Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Alexander the Great

356 BC อเล็กซานเดอร์ เกิดในวันที่ 6 เดือนเฮกาตอมเบียน (Hekatombaion) ตามปฏิทินแอ๊ตติค (Attic calender)  ปฏิทินโบราณของกรีกซึ่งไม่เป็นที่แพร่หลาย ทำให้คาดกันว่าวันพระราชสมภพของอเล็กซานเดอร์เป็นวันที่ 20 กรกฏาคม 356 BC 
พระองค์ประสูติในเมืองเพลลา (Pella) เมืองหลวงของราชอาณาจักรมาเคดอน (Kingdom of Macedon) 
พระองค์ประสูติในเวลากลางคืน ในขณะที่เฮโรสตราท (Herostrat) กำลังจุดไฟในวิหารอาร์เตมิส (Temple of Artemis)  ทรงเป็นโอรสของกษัตริย์ฟิลิป ที่ 2 (Philip II, King of Macedon) และพระมเหสีองค์ที่ 4 ชื่อ โอลิมเปียส (Olympias)  , โอลิมเปียสนั้นเป็นเจ้าหญิงจากอาณาจักรอีปิรัส (Epirus) ธิดาของกษัตริย์ Neoptolemus I
พลูตาร์ช (Plutarch) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกเล่าเอาไว้ว่า ในคืนที่โอลิมเปียสแต่งงานกับฟิลิป ได้ทรงฝันว่าทรงโดนฟ้าฝ่าที่ท้อง แล้วตัวก็ลุกเป็นไฟ ก่อนที่ต่อมาไฟจะหายไป, ในขณะที่ฟิลิป เองก็ฝันว่าได้ทรงช่วยพระมเหสีที่ตัวลุกเป็นไฟ โดยใช้ผ้าที่ปักลายสิงโตดับ
ยังมีตำนานเล่าว่าในคืนที่พระองค์ประสูติเกิดไฟไหม้วิหารอาร์เตมิส (temple of Artemis) 
ในวัยเด็กของอเล็กซานเดอร์นั้นพระองค​์ถูกส่งไปยังเมืองไมซ๋า (Mieza) ที่อยู่ใกล้กับเพลลา และได้รับการดูแลโดยพี่เลี้ยงชื่่อลาไนก์ (Lanike) และได้รับการสอนหนังสือและการต่อสู้โดยลีโอนิดาส (Leonidas) ซึ่งเป็นญาติฝ่ายมารดา และนายทหารชื่อไลซิมาชัส (Lysimachus) 
ตอนอายุได้ 10 ขวบ ได้มีพ่อค้าจากเธซาลี (Thesaly) คนหนึ่งนำม้ามาขายให้กับกษัตริย์ฟิลิป แต่ว่าม้าตัวนั้นมีท่าท่าตื่นตกใจ จนอเล็กซานเดอร์สังเกตุเห็นว่าม้านั้นกลัวเงาของเขา เขาจึงได้เดินเข้าไปปลอบเจ้าม้า และได้ซื้อม้าเอาไว้ โดยตั้งชื่อว่า บูซฟาลัส (Bucephalas) แปลว่า “หัวของวัว” ม้าตัวนี้อเล็กซานเดอร์เคยใช้เป็นพาหนะเดินทางไปจนถึงปากีสถาน และมันเสียชีวิตตอนมันมีอายุได้ประมาณ 13 ปี ซึ่งอเล็กซานเดอร์ได้ตั้งชื่อเมือง Bucephala ไว้เป็นอนุสรณ์
