ่งจะถูกส่งไปยังดินแดนอาณานิม
1728 แต่งงานกับแอนน์ ฟอร์สเตอร์(Anne Forster) ซึ่งพ่อของเธอเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาในศาลอุทรณ์ของไอร์แลนด์
1729 23 มกราคม, เขาเดินทางมาถึึงท่าเรือบนเกาะโรดไอส์แลนด์ (Rhode Island)  ในสหรัฐฯ  และไม่นานเขาก็ซื้อบ้านหลังหนึ่งพร้อมฟาร์มขนาด 96 เอเคอร์ เขาตั้งชื่อบ้านนี้ว่า Whitehall ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์  แต่โครงการเบอร์มิวด้าของเขาต้องล้มเลิกไปเพราะขาดเงินทุนสนับสนุน 
1732 เดินทางกลับมายังลอนดอน และทำงานช่วยเหลือเด็กๆ ที่ไร้บ้าน
พิมพ์หนังสือ Alciphron (The Minute Philosopher)  เพื่อตอบโต้กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการมีตัวตนของพระเจ้า
1734 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบิชอฟแห่งโคลนี (Bishop of Cloyne) 
1744 Siris เป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเขา เพราะมีเนื้อหาเกี่วกับการใช้น้ำทาร์ (Tar Water, น้ำที่ได้จากถ่านของสน)  ซึ่งเขายกย่องว่ามันเป็นยาที่ใช้รักษาบาดแผลได้ดี
1752 ย้ายจากโคลนีไปยังอ็อกฟอร์ด โดยอาศัยอยู่กับลูกชาย 
1753 12 มีนาคม, เสียชีวิตที่อ็อกฟอร์ด ร่างของเขาถูกฝังที่วิหารไครสต์เชิร์ช (Christ Chruch Cathedral, Oxford) 
ผลงานของเขาได้รับความสนใจหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยเป็นที่รู้จักมากจากวลี Esse est percipi (to be is to be perceived / มีตัวตนหรือไม่ขึ้นอยู่กับการรับรู้) ประโยคอย่าง If a tree fall in a forest and no one is around to hear it , does it make a sound ? (ต้นไม้ล้มในป่า, ไม่มีเสียง ?) คล้ายกับที่เบิร์กลีย์ เขียนเอาไว้ในหนังสือ The Principles (1710)  ซึ่งเป็นบางท่านยกย่องเบิร์กลีย์ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของปรัญชา Idealism ซึ่งงานของเขามีอิทธิพลของคานต์ (Immanuel  Kant) และฮูม (David Hume) 
ชื่อเมืองเบิร์กลีย์ ในสหรัฐฯ ถูกตั้งตามชื่อของเขา
ผลงานเขียนบางส่วน
  • 1709, Essay Towards a New Theory of Vision 
  • 1710Treatise concerning the Principles of Human Knowledge 
  • 1713Three Dialogues between Hylas and Philonous
  • 1732, Alciphron (The Minute Philosopher) 
  • 1735, The Querist
  • 1744 Siris
  • 1752, Further Thoughts on Tar-water 
Don`t copy text!