Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

George Gamow

จอร์จี กามอฟ (Георгий Антонович Гамов)

นักฟิสิก มีส่วนในการพัฒนาทฤษฏีบิ๊กแบงและควอนตัม
กามอฟ (อังกฤษ , จอร์จ กาโมว) เกิดในเมืองโอเดสส่า (Odessa, Ukrine) จักรวรรดิรัสเซียเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 1904 (20 กุมภาพันธ์ O.S.)  พ่อของเขาชื่อแอนตัน (Anton M. Gamow) เป็นครูสอนภาษารัสเซียในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง  และแม่ชื่ออเล็กซานดร้า (Alexandra Arsenevna Lebedintseva) เป็นครูสอนทางด้านประวัติศาสตร์
ตอนยังเล็กกามอฟเรียนภาษาฝรั่งเศสโดยมีแม่เป็นคนสอน และเรียนภาษาเยอรมันจากอาจารย์พิเศษ กามอฟนั้นไม่สันทัดในภาษาอังกฤษจนกระทั้งเมื่อได้เรียนได้วิทยาลัย 
1921 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโนโวรอสซิย่า (Novorossiya University) ในโอเดสสา ในภาควิชาคณิตศาสตร์ของคณะฟิสิกและคณิตศาสตร์ โดยได้เรียนฟิสิกกับอาจารย์ นิโคลัส คัสเตริน (Nicholas Kasterin) และเลขจากอาจารย์เบนจามิน คาแกน (Benjamin Kagan) 
1922 ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเลนินกราด (University of Leningrad) ในคณะฟิสิกและคณิตศาสตร์
1924  มาทำงานวิจัยที่สถาบันวิจัยเกี่ยวกับแสง (State Optical Institute) ได้มีโอกาสร่วมงาน อเล็กซานเดอร์ ไฟรด์แมนน์ (Alexander Friedmann) ซึ่งเป็นนักฟิสิกคนสำคัญคนหนึ่งที่พัฒนาทฤษฏีบิ๊กแบงด้วย  แต่ไฟรด์แมนน์นั้นเสียชีวิตไปในปี 1925 ในช่วงที่กามอฟกำลังทำวิทยานิพนธ์โดยเขาเป็นที่ปรึกษา 
1926 สำเร็จการศึกษา
1928 ได้รับทุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ให้ไปศึกษาที่เยอรมัน ที่ก๊อตตินเจ้น (Göttingen) 
สร้างทฤษฏีของ tunnelling ที่อธิบายปัญหา Alpha decay  เขาอธิบายให้เห็นว่าอนุภาคอัลฟ่าแม้ว่าจะมีพลังงานต่ำแต่ก็สามารถหลุดออกมาจากนิวเคลียสได้อย่างไร โดยอาศัยอุโมงค์ (tunnel)   ซึ่งเป็นหลักการณ์ที่สำคัญมากของควอนตัมฟิสิก 
1930 มาอยู่ที่สถาบันฟิสิกทฤษฏี มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเก้น (Theoretical Physics Institute, U. of Copenhegen) มีโอกาสได้ร่วมงานกับนิล บอห์ร (Niel Bohr)
1931 ย้ายมาทำงานกับเออร์เนสต์ รูเธอร์ฟอร์ด (Ernest Rutherford) ที่ห้องปฏิบัติการคาเวนดิช ในมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Cavendish Laboratory, Cambridge) 
ช่วงฤดูใบไม้ผลิ เขาเดินทางกลับมาโซเวียต เข้าทำงานกับสถาบันไอออฟ ( Leningrad Physic-Technical Institute, Ioffe Institute) 
ในปีนี้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสังเกตุการณ์ของสถาบันวิทยาศาสตร์โซเวียต (USSR Academy of Sciences) 
แต่งงานกับ ลัวบอฟ โวคมินต์เซว่า (Lyobov Vokhmintseva) กามอฟเรียกเธอว่าโรห์ (Rho) เธอเป็นนักฟิสิกเช่นกัน หลังจากแต่งงานแล้วทั้งคู่ได้พยายามหลบหนีออกจากสหภาพโซเวียต พวกเขาพยายามใช้เรือคายัคพายข้ามทะเลดำเพื่อจะไปย้งตุรกี ทว่าระหว่างทางเจอพายุจนต้องล้มเลิกแผน
1932 ร่วมออกแบบเครื่องฉายแสงซินโครตรอน (Cyclotron) เครื่องแรกของโซเวียตและของยุโรป 
ได้รับอนุญาตจากทางการโซเวียตให้เดินทางมาร่วมงานการประชุมโซลเวย์ (7th Solvay Conference) ในกรุงบรัสเซลส์ ซึ่งกามอฟตัดสินใจไม่เดินทางกลับโซเวียตหลังจากนี้  กามอฟเข้าทำกับกับสถาบันมารี คูรีย์ (Curie Institute) และมหาวิทยาลัยลอนดอนช่วงสั้นๆ ในระหว่างนี้