เมื่ออายุได้ 13 ปี เขาเริ่มเรียนหนังสือกับอลิสโตเติ้ล (Aristotle) โดยเข้าเรียนที่วิหารแห่งนิมฟัส (Temple of Nymphs) ในเมืองไมซ่า (Mieza) โดยเพื่อนร่วมชั้นเรียนของเขา อย่าง ปโตเลมี (Ptolemy) เฮเพียสชั่น (Hephaistion)  วิชาที่พวกเขาเรียน คือ ปรัญชา, การแพทย์, ศาสตร์ และศิลปะ  โดยหนังสือที่อเล็กซานเดอร์ชอบคือเรื่องอิเลียด (Iliad , Homber) ของโฮมเมอร์ 
340 BC เมื่ออายุ 16 ปี เขาสำเร็จจากโรงเรียนของอริสโตเติ้ล ในขณะที่พิลิปออกไปทำสงครามกับไบแซนชั่น (Byzantion)  ทำให้อเล็กซานเดอร์ต้องดูแลเมือง ซึ่งชาวเธรซั่น แมดิ (Thracian Maedi) ที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมาเซโดเนีย ได้อาศัยโอกาสนี้จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับชาวมาเซโดเนีย  อเล็กซานเดอร์จึงได้นำทหารเข้าไปปราบปรามและตั้งเมืองอเล็กซานโดโปลิส (Alexandropolis) ขึ้นในบริเวณนั้น  
 หลังจากนั้นเมื่อฟิลิปกลับมาจึงได้มอบกองทหารให้เขาจำนวนหนึ่ง ซึ่งอเล็กซานเดอร์ได้นำทัพไปปราบการประท้วงในเมืองเพรินธัส (Perinthus) และ เธรซ (Thrace) 
338 BC (Battle of Chaeronea) ฟิลิปและอเล็กซานเดอร์ร่วมกันบุกกรีซ โดยรบกับกองทัพ Theban Secret Band ของกรีก , พวกเขาโจมตีเมือง Thermopylae หลังจากนั้นได้บุกเมือง Elatea , Athens , Thebes  และมีชัยชนะ
หลังจากสงครามฟิลิปตกหลุมรักกับคลีโอพัตรา (Cleopatra) หญิงชาวมาเซโดเนียจากตระกูลที่มีชื่อเสียง โดยนางเป็นหลานของนายพลแอตตาลัส (general Attalus) ซึ่งหากว่าการแต่งงานสำเร็จ แอตตาลัสจะมีสิทธิในการสืบทอดบัลลังค์ต่อจากฟิลิป ทำให้อเล็กซานเดอร์ไม่พอใจ และเขาขัดแย้งกับฟิลิปและแอตตาลัส 
อเล็กซานเดอร์ พาแม่ของเขาเดินทางออกจากเมืองไปยังอีฟิรัส (Epirus) 
336 BC ฤดูใบไม้ผลิ ในเมืองแอเกีย (Aegae) เหมืองหลวงเก่าของมาเซโดเนีย  ในพิธีแต่งงานระหว่างฟิลิปกับคลีโอพัตรา 
ฟิลิปถูกสังหารโดยทหารองค์รักษ์ของเขาเองชื่อปัวซาเนียส (Pausanias) หลังจากการสังหารฟิลิปแล้วปัวซาเนียสพยายามหลบหนีแต่ว่าถูกทหารที่ตามล่าสังหาร
การสวรรคตของฟิลิปทำให้เผ่าต่างๆ ในประเทศพากันฉวยโอกาสก่อความวุ่นวาย ทั้ง Illyrians, Tracians, Greek เพื่อต้องการเป็นเอกราช อเล็กซานเดอร์จึงได้รีบนำกองทัพไปปราบปรามเริ่มจากตอนเหนือของกรีกลงไปจนถึงตอนใต้ หลังจากปราบปรามการก่อกบฏของกรีกแล้ว เขาก็ยกทัพไปปราบชาวเธรซ จนไปถึงบริเวณแม่น้ำดานูบ  จากนั้นก็ปราบอิลลีเรียนลงได้ในเวลาอันรวดเร็ว
