Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Erwin Schorödinger

เออร์วิ่น โชโรดิงเออร์ (Erwin Rudolf Josef Alexander Schorödinger)

ผู้บุกเบิกทฤษฏีควอนตัม 

เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 1887 ในกรุงเวียนนา, ออสเตรีย เขาเป็นลูกคนเดียวของ รูดอล์ฟ (Rudolf Schrödinger) กับจอร์จิน่า (Georgina Emilia Brennda) พ่อของเขามีกิจการผลิตผ้า ครอบครัวมีฐานะร่ำรวยมาก   พ่อของเขานั้นนับถือแคโธริก ในขณะที่แม่นับถือนิกายลูเธอรัน 
ตาของโชโรดิงเออร์ คือ อเล็กซานเดอร์ บัวร์ (Alexander Bauer) นักเคมีมีชื่อเสียงชาวอังกฤษ  
โชโรดิงเออร์เรียนหนังสืออยู่กับบ้านจนอายุ 11 ปี
1898 เข้าเรียนมัธยมปลายที่อคาเดมีจิมเนเซียม (Offentliches Academisches Gymnasium) ช่วงที่เรียนไฮสคูลนี้โชโรดิงเออร์มีความสามารถในการพูดได้ถึง 6 ภาษา ได้แก่ กรีก, ลาติน, ฝรั่งเศส, สเปน, อิตาลี และอังกฤษ นอกจากนั้นเขายังสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา 
1906 เข้าเรียนที่มหาวิทายาลัยเวียนนา (University of Vienna)  ในสาขาคณิตศาสตร์และฟิสิก โดยอาจารย์ที่สอนวิชาฟิสิกคือ ฟรานซ์ เอ็กเนอร์ (Franz Exner) , ฟริดริช เฮเซนนอห์ร ( Fridrich Hasenöhrl), อีกอน ชไวด์เลอร์ (Egon Schweidler)
1910 สำเร็จการศึกษา ซึ่งหลังจากจบแล้ว เขาเข้าเป็นทหารเกณฑ์ในกองทัพออสเตรียอยู่ 1 ปี
1911 ตุลาคม หลังปลดประจำการณ์ ได้กลับเข้ามาทำงานเป็นผู้ช่วยของ ศจ. เอ็กเนอร์ 
1914 ช่วงสงครามโลกครั้งที่  1 เข้าเป็นทหารอีก แต่ว่าถูกส่งไปประจำการณ์ในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรียซึ่งมีค่อนข้างสงบ ในทริสเต้ (Trieste)
1917 ได้รับตำแหน่งศาสตร์จารย์ด้านอุตุนิยมวิทยา (professor of meteorology) ในเมือง Wiener Neustadt
1918 กลับมาเวียนนา
1920 ย้ายมาทำงานที่สถาบันฟิสิกของมหาวิทยาลัยเจน่า (University of Jena) ตามคำชวนของแม็กซ์ วิน (Max Wien) ผู้อำนวยการของสถาบันฟิสิกขณะนั้น แต่ว่าเขาทำงานอยู่ได้แค่สี่เดือน ก็ย้่ายไปที่สตุตการ์ด และทำงานที่มหาวิทยาสตุตการ์ด (University of Stuttgart) ในตำแหน่ง ศจ.พิเศษ
6 เมษายน แต่งงานกันแอนเน่แมรี่ (Annemarie Bertel)
1921 ย้ายมาอยู่ในเมืองซูริค ช่วงนี้โชโรดินเออร์เริ่มมีอาการป่วยด้วยวัณโรค ทำให้ต่อมาเดินทางไปพักรักษาตัวในเมืองอโรซ่า (Arosa, Swiss) ในสวิสเซอร์แลน และใช้เวลาระหว่างนี้เขียนผลงานเกี่ยวกับกลศาสตร์ของคลื่น (wave mechanics) 
1925 สร้างสมการ Schorödinger equation ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Applied Physics ในปีถัดมา 