1934 พร้อมด้วยภรรยาย้ายมาอยู่ในสหรัฐอเมริกา และได้ตำแหน่งศาสตร์จารย์ที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน (George Washinton University) ซึ่งเขาได้โอกาสนี้จ้างเอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ (Edward Teller) นักฟิสิกฮังกาเรียนจากอังกฤษมาทำงานร่วมกันที่มหาวิทยาลัย ภายหลังในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เทลเลอร์กลายเป็นหัวหน้าโครงการสร้างระเบิดไฮโดรเจนของสหรัฐ 
1935 ลูกชายคนแรกชื่ออิกอร์ กามอฟ (Igor Gamow) เกิดขึ้นมา
1936 กามอฟและเทลเลอร์ ร่วมกันสร้างกฏของกามอฟ-เทลเลอร์ (Gamow-Teller selection rule) เกี่ยวกับ Beta decay
1938 สถาบันวิทยาศาสตร์โซเวียตลบเขาออกจากการเป็นสมาชิก 
1940 ได้รับสัญชาติอเมริกัน
1942 กับเทลเลอร์ เสนอทฤษฏี Red Giant ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์หลายสิบเท่า แต่มีมวลน้อยกว่า เกิดจากการที่ปฏิกริยานิวเคลียร์ของดาวฤกษ์นั้นหยุดลงเพราะใช้ไฮโดรเจนไปจนเกือบหมด แต่ความร้อนที่แกนกลางจะเปลี่ยนไฮโดรเจนที่เหลือไปเป็นฮีเลียม ทำให้ดาวมีขนาดใหญ่ขึ้น กลายเป็นดาวแดงยักษ์ ตัวอย่างเช่นดาว Aldebaran, Arcturus ดวงอาทิตย์ของเราก็ถูกคาดว่าจะกลายเป็นดาวแดงในอีกห้าพันล้านปี
1948 The Origin of Chemical Elements ถูกพิมพ์ออกมา กามอฟร่วมเขียนหนังสือเล่มนี้กับลูกศิษย์ ราล์ฟ อัลเฟอร์ (Ralph Alpher) ซึ่งกลายมาเป็นที่มาของทฤษฏี Alpher-Bethe-Gamow theory  ซึ่งได้ทำนายการมีอยู่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพื้นหลังของจักรวาล (Cosmic microwave background radiation) ก่อนจะถูกค้นพบในปี 1964 ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้สนับสนุนทฤษฏีบิ๊กแบง
1954 ย้่ายมาสอนที่เบิร์กเลย์ (Berkeley) 
1956 ย้ายมาสอนทีี่มหาวิทยาลัยโคโลลาโด้ (University of Colorado at Boulder) เป็นสถานที่ทำงานสุดท้ายของเขาจนเสียชีวิต
ร่วมก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ฟิสิก (Physical Science Study Committee) 
หย่าจากภรรยา 
ได้รับรางวัล Kalinga Prize จากองค์การยูเนสโก้ จากผลงานเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง  Mr. Tompkins 
1958 แต่งงานใหม่กับบาร์บาร่า เปอร์กิ้น (Barbara Perkins)
1968 19 สิงหาคม เสียชีวิตในโคโลราโด้ อายุ 64 ปี ร่างของเขาถูกนำไปฝังที่สุสานกรีนเมาน์เทน (Green Mountain Cemetery)
1970 My World Line: An Informal Autobiography หนังสือชีวิตประวัติกามอฟ ที่เขาเป็นผู้เขียนพิมพ์ออกมา
1990 สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งโซเวียตคืนสถานะสมาชิกให้กับเขา 
ผลงานเขียน
  • 1940 The Birth and Death of the Sun
  • 1940 Mr. Thompkins in Wonderland 
  • 1941 The Biography of the Earth
  • 1945     Mr. Thompkins Explores the Atom
  • 1947 1,2,3 … Infinity 
  • 1953 The Moon
  • 1953     Mr. Thompkins Learns the Facts of Life
  • 1961 Biography of <iframe src=“http://player.vimeo.com/video/43828580?title=0&amp;byline=0&amp;portrait=0” width=“500” height=“375” frameborder=“0” webkitAllowFullScreen mozallowfullscreen allowFullScreen></iframe>
  • 1962 Gravity
  • 1963 A Planet Called Earth
  • 1964 A Star Colled Sun
  • 1965     Mr. Thompkins in Paperback
  • 1966 30 Years That Shook Physics: The Story of Quantum Theory
  • 1967     Mr. Thompkins Inside Himself
  • 1970 My World Line : An informal Autobiography  
Don`t copy text!