หลังจากนั้นได้มีการเปิดประชุมสภาในเมืองโคริธ (Corinth) และอเล็กซานเดอร์ได้รับตำแหน่งกษัตริย์องค์ใหม่ ระหว่างอยู่ในโครินธ์ อเล็กซานเดอร์ได้พบกับดิโอจิเนส (Diogenes) นักปราญช์ไซนิค (Cynic) ซึ่งพระองค์ได้รับสั่งให้ดิโอจิเนสถามอะไรพระองค์ก็ได้ แต่ดิโอจิเนส ตอบว่า ข้าไม่ต้องการบดบังพระอาทิตย์
ต่อมาได้เดินทางไปเมืองเดลฟี และได้พบ ฟิเธีย (Pythia) นักพยากรณ์หญิงที่ทำนายว่าพระองค์จะเป็นนักรบที่ไม่มีวันพ่ายแพ้
335 BC เริ่มทำการรบปรามปราบพวกกบฏที่อาศัยจังหวะที่มีการเปลี่ยนกษัตริย์ใหม่
Battle at Mountain Emona (Shipka) ปราบพวกทราเคียน
334 BC พิชิต เอเซียไมเนอร์ (Asia Minor )
เขาให้กำลังทหารเกือบแสนนายทั้งทางบกและทางทะเล โดยมีแม่ทัพคนสำคัญหลายคนที่ร่วมรบด้วย เช่นเปอร์ดิคคัส (Perdiccas) , เครเตรัส (Craterus),  โคอีนัส (Coenus) , แอนติโอนัส (Antigonus) , เมเลียเจอร์ (Meleager)   ปาร์เมนิโอ (Parmenio) และลูกชายฟิโลตัส (Philotas) , 
The Battle of Granicus , กองทัพมาเซโดเนียปะทะกับกองทัพของกษัตริย์เปอร์เซีย ดาเรียส ที่ 3 (King Darius III) บริเวณริมแม่น้ำกลานิคัส (Granicus river) การรบจบด้วยชัยชนะของอเล็กซาเดอร์  จากนั้นเขาได้นำทัพรุกไปตอนใต้ของเอเชียไมเนอร์ แต่ว่ายังได้รับการต่อต้านจากคนเชื้อสายกรีกที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง อเล็กซานเดอร์สามารถยึดเมือง Halicarnassus, Miletus, Mylasa มาได้ แต่กองทัพของเขาก็เดินทางได้ช้าลง และอเล็กซานเดอร์ได้เปลี่ยนใจบุก Gordium ใจกลางของเอเชียไมเนอร์ Gordium Knot 
333 BC สมรภูมิอิสซัส (Battle of Issus) , ทหารมาเซโดเนียปะทะกับกองทัพของดาเรียส ที่ 3 อีกครั้ง บริเวณหุบเขาตอนเหนือของซีเรีย ซึ่งจำนวนทหารที่ต่างกันมาก ทำให้ทหารของดาเรียส สุญเสียไปจำนวนมาก และดาเรียสต้องหนีไป โดยทิ้งแม่ ภรรยาและลูกให้โดนจับ แต่อเล็กซานเดอร์ดูแลเชลยเหล่านี้เป็นอย่างดี ลูกสาวของดาเรียส ที่ 3 คนหนึ่งต่อมากลายเป็นภรรยาของอเล็กซานเดอร์
332 BC (ยึดซีเรีย และอียิปต์)
(Seige of Tyre) ช่วงต้นปี แม่ทัพปาร์เมนิโอ ของอเล็กซานเดอร์สามารถยึดเมืองหลายเมืองของซีเรียเอาไว้ได้ และเขาได้นำกองทัพมุ่งหน้าไปยังชายฝั่งโพนิเซียน (Phoenician coast)  และหลายเมืองยอมจำนน ยกเว้นแต่เมืองที่ตั้งบนเกาะไทร์ (Tyre island)  ปาร์เมนิโอ ต้องใช้เวลากว่าเจ็ดเดือนในการสร้างสะพานจากชายฝั่งไปจนถึงเกาะ โดยใช้หินจำนวนมาถมลงไปในทะเลเพื่อให้สามารถยกทัพบุกได้