1927 มาทำงานที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (University of Berlin) ซึ่งที่นี้ทำให้ได้มีโอกาสรู้จักกับแม็กซ์ แพลงค์ (Max Planck), ไอสไตน์ (Albert Einstein), และ แม็กซ์ โล (Max von Laue) ซึ่งต่างก็มีส่วนช่วยในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งในปีนี้พวกเขาทั้งหมดยังได้ร่วมประชุมโซลเวย์ (Solvay Conference) ซึ่งมีหัวข้อเกี่ยวกับควอนตัมฟิสิก
1933 ย้ายมาอยู่ที่อ็อกฟอร์ด ในอังกฤษ เมื่อฮิตเลอร์เริ่มมีอำนาจในเยอรมัน  เขาได้เป็นสมาชิกของ Magdalen College  แต่ว่าไม่ได้มีหน้าที่ในการสอนหนังสือ
ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิก ร่วมกับพอล ดิแร็ก (Paul Adrien Maurice Dirac)  จากสมการโชโรดิงเออร์ซึ่งอธิบายรูปแบบของอะตอม (for the discovery of new productive forms of atomic theory)
ช่วงเวลานี้โชโรดิงเออร์มีชู้กับ ฮิลเด้ มาร์ช (Hilde March) ภรรยาของอาร์เธอร์ มาร์ช (Arthur March) ซึ่งฮิลเด้ ได้ให้กำเนิดลูกสาวชื่อรูธ (Ruth Georgine March) ในปี 1934 
1935 Schrödinger’s cat
 แมวตัวหนึ่งถูกใส่ไว้ในกล่องทึบ ซึ่งในกล่องมีอุปกรณ์ดังนี้  1.ไกเกอร์เคาน์เตอร์ (Geiger counter , เครื่องวัดกัมมันตภาพรังสี) , 2.สารกัมมันตภาพรังสี (radioactive substance) , 3. ขวดบรรจุกรดไฮโดรไซยานิค (flask of hydrocyanic acid) 
เมื่อสารกัมมันตภาพรังสืเกิดการสลายตัวและปล่อยอนุภาคออกมา เครื่องไกเกอร์เคาน์เตอร์ก็จะทำงาน แล้วฆ้อนจะถูกปล่อยออกมาเพื่อทำให้ขวดที่บรรจุกรดไฮโดรไซยานิคแตก ซึ่งจะทำให้แมวตาย
โชโรดิงเออร์ มีความเห็นว่า ข้อสันนิษฐานจากการประชุมที่โคเปนเฮเก้น (Copenhagen Interpretation) ที่อธิบายว่า ควอนตัมคือภาวะที่อนุภาคนัั้นอยู๋ในสถานะทุกๆ สถานะจนกว่าจะมีผู้สังเกตุ ซึ่งหากเป็นอย่างนี้โชโรดิงเออร์จึงเทียบว่า ถ้ากัมมันตรภาพรังสีภายในกล่องอยู่ในสภาวะที่มีการสลายตัว และสภาวะที่ไม่มีการสลายตัว  แมวในกล่องก็จะอยู่ในสภาวะที่เป็นแมวเป็นและแมวตายจนกว่าจะมีคนไปเปิดกล่อง  เขาเห็นว่าข้อสันนิษฐานจากโคเปนเฮเก้นนั้นเป็นความเชื่อไสยศาสตร์ (superstitution) และควรจะหาข้อสันนิษฐานอื่น
1936 มาทำงานที่มหาวิทยาลัยกราซ (Universtiy of Graz) ในออสเตรีย
1937 ได้รับรางวัล Max Planck medal 
1938 ต้องออกจากออสเตรียเมื่อนาซีเยอรมันผนวกออสเตรียเข้าไปอยู่ใต้อิทธิพล โชโรดิงเออร์เดินทางไปยังกรุงโรม และต่อมาได้ตำแหน่งงานชั่วคราวที่มหาวิทยาลัยเกรนต์ (University of Ghent, Belgium) ในเบลเยี่ยม
1939 เมื่อเริ่มเกิดสงครามโลก ได้ย้ายไปอยู่ที่ไอร์แลนด์ และได้ทำงานที่สถาบันดับลิน (Dublin Institute for Advanced Studies) 
1956 ตุลาคม, กลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยเวียนนา ตามคำขอของรัฐบาลออสเตรีย 
1961      4 มกราคม เสียชีวิตภายในโรงพยาบาลในเวียน่าขณะอายุ 73 ปี โดยสาเหตุจากวัณโรค 
Don`t copy text!