หลังจากนั้นเมื่อเริ่มการโจมตี ทหารของมาเซโดเนียที่แค้นชาวเกาะมา ก็สังหารผู้คนอย่างบ้าคลั้ง มีคนถูกสังหารไปกว่าเจ็ดพันคน และอีกสามหมื่นคนถูกจับมาขายเป็นทาส  , หลังจากยึดเกาะมาได้อเล็กซานเดอร์ได้เข้าไปบูชาเทพเมลคาร์ทภายในวิหาร (Temple of Melcart)
ตอนนี้อเล็กซานเดอร์ได้รับสาสน์จากกษัตริย์ดาเรียส ที่ 3 เสนอให้มีการยุติสงคราม โดยเสนอจะมอบเมืองจำนวนหนึ่งให้ แต่อเล็กซานเดอร์ปฏิเสธ เพราะเขาต้องการทั้งหมดของเปอร์เซีย 
(Seige of Gaza) อเล็กซานเดอร์นำทหารมุ่งหน้าไปยังอียิปต์ แต่ว่าเมืองมาถึงกาซ่าก็เจอผู้ต่อต้าน และเขาต้องใช้เวลาอีก 2 เดือนกว่าจะยึดกาซ๋าเอาไว้ได้ 
331 BC อเล็กซานเดอร์เดินทางมาถึงอียิปต์ เขาได้รับการต้อนรับจากชาวอียิปต์ในฐานะผู้ปลดปล่อยจากการปกครองของเปอร์เซียมานานกว่าสองร้อยปี  ที่อียิปต์นี้อเล็กซานเดอร์ได้สั่งให้สร้างเมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) ขึ้นมาริมฝั่งแม่น้ำไนล์ 
ฤดูใบไม้ผลิ, อเล็กซานเดอร์เข้าไปในวิหารของเทพรา (Oracle of Ra) ซึ่งต้องข้ามทะเลทรายเป็นระยะทางไกล แต่ตำนานเล่าว่าตลอดทางที่อเล็กซานเดอร์เดินทางผ่าน เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก
ช่วงกลางปี , อเล็กซานเดอร์ออกจากอียิปต์กลับมายังไทร์ 
1 ตุลาคม, สมรภูมิกัวกาเมล่า (Battle of Guagamela) อเล็กซานเดอร์ได้รับกำลังเสริมที่ส่งมาจากยุโรปและกำลังมุ่งหน้าจะบุกบาบิโลน (Babylon) แต่ระหว่างทางบริเวณที่ราบกัวกาเมล่า (Guagamela plains บริเวณเมืองเอร์บิล (Irbil) ในอิรักปัจจุบัน )ริมฝั่งแม่น้ำไทกริส(Tigris river)และแม่น้ำยูเฟเตส (Euphrates river) เขาปะทะกับทหารเปอร์เซียอีก 
ชัยชนะตกเป็นของอเล็กซานเดอร์ และดาเรียส หนีไปยังเอ็คบาตาน่า (Ecbatana, Media) 
หลังจากนั้นกรุงซูซ่า (Susa) เมืองหลวงบาบิโลน และกรุงเปอร์เซโปลิสของเปอร์เซีย (Persepolis,Persia) จึงตกเป็นของมาเซโดเนีย  อเล็กซานเดอร์ประกาศตัวเป็นกษัตริย์แห่งเอเชีย  แต่หลังจากนั้นชาวมาเซโดเนียได้เผาพระราชวังของเปอร์เซียในกรุงเปอร์เซโปลิสทิ้ง ทำให้อาณาจักรเปอร์เซียโบราณสูญหายไป 
ในกรีซ พวกสปาร์ต้า (Sparta) ในเมืองเทรซได้พยายามก่อกบฏอีกครั้ง ตอนนั้นแม้อเล็กซานเดอร์จะให้นายพลแอนติปาเตอร์ (Antipater) เฝ้าดูแลอยู่แต่ก็ไม่อาจจะสู้กับพวกกบฏได้  แต่เมื่ออเล็กซานเดอร์ยกทัพกลับมา ก็ปราบกบฏสิ้นซากและสังหารกษัตริย์เอกิส (King Agis) กษัตริย์ของสปาตาร์ทิ้งเสีย
อเล็กซานเดอร์ยังพบายามตามล่ากษัตริย์ดาเรียสของเปอร์เซีย จนกระทั้งมาพบศพบริเวณชายฝั่ง โดยดาเรียสถูกสังหารโดยเบซซัส (Bessus)  ผู้นำของแบคเตรีย (Bactria)  , อเล็กซานเดอร์จัดพิธีศพให้ดาเรียสอย่างสมพระเกียรติ 
330 BC อเล็กซานเดอร์สั่งให้สังหารฟิโลตัส ลูกชายของแม่ทัพปาร์เมนิโอ เพราะว่าเขาพยายามจะฆ่าอเล็กซานเดอร์ เป็นผลจากการปกครองเปอร์เซียของอเล็กซาเดอร์ ซึ่งทำให้ชาวเปอร์เซียและมาเซโดเนียสามารถแต่งงานกันได้ และอเล็กซานเดอร์ยังตั้งชาวเปอร์เซียที่มั่งคั้งหลายคนให้เป็นผู้ปกครองหลายจังหวัดในอาณาจักร ทำให้ชาวมาเซโดเนียหลายคนไม่พอใจและพยายามลอบสังหารอเล็กซานเดอร์หลายคน
327 BC หลังยึดเปอร์เซียแล้ว อเล็กซานเดอร์มีภรรยาคนแรกชื่อโรซาน่า (Roxana) เป็นชาวเปอร์เซีย เชื้อสายแบคเตรียน  (Bactrian) พ่อของนางชื่ออ๊อคยาร์เตส  (Oxyartes) อาศัยอยู่ในเมืองบาล์ค (Balkh,อัฟกานิสถาน) ทั้งคู่พบกันหลังจากอเล็กซานเดอร์ยึดป้อมปราการซ๊อกเดี้ยนร็อค (Sogdian Rock)  , หลังแต่งงานกันโรซาน่าตามอเล็กซานเดอร์ไปบุกอินเดียด้วย 
326 BC สงครามฝั่งแม่น้ำไฮเดส (Battle of the Hydaspes) ,  รบกับกษัติรย์ปอรัส (King Porus) กษัตริย์แห่งปัณจาบ (Punjab) ซึ่งกษัตริย์ปดรัสพ่ายแพ้ แต่ว่าอเล็กซานเดอร์ปล่อยให้พระองค์ปกครองดินแดนต่อไป 
หลังการรบครั้งนี้บูชฟารัส ม้าของอเล็กซานเดอร์ที่บาดเจ็บสุดท้ายได้เสียชีวิตลง
หลังจากศึกที่ปัญจาบ ทหารมาเซโดเนียไม่ต้องการที่จะเดินทางลึกเข้าไปในอินเดียอีก ด้วยพบกับสัตว์ที่ตัวเองไม่รู้จักจำนวนมาก อเล็กซานเดอร์ก็เห็นด้วยและสุดท้ายจึงเดินทางกลับ โดยได้ต่อเรือกว่าหนึ่งพันลำเพื่อลองไปตามแม่น้ำไฮเดสและอินดูส (Indus river) และจะได้ไปออกทะเลและเดินทางไปตอนใต้ของเปอร์เซีย แต่ระหว่างลอยไปตามแม่น้ำทหารมาเซโดเนียได้หยุดพักเป็นระยะ และปล้นสดมหมู่บ้านชาวอินเดียริมแม่น้ำ และเมื่อมาถึงหมู่บ้านของชาวมาลลิ (Malli, Multan) อเล็กซานเดอร์ได้รับบาดเจ็บจากธนู แต่รอดชีวิตมาได้ 
ระหว่างทางกลับแม่ทัพโคอีนัส ล้มป่วยและเสียชีวิตระหว่างทาง
324 BC The Susa wedding, อเล็กซานเดอร์จัดพิธีแต่งงานของเขาในกรุงซูซ่า โดยภรรยาคนที่สองคือสเตไทร่า (Stateira หรือ Barsine)  ซึ่งประเพณีของมาเซโดเนียและเปอร์เซียไม่ห้ามการมีภรรยาหลายคน  สเตไทร่า เป็นธิดาองค์โตของกษัตริย์ดาเรียส ที่ 3
นอกจากนี้ในพิธีแต่งงานครั้งนี้ อเล็กซานเดอร์ยังได้แต่งงานกับภรรยาคนที่สามด้วย คือ ปารีซาติส (Parysatis II) ซึ่งเป็นธิดาของกษัตริย์อาร์ตาเซอร์เซส ที่ 3 แห่งเปอร์เซีย (Artaxerxes III of Persia) , อาร์ตาเซอร์เซสยังเป็นฟาโรห์องค์แรกในราชวงศ์ลำดับที่ 31 ของอียิปต์ด้วย หลังสวรรคตเปอร์เซียสืบทอดไปยังโอรสของพระองค์ ก่อนที่ดาเรียส ที่ 3 จะได้ครองราชย์, ดาเรียส กับปารีซาดิส จึงเป็นญาติกัน
325 BC มาถึงปากแม่น้ำอินดูส ในช่วงฤดูร้อน จากนั้นได้ขึ้นฝั่งและเดินทางกลับเปอร์เซีย แต่ตอนกลับต้องเดินทางข้ามทะเลทรายเจอร์โดเซียน (Gerdosian desert)  ซึ่งมีทหารเสียชีวิตไปหลายพันนาย ก่อนที่อเล็กซานเดอร์จะกลับมาถึงกรุงซูซ่าได้อย่างปลอดภัย
324 BC เฮเฟียสชั่น (Hephaestion) ล้มป่วยและเสียชีวิต เขาแม่ทัพ เป็นเพื่อนและอาจจะเป็นคนรักของอเล็กซานเดอร์ด้วย
323 BC 11 มิถุนายน อเล็กซานเดอร์สวรรคต ในพระราชวังของกษัตริย์เนบูชาดเนซซ่า ที่ 2 (Nebuchadnezzar II) ในบาบิโลน ขณะอายุ 32 ปี
ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิตสองอาทิตย์ ยังทรงมีพระวรกายแข็งแรงดี และพระองค์ได้จัดงานเลี้ยงฉลองให้กับเนียร์ชัส (Nearchus) แม่ทัพเรือของพระองค์ ช่วงกลางคืนก็ทรงดื่มฉลองกับเมเดียส (Medius of Larissa) แต่หลังจากนั้นก็ทรงป่วยมีไข้ และต่อมาก็พูดไม่ได้
ร่างของอเล็กซานเดอร์ถูกบรรจุในโลงทองคำ (sarcophagus) เมื่อมีการขนขบวนพระศพเพื่อนำกลับไปยังมาเซโดเนีย ระหว่างทางปโตเลมี (Ptolemy)ได้ขโมยพระศพและนำไปยังเมมฟิส  ต่อมาในสมัยปโตเลมี ที่ 2 (Ptolemy II) ได้มีการย้ายพระศพไปยังเมืองอเล็กซานเดรีย
หลังอเล็กซานเดอร์สวรรคตไม่นาน โรซาน่าก้ให้กำเนิดลูกชาย อเล็กซานเดอร์ ที่ 4 (Alexander IV Aegus) ซึ่งทารกได้รับสืบทอดอาณาจักร ร่วมกับฟิลิปที่ 3 (Philip III of Macedon) ลูกพี่ลูกน้องของอเล็กซานเดอร์ 
Don`t copy text!